การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมระบบราชการ


การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมระบบราชการ

การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมระบบราชการและบทสรุป

 

          ตอนต้นของงานเขียนชิ้นนี้ได้ทำการศึกษาค่านิยมของสังคมไทยที่หล่อหลอมข้าราชการไทยและนำไปสู่พฤติกรรมการทำงานที่ส่งเสริมและเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการยุคใหม่ว่ามีอะไรบ้าง จากการศึกษาได้สรุปไว้ว่า ค่านิยมหลักของคนไทยที่สำคัญๆ มี 6 ประการ ในจำนวนนี้มีถึง 5 ประการที่ไม่เป็นค่านิยมแบบไม่สร้างสรรค์ ได้แก่ การยึดประโยชน์ของตนเองสำคัญกว่าส่วนรวม การรักสนุกชอบสบาย การไม่ผูกพันกับระเบียบวินัยของสังคม การสยบต่อผู้มีอำนาจ ค่านิยมเหล่านี้ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบราชการและต่อประเทศชาติ ส่วนค่านิยมที่พึงปรารถนาล้วนเป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับที่เป็นอยู่ทั้งสิ้น ระบบราชการยุคใหม่ต้องการข้าราชการที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ต้องการคนขยันทำงานหนักและอดทน ไม่ว่าจะเหนื่อยล้าหรือมีแรงยั่วยุอย่างไร ข้าราชการต้องผูกพันกับระเบียบวินัยระเบียบวินัยของเพราะเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกัน และช่วยสร้างความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติหน้าที่ ต้องไม่ยึดติดกับอัตตา (ตัวกูของกู) และข้าราชการต้องไม่สยบต่อผู้มีอำนาจทางการเมืองหรือผู้บังคับบัญชา ต้องกล้าคัดค้านหากเห็นว่าคำสั่งหรือการกระทำนั้นไม่ถูกต้อง ค่านิยมใหม่เช่นนี้จึงจะช่วยให้ระบบราชการมีศักดิ์ศรี เป็นที่พึ่งของประชาชนได้

          ความกตัญญูรู้คุณเป็นค่านิยมร่วมเดิมของสังคมไทยที่มีประโยชน์ เป็นสิ่งที่ดีงาม หากแต่เปิดช่องให้ผู้ใช้ไปในทางที่ไม่ดีได้ นักการเมือง ผู้บังคับบัญชาในราชการ ผู้ร่ำรวยให้ความอุปถัมภ์แก่ข้าราชการ ก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์ในวงราชการและการทุจริตประพฤติมิชอบที่ปรากฏทั่วไปในขณะนี้ นับว่าเป็นอันตรายต่อประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง ส่วนค่านิยมสุดท้ายของสังคมไทย ได้แก่ การเปิดรับต่อสิ่งใหม่ ถือเป็นค่านิยมสร้างสรรค์ เพราะนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และทำให้คนไทยมีวัฒนธรรมแบบปรับตัวมาโดยตลอด

 

ตารางที่ 3 ค่านิยมสังคม – ข้าราชการไทย

 

ค่านิยมเดิมที่เป็นอุปสรรค

ค่านิยมที่พึงปรารถนา

1. ความเป็นปัจเจกบุคคล

2. รักสนุก ชอบสบาย

3. เน้นตนเองเป็นหลัก

4. สยบต่อผู้มีอำนาจ

5. ความกตัญญูรู้คุณ (ผู้อุปถัมภ์)

6.            -

ส่วนรวมอยู่เหนือส่วนตัว

ขยันทำงานหนัก อดทน

ผูกพันกับสังคม ทำตามกติกา

เน้นความถูกต้อง มีคุณธรรม

กตัญญูรู้คุณประเทศชาติ

การเปิดรับต่อสิ่งใหม่

หมายเลขบันทึก: 560142เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2014 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มกราคม 2014 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ควรมีเอกสาร อ้างอิง หรือที่มา ของการเกิดกรอบแนวคิดนี้ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท