2. โครงการป้องกันกระดูกหักซ้ำ ( Capture the Fracture )


รายงานการประชุม  Fragility Fracture

ครั้งที่ 1/ 2557 วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

ณ สำนักงานมูลนิธิฯ อาคารสุภาวดีทาวเวอร์

 

รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

1. นายแพทย์สุทร                         บวรรัตนเวช                      ที่ปรึกษามูลนิธิฯ

2. นพ.อรรถฤทธิ์                            ศฤงคไพบูลย์                   ประธานมูลนิธิฯ

3. นพ.ทวี                                   ทรงพัฒนาศิลป์                 ประธานชมรมผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูกพรุนฯ

4. พญ.สุขจันทร์                            พงษ์ประไพ                     ประธานชมรมรักษ์กระดูก

5. คุณอรจิตต์                               บำรุงสกุลสวัสดิ์                 ผอ.สำนักสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี สปสช

6. พ.ท.หญิงสุดาทิพย์                      ศิริชนะ                           แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว รพ.รร.6

7. พ.ท.หญิง พัฒน์ศรี                      ศรีสุวรรณ                       แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว รพ.รร.6

8. คุณ ขนิษฐา                             ศิริวรรณ                         พยาบาลประสานงาน รพ.กรุงเทพ

9. คุณ อัจฉรี                               คมกฤษ                          พยาบาลประสานงาน รพ.กรุงเทพ

10.คุณธวันวนัช                            จงสุพรรณพงศ์                   ตัวแทนบริษัท MSD

11.คุณขวัญใจ                              บัณฑิตมหากุล                  ตัวแทนบริษัท GSK

12. กันต์ฤทัย                              ทรงพัฒนาศิลป์                  ผู้จัดการมูลนิธิฯ

13. พวงพยอม                             วัชรเสวี                          เจ้าหน้าที่มูลนิธิ

 

เริ่มประชุมเวลา 13.00 น.

 

หลังจากมีการแนะนำตัวของผู้เข้าร่วมประชุมแล้ว พญ.สุขจันทร์ พงษ์ประไพ รับหน้าที่เป็นผู้ประสานงานโครงการป้องกันกระดูกหักซ้ำ ในผู้ป่วยที่มีกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน เริ่มต้นจากกลุ่มแพทย์ในมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทยฯ เห็นแนวโน้มอุบัติการผู้ป่วยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนเพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทย และแนวโน้มกระดูกหักซ้ำก็เพิ่มสูงขึ้นตาม จึงริเริ่มโครงการ Fragility Fracture : holistic secondary fracture  prevention program โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือให้มีการดูแลรักษาผู้ป่วยเหล่านี้แบบสหสาขาวิชาชีพตามมาตรฐานและป้องกันการเกิดกระดูกหักซ้ำ โครงการดังกล่าว ได้ทำมาแล้วหลาย เช่น อังกฤษ  สกอตแลนด์ อเมริกา ฯลฯ พบว่าได้ผล เป็นที่น่าพอใจว่าช่วยชลอหรือลดการเกิดกระดูกหักซ้ำ บางประเทศพบว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอีกด้วย

 

นพ.สุทร  บวรรัตนเวช ได้ชี้ให้เห็นว่ายังมีช่องว่างในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่ากระดูกสะโพกหักโดยแพทย์ส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงปัญหาผู้ป่วยแบบองค์รวม เช่น ภาวะโภชนาการ โรคร่วม ป้องกันการหกล้ม การรักษาโรคกระดูกพรุน เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหากระดูกหักซ้ำตามมา การดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพมีความจำเป็น และมีการยืนยันจากหลายประเทศแล้วว่าช่วยลดการเกิดกระดูกหักซ้ำได้ นพ. สุทร บวรรัตนเวช ให้ความเห็นว่า แนวทางการรักษาและป้องกันกระดูกหักที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมาก จากประสบการณ์ที่ริเริ่มการทำโครงการนี้ พบว่า  ปัจจัยที่ทำให้โครงการนี้สำเร็จได้ คือ

 

1         ทีมงาน ที่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงปัญหานี้ร่วมกัน

2         ต้องมีผู้นำ ที่เห็นความสำคัญและพร้อมที่จะสนับสนุน ทั้งทางด้านการเงิน  เครื่องมือ และบุคลากร

3         ผู้ประสานงานโครงการ ซึ่งอาจจะป็น พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึก และเข้าใจโครงการเป็นอย่างดี เนื่องจากโครงการรูปแบบนี้เป็นการทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ

 

นพ. ทวี  ทรงพัฒนาศิลป์  ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หลาย ๆ ประเทศ ทั่วโลก ได้ทำโครงการป้องกันการเกิดกระดูกหักซ้ำ ในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน แต่ใช้ชื่อโครงการต่าง ๆ กัน ได้แก่ Fracture Liason Service, Capture the Fracture, Fragility Fracture และอื่น ๆ อีกหลายชื่อ และมีรูปแบบในการทำโครงการ แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ในรายละเอียด ของแต่ละประเทศ แต่มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือป้องกันกระดูกหักซ้ำ จากประสบการณ์ ที่ได้ร่วมทำโครงการเกี่ยวกับเรื่องนี้มา 2-3 โครงการแล้ว พบว่ามีอุปสรรคพอสมควรคือ

 

1         ไม่ได้รับการสนับสนุนโครงการ จากผู้บริหาร ซึ่งไม่เห็นความสำคัญในเรื่องนี้

2         แพทย์ทางศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์  มากกว่าครึ่งหนึ่ง ไม่คิดว่าการรักษาโรคกระดูกพรุนมีความสำคัญ และไม่ใช่หน้าที่ ที่ต้องรักษา และยังไม่มีความรู้เรื่องโรคกระดูกพรุนเพียงพอ

3         ผู้ป่วยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน หลังจากได้รับการรักษาโดยแพทย์ทางศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์แล้ว ไม่ได้ใส่ใจในการรักษาโรคกระดูกพรุนหรือส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ดูแลร่วมกัน

4        กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้จัดลำดับความสำคัญของโรคกระดูกพรุนในลำดับต้นๆ เพราะมีโรคเรื้องรังอื่นๆเช่นเบาหวาน ความดันสูง โรคหัวใจ มะเร็ง ที่ยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญกว่ามาก จึงไม่ได้รับงบประมาณ ในการรักษาโรคกระดูกพรุน

 

คุณขนิษฐา ศิริวรรณ จากโรงพยาบาลกรุงเทพ ฯ ได้นำเสนอข้อมูลการจัดทำโครงการป้องกันการเกิดกระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ในฐานะเป็นผู้ประสานงานโครงการ ซึ่งใช้เวลากว่า 2 ปี ในการพัฒนาโครงการ ความยากลำบากอยู่ที่ต้องประสานกับทุกสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกันตามวัตถุประสงค์ โดยนำแนวทางปฏิบัติของแต่ละฝ่ายมาเชื่อมโยง เพื่อให้ได้ความครบถ้วนของภาพรวมแนวทางการดูแลรักษา ซึ่งบางกรณีอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติในองค์กร ทำให้ผู้ปฏิบัติยอมรับได้บ้างไม่ได้บ้าง อย่างไรก็ตาม คุณขนิษฐา

 

ศิริวรรณ ให้ความเห็นว่าปัจจัยที่ทำให้โครงการนี้สำเร็จได้คือ ผู้นำองค์กรต้องเห็นด้วยและให้การสนับสนุนเต็มที่

แนวทางปฏิบัติที่โรงพยาบาลกรุงเทพนำมาใช้อ้างอิงคือ

BLUE BOOK 

British Orthopaedic Association

Prevention and management of hip fracture in older patient

Scottish Guideline Network  intercollegiate

 Hip fracture The management of hip fracture in adults

National Institute for Health and Clinical Excellence

 

คุณอัฉรี คมกฤษ ได้กล่าวถึงการประสานงานโครงการที่เริ่มปฏิบัติจริงที่โรงพยาบาลกรุงเทพ ในการใช้ Geriatric Hip Fracture Pathway รายละเอียดดูได้จากเอกสารแนบ

 

คุณอรจิต  บำรุงสกุลสวัสดิ์ ผอ.สำนักสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี สปสช ได้กล่าวว่า สปสช. อาจช่วยเชื่อมโยงการดูแลต่อเนื่องหลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล ในส่วนทำของ subacute , long term care และ community based rehabilitation อย่างไรก็ตาม  คุณอรจิต บำรุงสกุลสวัสดิ์ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ต่อโครงการป้องกันกระดูกหักซ้ำจากโรคกระดูกพรุน ของมูลนิธิ ฯ และยินดีให้คำปรึกษาโครงการและช่วยสนับสนุนบางกรณีในเรื่องการป้องกัน เบื้องต้นแนะนำว่าอาจทำโครงการร่วมกับ สปสช.ในการให้ความรู้แก่บุคลากรสาธารณสุข ให้เข้าใจถึงแนวคิดเรื่องการป้องกันนี้ก่อนรวมถึงการจัดอบรมเตรียมสร้างผู้ประสานโครงการ ( nurse coordinator )

 

ที่ประชุมได้อภิปรายกันต่ออีกพอสมควร สรุปเพื่อการดำเนินการต่อดังนี้

 

  1. ใช้ชื่อโครงการว่า Capture the Fracture
  2. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง   “ Capture the Fracture “   เบื้องต้นปีนี้แก่แพทย์ทางศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์  ในการประชุมวิชาการทางการแพทย์บางโอกาส รวมถึงการประชุม Advance Course in Osteoporosis  ที่จะจัดโดยมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทยฯซึ่งรับผิดชอบโดย นพ.ทวี ทรงพัฒนาศิลป์
  1. เสนอ นพ. สุทร บวรรัตนเวช เป็นประธานโครงการ “ Capture the Fracture “ พญ. สุขจันทร์

       พงษ์ประไพ จะทำหน้าที่ประสานงานคณะทำงานชุดนี้  พร้อมเสนอให้มีการประชุมความก้าวหน้าต่อเนื่อง ทุก 2 เดือน ต่อครั้ง

  1. โครงการนี้ใช้ชื่ออยู่ภายใต้มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทยฯ

 

 

ปิดประชุมเวลา 15.30 น.

 

 

ผู้สรุปรายงานการประชุม

 

 

 

นางกันต์ฤทัย   ทรงพัฒนาศิลป์                                              พญ.สุขจันทร์  พงษ์ประไพ

หมายเลขบันทึก: 561255เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2014 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2014 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท