คณาจารย์คณะเกษตรฯ มข. จัดบัณฑิตศึกษาเขียนงานวิจัยพิมพ์ในวารสารนานาชาติ


คณาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถ่ายทอดความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การเขียนบทความวิจัย ให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่มี impact factor

           ศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา วิตยากร แรมโบ สาขาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ” ให้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์และนักวิจัย สาขาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาศักยภาพความสามารถในการเขียนบทความวิจัยระดับนานาชาติให้ดียิ่งขึ้น และเป็นการเพิ่มโอกาสในการตีพิมพ์วารสารในระดับนานาชาติที่มี impact factor โดยมีคณาจารย์ในคณะเกษตรศาสตร์ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการเขียนบทความวิจัย ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.อารันต์ พัฒโนทัย ศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา วิตยากร แรมโบ รองศาสตราจารย์ ดร.สนั่น จอกลอย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภร กตเวทิน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุลีมาศ บุญไทย อิวาย เป็นวิทยากรบรรยาย ณ หมวดดินและปุ๋ย และ ห้อง 5202 สาขาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 20 และ 21 กุมภาพันธ์ 2557
          โดยวันแรก ณ หมวดดินและปุ๋ย ในภาคเช้า คณาจารย์ผู้เป็นวิทยากรได้บรรยายให้ความรู้ในการเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่มี impact factor และในภาคบ่าย ได้มีการแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มย่อยเพื่อการฝึกวิเคราะห์บทความวิจัยตัวอย่าง มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาปฐพีศาสตร์ ที่ตั้งใจจะศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา สนใจเข้าร่วมกิจกรรมรวม 45 คน และในวันต่อมา ณ ห้อง 5202 สาขาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม ศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา วิตยากร แรมโบ ได้ให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 14 คน ที่มีข้อมูลจากงานวิจัยวิทยานิพนธ์ของแต่ละคนอยู่แล้ว แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มย่อย เพื่อร่วมกันวางแผนในการฝึกเขียนบทความวิจัยจากข้อมูลดังกล่าว พร้อมทั้งวางแผนการเขียนในอนาคตไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2557 นี้ด้วย
          “Impact Factor” เป็นการวัดค่าความถี่ของการอ้างอิงบทความวารสาร ในแต่ละปี (A measure of the frequency with which the "average article" in a journal has been cited in a particular year or period) หรือหมายถึง ความถี่ที่บทความในวารสารนั้น จะได้รับการอ้างถึง หรือถูกนำไปใช้ Impact Factor จึงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่ช่วยในการประเมินคุณภาพ เปรียบเทียบ และจัดอันดับวารสาร ช่วยประกอบการพิจารณาตัดสินใจ ในการจัดหาและบอกรับวารสารของห้องสมุด นอกจากนั้น และยังสามารถใช้ประเมินคุณภาพ ของสถาบันการศึกษาได้อีกด้วย เนื่องจากค่า Impact Factor สามารถใช้ในการบ่งบอกถึง คุณภาพของบทความวิจัย ที่ตีพิมพ์โดยบรรดานักวิจัย ภายในสถาบันนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี การจัดอันดับวารสาร (Journal Rankings) ของวารสารวิจัยจากทั่วโลก โดยการนำสถิติการอ้างอิงบทความ มาคำนวณค่า Impact Factor รวมทั้งค่าอื่นๆ เช่น Cited Half-Life และ Immediacy Index เพื่อนำมาพิจารณาประกอบกัน ได้มีการรวบรวมและสรุป ไว้ในคู่มือ Journal Citation Report (JCR) ซึ่งจัดทำโดย Institute Scientific Information (ISI) มาตั้งแต่ปี 1975 จนถึงปัจจุบัน เป็นประจำทุกปี (ขอบคุณที่มา: http://goo.gl/IQkaTS)
         
          มัชฌิมา เจียจันทึก ข้อมูลข่าว/ภาพ
          กิตติศักดิ์ สิงหา วิเคราะห์ สังเคราะห์และเผยแพร่

 

หมายเลขบันทึก: 563201เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2014 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2014 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท