บทความ ความเป็นสาธารณะของบริหารรัฐกิจ


 

บทความ ความเป็นสาธารณะของบริหารรัฐกิจ

(Publicness of Public Administration)1

Udo Pesch เขียน

อาทิตย์ ผดุงเดชแปลและเรียบเรียง

นักวิชาการอิสระ email: [email protected]

 

 

ในทฤษฎีบริหารรัฐกิจมักจะพบความพยายามที่จะค้นหาความเข้าใจที่ชัดเจนของคาว่า "ความเป็นสาธารณะ" (publicness) ของ public administration หรือบริหารรัฐกิจ ซึ่งมีอย่างน้อย 5 แนวทางที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างองค์การภาครัฐ (public organization) และองค์การภาคเอกชน (private organization) เมื่อพิจารณาอย่างใกล้ชิดมากขึ้นจะพบว่าทั้ง 5 แนวทางเหล่านี้วางอยู่บนฐานของรูปแบบเชิงแนวคิดของความเป็นสาธารณะของบริหารรัฐกิจ 2 รูปแบบ รูปแบบแรกมาจากความเข้าใจถึงความเป็นสาธารณะที่มาจาก "สินค้าสาธารณะ" (public goods) ขณะที่รูปแบบที่สองเกี่ยวข้องกับความเป็นสาธารณะในรูปของ "ผลประโยชน์สาธารณะ" (public interest) รูปแบบสองรูปแบบนี้มาจากคาอธิบายทางภววิทยาที่ขัดแย้งกันของความเป็นสาธารณะที่ได้รับการพัฒนาในทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่

ในสาขาของการวิจัยทางสังคมต่าง ๆ ต่างพยายามที่จะค้นหาคานิยามที่ชัดเจนสาหรับแนวคิดที่สาคัญของตนเอง แต่ในสาขาบริหารรัฐกิจนั้นปรากฏว่าขาดคานิยามที่ชัดเจนในทฤษฎีของบริหารรัฐกิจ เหมือนดังที่ Dwight Waldo (1968, p. 3) เรียกว่า "วิกฤติด้านอัตลักษณ์" (crisis of identity) เพราะการขาดกรอบทางทฤษฎีที่สอดคล้องกัน ตามที่ Shamsul Haque (2001) ได้กล่าวว่า ในปัจจุบันสถานการณ์ได้เลวร้ายลงและที่ขัดแย้งกันไม่เฉพาะในทางทฤษฎีของบริหารรัฐกิจ แต่รวมถึงในทางปฏิบัติของบริหารรัฐกิจด้วย วิกฤตทางด้านอัตลักษณ์ (identity crisis) ได้ปรากฏขึ้นมาโดยเฉพาะที่มีความสัมพันธ์กับแนวคิดของความเป็นสาธารณะ (publicness) แม้ว่า ความเป็นสาธารณะสามารถถูกมองได้ในฐานะที่เป็นหนึ่งของแนวคิดเชิงองค์ประกอบ (the constitutive concepts) ของบริหารรัฐกิจ (cf. Rutgers, 2003), แต่วรรณกรรมของบริหารรัฐกิจปรากฏมีถึงความแตกต่างอย่างมากมายเกี่ยวกับแนวคิดของความเป็นสาธารณะ (publicness)3

Publicness_of_Public_Administration_edited_14_03_14.pdf

หมายเลขบันทึก: 563879เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2014 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2014 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท