ลองมาทำความเข้าใจกับ MRCF SYSTEMในงานส่งเสริมการเกษตร


ต้องการให้นักส่งเสริมการเกษตร ถือคติประจำใจและนำไปใช้ในการทำงานประจำวัน คือ การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดีที่สุด หรือ Change to the Best

 

 

            ลองมาทำความเข้าใจกับ MRCF SYSTEMในงานส่งเสริมการเกษตร  ปัจจุบันการทำงานหลายๆองค์กร ก็จะมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรเป็นสำคัญ หากองค์กรใดที่มีการพัฒนาบุคลากรได้สำเร็จ เป้าหมายงานในองค์กรนั้นๆย่อมจะมีผลสำเร็จตามมาเช่นกัน ในขณะเดียวกันการบริหารจัดการภาครัฐ ในองค์กรต่างๆ ของรัฐซึ่งอาจจะมีเป้าหมายในการพัฒนาบุคลากรไว้เช่นกัน แต่ความสำเร็จในเป้าหมายของงานนั้นบางครั้งอาจไม่สามารถบ่งบอกถึงความสำเร็จได้ตามเป้าหมายขององค์กรนั้นฯได้ เพราะระบบการบริหารจัดการภาครัฐ บางหน่วยงานมีโครงสร้างที่ใหญ่ การพัฒนาบุคลากรย่อมจะยากลำบาก

 

 

           การพัฒนาระบบการทำงานด้านส่งเสริมการเกษตร ในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้บุคคลภายนอก ได้มองเห็นบทบาท ตัวตน และอัตลักษ์ของนักส่งเสริมการเกษตรอย่างชัดเจนในฐานะของ ผู้จัดการเกษตรในพื้นที่ และผู้นำการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง

                  

    

               เป้าหมายสำคัญ ที่ต้องการให้นักส่งเสริมการเกษตร ถือคติประจำใจและนำไปใช้ในการทำงานประจำวัน คือ การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดีที่สุด หรือ Change to the Best  :ซึ่งจะต้องเริ่มจาก การปรับบทบาทของตนเอง เป็นอันดับแรก คือต้องเปลี่ยนมุมมองทั้งวิธีคิด และวิธีการทำงาน รวมทั้งต้องปรับระบบการทำงานส่งเสริมการเกษตรให้สามารถบูรณาการทรัพยากรจากทุกภาคส่วน จึงจะสามารถนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่เกษตรกร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรได้

 

                          

 

            เริ่มต้นจากการปรับแนวคิดของบุคลากร จะเป็นการเริ่มต้นและมีความสำคัญ หากนักส่งเสริมมีการปรับแนวคิด โดยมีมุมมองเชิงระบบเป็น มีมุมมองทางบวกมากขึ้น การออกแบบงานในการบริหารจัดการงานส่งเสริมการเกษตรพื้นที่ จะต้องมีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาให้ชัดเจน วัดผลสำเร็จได้ เมื่อวันที่ ๒๑ มกรคม ๒๕๕๗ ทีมงานจากสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ได้ไปร่วมเวทีพูดคุยกับนักส่งเสริมการเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร เพื่อร่วมกันออกแบบกระบวนการทำงาน ตามระบบ MRCF SYSTEM ในจุดนำร่อง ซึ่งอำเภอเมืองฯมีการคัดเลือก นักส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบตำบลเทพนคร ที่ชื่อ นางสุภาพ อุ่นเรือน ( นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ )

 

             เวทีการสร้างความเข้าใจในครั้งนี้ เราได้ร่วมกัน กำหนด Model การทำงาน เพื่อวางแผนปฏิบัติการทำงานต่อไป จากนั้นแล้ว กระบวนการทุกขั้นตอนก็จะต้องเชื่อมกับการทำงานในภาวะปรกติของหน่วยงานที่มีการคัดเลือกพื้นที่ดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด( CEO )  งบประมาณ จากกลุ่มจังหวัด และงบปรกติของกรมส่งเสริมการเกษตรที่เรียกว่า งบ Function นั่นเอง บางส่วนยังได้รับงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ควบคู่กันไปด้วย ล้วนแต่จะต้องมาจากการวิเคราะห์ ศักยภาพของพื้นที่และการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน โดยเฉพาะเกษตรกร กลุ่มอาชีพทางการเกษตร ที่ต้องการรับการพัฒนาอาชีพของตนเอง

              

 

              นักส่งเสริมการเกษตร จะต้องมีการพัฒนาไปสู่ Smart Extension ในระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ ที่เรียกว่าผู้จัดการการเกษตรในพื้นที่นั่นเอง ซึ่งจะต้องมีเป้าหมายหลักของการทำงาน คือ พัฒนาการผลิต โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและปรับเปลี่ยนการผลิต การพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนในขณะเดียวกัน นักส่งเสริมที่ก็จะต้องมีความรู้ความเข้าใจการตลาดของสินค้าเกษตรควบคู่กันไปด้วย

               

 

              สิ่งสำคัญของการนำระบบ MRCF SYSTEM ไปปฏิบัติในพื้นที่นั้น ก็จะต้องเริ่มจากการบริหารจัดการข้อมูล ของนักส่งเสริมการเกษตร จะต้องใช้ข้อมูลในการทำงาน โดยสามารถใช้ข้อมูลแผนที่ ( Mapping )ในการทำงาน และมีการจัดระบบการใช้ข้อมูลสื่อสารระยะไกล ( Remote Sensing ) และที่สำคัญนักส่งเสริม จะต้องเข้าใจในการเตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับการให้บริการแบบเจาะจง (Specific Field Service )

 

              จากการลงในพื้นที่และชุมชนเป้าหมาย community Participation ในกรณีศึกษานำร่องของตำบลเทพนคร ที่หมู่ ๑๑ บ้านคลองเรือ ตำบลเทพนคร อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เริ่มต้นจากการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประจำจังหวัดกำแพงเพชร ได้กำหนดพื้นที่ที่จะเป็นหมู่บ้านเป้าหมายในการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน ในการพัฒนาการเกษตร โดยมีการจัดเวทีชุมชนในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗  ณ. ศาลาวัดคลองเรือ  หมู่ที่ ๑๑ ดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์สภาพของชุมชน และวิเคราะห์ปัญหาของการผลิตในชุมชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาไปสู่แนวทางการพัฒนาของชุมชนคลองเรือ  แต่ต้องมุ่งเน้นให้ชุมชนได้เกิดการเรียนรู้ในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป ครับ

 

เขียวมรกต

 ๑๕ กพ. ๕๗

หมายเลขบันทึก: 561731เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2014 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2014 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

-สวัสดีครับ..

-MRCF เป็นระบบการทำงานที่เรานักส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติมาอยู่แล้ว..เพียงแต่นำเอามาจัดให้เข้ากับระบบ....ซึ่งหากนักส่งเสริมการเกษตรได้ทำความเข้าใจถึงระบบนี้ ผมว่าสามารถพัฒนาและทำงานแบบมีเป้าหมาย/ประสบผลสำเร็จแน่นอนครับ

-เป็นกลไลเล็ก ๆ ในงานส่งเสริมการเกษตรที่จำนำไปสู่การขับเคลื่อนครับ

-Change to the Best..

-ขอบคุณครับ..


ฐานพัชร์ เลิศจารุอนันต์

ขอบคุณ พี่สายัณห์ ที่ให้ข้อมูลที่เหมือนจะยาก ให้่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย ๆ แต่น่าเสียดายที่ จนท.ระดับพื้นที่อีกจำนวนมาก ยังเข้าไม่ถึงข้อมูลดีๆ อย่างนี้ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท