ถอดความรู้จากการสัมมนาในหัวข้อ "กิจกรรมการบำบัดในฝ่ายจิตสังคม"


ถอดความรู้จากการสัมมนาในหัวข้อ "กิจกรรมการบำบัดในฝ่ายจิตสังคม"

         วันนี้ข้าพเจ้าและเพื่อนๆ นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าฟังการสัมมนาเรื่อง กิจกรรมบำบัดในผู้รับบริากรจิตเวช โดย อาจารย์ ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง การสัมมนาในครั้งนรี้ทำให้พวกเราได้รับความรู้ต่างๆมากมาย 

           ในวันนี้ข้าพเจ้าได้นำสิ่งต่างๆ ที่ได้จากการฟังสัมมนามาเล่าสู่กันฟังให้ผู้อ่านได้อ่านกัน โดยข้าพเจ้าหวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับความรู้ไม่มากก็น้อยจากการอ่านในครั้งนี้

 

กิจกรรมบำบัดในฝ่ายจิตเวชมีภารกิจใดที่สำคัญ

      กิจกรรมบำบัดในฝ่ายจิตเวชนั้นเป็นการส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในการดำเนินชีวิตและสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตนเองมากที่สุด เน้นการ recovery mental illness ให้กลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุด โดยสำหรับประเทศไทยเพิ่งมีการเปลี่ยนเกี่ยวกับทัศนคติการมองเกี่ยวกับผู้รับบริการทางจิตเวชได้ไม่นาน โดยในปัจจุบันหลายโรงพยาบาลได้พยายามเน้นจัดทำนโยบายในการส่งเข้าสู่ชุมชน เน้นการสร้างเครือข่ายในชุมชน เช่น การสร้างเครือข่ายกับ รพสต. เป็นต้น แต่การติดต่อประสานงานนี้เป็นไปด้วยความยากลำบากเนื่องจาก แต่ละองค์กรขึ้นอยู่กับสังกัดคนละสังกัดกันทำให้การส่งต่อผู้รับบริการและการประสานงานเพื่อส่งต่อผู้รับบริการนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก รวมถึงการรับผู้รับบริการได้ในจำนวนที่จำกัดในแต่ละโรงพยาบาลและยังมีโรงพยาบาลเฉพาะทางน้อย จึงทำให้ผู้รับบริการได้รับบริการไม่ทั่วถึง

ทำอย่างไรให้การรักษานั้นประสบผลสำเร็จสูงสุด

      เนื่องจากได้เคยไปดูงานและศึกษาการทำงานในประเทศมาเลเซีย ที่โรงพยาบาลเปอร์มาย ซึ่งที่โรงพยาบาลแห่งนี้จะเน้นเกี่ยวกับการที่ผู้รับบริการได้เข้าไปทำงานในสถานที่จริง ไม่เน้นการให้บำบัดการรักษาในโรงพยาบาล หรือในประเทศสิงคโปร์เพื่อนร่วม AEC ของเราก็เช่นกัน จะเน้นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการในบริบทจริง แต่ในประเทศไทยนั้นจะเน้นการบำบัดฟื้นฟูในโรงพยาบาล ซึ่งผู้รับบริการจะไม่ได้ทดลองการใช้ชีวิตจริง ทำให้ผู้รับบริการไม่ได้ฝึกการแก้ไขสถานการณ์ด้วยตนเอง อาจเนื่องด้วยการติดต่อประสานงานกับผู้ประกอบการยังไม่ดีเท่าที่ควร และส่วนใหญ่ยังเน้นแก้ปัญหาทางกายมากกว่าทางจิตใจ ดังนั้นจึงคิดว่าการฝึกฝนในโรงพยาบาล และเมื่อสามารถทำได้ดีแล้ว ควรได้ไปฝึกในสถานที่จริง เพื่อให้ผู้รับบริการได้มีการปรับตัวและแก้ปัญหาด้วยตนเอง

จุดแข็งและจูดอ่อนของกิจกรรมบำบัดในฝ่ายจิตเวชคืออะไร

        จุดอ่อนของนักกิจกรรมบำบัดในประเทศไทย คือนักกิจกรรมบำบัดมีจำนวนน้อย หลายๆคนยังไม่รู้จัก และไม่เข้าใจบทบาทการทำงานของนักกิจกรรมบำบัดเท่าที่ควร แม้แต่ในบุคคลากรทางการแพทย์ด้วยกันเอง ดังนั้นเราจึงควรแสดงบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดให้ชัดเจน อาจเริ่มจากการอธิบายบทบาทหน้าที่กับทีมสหวิชาชีพให้เข้าใจก่อน ส่วนจุดแข็งคือ เรามีหลักการทางกิจกรรมบำบัด และเหตุผลทางคลินิคเป็นของตนเอง เพื่อใช้ในการรักษาผู้รับบริการ และเราควรที่จะอธิบายเหตุผลทางคลินิคให้แก่ผู้อื่นได้ฟังและเข้าใจในการรักษาของเราด้วย

กลยุทธ์สำคัญในกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตเวช

        นักกิจกรรมบำบัดในฝ่ายนี้ควรเข้าถึงผู้รับบริการ เรียนรู้ความรู้สึก เข้าใจความรู้สึกของผู้รับบริการ เป็นผู้ฟังที่ดี และเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับผู้รับบริการ เข้าถึงชุมชุนและครอบครัวของผู้รับบริการ เพื่ให้การช่วยเหลือย่างเต็มที่ เนื่องจากการรักษาในผู้รับบริการจิตเวช ครอบครัวและสังคมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผลการบำบัดนั้นกีขึ้น รวมถึงการดูถึงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในสังคมของผู้รับบริการ เพื่อมองไปถึงการกลับไปประกอบอาชีพ เมื่อผู้รับบริการกลับไปอยู่ในบ้านเกิดของตนเอง รวมไปถึงการพูดคุยกับเพื่อนบ้านและครอบครัวให้เข้าใจถึงอาการและวิธีการดูแลผู้รับบริการ

ความแตกต่างของกิจกรรมบำบัดมหิดล และ เชียงใหม่

        การเรียนการสอนและหลักสูตรของทั้งสองมหาวิทยาลัยนั้นมีความคล้ายคลึงกัน แต่เพียงมหาวิทยาลัยมหิดลอยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร ทำให้มีโอกาสในการทำงานร่วมกับนักกิจกรรมบำบัดที่มีความเฉพาะทางและมีโรงพยาบาลเฉะาพทางต่างๆมากมาย

คุณอยากเห็นกิจกรรมบำบัดในฝ่ายจิตเวชเป็นอย่างไรในอนาคต

         ในปัจจุบันประเทศไทยนั้นมีผู้รับบริการที่มีอาการทางจิตเวชทั้งหมด สิบล้านคน แต่มีเพียงหนึ่งล้านคนเท่านั้นที่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชต่างๆ ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มที่จะมีผู้รับบริการที่มีอาการทางด้านจิตเวชเพิ่มขึ้น ดังนั้นเราในฐานะนักกิจกรรมบำบัดจึงควรวางแผนเชิงรุกมากขึ้น คือเข้าไปช่วยเหลือผู้รับบริการในชุมขน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของผู้รับบริการ รวมถึงเน้นเรื่อง mental health prevention & promotion รวมถึงการเตรียมความพร้อมกลับเข้าสู่การทำงานของผู้รับบริการ มีการวางแผน และพูดคุยกับผู้ประกอบการและคนในสังคม วางหลักเกณฑ์ความสามารถในการกลับไปทำงานทั้งในโรงงานและในชุมชนเดิมของผู้รับบริการ อีกทั้งยังหวังว่าในอนาคตจะมีนักกิจกรรมบำบัดในฝ่ายนี้เพิ่มมากขึ้น

เราจะสามารถในทักษะความสามารถที่มีอยู่กับบริบทในสังคมไทยอย่างไร

       เราสามารถใช้ทักษะความสามารถของเราในการดูให้ถึงบริบทและสิ่งแวดล้อมของผู้รับบริการ ปรับประยุกต์สิ่งที่มีให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของผู้รับบริการ ให้ผู้รับบริการสามารถใช้ชีวิตและดำรงชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเองมากที่สุด รวมถึงการเลือกใช้กรอบอ้างอิงที่เหมาะสม คำนึงถึงวัฒธรรมความเชื่อของผู้รับบริการ เพื่อช่วยเหลือผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการใช้พระพุทธศาสนา การเข้าวัดฟังธรรมเพื่อให้จิตใจสงบ ได้พูดระบายเล่าถึงสิ่งที่ไม่สบายใจให้บาทหลวงฟังในศาสนาคริส เป็นต้น

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรในการเปิด AEC

       เมื่อมีการเปิด AEC นักกิจกรรมบำบัดจากประเทศที่พัฒนาแล้วก็จะเข้ามาทำงานยังประเทศไทย ทำให้อัตรการแข่งขันการเข้าทำงานนั้นสูงขึ้น สำหรับในประเทศไทยกิจกรรมบำบัดในฝ่ายจิตเวชจะเป็นที่รู้จักมากขึ้น ผู้คนเริ่มรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการทางจิตเวชมากขึ้น แต่ปัจจุบันในประเทศไทย ยังขาดความรู้เรื่อง recovery & well-being ซึ่งเป็นหลักการที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถกลับเข้าไปสู่การดำเนินชีวิตในบริบทและสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขมากที่สุด ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาและหาความรู้เรื่องนี้ต่อไป 

 

      --------------------------------- ENDING ---------------------------------------

 

บทความเป็นภาษาอังกฤษ (English version)>>>>> http://www.gotoknow.org/posts/561680

หมายเลขบันทึก: 561283เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2014 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2014 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-สวัสดีครับ

-ตามมาให้กำลังใจทีมกิจกรรมบำบัดครับ

-มาบำบัด..กับเมนูอร่อยๆ ด้วยกันนะครับ..

-ขอบคุณครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท