กฎหมายนโยบาย ว่าด้วย "สิทธิทางการศึกษา" ของผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ


ปัญหาที่เด็กและเยาวชนในพื้นที่สึนามิบางกลุ่มไม่อาจเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา เกิดจากการที่โรงเรียนบางแห่งได้สร้างหลักเกณฑ์การรับนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนเอง ทำให้มีการปฏิเสธเด็กที่มีปัญหาสถานะบุคคลบางกลุ่ม ในการเข้ารับการศึกษาในโรงเรียน

                  สิทธิทางการศึกษา หรือสิทธิในการเข้าถึงและได้รับการพัฒนาความรู้ตามความเหมาะสมตามวัยอันสมควร เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้รับการรับรองโดยชัดเจน ทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  ค.ศ.๑๙๘๙ ข้อ ๒๘, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ค.ศ.๑๙๖๖ ข้อ ๑๓ และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ค.ศ.๑๙๖๕  ข้อ ๕ ฉ) (๕)

 

รวมถึงกฎหมายภายในประเทศปัจจุบัน ซึ่งได้ตอบรับสิทธิทางการศึกษา ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..๒๕๔๐ รวมทั้งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ..๒๕๔๕ ซึ่งกำหนดไว้ให้เด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ

 

อย่างไรก็ตาม นับแต่อดีตประเทศไทยก็ไม่เคยปฏิเสธสิทธิในการเข้ารับการศึกษาของบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ  ดังที่ปรากฏตามกฎหมายที่ว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติในอดีต และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยหลักฐาน วัน เดือน ปีเกิดในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.๒๕๓๕ และแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร และเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งเปิดโอกาสให้รับเด็กทุกคนซึ่งอยู่ในวัยศึกษาเข้าเรียน แต่ได้กำหนดให้ประทับตราด้วยหมึกสีแดงในใบวุฒิการศึกษาว่า ไม่มีหลักฐานตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร

 

แต่ปัจจุบันระเบียบดังกล่าวถูกยกเลิกแล้วโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้ใช้ระเบียบฉบับใหม่ คือ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐาน วัน เดือน ปีเกิด ในการรับนักเรียน นักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา            พ..๒๕๔๘ ซึ่งมีสาระสำคัญคือ เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนมีสิทธิเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างเต็มที่และเต็มศักยภาพ โดยไม่มีข้อจำกัดใด ไม่ว่าจะด้านสถานะบุคคลตามกฎหมายหรือเอกสารแสดงตน  รวมทั้งให้เด็กทุกคนมีสิทธิในวุฒิการศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษา โดยไม่ต้องมีการประทับตราใดๆ

 

                ดังนั้นสิทธิในการเข้ารับการศึกษา จึงไม่มีปัญหาใดๆ ในทางนโยบาย แต่จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาด้านสิทธิทางการศึกษาในพื้นที่ประสบภัยสึนามิครั้งนี้ คณะนักวิจัยพบว่า ปัญหาที่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ไม่อาจเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา เกิดจากการที่โรงเรียนบางแห่งได้สร้างหลักเกณฑ์การรับนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนเอง ทำให้มีการปฏิเสธเด็กที่มีปัญหาสถานะบุคคลบางกลุ่ม ในการเข้ารับการศึกษาในโรงเรียน ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายทั้งภายในและระหว่างประเทศ

หมายเลขบันทึก: 56096เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2006 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท