บริหารแบบเซเว่นท์อิเลฟเว่นท์


ทำไมเราไม่ทุ่มงบทั้งหมดไปที่ครู และลงสู่กลุ่มโรงเรียนฯ โดยอบรมครูทุกคนที่ต้องสอนภาษาอังกฤษอาจยกเว้นเอกภาษาอังกฤษ โดยศึกษานิเทศก์กำกับติดตามการจัดการอบรมฯ

ผมกำลังมองการศึกษาไทย ณ วันนี้ ที่ผู้บริหารระดับสูง มักจะใช้การบริหารจัดการโครงการและงบประมาณแบบเซเว่นท์อิเลฟเว่นท์ คือเอาสะดวกเข้าว่า หน่วยปฏิบัติในระดับรากหญ้า จะทำได้หรือเปล่า จะทำได้ยากลำบากแค่ไหน ข้างบนจะไม่รับรู้ แถมมั่นใจเสียด้วยว่าที่ตัวเองคิดนั้นสวยหรูมากๆและใช้วิธีการสั่งการตลอด..ประมาณว่าฉันสั่งให้ทำก็ทำไปเถอะ...

ความคิดดังกล่าวผุดขึ้นมา หลังจากเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา(กตปน.)ของเขตพื้นที่การศึกษาฯ..ประชุมเสร็จ ขับรถกลับโรงเรียน..เฝ้าคำนึง..ว่าเมื่อไหร่..การศึกษา..จะก้าวออกมาจากวังวนเก่าๆเสียที

ก่อนพูดถึงว่าทำไม..จึงบริหารแบบเอาสะดวกเข้าว่า..ผมมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาฝาก เกี่ยวกับข้อมูล..เด็กLD ที่ประชุมบอกนับวันจะมีมากขึ้น จนน่าใจหาย พอศึกษานิเทศก์ไปถามครู เพื่อหาข้อมูลว่าLDแบบไหน ได้ใช้แบบคัดกรองหรือเปล่า ครูบอกว่าไม่ได้ใช้เครื่องมือตัวไหน ไม่ได้ไปหาแพทย์ ใช้การสังเกตเอาเอง เพราะเห็นว่าเรียนไม่รู้เรื่อง ความจำก็ไม่ดี อ่านไม่คล่อง..เขียนไม่คล่อง

แท้จริงแล้ว..นักเรียนเพียงแค่เรียนรู้ช้า ต้องใช้เวลามากกว่าเด็กเก่ง ครูต้องสอนซ้ำย้ำทวน สอนเสริมพิเศษ ให้เวลากับเด็กกลุ่มนี้ให้มาก ไม่ใช่เอะอะก็ LD มีข้อสังเกตช่วง ๓ - ๕ ปีมานี้ ตั้งแต่มีสอบNT ONETจะมีเด็กพิเศษเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ...

ที่ประชุมจึงพูดถึงว่า..เป็นยุคที่สังคมก้มหน้า ลุกลามมาถึงครูแล้ว เล่นเฟสกันเวลาสอน ใช้โทรศัพท์ในเวลางาน สนใจเด็กน้อยลง ขาดความมุ่งมั่นตั้งใจในงานการเรียนการสอน พอเด็กมีปัญหาการอ่านการเขียน ก็อ้างว่าเป็นLD เพราะมันง่ายดี ทั้งที่ครูเองก็ไม่เคยสอนซ้ำย้ำทวนแต่อย่างใด....

ประธานในที่ประชุม..มีข้อสงสัยเกี่ยวกับศูนย์เรียนร่วม..ที่มักมีที่ตั้งศูนย์อยู่ในโรงเรียนอนุบาลประจำอำเภอ..และได้งบอยู่เสมอ ประธานอยากทราบว่า ศูนย์ฯดังกล่าวทำประโยชน์อะไรให้กับโรงเรียนภายในอำเภอหรือกลุ่มโรงเรียนบ้าง

มีคณะกรรมการท่านหนึ่งในที่ประชุม แสดงความคิดเห็นอย่างมั่นใจว่า..ไม่เคยเห็นมีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันหรอก ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่นวัตกรรม ประชุมสัมมนาฯ พัฒนาเครือข่าย..แต่จะใช้โอกาสเฉพาะมีการประกวดแข่งขัน โรงเรียนที่ตั้งศูนย์ก็จะใช้สิทธิพิเศษเสมอ คือได้โอกาสเป็นตัวแทนฯมากกว่าที่อื่น

ผมเลยสนับสนุนว่า ชื่อก็บอกแล้วว่าศูนย์(สูญ) ก็เลยถามศึกษานิเทศก์เพิ่มเติมว่าวิจัยและหาข้อมูลหรือไม่ว่า ศูนย์ภาษาอังกฤษ..ที่มีชื่อสวยหรูนั้น โรงเรียนที่ตั้งศูนย์มีผลสัมฤทธิ์ดีกว่าโรงเรียนอื่นๆ..นอกจากเป็นศูนย์ที่มีหน้าที่ประสานการอบรมและนิเทศติดตามของเขตแล้ว เคยเผื่อแผ่ความรู้ สื่อ หรืออุปกรณ์ให้โรงเรียนต่างๆบ้างหรือไม่.....เห็นศูนย์ได้อะไรตั้งมากมาย กองอยู่เพียบ

ครับ....ศูนย์เองก็ทำอะไรไม่ได้มากหรอก เพราะการบริหารจากเบื้องบน ที่ชอบคิด..ที่จะให้ห้องปฏิบัติการ..ให้งบประมาณ..แต่ไม่ได้ให้คนหรือธุรการมาช่วยงาน ลำพังการบริหารจัดการในโรงเรียนที่ตั้งศูนย์ก็จะแย่อยู่แล้ว

เมษานี้..จะมีโครงการอบรมนักเรียนครั้งยิ่งใหญ่ ให้มีความรู้ความเข้าใจในภาษาอังกฤษ..ให้เรียนรู้จากเจ้าของภาษา-วิทยากร(ครู) ที่ไปรับการอบรมมา ปัญหาคือ..งบประมาณน้อย เขตจำเป็นต้องเลือกโรงเรียนไม่กี่สิบโรง และโรงเรียนต้องเลือกเด็ก และแน่นอนก็ต้องเป็นเด็กรู้ภาษา ก็จะมีโอกาสไปเข้าค่าย

จากการประชุม ทำให้ผมทราบว่า..ต้องจัดอบรม ๒๐ วัน จัดแบบไปกลับ และจัดที่วัด โดยไปขอความอนุเคราะห์พระคุณเจ้า......(ประหยัด)

คือผมสงสัยว่า ส่วนกลาง..เขาคิดอะไรอยู่..อบรมเด็กมากี่ครั้งแล้ว ผลสัมฤทธิ์ก็รู้อยู่แล้วว่าไม่ดีขึ้นเลย ข้อสำคัญ..ให้เด็กได้..ไม่เคยเท่าเทียมและทั่วถึง ภาษาอังกฤษ ไม่รู้หรือแกล้งไม่รู้ว่าปัญหาเกิดจากครูในห้องเรียนที่มีปัญหาสารพัด.....

ทำไมเราไม่ทุ่มงบทั้งหมดไปที่ครู และลงสู่กลุ่มโรงเรียนฯ โดยอบรมครูทุกคนที่ต้องสอนภาษาอังกฤษอาจยกเว้นเอกภาษาอังกฤษ โดยศึกษานิเทศก์กำกับติดตามการจัดการอบรมฯ

โรงเรียนและกลุ่มโรงเรียนยุคนี้..เขาพร้อมที่จะทำงานและคัดสรรวิทยากรผู้เชี่ยวชาญกันมากขึ้น..ต้นสังกัด..ข้างบน ยังคิดแบบเซเว่นท์อิเลฟเว่นท์อยู่..ไม่เข้าใจจริงๆ

 

                                                                     ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

                                                                       ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๗

 

 

หมายเลขบันทึก: 563820เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2014 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2014 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์แก้ไข พ.ศ.ด้านล่างด้วยค่ะ...ใช่ ๒๕๕๗ หรือเปล่าค่ะ

..... ดีจังเลย เด็กไทยได้รับการบริการ 24 ชม. ..... ขอบคุณค่ะ^_^



นอกจาก7-11 ยังมี มินิมาร์ทอีกเยอะแยะเลยนะครับอาจารย์

สะดวกตลอด 24 ชม.

มาดูกันซิ ว่า เราจะเข้าสู่อาเซียน ในอีก หนึ่งปีข้างหน้า ครูเราพร้อมละยัง หรือจะยอมอยู่ในอันดับสุดท้ายยยยยยยยยยยยย.....

  • สวัสดีครับ ผอ.ชยันต์ ที่เคารพ
  • อะไรก็ว่า...แอลดี (Learning Disability) 555
  • ความหมายช่างน่ากลัวเหลือเกินครับ ผอ.

ใช่ค่ะ ผอ.เขาเรียกว่าการศึกษาไทยแก้ไม่ถูกจุดถึงได้พัฒนาได้ช้าน่าท้อใจค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท