คุณธรรมจริยธรรมกับการปฏิบัติงาน


คุณธรรมจริยธรรม

            วันที่19กุมภาพันธ์ 2557 พล.อ.ต.นพ.บุญเลิศจุลเกียรติได้มาบรรยายเรื่องงานได้ผลคนเป็นสุขให้หลักการคือให้ปฏิบัติตนเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมเพื่อกลับคืนสู่ธรรมชาติประยุกต์ความรู้ได้ดังนี้

คุณธรรม  คือหลักความจริงหลักการปฏิบัติประกอบด้วย จริยธรรมมี 2 ความหมาย  คือความประพฤติดีงเพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและสังคมซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรมทางศาสนาค่านิยมทางวัฒนธรรมประเพณีหลักกฎหมายจรรยาบรรณวิชาชีพ  อีกนัยหนึ่งคือการรู้จักไตร่ตรองว่าอะไรควรไม่ควรทำ

จรรยา  หมายถึงความประพฤติ  กิริยาที่ควรประพฤติซึ่งสังคมแต่ละสังคมกำหนดขึ้นสอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละวิชาชีพก็อาจกำหนดบุคลิกภาพ  กิริยา  วาจาที่บุคคลในวิชาชีพพึงประพฤติปฏิบัติ  เช่น  ครู  แพทย์  พยาบาล  ย่อมเป็นผู้ที่พึงสำรวมในกิริยา  วาจา  ท่าทางที่แสดงออก

จรรยาบรรณวิชาชีพ   หมายถึงประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น  เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก  ทำให้ได้รับความเชื่อถือจากสังคมอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้  เช่น  จรรยาบรรณของพยาบาลก็คือ  ประมวลความประพฤติที่วงการพยาบาลกำหนดขึ้น  เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้เป็นพยาบาลยึดถือปฏิบัติเป็นต้น

ศีลธรรม  หมายถึงหลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ ภาษาไทยศีลธรรมเป็นศัพท์ทางพระพุทธศาสนา  หมายถึงความประพฤติที่ดีที่ชอบหรือธรรมในระดับศีล

คุณธรรม  หมายถึงสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ เช่น  ความเป็นผู้ไม่กล่าวเท็จโดยหวังประโยชน์ส่วนตนเป็นคุณธรรมประการหนึ่ง  อาจกล่าวได้ว่าคุณธรรมคือจริยธรรมแต่ละข้อที่นำมาปฏิบัติจนเป็นนิสัยเช่นเป็นคนซื่อสัตย์เสียสละอดทน  มีความรับผิดชอบ    

มโนธรรม  หมายถึงความรู้สึกผิดชอบชั่วดีความรู้สึกว่าอะไรควรทำไม่ควรทำนักจริยศาสตร์เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีมโนธรรม  เนื่องจากบางขณะเราจะเกิดความรู้สึกขัดแย้งในใจระหว่างความรู้สึกต้องการสิ่งหนึ่ง  และรู้ว่าควรทำอีกสิ่งหนึ่ง  เช่น  ต้องการไปดูภาพยนตร์กับเพื่อนแต่ก็รู้ว่าควรอยู่เป็นเพื่อนคุณแม่ซึ่งไม่ค่อยสบายเ

มารยาทกิริยา  วาจา  ที่สังคมกำหนดและยอมรับว่าเรียบร้อย   เช่น   สังคมไทยให้เกียรติเคารพผู้ใหญ่    ผู้น้อยย่อมสำรวมกิริยาเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่  การระมัดระวังคำพูดโดยใช้ให้เหมาะกับบุคคลตามกาลเทศะ 

จริยธรรม  คือกฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ทำให้มนุษย์รู้จักแยกแยะความดี  ถูก  ผิด  ควร  ไม่ควร

จริยธรรมมีลักษณะ 4 ประการ คือ

1. การตัดสินทางจริยธรรมบุคคลจะมีหลักการของตนเองเพื่อตัดสินการกระทำของผู้อื่น

2. หลักการของจริยธรรมและการตัดสินตกลงใจเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลก่อนที่จะปฏิบัติการ

3. หลักการทางจริยธรรมเป็นหลักการสากลที่บุคคลใช้ตัดสินใจในการการะทำสิ่งต่างๆ

4. ทัศนะเกี่ยวกับจริยธรรมได้มาจากความคิดของบุคคลหรืออุดมคติของสังคมจนเกิดเป็นทัศนะในการดำรงชีวิตของตนและของสังคมที่อาศัยอยู่

การนำไปพัฒนางาน

     จะเห็นได้ว่า  คุณธรรมหมายถึงหลักของความดีความงามความถูกต้องในการแสดงออกทั้งกายวาจาใจของแต่ละบุคคลซึ่งยึดมั่นไว้เป็นหลักประจำใจในการประพฤติปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัยซึ่งอาจส่งผลให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ส่วนจริยธรรมหมายถึงการประพฤติปฏิบัติของบุคคลที่แสดงออกถึงความดีงามทั้งต่อตนเองต่อผู้อื่นและต่อสังคมเพื่อให้เกิดความสงบสุขความเจริญรุ่งเรืองเป็นประโยชน์ต่อสังคมและต่อการพัฒนาประเทศชาติ ดังนั้นการนำหลักของคุณธรรม จริยธรรม มาเป็นแนวทางปฏิบัติทั้งในการทำหน้าที่การสอน การเอื้ออาทรต่อศิษย์ การเป็นตัวแบบหรือแบบอย่างที่ดี ต่อการให้การพยาบาลที่มีจริยธรรม

 

หมายเลขบันทึก: 563428เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2014 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2014 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท