Child Protection Network Meeting January 31 , 2014 ,Unicef Thailnd


Child Protection Network Meeting 

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2557 ณ Unicef Thailnd

        การประชุมนี้จัดขึ้นโดยยูนิเซฟ ประเทศไทยเป็นการพบปะกันขององค์กรเอกชนที่ทำงานด้านเด็กและเป็นองค์กรที่ทำงานในพื้นที่ เพื่อมาแบ่งปันเกี่ยวกับสถานการณ์และปัญหาของเด็กที่แต่ละองค์กรพบ รวมถึงร่วมหารือถึงปัญหาต่างๆที่เด็กต้องเผชิญเพื่อหาทางออกร่วมกัน

         ก่อนการประชุมครั้งนี้คุณสันติ ศิริธีราเจษฏ์ เจ้าหน้าที่ ยูนิเซฟ ได้ติดต่อมายัง อาจารย์พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร เพื่อเชิญให้เข้าร่วมการประชุม เนื่องคุณสันติเห็นว่าจากทางคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีโครงการศึกษาวิจัยและให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเด็กและผู้ด้อยโอกาสในชุมชนชายแดนไทย-พม่า โดยมีอาจารย์ 4 ท่านทำหน้าที่เป็นผู้วิจัย คือ รศ.ดร พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร , อ.ดร.ชาติชาย เชษฐสุมน อ.ดร.รัชนีกร ลาภวนิชชา และ ผศ.ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ ประกอบกับเมื่อวันที่ 14-17 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา ทางคณะวิจัยได้ลงพื้นที่ แม่สอด และอุ้มผาง จังหวัดตาก คุณสันติจึงต้องการให้คณะวิจัยมาบรรยายถึงโครงการวิจัย และมาร่วมแบ่งปันสถานการณ์เกี่ยวกับเด็กที่คณะวิจัยได้พบจากการวิจัยและจากการลงพื้นที่ ที่ผ่านมา

          อาจารย์พันธุ์ทิพย์ไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ได้ เนื่องจากต้องเดินทางไปสอนนักศึกษาที่ต่างจังหวัด ผู้เขียน คุณศิวนุช และคุณพวงรัตน์ จึงได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้แทน ในฐานะผู้ช่วยทางวิชาการในการวิจัย เราทั้งสามได้นำเสนอเกี่ยวกับงานวิจัยให้แก่ผู้ร่วมประชุม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เห็นเป้าหมายและเห็นภาพรวมของโครงการวิจัยดังกล่าว นอกจากนี้เรายังได้นำเสนอปัญหาความด้อยโอกาสของเด็กข้ามชาติ ที่ได้ค้นพบจากกรณีศึกษา 17 กรณี ในงานวิจัย รวมถึงนำเสนอกรณีศึกษาที่เด่นๆอีก 3 กรณี คือ กรณีศึกษาน้องชินจัง กรณีศึกษาซันเมี๊ยะ ไมทา และกรณีศึกษา น้องโลตัส

          หลังจากการนำเสนอ เจ้าหน้าที่แต่ละองค์กรที่ทำงานในพื้นที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนปัญหาเกี่ยวกับการทำงานในพื้นที่ และปัญหาเกี่ยวกับเด็กๆในที่ประชุม ประเด็นหลักๆ ที่มีการพูดคุยกัน คือเรื่องเกี่ยวกับหนังสือรับรองการเกิด ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กทุกคนที่เกิดมามีสิทธิจะได้รับตามกฎหมาย และเป็นที่สำคัญกับตัวเด็กเพราะเป็นการยืนยันตัวบุคคลของเด็กด้วย

          เป็นโอกาสที่ดีอีกครั้งหนึ่ง ที่ผู้เขียนได้ร่วมพูดคุยกับคนทำงานในพื้นที่ เพราะนอกจากจะทำให้ผู้เขียนได้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ (ซึ่งบางพื้นที่ไม่ได้เป็นพื้นที่ ที่เปิดให้คนทั่วไปเข้าถึงได้) ยังได้ทราบระบบการทำงานและวิธีการทำงานของแต่ละองค์กร ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในงานวิจัยที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานด้วย

 

                

                          Child Protection Network Meeting January  31 , 2014 

หมายเลขบันทึก: 560701เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2014 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2014 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เขียนดีขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ เริ่มต้นด้วย objective และ background ดีแล้ว แต่น่าจะตบท้ายอีกหน่อยว่าที่ประชุมมี action point อะไรต่อไปไหม? เช่น มติว่าจะร่วมกันทำอะไร หรือ ประชุมครั้งหน้าเมื่อไหร่ เป็นต้นหรือว่าแค่แลกเปลี่ยนกันอย่างเดียวจ๊ะ

นอกจากนี้ พี่ว่าถ้าใส่มุมมองหรือ reaction ของตัวเองต่อที่ประชุม ต่อคนเข้าร่วมประชุม หรือต่องาน เข้าไปด้วย บันทึกจะน่าสนใจยิ่งขึ้น

สู้ๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท