นวตกรรมใน PCU


แนวคิดการสร้างนวตกรรมใน PCU

            นวตกรรมใน PCU

         นวตกรรม ( Innovation ) ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่  มีการใช้มาตั้งแต่เริ่มมีโครงการสาธารณสุขมูลฐานในปี 2522  ถ้าจะถามว่า โครงการ 30 บาทช่วยคนไทยห่างไกลโรค  ระบบ EMS ในโรงพยาบาล หรือโปรแกรม SEEK ในการตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพ ถือเป็นนวตกรรมหรือไม่ คำตอบที่ได้รับก็คงตอบพร้อมกันว่า ใช่ ทั้งหมดล้วนเป็นนวตกรรม และก็เป็นนวตกรรมสาธารณสุข (Health Innovation )

          ความหมายของนวตกรรม  หมายถึงการกระทำสิ่งใหม่ ๆ รวมไปถึงความคิดการปฏิบัติ หรือวัตถุสิ่งของที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนและเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใหม่                     

          ประเภทของนวตกรรม   แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทคือ

1. นวตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เช่นการค้นการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ การใช้กาซธรรมชาติ( NGV )ทดแทนน้ำมัน เป็นต้น

2. นวตกรรมด้านธุรกิจ เช่นประสิทธิภาพและคุณภาพของกระบวนการผลิต การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในงานบริการ เป็นต้น

3. นวตกรรมด้านบริหาร เช่น กระบวนการบริหารเชิงคุณภาพ กระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น

4. นวตกรรมด้านสังคม เช่น สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน ระบบ EMS ในโรงพยาบาล เป็นต้น

         กระบวนการพัฒนานวตกรรม

1. การสร้าง ( Invention ) หมายถึงการสร้างแรงกระตุ้น การปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเกิดนวตกรรม เช่นการสร้างเครือข่าย การสร้างฐานข้อมูล การให้รางวัลจูงใจเพื่อให้เกิดการพัฒนานวตกรรม

2. การรับรู้ ( Recognition ) เป็นกระบวนการสำรวจเพื่อรับรู้และเปิดโอกาสให้นวตกรรมนั้น ๆ ได้รับการสนับสนุน

3. การพัฒนา ( Developement ) ประกอบด้วยการพัฒนาตามอุปสรรคที่พบ รวมถึงการให้ความสนับสนุนนวตกรรมนั้น ๆ.

4. การดำเนินการ ( Implement ) นำนวตกรรมที่ได้รับการพัฒนาไปดำเนินการจริง เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืน

5. การขยายผล ( Diffusion )  ขยายผลการดำเนินการต่อ เพื่อสร้างกระแส และความยั่งยืนต่อไป

          การค้นหานวตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

1. การเริ่มต้นและค้นหา

          การเริ่มต้นของนวตกรรมเริ่มจากปรับปรุงต่อยอดของเดิมที่มีอยู่แล้ว  หรือสร้างสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือประกอบใหม่จากสิ่งที่มีอยู่ ส่วนการค้นหานั้นเริ่มต้นดังนี้

  * จากสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด หรือสิ่งที่เคยมองข้าม

  * สร้างจากความเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งที่มีอยู่แล้วกับสิ่งที่ควรจะเป็นในอุดมคติส่วนใหญ่

  * ความจำเป็นที่ต้องใช้กระบวนการใหม่ ๆ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา

  * การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือปัจจัยภายนอก

2. ดำเนินการพัฒนานวตกรรมสู่ความยั่งยืน เริ่มจากการค้นพบปัญหาและโอกาสในกสนแก้ปัญหา สู่กระบวนการเรียนรู้ จะได้ความรู้ใหม่ที่เป็นนวตกรรม นำไปสร้างความรับรู้ เผยแพร่ และพัฒนาสู่ความยั่งยืนต่อไป

3. การเรียนรู้นวตกรรม เป็นกระบวนการพัฒนาโดยการเรียนรู้ของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยกระบวนการเรียนรู้เป็นทั้งเต็มรูปแบบ และไม่เป็นรูปแบบ

4. การสนับสนุนการพัฒนานวตกรรม ซึ่งประกอบด้วยทรัพยากร การสร้างเครือข่าย การถ่ายทอดองค์ความรู้และการวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืน

        นวตกรรมใน PCU  เป็นเรื่องที่ไม่ไกลเกินฝัน เนื่องจากภาระงานใน PCU มีมาก หลากหลาย ทั้งส่งเสริมป้องกัน  รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ โดยกิจกรรการดำเนินงานมีทั้งกิจกรรมในชุมชน กิจกรรมต่อเนื่อง และกิจกรรมใน PCU  สำคัญอยู่ที่ว่าเมื่อคิดนวตกรรมได้แล้ว ประโยชน์ตกอยู่ที่ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการหรือไม่  ต้องประเมินความพึงพอใจของผู้ให้และผู้รับบริการ

           ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง

      *** คนส่วนใหญ่จะก้าวไปด้วยกัน และประสบผลสำเร็จจากการเปลี่ยนแปลงนั้น

      *** คนส่วนน้อยจะตายระหว่างทาง

      *** คนบางคนจะตายอยู่กับที่เดิม ๆ ระบบเดิม ๆ

                        แล้วเราล่ะจะเลือกอยู่ตรงใหน

                                                                                             พิสูจน์

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 5631เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2005 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท