แบบฝึกหัดทบทวน วิชาภาษาไทย๒


                                         แบบฝึกหัดทบทวน วิชาภาษาไทย๒

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวแล้ว (X) ในกระดาษคำตอบ

๑. คำประสมคือคำในข้อใด

ก. น้ำนิ่ง ข. น้ำเน่า ค. น้ำเหม็น ง. น้ำมัน

๒. เมื่อนำคำว่า “ ยก “ ไปสร้างเป็นคำประสม ข้อใดไม่ถูกต้อง

ก. ยกของ ข. ยกเครื่อง ค. ยกครู ง. ยกทรง

๓. ข้อใดเป็นคำประสม

ก. สีขาว ข. ผ้าขาว ค. ผิวขาว ง. น้ำขาว

๔. คำในข้อใดไม่เป็นคำประสมทั้งหมด

ก. เรือใบ เรือแล่น ข. พ่อบ้าน พ่อครัว ค. หน้าหนา หน้าบาง ง. ใจดำ ใจแตก

๕. คำประสมในข้อใดมีคำกริยานำหน้าคำนาม

ก. น้ำเสียง ข. เสื้อคลุม ค ถ่ายรูป ง. เรือนจำ

๖. ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อเสียง

ก. เท็จจริง ข. ขึงขัง ค. บ้านเรือน ง. ห่างไกล

๗. ข้อใดเป็นคำประสมที่เกิดจากคำนามประสมกับคำกริยา

ก. หน้าม้า ข. กล้วยไม้ ค. แม่เลี้ยง ง. คอห่าน

๘. คำซ้อนในข้อใดมีลักษณะต่างจากพวก

ก.เพ่งเล็ง ข.หนักเบา ค.ทรุดโทรม ง.ชั่วร้าย 

๙. "ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม เจือน้ำส้มโรยพริกไทย" คำว่า "ตับเหล็ก" มีความหมายตรงกับข้อใด

ก. ม้ามของหมู ข. ม้ามของวัว ค. ตับแข็งของหมู ง. เครื่องในของหมู

๑๐. คำว่า "แสร้งว่า" มีความหมายตรงกับข้อใด

ก. เป็นชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่งทำด้วยกุ้ง ข. เป็นชื่ออาหารประเภทแกงคั่ว มีรสจืด ค. เป็นชื่ออาหารว่างมีหมูเป็นส่วนประกอบสำคัญ ง. เป็นชื่อเครื่องเทศชนิดหนึ่ง ใช้ประกอบอาหารคาว

๑๑. คำว่า "พร้อง" มีความหมายตรงกับข้อใด

ก. พึ่ง ข. พูด ค. พลอย ง. พบ

๑๒. ข้อใดเป็นโวหารเปรียบเทียบ

ก. โอชาจะหาไหน ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง ข. พิศห่อเห็นรางชาง ห่างห่อหวนป่วนใจโหย

ค. คิดความยามถนอม สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์ ง. นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน

๑๓. "ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใส่ลูกเอ็น ใครหุงปรุงไม่เป็น เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ" จากบทประพันธ์นี้ "ลูกเอ็น" หมายถึงอะไร

ก. ลูกเกด ข. ลูกผักชี ค. ลูกกระวาน ง. ลูกกานพลู

๑๔. เหลือรู้หมูป่าต้ม แกงคั่วส้มใส่ระกำ รอยแจ้งแห่งความขำ ช้ำทรวงเศร้าเจ้าตรากตรอม คำว่า "ความขำ" มีความหมายว่าอย่างไร ก. ความสุข ข. ความสนุก ค. ความลับ ง. ความขบขัน

๑๕. มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ คำประพันธ์นี้มีทั้งหมดกี่บท

ก. ๒ บท ข. ๓ บท ค. ๔ บท ง. ๕ บท

๑๖. ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำ เมืองบน ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน คำว่า "เมืองบน" มีความหมายว่าอย่างไร

ก. เมืองฟ้า เมืองสวรรค์ ข. นครสวรรค์ ค. กรุงเทพมหานคร ง. เชียงใหม่

๑๗. เรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน เป็นบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลใด

ก. รัชกาลที่ ๑ ข. รัชกาลที่ ๒ ค. รัชกาลที่ ๓ ง. รัชกาลที่ ๔

๑๘. "ชายใดบริโภคภุญช์ พิศวาส หวังนา" คำว่า "ภุญช์" มีความหมายตรงกับข้อใด

ก. อิ่ม ข. อร่อย ค. อาหาร ง. รับประทาน 

 

๑๙. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

ก. กาพย์ยานี มีวรรคละ ๕ พยางค์ ข. กาพย์ยานี มีวรรคหน้า ๕ พยางค์ ค. กาพย์ยานี ไม่บังคับคำสัมผัสวรรคสุดท้าย ง. กาพย์ยานี ไม่บังคับคำเป็นคำตาย

๒๐. เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า สองเผือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่ สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ โคลงบทนี้เรียกว่า โคลงชนิดใด

ก. โคลงสองสุภาพ ข. โคลงสามสุภาพ ค. โคลงสี่สุภาพ ง. โคลงดั้น

๒๑. ข้อความต่อไปนี้ถ้าแบ่งวรรคตอนถูกต้อง จัดเป็นคำประพันธ์ประเภทใด ? “ หวานใดไม่หวานนักเท่ารสรักสมัครสมไร้รักหนักอารมณ์หวานเหมือนขมอมโศกา”

ก. กาพย์ฉบัง ๑๖ ข. กาพย์ยานี ๑๑ ค. กลอนสุภาพ ง. โคลงสี่สุภาพ

๒๒. โคลงสี่สุภาพ ๑ บท มีกี่บาท

ก. ๒ บาท ข. ๔ บาท ค. ๖ บาท ง. ๘ บาท

๒๓. การแต่งโคลงสี่สุภาพมีการอนุโลมให้ใช้คำอะไรแทนคำเอกได้

ก. คำเป็น ข. คำตาย ค. คำซ้ำ ง. คำซ้อน

๒๔. ตำแหน่งที่เติมคำสร้อยในโคลงสี่สุภาพคือข้อใด

ก. ท้ายบาทที่ ๑ และ ๔ ข. ท้ายบาทที่ ๑ และ ๒ ค. ท้ายบาทที่ ๒ และ ๔ ง. ท้ายบาทที่ ๑ และ ๓

๒๕. ข้อใดใช้คำได้ถูกต้อง

ก. บ้านหลังนี้ ทาสีเขียวขจีสวยงามมาก ข. อาหารจานนี้รสเค็มจี๊ด รับประทานไม่ได้เลย ค. แม่ห่วงใยว่าลูกจะไม่มีเงินใช้ จึงรีบส่งเงินมาให้ ง. แม่ห่วงใยลูกมาก คอยดูแลเมื่อยามลูกป่วยจนหาย

๒๖. บาทแรกของคำประพันธ์ในข้อใดเป็นโคลงสี่สุภาพ

ก. วิชาเหมือนสินค้า อันมีค่าอยู่เมืองไกล ข. เขาย่อมเปรียบเทียบความว่ายามรัก แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน ค. รอนรอนสุริยะโอ้ อัสดง ง. ความเอ๋ยความรัก เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน

๒๗. ข้อใดมีความหมายคล้ายหรือใกล้เคียงกัน

ก. แกะ กัด ข. งัด ปัด ค. เกา ขัด ง. กล้าหาญ ห้าวหาญ

๒๘. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะทั่วไปในการเขียนจดหมาย

ก. เขียนข้อความให้ชัดเจน ข. ลายมือเรียบร้อยอ่านง่าย ค. ใช้ภาษาถูกต้องตามความนิยม ง. ใช้กระดาษและซองที่มีลวดลายสะดุดตา

๒๙. เรื่องโคลงโลกนิติถูกจารึกไว้ในวัดในสมัยใด

ก. รัชกาลที่ ๑ ข. รัชกาลที่ ๒ ค. รัชกาลที่ ๓ ง. รัชกาลที่ ๔

๓๐. จดหมายกิจธุระควรใช้คำขึ้นต้นอย่างไร

ก. เรียน ผู้จัดการที่นับถือ ข. เรียน ผู้จัดการที่เคารพ ค. กราบเรียน ท่านผู้จัดการ ง. เรียน ผู้จัดการบริษัท

๓๑. คุณแม่หนาหนักเพี้ยง พสุธา คุณบิดรดุจอา- กาศกว้าง คุณพี่พ่างศิขรา เมรุมาศ คุณพระอาจารย์อ้าง อาจสู้สาคร โคลงบทนี้ใช้ภาพพจน์ตามข้อใด

ก. อุปมา ข. อติพจน์ ค. นามนัย ง. อุปลักษณ์

๓๒. การบอกชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งไว้ที่ซอง มีประโยชน์อย่างไร

ก. สะดวกในการตอบรับ ข. สะดวกในการส่งถึงผู้รับ ค. สะดวกแก่การลงทะเบียน ง. สะดวกแก่การส่งคืนกรณีที่ส่งไม่ถึงผู้รับ

๓๓. โคลงในข้อ ๓๕ สอนในเรื่องใด

ก. สอนให้มีความขยัน ข. สอนให้มีความอดทน ค. สอนให้มีความซื่อสัตย์ ง. สอนให้มีความกตัญญูรู้คุณ

๓๔. แดงเขียนจดหมายเล่าเรื่องชีวิตในต่างแดนมาให้เพื่อนในกรุงเทพฯ เป็นจดหมายประเภทใด

ก. จดหมายส่วนตัว ข. จดหมายธุรกิจ ค. จดหมายกิจธุระ ง. จดหมายราชการ

๓๕. เหตุใดสมิงพระรามจึงเปลี่ยนใจคิดอาสาออกไปต่อสู้กับกามะนี

ก. เพื่อหวังอามิสสินจ้างรางวัล ข. เพื่อตัดกำลังข้าศึกมิให้ยกล่วงไปถึงหงสาวดี ค. เพื่อไม่ให้ใครดูถูกว่าทหารมอญนั้นไม่มีฝีมือในการต่อสู้ ง. เพื่อแสดงให้เห็นว่าทหารมอญนั้นมีฝีมือเหนือกว่าทหารพม่า

๓๖. เนื้อหาในโคลงโลกนิติส่วนใหญ่มุ่งเน้นสิ่งใดสำคัญที่สุด

ก. นรก-สวรรค์ ข. ประวัติพระพุทธเจ้า ค. การสอนให้คนทำความดี ง. สอนให้คนไทยเชื่อในพระเจ้า

๓๗. เมื่อกามะนีเสียทีแก่สมิงพระราม พระเจ้ากรุงจีนทรงกระทำตามข้อใด

ก. เตรียมบุกรุกเข้าตีกรุงอังวะ ข. ส่งพระราชสาส์นมาท้ารบกับพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง ค. ส่งทูตมาขอตัวสมิงพระรามไปยังกรุงจีน ง. ให้เลิกทัพกลับไปยังกรุงจีนตามที่ได้ให้สัญญาไว้

๓๘. นิทานพื้นบ้านมีลักษณะอย่างไร

ก. เป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา ข. เป็นเรื่องทางประวัติศาสตร์ ค. เป็นต้นกำเนิดของประวัติศาสตร์ ง. เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ

๓๙. ศรีธนญชัย เป็นเรื่องราวประเภทใด

ก. คนฉลาดเฉียบแหลม ข. ความเชื่อโชคลาง ค. เป็นเรื่องเทพเจ้า ง. เป็นเรื่องของคนฉลาดแกมโกง

๔๐. นิทานเรื่องใดเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมาจากทางภาคใต้

ก. สาวเครือฟ้า ข. ตาม่องล่าย ค. ท้าวก่ำกาดำ ง. ผาแดง – นางไอ่

๔๑. นิทานเรื่องใดเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมาจากทางภาคอีสาน

ก. สาวเครือฟ้า ข. ตาม่องล่าย ค. ผาแดง – นางไอ่ ง. ท้าวก่ำกาดำ

๔๒. เรื่อง พญาคันคาก เป็นเรื่องราวที่ทำให้เกิดประเพณีใดในเวลาต่อมา

ก. ประเพณีแห่นางแมว ข. ประเพณีบุญบั้งไฟ ค. ประเพณีลอยกระทง ง. ประเพณีสงกรานต์

๔๓. พญากงพญาพาน เป็นตำนานเกี่ยวกับเรื่องใด

ก. การสร้างวัด การสร้างภูเขาทอง ข. การสร้างพระปฐมเจดีย์ ค. การสร้างภูเขาทอง ง. การสร้างธาตุก่องข้าวน้อย

๔๔. เกาะหนูเกาะแมว เป็นนิทานพื้นบ้านภาคใด

ก. ภาคเหนือ ข. ภาคใต้ ค. ภาคกลาง ง. ภาคอีสาน

๔๕. ข้อใดคือคุณค่าทางอารมณ์ของนิทานพื้นบ้าน

ก. ผู้อ่านเกิดความสนุกสนาน ข. เกิดประเพณีสำคัญ ค. ผู้อ่านหรือผู้ฟังนำไปเป็นข้อคิด ง. เป็นแนวทางดำเนินชีวิต

๔๖. ธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องใด

ก. ลูกฆ่าพ่อ ข. แม่ฆ่าลูก ค. ลูกฆ่าแม่ ง. สามีฆ่าภรรยา

๔๗. เรื่องปลาบู่ทอง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งใด

ก. เรื่องของวีรบุรุษ ข. เรื่องการทำความดี ค. เรื่องเกี่ยวกับเทวดา ง. เรื่องเกี่ยวกับประเพณีขอฝน

๔๘. ผาแดง – นางไอ่ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีใด

ก. ประเพณีแห่นางแมว ข. ประเพณีบุญบั้งไฟ ค. ประเพณีลอยกระทง ง. ประเพณีสงกรานต์

๔๙. นิทานที่เล่าจากปากต่อปากเรียกว่าอย่างไร

ก. นิทานท้องถิ่น ข. นิทานมุขปาฐะ ค. นิทานลายลักษณ์ ง. นิทานราชสำนัก 

๕๐. นิทานเรื่องใดเป็นแบบอย่างของความอดทนทำความดี

ก. พญากงพญาพาน ข. โสนน้อยเรือนงาม ค. เกาะหนูเกาะแมว ง. พญาคางคก

๕๑. ข้อใดใช้สำนวนไทยถูกต้อง

ก. ทำอะไรไม่อดทนเลยนะเธอ ใจปลาซิวเหลือเกิน ข. เขาโกรธน้องชายมากจนเลือดเข้าตา แต่ทำอะไรไม่ได้ ค. พอเธอหายป่วยก็ปีกกล้าขาแข็ง ขับรถไปต่างจังหวัดคนเดียว ง. หลังจากซื้อของเสร็จแล้ว เขากับเธอก็เดินเคียงบ่าเคียงไหล่กันออกมาจากร้าน

๕๒. เรื่องราวเกี่ยวกับชาติต่างๆ ของพระพุทธเจ้าเรียกว่าอย่างไร

ก. นิทานพื้นบ้าน ข. นิทานปรัมปรา ค. นิทานชาดก ง. นิทานทศชาติ

๕๓. การทำอะไรที่ต้องเสียทรัพย์มากมายแล้วได้ผลไม่คุ้มค่ากับเงินทองที่ต้องเสียไป ตรงกับสำนวนใด

ก. ตีงูให้กากิน ข. ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ค. ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น ง. เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียนาน

๕๔. ข้อใดเป็นชื่อของนิทานพื้นบ้าน

ก. เกิดที่วังปารุสก์ ข. สุภาษิตพระร่วง ค. นางสิบสอง ง. สาวเครือฟ้า

๕๕. สำนวนในข้อใดเป็นอุปมาอุปไมย

ก. คงแก่เรียน ข. หยั่งดูชั้นเชิง ค อาบน้ำร้อนมาก่อน ง. ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง

๕๖. เป็นคนไม่มีชีวิตชีวา ไม่น่าสนใจ” มีความหมายตรงกับคำอุปมาอุปไมยในข้อใด

ก. ทำเป็นทองไม่รู้ร้อน ข. จืดชืดเป็นน้ำยาเย็น ค. เงียบเหมือนป่าช้า ง. ไม่มีข้อถูก

๕๗. ควรเติมคำใดลงในช่องว่าง “สมชายมอบเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้ที่พบกระเป๋าเอกสารของเขาเพื่อเป็น..............”

ก. สินบน ข. สินจ้าง ค. สินไหม ง. สินนํ้าใจ

๕๘. เกลียดสิ่งใดได้สิ่งนั้น" ตรงกับข้อใด

ก. เกลียดเข้ากระดูกดำ ข. เกลียดความความถึง ค. ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ ง. เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง

๕๙. ข้อใดเป็นสัมผัสพยัญชนะ ก. ตา – หร่า ข. แกง – แรง ค. ใหญ่ – ใส่ ง. แกง - แก้ว

๖๐. ประโยคใดวางส่วนขยายผิด

ก. วันนี้อากาศร้อนอบอ้าวเป็นอย่างมาก ข. ดอกชบาผลิบานสีแดงอยู่ริมรั้วบ้านของฉัน ค. ส้มตำไก่ย่างเจ้านี้สะอาด ปลอดภัย รับรองท้องไม่เสีย ง. การ์ตูนเรื่องนี้มีสาระและสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมเป็นอย่างดี

หมายเลขบันทึก: 562787เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2014 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2014 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

.... ดีมากค่ะ ภาษาของเรา ควรเก่งๆ นะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท