Overseas people or Transnational people


Overseas people or Transnational people

โดย นางสาววิกานดา พัติบูรณ์ นักกฎหมายโครงการบางกอกคลินิก

เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

------------------------------------------------------------------------------

              จุดเริ่มต้นของการค้นความความหมายของคำว่า Overseas และคำว่า Transnational เกิดจากความเข้าใจผิดของผู้เขียน ที่คิดว่าสองคำนี้มีความหมายเหมือนกัน และสามารถใช้แทนกัน จึงได้ใช้คำว่า overseas disadvantage child เรียกแทนคำว่าเด็กข้ามชาติด้อยโอกาส ในภาษาไทย เมื่อเผยแพร่ออกไป ท่านอาจารย์พันธุ์ทิพย์และอาจารย์พิรุณาได้กรุณาท้วงติง และตั้งคำถามถึงเรื่องความหมายและบริบทการใช้คำศัพท์สองคำนี้ ผู้เขียนจึงได้ถือโอกาสเรียนรู้และค้นคว้าเกี่ยวกับความหมายและบริบทการใช้คำศัพท์สองคำนี้

-----------------------

ความหมายตามพจนานุกรม    

----------------------------

             จากการค้นคว้าหาความหมายของคำว่า Overseas และ Transnational จาก พจนานุกรม (พจนานุกรมแบบธรรมดาและ พจนานุกรมเกี่ยวกับคำศัพท์ทางกฎหมาย) และจากการสอบถามเจ้าของภาษา พบความหมายโดยสรุปดังต่อไปนี้

              -  คำว่า Overseas ตามพจนานุกรม หมายความว่า connected with foreign countries, especially those separated from your country by the sea or ocean, in, from, or to other countries

              -  คำว่า Transnational พจนานุกรม หมายความว่า existing in or involving many different countries

--------------------------------------------

เมื่อใช้คำว่าOverseas และคำว่า Transnational มาเรียกบุคคล

---------------------------------------------------------

               เมื่อนำสองคำข้างต้นมาใช้เรียกบุคคลจะมีความหมายโดยสรุปดังต่อไปนี้  คำว่า Overseas People ในภาษาไทยหมายถึง “ คนโพ้นทะเล” ใช้เรียกบุคคลที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศตนเอง,คนที่อยู่ต่างประเทศ  ส่วนคำว่า Transnational  people ในภาษาไทยหมายถึง“ คนข้ามชาติ” ใช้เรียกคนที่มีการกระทำในลักษณะที่เกี่ยวข้องระหว่างหลายประเทศ  ไม่ว่าบุคคลนั้นจะอาศัยอยู่หรือไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศตนเองก็ตาม

               โดยเราจะใช้คำว่า Oversea people เรียกคนที่อาศัยอยู่ต่างประเทศในลักษณะทั่วไป ขณะเดี่ยวกันคำว่าTransnational people อาจจะเป็น Oversea people ก็ได้แต่ต้องมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับกับหลายประเทศ คำว่า Transnational people จึงมีความหมายแคบและเฉพาะเจาะจงกว่าคำว่า Overseas  people

                กรณีน้องแอสโม่เคร (กรณีศึกษาในโครงการศึกษาวิจัยและให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเด็กและผู้ด้อยโอกาสในชุมชนชายแดนไทย-พม่า คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ) น้องแอสโม่เคร ซึ่งเป็นเด็กสัญชาติไทย และครอบครัวอาศัยอยู่ที่ บ้านก้อเชอ ประเทศเมียนมาร์  น้องจึงเป็นเด็กไทยที่อาศัยอยู่ต่างแดน เราสามารถเรียกน้องว่า  “เด็กโพ้นทะเล” ได้ นอกจากนี้ การที่น้องมีพ่อเป็นคนสัญชาติไทยและมีแม่เป็นคนสัญชาติเมียนมาร์ น้องจึงมีลักษณะที่มีความเกี่ยวข้องระหว่างประเทศไทยและประเทศเมียนมาร์ น้องจึงเป็น “เด็กข้ามชาติ”ด้วย

----------

อ้างอิง

-------------

๑.      Dictionary of Law L.B. CURZON

๒.      Cambridge Advance Learner’s Dictionary Dictionary

๓.      Mozley & Whileley’s Law Dictionary

๔.      Oxford Dictionary

๕.      Oxford Dictionary of Law

 

หมายเลขบันทึก: 561289เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2014 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2014 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท