ไป Shopping ความรู้ที่ห้องสมุดคณะแพทย์ มข.


การได้รับรู้ เห็นข้อมูลใหม่ๆ อย่างน้อยให้ข้อมูลผ่านการรับรู้บ้าง เมื่อเวลาต้องการใช้ข้อมูลเรื่องใด ก็จะนึกออกว่า เคยเจอที่ไหนบ้าง
แหล่งความรู้ที่สำคัญที่หลายคนรู้จัก มีทั้ง Internet และ ห้องสมุด ซึ่งความแตกต่างของการเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้น Internet สามารถเข้าถึงข้อมูลจากที่ไหนก็ได้ แต่ห้องสมุด เราจะต้องเดินทางไปยังสถานที่ตั้ง

ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่ง คือ แหล่งข้อมูลใน Internet จะต้อง download ข้อมูลมา มีทั้งแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจาก ใครๆก็สามารถที่จะเผยแพร่ข้อมูลได้ทั้งนั้น ทั้งใน Blog website กระดานข่าว

หลายคนไม่เชื่อถือข้อมูลที่ได้รับจากอินเตอร์เนตมากนัก แม้ว่า ผู้ที่เขียนข้อมูล จะมีความรู้ระดับปริญญาก็ตาม และเขียนตามหลักการ ตามประสบการณ์ทำงานที่มีมา แต่ไม่มีใครเป็นผู้กลั่นกรองว่า ข้อมูลนั้น ถูกต้องเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน

แต่แหล่งข้อมูลในห้องสมุด อย่างน้อยก็มีการกลั่นกรองโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุดแล้ว ในส่วนของหนังสือ ตำรา วารสารวิชาการนั้น เนื้อหาในเล่ม จะถูกกลั่นกรองโดยกองบรรณาธิการของวารสารนั้นอย่างดีแล้ว

ความรู้ในห้องสมุด เราสามารถหยิบได้ในพริบตา ทั้งหนังสือพิมพ์  วารสารฉบับใหม่ และเก่า หนังสือคู่มือ ตำราต่างๆ

นายบอนเข้าห้องสมุด คณะแพทย์ มข. ในระยะเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง หยิบสารสารใหม่มาพลิกดูเนื้อหาในเล่ม อาทิ
- วารสารศูนย์บริการวิชาการ มข.
- วารสาร Health ของกรมอนามัย
- วารวารวิทยาศาสตร์ มข
- พุทธชินราชเวชสาร
- ยโสธรเวชสาร
- รามาธิบดีเวชสาร
- วารสารวิจัย มข.
- วารสารบัณฑิตศึกษา มข
- วารสารวิชาการสาธารณสุข
- วารสารสาธารณสุขขอนแก่น
- วารสารสร้างเสริมสุขภาพ
- วารสารหมอชาวบ้าน
- วารสารหมออนามัย

ประมาณครึ่งชั่วโมงที่หยิบวารสารที่สนใจ มาพลิกเปิดดูเนื้อหาในเล่ม ดูหัวข้อ รูปภาพ เรื่องไหนชอบ ก็คัดเลือกไปถ่ายเอกสาร เรื่องไหนไม่ยาวมาก พออ่านจบ ก็ใช้เวลาอ่านสักพัก

เปรียบเทียบเวลาที่ใช้ ระยะเวลาครึ่งชั่วโมง จากการท่อง internet คงจะยากเหมือนกัน กับการค้นหาและดูข้อมูลในปริมาณเท่ากับ 13 วารสาร แบบเปิดดูอย่างรวดเร็ว ให้เห็นภาพ รายละเอียดต่างๆ

ในห้องสมุดคณะแพทย์ เมื่อใช้เวลาค้นหาเอกสารที่ต้องการแล้ว ก็ไปหยิบหนังสือพิมพ์ 4-5 ฉบับมานั่งอ่าน เดินไปดูหนังสือปกใหม่ที่วางบนชั้น หยิบมาดู 7-8 เล่ม

ระยะเวลา 2 ชั่วโมง กับการค้นหา และเปิดดูข้อมูลข้างในอย่างรวดเร็วจากหนังสือ 7-8 เล่ม หนังสือพิมพ์ 4-5 ฉบับ วารสาร 13 เล่ม ยังไงก็ทำไม่ได้ใน Internet

ในช่วงที่นายบอนเรียนปริญญาตรีที่ มข. ช่วงนั้น มีเวลาว่างเยอะ เล่น Net ได้ทั้งวันทั้งคืน แต่ปัจจุบันนี้ ไม่เหมือนตอนนั้นแล้ว

ปัจจุบัน ในช่วง 1 - 2 เดือน ที่นายบอนแวะมาทำภาระกิจที่ขอนแก่น ก็จะหาโอกาสแวะห้องสมุดราว 1-2 ชั่วโมง  เพื่อเข้ามา shopping ข้อมูลแบบนี้

ได้รับรู้ เห็นข้อมูลใหม่ๆ อย่างน้อยให้ข้อมูลผ่านการรับรู้บ้าง เมื่อเวลาต้องการใช้ข้อมูลเรื่องใด ก็จะนึกออกว่า เคยเจอที่ไหนบ้าง

ข้อมูลที่ผ่านการรับรู้ จากห้องสมุด นายบอนจะจำได้มากกว่า ข้อมูลที่ผ่านการรับรู้จาก Internet เพราะในห้องสมุด นายบอนจะได้เห็นหน้าปก ได้จับ ได้เปิดดู ได้เห็นรูปภาพ เห็นเนื้อหาข้างใน แต่ข้อมูลใน Internet ต้องสืบค้นเท่านั้น


ข้อมูลวิจัย ความรู้ต่างๆ ที่ต้องการรายละเอียดมากๆ ใน Internet ข้อมูลบางหัวข้อ ไม่ละเอียดเพียงพอ ข้อมูลวิจัย มีแต่บทคัดย่อเป็นส่วนมาก อาจจะมีบางเรื่องที่มี Fulltext ให้ดาวน์โหลด แต่ปัจจุบัน รายละเอียดในห้องสมุด ก็ยังมากกว่าอยู่ดี

การ Shopping เหมือนกับการทำความรู้จัก สำรวจข้อมูล ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีความสะดวกสบายจาก Internet ที่ค้นหาข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา


แต่ถ้าสามารถเดินทางเข้าห้องสมุดได้ ยังไงก็จะได้พบกับข้อมูลที่มากกว่า ละเอียดกว่า ถ้าค้นหาเอกสารไม่พบ ก็ปรึกษากับบรรณารักษ์ได้  ยิ่งสามารถฝึกฝนทักษะในการค้นหาเอกสารข้อมูลได้ชำนาญแล้ว ข้อมูลทั้งโลกก็จะอยู่ในมือคุณ



หมายเลขบันทึก: 56228เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2006 00:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท