อาจารย์ บุคลากรคณะเกษตรฯ มข. แนะนำเกษตรกรผลิตพืชตามตามเกณฑ์ GAP


ผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิตตามระบบ GAP มีความปลอดภัยต่อเกษตรกร ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ผลผลิตมีคุณภาพปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารเคมีและเชื้อโรค เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ

          รองศาสตราจารย์ ดร.เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุบล ตังควานิช ดร.ชุตินันท์ ชูสาย และนางรัติกาล ยุทธศิลป์ สังกัดภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเชิญจากสำนักส่งเสริมมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นวิทยากรอภิปรายและให้ความรู้ เรื่อง “ระบบการจัดการบริหารศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM)” ให้แก่เกษตรกร ผู้ผลิตพืชอาหาร และ เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในเขตจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดใกล้เคียง ในโครงการสัมมนา เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร จำนวน 290 คน ณ โรงแรมโฆษะ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557
          การบริหารศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management ; IPM) ประกอบด้วย หลักการของการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานซึ่งเป็นหัวใจที่สำคัญของการผลิตพืชแบบปลอดภัยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) หลักการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืช การควบคุมศัตรูพืชด้วยสารเคมีเกษตรและการควบคุมศัตรูพืชด้วยชีววิธี หลักการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง
          การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agricultural Practice; GAP) คือ แนวทางการปฏิบัติในไร่นา เพื่อผลิตสินค้าปลอดภัย ปลอดศัตรูพืช และคุณภาพถูกใจผู้บริโภค เน้นวิธีควบคุมและป้องกันการเกิดปัญหาในกระบวนการผลิต เกษตรกร จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด 8 ประการ เพื่อให้ได้รับการรับรอง ดังนี้ 1.ใช้น้ำจากแหล่งน้ำสะอาด ไม่มีการปนเปื้อนจากสารพิษหรือสิ่งที่เป็นอันตราย 2.ปลูกในพื้นที่ดี ไม่มีเชื้อโรค ไม่มีสารพิษในดิน พื้นที่ปลูกไม่เคยเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม โรงเก็บสารเคมี คอกสัตว์ หรือเป็นที่ทิ้งขยะมาก่อน 3.ใช้และเก็บ ปุ๋ย สารเคมีถูกต้อง แยกออกจากที่พักอาศัย และจัดเป็นหมวดหมู่ไม่ปะปนกัน มีป้ายกำกับชัดเจน รวมถึงการใช้สารเคมีด้วยความระมัดระวังและปฏิบัติตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด 4.ปฏิบัติและดูแลรักษาพืชในแปลง ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแผนควบคุมคุณภาพ 5.สำรวจศัตรูพืชและป้องกันกำจัดอย่างถูกต้อง 6.เก็บเกี่ยวผลผลิตถูกเวลา ถูกวิธี 7.ขนย้ายและเก็บรักษาผลผลิตสะอาด ปลอดภัย และ 8.จดบันทึกทุกขั้นตอน
          ผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิตตามระบบ GAP มีความปลอดภัยต่อเกษตรกร ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ผลผลิตมีคุณภาพปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารเคมีและเชื้อโรค เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ

          รัติกาล ยุทธศิลป์ ข้อมูลข่าว/ภาพ
          กิตติศักดิ์ สิงหา วิเคราะห์ สังเคราะห์และเผยแพร่

หมายเลขบันทึก: 561472เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2014 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2014 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท