ครู...อาชีพที่ต้องการมากกว่า ความรู้!


ผู้ที่มีความรู้มาก อาจไม่สามารถเป็น "ครู" ของใครได้ แต่ผู้ที่เต็มไปด้วยหัวใจของความเป็นครู แม้ไม่มีความรู้มาก ก็สามารถเป็น "ครู" ที่สอนคนให้เป็นคนได้...

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผมเฝ้าคิดภาพตัวเองเป็นครูอยู่เสมอ คิดเพียงแค่ว่าอยากสอน อยากสนุกไปพร้อม ๆ กับเด็กนักเรียน ภาพของตัวเองขณะเป็นครู จึงเต็มไปด้วยความสนุก ราวกับว่า ชีวิตนี้ ไม่มีอาชีะอะไรจะโชคดีและสบายขนาดนี้แล้ว

แต่ช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้ก้าวเข้าสู่สายวิชาชีพครูอย่างแท้จริง ทำให้ผมได้พบว่าเส้นทางการเป็นผู้ให้ความรู้ ไม่ได้สบายและราบเรียบเหมือนที่เคยฝันไว้

ครั้งแรกของการยืนหน้าห้องเรียนเพื่อสอนเด็กนักเรียน มีสิ่งที่ผุดเข้ามาในหัวของผมมากมายเช่น จะสอนอะไรดี? จะเริ่มจากอะไรดี? พวกเขาจะเข้าใจที่เราพูดไหม? ทำยังไงคุมชั้นเรียน? และด้วยสายตาหลากหลายคู่ที่จับจ้องมาที่ผม ทำให้ผมเห็นอะไรบางอย่างที่อยู่ในตาของพวกเขา 

นักเรียนทุกคนกำลังมองมาที่ผม ซึ่งตอนนี้ไม่ใช่นักเรียนอีกต่อไป ผมกำลังเป็นคุณครู (ครูมือใหม่เสียด้วย) พวกเขากำลังคาดหวังในตัวผม (คาดหวังไว้สูงด้วย) ดังนั้น!! ผมจึงต้องตัดความกังวลทิ้งไปก่อน ผมต้องสอน ให้ความรู้ ให้ทุกอย่างที่เด็กอยากรู้ ให้ความรู้ทั้งหมดที่ผมมีก็ได้ถ้าพวกเขาต้องการ

สิ่งแรกที่ผมได้เรียนรู้จากการได้เป็นครูครั้งนี้คือ ผู้ที่เป็นครู ต้องแบกภาระที่มากกว่าการให้ความรู้แก่คนอื่น ครูไม่เพียงแต่จะต้องเป็นผู้ให้วิชาความรู้แก่นักเรียนแล้ว ยังเป็นผู้ที่ต้องให้วิชาชีวิตอีกด้วย ให้พวกเขาเหล่านั้นรู้จักคิดให้เป็น ใช้ชีวิตให้เป็น ถึงจะเรียกได้ว่าเราคือครูของพวกเขา

เรื่องต่อมาคือความรู้ที่ผมเรียนมาทั้งหมด จากที่เคยคิดว่าไม่จำเป็นต้องได้ใช้ กลับได้ใช้และใช้มากกว่าที่เราเรียนมา เมื่อต้องสอนผู้อื่น หากครูขาดความรู้ในเรื่องที่ตนเองจะสอนแล้ว จะส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถเรียนรู้เรื่องนั้น ๆ ได้ หรือหากว่าพวกเขาได้เรียนรู้ พวกเขาก็อาจจะได้ความรู้ที่ผิด ๆ ติดตัวไปตลอดชีวิตของเขาก็ได้

อีกหนึ่งเรื่องคือครูคือที่พึ่งของนักเรียนเสมอ ทุกเรื่องที่นักเรียนรู้สึกร้อนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ พวกเขามักหาที่พึ่งเสมอ ซึ่งหากเรื่องเหล่านั้นเกิดขึ้นในโรงเรียนแล้ว ที่พึ่งเพียงแห่งเดียวที่พวกเขาคิดได้ คงหนีไม่พ้นคุณครูเช่นกัน ผมก็เป็น (ว่าที่) คุณครูอีกคนที่ต้องคอยเกลี้ยกล่อม หรือเป็นที่ปรึกษาให้เหล่านักเรียนเสมอ ทำให้รู้ว่า ครูก็เป็เหมือนบุคคลที่เหล่านักเรียนไว้วางใจเป็นอย่างมากอีกคนหนึ่งเลยทีเดียว

เรื่องสุดท้ายที่ผมคิดว่าเป็นหัวใจของความเป็นครูก็คือ การรู้จักควบคุมสติและอารมณ์ หลายครั้งที่ผมเจอนักเรียนแสดงอาการไม่พอใจใส่ ผมได้เพียงแต่คิดว่า "นั่นคืออาการที่เป็นไปตามวัยของพวกเขาเท่านั้น" และพยายามสงบสติอารมณ์ของตนเองให้ได้มากที่สุด ใช้ทุกทฤษฎีที่เรียนมาเพื่อช่วยแก้ปัญหา แล้วผมก็สามารถผ่านมันมาได้ จึงได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้วว่า การเป็นครูต้องใช้ทุกอย่างทั้งแรงกายและแรงใจจริง ๆ

หัวใจของความเป็นครู คือสิ่งที่ครูจำเป็นต้องมี และเป็นสิ่งที่จะทำให้นักเรียน รักที่จะเรียนในรายวิชาที่เราสอน ในขณะเดียวกัน เราก็จะรักการสอนในรายวิชานั้นด้วยเช่นกัน

หมายเลขบันทึก: 561073เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2014 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2014 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผู้มีความรู้บางเหล่าเป็นพ่อค้า ครูมิใช่ผู้มีความรู้อย่างเดียว

-สวัสดีครับ

-ตามมาให้กำลังใจว่าที่ครูคนใหม่..

-สู้ๆ นะครับ

การฝึกสอน ๑ ปีเต็ม คือ การระดมสรรพวิชาทั้งหมดตลอดชีวิตมาใช้ครับ
มากกว่าการเป็นนักศึกษาครู ๔ ปี ที่มหาวิทยาลัยแน่นอนครับ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท