ปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม: ประวัติความเป็นมา


ปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม (Progressive)

ปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม (Progressive) :

ประวัติความเป็นมา

 

การศึกษาตามแบบพิพัฒนาการนิยม (Progressive Education) ก็คือ  “การศึกษาแผนใหม่”  ที่เรารู้จักกันอยู่โดยทั่วไป ถ้าจะพิจารณาถึงรากฐานแห่งแนวคิดทางปรัชญา  ก็จะเห็นได้ชัดว่าปรัชญาการศึกษาลัทธินี้มีพื้นฐานดั้งเดิม  จากลัทธิประจักษวาท (Empiricalism) 

 

 

มีกำเนิดมาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่  ๑๗  ในประเทศอังกฤษ  ต่อมาก็ได้มีการนำเอาแนวความคิดและวิธีการของฝ่ายประจักษวาทนี้มาสร้างเป็นลัทธิปรัชญาใหม่ขึ้น  มีชื่อเรียกไปต่างๆ  กัน  เช่น  Experimentalism, Pragmatism, Instrumentalism  เป็นต้น  ถ้าจะพิจารณารากฐานโดยตรงของการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) ก็คือ มีแนวคิดมาจากลัทธิ Experimentalism หรือ Pragmatism  นั่นเอง  อันมีผู้นำคนสำคัญเช่น  John  Dewey,  Charles  S,  Pierce  และ William  James  เป็นต้น

 

การศึกษาตามลัทธิพิพัฒนาการนิยม แบ่งปรัชญาในกลุ่มนี้มี ๒ สาขาใหญ่ๆ คือ พิพัฒนาการนิยมและปฏิรูปนิยม ซึ่งเป็นแนวคิดที่ปฏิเสธความเชื่อที่มาจากจิตนิยม(Spiritualism)

 

 

ปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม  พึ่งจะมีการก่อตั้งขึ้นมาในต้นศตวรรษที่  ๒๐ นับว่าเป็นปรัชญาการศึกษาที่มีการนำเอาไปใช้อย่างแพร่หลายที่สุดในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแนวการจัดการศึกษาตามทฤษฎีนี้ส่วนใหญ่ก็ได้มาจากแนวคิดของ John  Dewey ที่ได้กล่าวถึงปรัชญาการศึกษาไว้ว่า ปรัชญาการศึกษาไม่เรียกร้องจากภายนอก  ที่เป็นการเตรียมพร้อมทางอุดมคติ(Ideas) แต่เป็นการตั้งปัญหาในการต่อตัวของทัศนะคติ  ในการเอาใจใส่  ต่อความยากของชีวิตในสังคมปัจจุบันอันนำไปสู่หนทางแห่งความมีอิสรเสรีที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง  ปรับปรุงวัฒนธรรมและสังคม

 

คำว่า  “เสรี หรือ liberal” มีความหมายตามนัยแห่งปรัชญานี้  หมายถึงการยืดหยุ่น  กระตือรือร้น  เอาจริงเอาจัง  กล้าเสี่ยง  กล้าทดลอง  และมีทรรศนะที่เปิดเผยตรงไปตรงมา 

 

ลักษณะเช่นนี้ก็เป็นไปในทางที่จะพัฒนาประสบการณ์และความรู้ของตนอยู่เสมอโดยมิได้หยุดนิ่ง จึงเป็นเสมือนลักษณะ และบุคลิกของนักวิทยาศาสตร์ที่หมกมุ่นอยู่ในห้องทดลองวันแล้ววันเล่า  ในการที่จะวิจัย  ค้นคว้าหาสิ่งใหม่ๆ  ให้ปรากฏผลออกมา  คือยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

 

ปรัชญาของลัทธิพิพัฒนาการมีความเชื่อที่ว่า  ข้อเท็จจริงของสิ่งทั้งหลายนั้นมิได้คงที่ หรือหยุดนิ่ง  หากแต่มีการเปลี่ยนแปรสภาพไปตามกาลเวลาและสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบที่มีอิทธิพลสูงสุดในการกำหนดรูปแบบ ของวัฒนธรรม และสังคมนั้นไม่ใช่ค่านิยมหรือจารีตประเพณีดั้งเดิม   หากแต่เป็นเทคโนโลยี การค้นคว้าทดลอง และประสบการณ์ของมนุษย์ ที่ได้รับมาจากการได้ประจักษ์ และรับรู้มาจากโลกแห่งความเป็นจริง

 

ดังนั้นการพัฒนาความสามารถให้แต่ละคน หรือแก่ผู้เรียนต้องมี การปรับให้เหมาะสม ทันกับการเปลี่ยนแปลง หรือเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดมีขึ้น และมุ่งพัฒนาความสามารถของตน ให้ต่อเนื่องตลอดเวลา  พร้อมกับเอาใจใส่สังคมที่ตนอยู่ สามารถเลือกเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งต่อเอง และสังคม

เมตตาธรรมค้ำจุนโลกา

...

 

หมายเลขบันทึก: 560153เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2014 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2019 04:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ประวัติความเป็นมา


ปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม Progressive

ก่อตั้งขึ้นเมื่อราวราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ในประเทศอังกฤษหลังยุคปฏิวัติอุสาหกรรมอินเดียมีมหาตะมะคาณฑี และนักปรัชญาอินเดียอีกท่านคือระพิณทร์ ทรณาฐ ได้สร้างอินเดียขึ้นมาใหม่ (ดูในประวัติศาสตร์อินเดีย) นำเอาแนวความคิดและวิธีการของฝ่ายประจักษวาท หมายถึงความคิดที่เป็นความจริงอย่างมีหลักฐาน มาสร้างเป็นลัทธิปรัชญาใหม่ขึ้น การนิยมปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม Progressivism ได้มีแนวคิดมาจากลัทธิ Experimentalism หรือ Pragmatism อันมีผู้นำคนสำคัญเช่น John Dewey นักจิตปรัชญาชาวอเมริกัน นักฏิรูปการศึกษาด้านพัฒนาการนิยม สร้างการศึกษาแผนใหม่ขึ้น เป็นแนวคิดอิสระที่มีขอบเขต liberal โดยเรื่มจากประสบการณ์มโนในตนถึงการ ผ่อนหนักเบา ทักษะศึกษา กล้าเสี่ยง กล้าทดลอง จริงใจและจริงจัง สนุกกับการ ปฏิบัติแบบพึ่งตนเองเป็นส่วนใหญ่ ตรงกับ John Dewey กล่าวไว้ว่า การศึกษาเป็นกระบวนการแห่งชีวิตซึ่งไม่มีในอนาคต ก็คือ ถ้าคุณคิดจะศึกษา...นั่นคือ....คุณกำลังศึกษาอยู่แล้ว

Progressive Education ใช้มาจนถึงปัจจุบันอย่างกว้่างขวางหากพิจารณาถึงที่มา ก็จะเห็นได้ว่าลัทธินี้มีพื้นฐานดั้งเดิม จากลัทธิประจักษวาท (Empiricalism)

ความเชื่อของปรัชญาของลัทธิพัฒนาการ development of doctrine ถือข้อเท็จจริงของสิ่งทั้งหลายนั้นมิได้คงที่ หรือหยุดนิ่ง ซึ่ง Wenner Heisenberg ได้กล่าวถึงความแน่นอนที่ไม่คงที่ Uncertianty มีการเปลี่ยนแปรสภาพสารไปตามกาลเวลาแห่งบริบทตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และแนวคิดการกำหนดรูปจินตนาการ เป็นเทคโนโลยี ค้นคว้าทดลองจากประสบการณ์ของมนุษย์ ที่ได้รับรู้ความจริงจากแนวคิด

จะต้องมีนักศึกษาที่ความคิดด้านพัฒนาการคิด ตามความสามารถของปัจเจกบุคคล Individual หรือแก่ผู้เรียนต้องมี การปรับให้เหมาะสม ทันสถาณะการเปลี่ยนแปลงแห่งสังคม หรือเตรียมพร้อมอาจป้องกันที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดมีขึ้น และมุ่งพัฒนาความสามารถของตน ให้ต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อการนำใช้ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า

สรุป

เป็นปรัชญาให้มนุษย์รู้จักใช้กระบวนการคิด

เมื่อกล่าวถึงปรัชญาให้มนุษย์รู้จักใช้กระบวนการคิด ในกลุ่มมี ๒ สาขาใหญ่ คือ ลัทธิพิพัฒนาการนิยม Progressive และลัทธิปฏิรูปนิยม Pop - cult reform นัยว่าแบบ ของวัฒนธรรม และสังคมนั้นไม่ใช้ค่านิยมหรือจารีตประเพณีดั้งเดิมแต่ยอมแตกตัวเชื่อมยอดต่อความเดิมได้

สาธุครับท่านพระอาจารย์..........กระผมขอติดตามไปเรื่อยๆ.

นมัสการครับ..............

จากการที่ได้เห็นเนื้องาน...กระผมก็มองการถึงอนาคตว่า...ถ้าทำอย่างนี้ต่อไป..อนาคตคงได้หนังสือปรัชญา 1 เล่ม อย่างเป็นกลางซึ่งไม่ได้เข้าฝ่ายศาสนาใด..เพียงเพื่อให้คนรู้จักกันและหรือต่างศาสนานำใช้ไปวิเคราะ ประยุกต์ เชื่อมพัฒนาความคิดของแต่ละต่างคนไป...ถือเป็นความรู้ระดับยอดหญ้า สมควรใช้สาระอันมี....

1.ความจริง อันมีส่วนผสมของความดี = ความจริงที่มีความดีเป็นที่ตั้ง

2. ความดี อันมีส่วนผสมของความงาม = ความดีที่มีอาภรแห่งความงามสวมใส่

(เป็นของอาจารย์หมอเปิ้ลให้กระผมไว้ในบันทึกเรื่อง เหตุฤาซ้ำ - ซ้ำฤาเหตุ)

ขันติ เมตตา มุธิตา อุเบกขา..สาธุ...จงมีแด่ผู้ร่วมงานด้วยเทิญ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท