เส้นทางชีวิต...ลิขิตด้วยบุคลิกภาพ


กรณีศึกษาชายคุณ ป. เคยมาเข้าโปรแกรมกิจกรรมบำบัดจิตสังคมหลายครั้งจนดีขึ้นเมื่อ 5 ปีที่แล้ว คือ คลายซึมเศร้าจากการอกหักและหลงรักข้างเดียว พร้อมๆ กับการรักษาด้วยยา  

แต่พอมามีเหตุการณ์หัวหน้าบังคับให้รับตำแหน่งงานที่ดีขึ้น ก็ทำให้คุณป.เครียดและกลับมีอาการโดยจิตแพทย์ระุบุในช่วงก.ย. 56 ว่ามีภาวะซึมเศร้า ให้ยานอนหลับและยาคลายซึมเศร้า แต่ก็ไม่ดีขึ้น พร้อมๆกับได้มาพบดร.ป๊อปทำกิจกรรมบำบัดจิตสังคม จนมาถึงช่วงต้นก.พ.57 นี้ ก็มีภาวะวิตกกังวล จิตแพทย์ให้ยานอนหลับและยาคลายวิตกกังวล ก็ดีขึ้นใน 4 วันคือ นอนหลับแล้วตื่นขึ้นมาก็รู้สึกสดชื่น แต่ยังมีความคิดเครียดๆ อยู่เหมือนเดิม 

ดร.ป๊อป ก็นัดหมายมาเคียร์เส้นทางชีวิต ณ คลินิืกกิจกรรมบำบัด ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล เน้นเหตุการณ์ในชีวิตตั้งแต่จำความได้จนถึงปัจจุบัน ก็พบว่า คุณ ป. มีภาวะวิตกกังวลคือ "รู้สึกถูกทิ้ง" จากการถูกแยกตัวจากแม่ตอนอายุ 6 ปี นาน 3 เดือน จากเพื่อนสนิทตอนอายุ 15 ปี จากการอกหักตอนอายุ 16 ปี จากการอกหักตอนอายุ 32 ปี ห่างมาอีก 2 เดือนก็จากการรักข้างเดียวจนไม่อยากมีความรักกับใครอีก (ถ้าจะให้รักก็กลัวว่า คนรักจะรับไม่ได้ที่ตนเองป่วยทางจิตและต้องกินยาแบบนี้ จึงให้คะแนนความรักเพียง 40% ขณะที่รักพ่อแม่/ชีวิต/เพื่อนสนิท 60% และรักงาน/เพื่อนไม่สนิท 50%) 

เมื่อวาดรูปบ้าน-ต้นไม้-คน เพื่อแปรผลทางจิตอีกครั้งก็พบว่า "มีบุคลิกภาพขาดความมั่นใจในตนเองจนทำให้ลดความมั่นใจในศักยภาพของตนเอง และมีความเพ้อฝันเยอะ มุ่งความสำเร็จ กลัวคน และเรียกร้องความสนใจ" ทั้งๆที่เป็นคนที่มีบุคลิกภาพด้านการทำงานด้วยหัวใจของการให้บริการสูงและมีเพื่อนๆ อยากเข้าหาเพราะเป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดีมาก ในทางกลับกันถ้าพูดถึงด้านความไม่มั่นใจในตนเอง คุณป.เข้าใจหลังให้ทำสมาธิผ่านไฟกระพริบหมุนนาน 10 นาที ก็คือ ความไม่มั่นใจนี้น่าจะเกิดจากความกลัวคนอื่นคิดลบ-ไม่สนใจ-ไม่เข้าใจตัวคุณป. 

ดังนั้นคุณป.มีแนวโน้มที่จะมีภาวะวิตกกังวลสูง ซึ่งตรงกับการวินิจฉัยครั้งสุดท้ายของจิตแพทย์ ดร.ป๊อปจึงใช้หลักการเปลี่ยนทัศนคติให้เห็นความจริงด้วยสุขภาพจิตศึกษาและการปรับความคิดความเข้าใจเล็กน้อย คือ กิจกรรมที่คุณป.ทำนั้นควรปรับใหม่ เช่น จากดูหนังเศร้าก็มาดูหนังผจญภัย/หนังผี จากอ่านหนังสือเรื่องเศร้า/แรงบันดาลใจก็มาอ่านหนังสือเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ เปิดใจรักผู้อื่นอย่างจริงใจ ฯลฯ สุดท้ายดร.ป๊อป ก็ตั้งคำถามสุดท้ายว่า "ตกลงคุณป.เข้าใจตัวเองว่าป่วยหรือไม่ครับ ณ ที่นี้และเวลานี้ Here & Now" คุณป.ตอบว่า "จริงๆ ก็ยังคิดขัดแย้งอยู่เพราะ คิดว่าตนเองป่วยมานาน ตอนนี้ก็เข้าใจบ้างแล้วว่า เป็นที่บุคลิกภาพเรียกร้องความสนใจของตนเองโดยแสดงว่า ตัวเองป่วย จะได้มีคนมาสนใจ จะลองกลับไปทบทวนและได้เขียนข้อความที่ดร.ป๊อปบอกให้ติดหัวนอนเพื่อเตือนตัวเองว่า แท้ที่จริงไม่ป่วย และบุคลิกภาพเรียกร้องความสนใจทำให้วิตกกังวลเกินไปต่างหาก"

หมายเลขบันทึก: 560997เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 17:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณมากครับอ.นุ และคุณหมอสุขจันทร์

-สวัสดีครับอาจารย์

-เคสแบบนี้น่าสนใจนะครับ..

-เส้นทางชีวิต..ลิขิตด้วยสุขภาพ..

-ผมเอง..จะป่วยบ้างหรือเปล่าหนอ..ใจหนอใจ..อิ ๆ

-ขอบคุณครับ

...เคยป่วย... แต่ต้องบอกตัวเองว่าป่วยไม่ได้นะ ...


.... ลดความเชื่อมั่น ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ... ส่งผลต่อศักยภาพและบุุคคลิกภาพ นะคะ .... ต้องสร้างให้เขา(ผู้ป่วย)...มีความเข็มแข็งด้วยตนเอง (ใจของเขา) นะคะ ..... ท่านอาจาย์และนักศึกษา ...ต้องใช้ความพยายาม ความอดทน ตรงนี้มากๆ นะคะ ...

ขอบคุณมากๆครับคุณเพชรน้ำหนึ่ง พี่ดร.พจนา พี่ดร.เปิ้น และอ.แอน

ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ถูกบำบัดและผู้ดูแลค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท