NFE Leader Camp for Agricultural Development in Thailand to ASEAN (TRAINING THE TRAINERS) รุ่นที่ 1


สวัสดีครับชาว Blog ทุกท่าน 

         ผมในนามมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศมีความยินดีที่ได้ร่วมกับสำนักงานกศน. จัดโครงการค่ายผู้นำนักพัฒนาการศึกษาของอาเซียน สำหรับสำนักงาน กศน. เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะ “ค่ายผู้นำ หรือ Leader Camp” เพื่อการพัฒนาแบบ “Train the Trainer”  จำนวนรวมประมาณ 200 คน  แบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นที่ 1 จัดที่ภาคเหนือประกอบด้วย กลุ่มภาคเหนือ  ภาคกลาง และภาคตะวันออก จำนวน 100 คน และ รุ่นที่ 2 จัดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกลุ่มภาคใต้ จำนวน 100 คน

         สำหรับรุ่นที่ 1 นี้ผมได้มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ระหว่างวันที่ 26-30 มกราคม 2557 ณ โรงแรมเชียงใหม่ฮิ่ลล์  เพื่อพัฒนาผู้นำต้นแบบให้เป็นผู้มีศักยภาพความเป็นผู้นำที่มีความพร้อม มีทักษะ และทัศนคติเพื่อความเป็นเลิศในการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน   

         ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะเป็นตัวอย่างที่ดีต่อการพัฒนาผู้นำในอนาคตเพื่อพัฒนาเกษตรกรของไทยให้ก้าวไกลต่อไป จึงขอฝาก Blog นี้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารร่วมกันครับ 

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ของโครงการฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                   จีระ  หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 560141เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2014 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2014 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (121)
ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงานวิชาการ Chira Academy

โครงการค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน

กล่าวต้อนรับ โดย

นายประเสริฐ บุญเรืองเลขาธิการ กศน. สำนักงาน กศน.

โครงการและกิจกรรมในวันนี้เป็นความร่วมมือระหว่างผู้บริหาร กศน. กับมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ รุ่น 1 ประกอบด้วยภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก

รุ่น 2 ประกอบด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้

สิ่งที่อยากให้ดำเนินการคือ เชิญทุกระดับมานั่งฟังและมีส่วนขับเคลื่อนให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการให้ได้ อยากให้ผู้เข้ารับการอบรมเอาจริง เพราะไม่ใช่เฉพาะแต่ กศน. ที่อบรมใน 2 รุ่นเท่านั้น แต่ยังมีของอาชีวะอีก 2 รุ่นด้วย จึงเป็นข้อเปรียบเทียบว่า กศน.มีความเอาจริงมากน้อยเพียงใด เทียบกับอาชีวะเป็นอย่างไร อยากให้ทุกท่านให้เกียรติเพื่อให้การสัมมนาในครั้งนี้บรรลุผล

มีความต้องการทำงานอย่างจริงจัง และเอาจริงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาผู้นำให้สามารถมีการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ได้ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ทักษะ เพื่อสร้างความเป็นผู้นำ และ เพิ่มศักยภาพการทำงานต่อกลุ่มเป้าหมายการเป็นพลเมืองอาเซียน และสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมที่ตรงเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตลาดอาเซียน และทำอย่างไรให้ผู้มีวิสัยทัศน์มองไกล ถ้าไทยได้ร่วมกิจกรรมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์สูงสุด

สิ่งที่หวังเป็นอย่างยิ่งคือ โครงการนี้เกิดขึ้นได้มี 3 ฝ่าย คือฝ่าย กศน. ข้าราชการประจำที่ส่งคนอบรม 100 คน และฝ่ายมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และฝ่ายการเมืองโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ช่วยฯ ที่เล็งเห็นถึงโครงการนี้เป็นประโยชน์สูงสุดที่จะนำความสำเร็จสู่พี่น้องประชาชน

สิ่งที่ต้องการคืออยากให้ได้บุคลากรที่มีศักยภาพ มีทักษะผู้นำในการบริหารอย่างมืออาชีพ และสามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

สิ่งที่อยากฝากคือ เรามีเพื่อนบ้านมาร่วมพัฒนาเกษตรไทยสู่อาเซียนโดยมีต้นแบบของ กศน. มีทั้งโครงการที่เป็นแท่งและเป็นอัน แต่ขอให้โครงการที่เป็นอันตั้งใจอย่างแท้จริง

เชื่อว่าโครงการในครั้งนี้เป็นโครงการที่ตั้งหวังไว้อย่างสูงโดยเฉพาะเครือข่ายของ กศน. 204 คนได้ผ่านกระบวนการพัฒนาให้เป็นมืออาชีพในระดับสากล มีความรู้ ทัศนคติและเจตคติที่ดีต่อการพัฒนาเกษตรกรไทยให้ก้าวหน้ายั่งยืน ถ้าเน้นความร่วมมือเพื่อก้าวไปพร้อมกัน ขอให้โครงการค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. สามารถสร้างสรรค์ผู้นำที่มีคุณภาพสามารถสร้างสรรค์งานได้ตามสมควร

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง

โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

และ ประธาน Chira Academy

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

- โครงการครั้งนี้เกิดขึ้นได้จากการทำงานอย่างสามประสาน คือมุมการเมือง ข้าราชการประจำ และนักวิชาการ มุมการเมืองถ้า Educate Resource ทางการศึกษาก็จะเกิดประโยชน์อย่างมาก

- ก่อนอื่นให้ตั้งวัตถุประสงค์ก่อนว่ามาที่นี่เพื่ออะไร เป้าหมาย เพื่ออะไร งานตรงนี้เกิดขึ้นมาได้เพราะอะไร อยากให้ดูบทความ Peter Drucker : The Effective Executive สิ่งต่อมาที่ควรรู้คือ What need to be done เป้าหมาย Target คือ เกษตร แล้วกระเด้งไปสู่อาเซียน ทำอะไรในห้องนี้ อย่านึกว่าบางคนทำอยู่แล้ว สิ่งที่ควรทำคือการมาผสมกัน อะไรที่มีอยู่แล้วอธิบายให้ฟัง รู้วัตถุประสงค์ Purpose Meaning และสิ่งที่ต้องทำจะง่าย

- ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศให้มากที่สุด

- บรรยากาศอยากให้เป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

- ได้ทำการ Pre-planning ไปแล้ว ขอพูดถึงแผนปฏิบัติการก่อนว่ามีอะไรบ้าง และเป้าหมายใน 5 วันมีอะไรบ้าง หลังจากนั้นจะขอให้การแสดงความคิดเห็นขอให้แต่ละกลุ่มคุยกัน เพื่อให้ถามคำถาม มีการ Comment ด้วย อยากให้เราสามารถผนึกกำลังและสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

- ตัวอย่าง กศน. ในต่างประเทศอย่าง ในไต้หวัน ฮ่องกง อเมริกา มีงบประมาณท้องถิ่น เพื่อสามารถพัฒนา Life Long Learning เราต้องล้างความไม่ถูกต้องในระบบการศึกษาของเรา เราต้องให้คนที่ออกมามี Literacy ให้ได้

- โครงสร้างประชากร มหาวิทยาลัยเจ๊ง ไม่มีคนเรียน เราต้องการความรู้ที่มีเกียรติ ด้วย

- บทบาทของกศน.ในอนาคตเป็นบทบาทสำคัญมาก สังคมไทยเป็น Aging Society อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าเรียนเท่าไหร่ขอเป็นคนที่ใฝ่รู้ ทำไมต้องเป็นเกษตร เพราะเกษตรคือพื้นฐานของคนไทย มีงบประมาณทุกอย่าง แต่เกษตรกรเศร้าลงทุกวัน การปะทะกับการเพิ่มผลผลิต การค้า การขาย

วัตถุประสงค์หลัก

- สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงที่จะเข้าอาเซียน

- กศน.ต้องไปสู่ภาคเกษตรและไปสู่ ASEAN เป้าหมายสู่อาเซียนต้อง Realistic กับภาคที่ยากจน ต้องพึ่งตนเอง

- เรื่องอาเซียน อันแรกที่จะคุยกันคือเราคุยกันได้หรือไม่เพื่อร่วมกันพัฒนา R&D คือ พันธุ์ข้าว

- หลังจากจบ 5 วันแล้ว เมื่อจบ 5 วันไม่สำคัญ เป็นเพียงการคิดรูปแบบ สิ่งสำคัญคือจะทำต่อเนื่องอย่างไร

กลุ่มเป้าหมายและคุณสมบัติ

- คนที่เข้าอบรมมาจากหลายฝ่ายซึ่งมีความน่าสนใจมาก

บรรยากาศการจัด Pre Planning

- บรรยากาศของ Pre-Planning ในครั้งที่แล้วได้เล่าให้ฟังว่ามีความคิดเห็นหลายอย่าง หลายคนคิดคล้ายกันว่าจะทำอย่างไรให้เกิดสำเร็จ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น แผน 3 V คืออะไร Do what they know การศึกษายุคใหม่ต้องไปสร้างประโยชน์ให้กับเขา ในทางตรงกันข้ามพบว่าการศึกษาดูเหมือนว่าแย่ลงเพราะคนเน้นปริญญามากกว่าปัญญา

- อยากให้ Social Media เกิดขึ้นตั้งแต่วันแรก

- Asean มีข้อดีที่จะกระตุ้นให้เราหลุดจาก Comfortable

ASEAN 2015 เป็นตัวกระตุ้นให้ภาคเกษตรไทยของเราเน้นไปที่..- High Standard สิ่งสำคัญคือการพัฒนามาตรฐาน
- High Productivity
- High Income
- Higher Income Distribution

การมีแก่นของกศน.ต้องเก็บไว้ให้ดีต้องค้นหาสิ่งที่เป็น Intangible ไว้

ใน 5 วันต้องถามว่าได้อะไร อยากให้แต่ละท่านสรุปแต่ละวันแล้วกรองให้ดีอย่าสะเพร่า

การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้

- สำหรับการเรียนรู้เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ (Learning Culture) หรือสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) หรือองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ดร.จีระ ได้เสนอแนวคิดดังต่อไปนี้

  • q หลักคิดและปรัชญาของพระเจ้าอยู่หัวฯ
  • q แนวคิดของ Peter Senge
  • q แนวคิดของ Stephen Covey
  • q แนวคิดของ Edward De Bono
  • q แนวคิดของ Grid
  • q ทฤษฎีการเรียนรู้ของ ดร.จีระ
  • วิธีการคิด 4 แนว ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ
  • ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้
    1) ทำอะไร
    2) ทำอย่างไร
    3) ทำเพื่อใคร
    4) ทำแล้วได้อะไร
  • 6 หลักในการทำงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

1) คิด Macro ทำ Micro

2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน

3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ

5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)

6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ

Simplicity ต้องมาจาก Complexity ก่อน

รู้-รัก-สามัคคี

  • q รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง
  • q รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ
  • q สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือ ร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ

Learning how to Learn ใน 5 วัน

  • •Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี
  • •Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ต้องมี feeling ร่วมกัน มีความรู้สึกอยากรู้
  • •Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้ มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน มีความหลากหลาย สามารถเอาความคิดที่แตกต่างกันมาสร้าง harmony ได้ มีการวิจัยล่าสุดพบว่าคนที่สัมภาษณ์ได้ แต่บางครั้งทำงานไม่สำเร็จ เมืองไทยต้องทำในสิ่งที่เราเจอปัญหาแล้วทำให้สำเร็จ
  • •Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ เน้นความต่อเนื่อง
  • อยากแนะนำว่าสิ่งสำคัญคือ 2 R’s คือ Reality ปะทะความจริง และ Relevance ตรงประเด็น ให้ดูว่าอะไรมี Impact ต่อท่าน
  • Happiness Workplace กับ Happiness Capital คนละตัว ดังนั้นจึงควรทำให้ Happy at work กับ Happy workplace ต้องไปด้วยกัน
  • กศน.ต้องถามตัวเองว่ามีความสุขในการทำงานหรือเปล่า
  • กศน.น่าจะนำทฤษฎีเรื่องทุนมนุษย์และ 3 V ไปพัฒนาร่วมกัน
  • §Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม
  • § Value Creation สร้างคุณค่าใหม่
  • § Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย
  • Value หมายถึงคุณค่าและมูลค่า สิ่งสำคัญคือสอนให้เอาไปใช้ ให้คนคิดวิเคราะห์ เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เราต้องทำอะไรใหม่ ๆ หลุดโลกไปเลย
  • เกษตรของเราน่าจะเป็นเกษตรที่พึ่งตัวเองแบบพระเจ้าอยู่หัวฯ ตรัส เราควรนำตัวอย่างไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • ต้องสังเคราะห์ให้ดีว่าเกษตรเราเป็นอย่างไร สถานการณ์เป็นอย่างไร เราจะต้อง Compliment กัน ตัวอย่างเช่นเรื่อง Fruit Safety อยากให้ช่วยกันดู
  • สิ่งที่คาดไว้
  • (1)ทำให้ภาคการผลิตของเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยดีขึ้น
  • (2)ถ้าดีถึงขนาดได้ร่วมมือกับ ASEAN มีโครงการต่างๆที่เชื่อมโยงกับ ASEAN ในด้านเกษตร การค้า การลงทุน และเกษตรแปรรูปก็เป็นเป้าหมายที่สำคัญ นอกจากนี้อาจจะได้ประโยชน์ทางอ้อมตามมา ซึ่งเรียกว่า 3V เช่น Food Safety ลดการใช้สารเคมี เพิ่มมูลค่าจากเกษตรโดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
  • คือ ฝึกให้เป็นคนใฝ่รู้ สามารถคิดต่อยอด สร้างคุณค่า เพิ่มผลผลิตของภาคเกษตร มีความสามารถในการบริหารการเงิน การตลาด การใช้ Social Medias ฯลฯ
  • กศน. ไม่ใช่ทำแต่เฉพาะการเกษตรเท่านั้น แต่ท่านสามารถนำเอาวิธีการเพื่อการพัฒนาคนไทยในทุกๆ มิติ เช่น- มิติสังคม- มิติเศรษฐกิจ- มิติการเมือง
  • คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล
  • Learning how to Learn วันสุดท้ายต้องส่งแผน องค์ความรู้นับจากนี้ 5 วันได้องค์ความรู้ต่าง ๆ ทำไมเครื่องมือสำคัญสุด ดีจริงหรือไม่ ต้องทดลองทำ เพราะว่าแต่ละท่านต้องเป็นผู้นำและถ่ายทอดเกษตรกรต่อไป แต่ละคนมีความรู้ ความสามารถเฉพาะตัว ทำอย่างไร ถึงเป็นเครือข่ายได้
  • ต้องมีความพอประมาณ และมีความเป็นผู้นำ จะพัฒนาอะไรอย่างไรได้ อะไรคือโอกาส อะไรคือความเสี่ยง แหลมคมและตรงประเด็นคืออะไร
  • การแบ่งกลุ่มLearn Share Care แต่ละกลุ่มมีผู้นำที่ถูก Assign กับผู้นำแฝง
  • ประธานที่เป็นผู้นำจะช่วยกลั่นกรอง ทำเป็นกระบวนการ ให้ Turn Idea into Action และ Action สู่ Success เราจะมีการแบ่งปันอย่างไร และยอมรับในเหตุ และผลอย่างไร
  • ตัวแทนที่ไป Pre-Planning ในกลุ่มภาคเหนือ
  • คุณกิ่งทอง ซุ้มสามพราน ผอ. กศน.วัดญาณสังวรมหาวิหาร
  • - กศน. มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านการเกษตรในศูนย์ฝึกชายแดนทั่วประเทศ เป็นสิ่งที่ทางสมาคมให้ความสำคัญมีการเสนอจากท่าน กศน.จังหวัด และกศน.อำเภอได้นำมาปรับปรุงและใส่เพิ่มเติมในหลักสูตร นับว่าเป็นกระบวนการที่ยอมรับความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติ แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะสร้างนวัตกรรม คาดว่าจะถึงเกษตรกรแน่นอน อยู่เบื้องหลังความสำเร็จหลายเรื่องแต่ไม่เคยโชว์ตัว คิดว่าสิ่งที่ท่านคิดเป็นสิ่งที่มีประโยชน์
  • สุพัตรา เสียงเทพ
  • - สิ่งต่าง ๆ คล้ายกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสหกรณ์ได้ใช้อยู่ ถ้ากศน.มาพัฒนาร่วมกับกศน. ก็จะได้รับประโยชน์มากเช่น โครงการข้าว ลำไย ลิ้นจี่ นับว่าเป็นโอกาสอย่างดีที่ให้สหกรณ์เรียนรู้ร่วมกับกศน.
  • สุชีพ สุนทรสอน
  • - เป็นตัวโค้ช ทดสอบ 2 R’s อยากรู้ความจริงว่า กศน.เป็นอย่างไร และตรงประเด็นหรือไม่ ก่อนที่จะเดินต่อไป อย่างรู้เขา รู้เรา
  • ดร.จีระ ให้แต่ละโต๊ะ แนะนำตัวและนำเสนอสิ่งที่ต้องการ
  • กลุ่ม 1

- อยากได้ความรู้ ความเข้าใจที่ชัดเจน ว่าจะนำนโยบายที่ได้จาก 5 วันนี้สู่การปฏิบัติได้อย่างไร

- แปลภาษาไทยเมื่อพูดภาษาอังกฤษได้

กลุ่มที่ 5

- ต้องการนำความรู้ไปใช้ต่อยอดจากสิ่งที่ทำอยู่แล้ว

- บางท่านไม่ได้เรียนรู้เรื่องการเกษตรโดยตรงเช่นจากวิทยาศาสตร์ อยากฟังเรื่องความสัมพันธ์ในการนำการเกษตรไปใช้กับวิทยาศาสตร์อย่างไร

- จะนำไปใช้เชื่อมโยงกับนโยบายของกศน.ได้อย่างไร อยากให้เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ฟังแล้วสู่การปฏิบัติได้จริงจัง

กลุ่มที่ 2

- ประเด็นที่จะเรียนรู้อยากเรียนรู้เรื่องจัดคิดเรื่องทำแผน Macro สู่ Micro และนำสู่การปฏิบัติเชิงนโยบาย

กลุ่มที่ 3

- นำการเกษตรไปสู่แนวคิดที่ถูกต้องเพื่อการพัฒนา

กลุ่มที่ 4

  • - มาเพื่อเรียนรู้สภาพเกษตรกรซึ่งได้ชมในวีดิทัศน์
  • - กศน. มีทุนอะไร
  • - How to คือทำอย่างไรถึงนำพาเกษตรกรก้าวสู่ประชาคมอาเซียนได้
  • ดร.จีระ อยากให้ดูว่าพอจบไปแล้วทำอะไรต่อ
  • - Value Added, Value Creation , Value Diversity เพื่อสร้างมูลค่าที่ท้าทาย ทำให้การศึกษาไปพัฒนาสร้างคนให้อยู่รอดในอาเซียนให้ได้
  • - เน้นการทำงานต่อเนื่องและให้มุ่งมั่นทำงานร่วมกัน
  • - การปะทะกับเกษตรกรในบาง Sector เลือกศักยภาพสูงสุด เช่นวัฒนธรรม + ความรู้ + ความใฝ่รู้ ไปสู่ทัศนคติ เมื่อได้ยินได้ฟังศักยภาพอาเซียน จะรู้ว่าประเทศอาเซียนคิดอย่างไรกับเรา
  • - บางครั้งต้องทำงานร่วมกับเขา เราต้องเข้าใจว่าถ้าเราร่วมมือกันจะต้องทำอะไรเพื่อไปสู่ความสำเร็จ เราต้อง Realistic ความรู้ภาคเกษตรเกี่ยวกับอาเซียนมีอะไรบ้างที่จะนำเสนอ

Panel Discussion & Workshop (บรรยายภาษาอังกฤษ)

กระบวนการพัฒนาภาคการเกษตร/สินค้าเกษตรของประเทศอาเซียน

และเส้นทางการนำเข้า – ส่งออกสินค้าเกษตรระหว่างประเทศอาเซียน (1)

โดย Mr. Tiene Vannsouk

รองอธิบดีกรมพัฒนากสิกรรมและสหกรณ์ กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สปป.ลาว

อาจารย์ชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์

รองประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าไทย

Mr. Nguyen Duy Duc

ผู้อำนวยการ สถาบันวิศวกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวแห่งเวียดนาม

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย คุณจีระเดช ดิสกะประกาย

  • -Mr. Nguyen Duy Duc: ขอพูดถึงข้อมูลประเทศเวียดนามโดยทั่วไป ดังนี้

ประเทศเวียดนามมีพื้นที่ 1,600 ไร่ ด้านตะวันออก จะโดนมรสุมตลอดเวลา

  • -สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงเร็ว เวลาแห้งจะแห้งมาก ทำให้การเกษตรไม่ได้ผลอย่างที่คาดคิดไว้
  • -นโยบายของรัฐบาลส่งเสริมกิจกรรมทางกิจกรรม
  • -คน 90 ล้านคน มีคนหนาแน่นเป็นจุด ๆ เป็นชนเผ่ามาก
  • -การลงทุน มีพระราชกำหนดที่สามารถลดหย่อนภาษี 70% เพื่อเชิญชวนให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุน
  • -เริ่มการปศุสัตว์ เลี้ยงโคนม
  • -หากใครไปเริ่มธุรกิจ จะได้เงินช่วยรัฐบาล
  • -หากเป็นโคนม จะเบิกได้ถึง 234,000 USD
  • -พระราชกำหนด 10 กุมภาพันธ์ จะเกี่ยวข้องกับสัตว์น้ำการประมง
  • -ข้าวที่ผลิตเน้นทีคุณภาพมากกว่าจำนวน
  • -GDP ปี 2012 123.96 พันล้าน

Agricultural product export

  • GDP ของเวียดนามสูงกว่าประเทศไทยมาก ปีนี้ 12% ในประเทศไทยแค่ 3%
  • ประเทศเวียดนามส่งออกข้าวอันกับแซงไทยไปแล้ว
  • ยางเป็นอันดับ 4 ของโลก
  • -ประเทศจีนเป็นตลาดสำคัญ ของประเทศไทย
  • -ประเทศเวียดนามมีการส่งออกอาหารทะเลสูงขึ้นมาก

Agricultural product import

- ผลผลิตจากประเทศไทยที่นำเข้า คือ ทุเรียน มังคุด

- น้ำปลา

- ผลไม้สด มะม่วงน้ำดอกไม้

- เมล็ดพืช

- ปลากระป๋อง 3 แม่ครัว

ความร่วมมือกับประเทศอาเซียนในด้านการเกษตร

  • -ความจำเป็นในการพัฒนาเรื่องตลาดไปต่างประเทศ
  • -ต้องช่วยสนับสนุนเรื่องเทคโนโลยี
  • -มีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน
  • -ต้องการการมีเครือข่ายสำหรับการเกษตร
  • -ต้องมีคนกลางขยายเครือข่าย ประเทศเวียดนามมีปัญหาเรื่องความยากจน
  • -ต้องมีการแลกเปลี่ยนโครงการเพื่อการเรียนรู้กรณีศึกษาที่ดีระหว่างประเทศอาเซียน

การปลูกแก้วมังกรในประเทศเวียดนามได้ผลดีมาก ประเทศไทยควรเรียนรู้การปลูกจากประเทศเวียดนาม

สำหรับเกษตรกรคนไทยและเวียดนาม รัฐบาลต้องสนับสนุนเรื่อง Infrastructures, port, pack house ระบบการศึกษา วิชาชีพ แต่ปัจจุบันนี้รัฐบาลตัดงบประมาณออกเยอะมาก คล้ายประเทศไทย

เกษตรกรมีปัญหาเรื่องคุณภาพ เรื่องความปลอดภัยในการใช้ยาฆ่าแมลงซึ่งควบคุมลำบาก ซึ่งเหมือนกับประเทศไทย อีกทั้งมีปัญหาเรื่องสภาพภูมิอากาศ

หวังว่าประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี

Mr. Tiene Vannsouk: รองอธิบดีกรมพัฒนากสิกรรมและสหกรณ์ กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สปป.ลาว

ในการเปิดอาเซียน 2015 ทุกประเทศต้องการมีความเป็นเอกภาพ ส่วนใหญ่เป็นประเทศเกษตรกรรม มีทรัพยากรธรรมชาติ มีแหล่งน้ำ

Country profile

  • -ประชากร 6.5 ล้านคน มี 49 ชนเผ่า
  • -มีการเติบโตของประชากร 2.6%
  • -การเติบโตของเศรษฐกิจคงที่ 7-8%
  • -GDP $1300 per capita ในปี 2012
  • ประเทศลาวมีทรัพยากรธรรมชาติที่ดี มีแหล่งน้ำธรรมชาติ มีสภาพแวดล้อมเป็นภูเขา 80% พื้นราบ 20%
  • -ประชากรลาวมีพวกย้ายถิ่นฐานเยอะมาก
  • -แม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายหลัก ที่ใช้ในการเกษตรกรรม

แผนพัฒนาเกษตรกรรม 2013 การกสิกรรม ของประเทศลาว

  • -มีเนื้อที่ป่าไม้ 42% มีไม้ประดู่ ไม้แข็ง
  • -ส่งเฟอร์นิเจอร์ เป็นวัตถุดิบมาก
  • -ป่าสงวน 48%
  • -อัตราการเกษตร 3-4% ต่อปี
  • -ประชากรลาวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
  • -ปี 2013 ผลิตข้าวได้ 3.8 แสนล้านตัน
  • การพัฒนาภาคการเกษตรในประเทศลาว
  • -การเลี้ยงหมู ไก่ มีฟาร์มเอกชนขยายตัว
  • -วัว ควาย เลี้ยงแบบปล่อยเสรี
  • -รัฐบาลส่งเสริมการเลี้ยงวัว
  • -การเลี้ยงปลา มี
  • ปัญหาของเกษตรกรรมของลาว

มีการผลผลิตต่ำ

โอกาสของภาคการเกษตร

  • -มีการบูรณาการทางRegional and global
  • -ลาวกลายเป็นประเทศที่มีพื้นที่เชื่อมโยงกัน
  • -สถานการณ์ทางการเมืองมีความมั่นคง
  • -มีความต้องการทางการตลาดสูง
  • -เป็นประเทศมีเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดี และมีแหล่งธรรมชาติ โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่ดีมาก
  • -มีสิ่งจูงใจในการลงทุนสำหรับ FDI

สิ่งที่ท้าทายในเรื่องการเกษตร

  • -การเกษตร และผลผลิตทางการเกษตรยังไม่มีคุณภาพ
  • -สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงมาก มีความแห้งแล้ง หรือพายุฉับพลัน
  • -มีราคาในการขนส่งสูง จ่ายแพงมาก
  • -ตลาดมีการแข่งขันสูง
  • -พัฒนาในสามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์

กลยุทธ์สำหรับการพัฒนาเรื่องการเกษตรปี 2020

  • -ลาวเป็นประเทศกำลังพัฒนา ประเทศอาเซียน ต้องร่วมมือให้ต่างฝ่ายต่างมีผลประโยชน์ร่วมกัน
  • -ยุทธศาสตร์ เน้นเรื่อง
  • oการผลิตอาหาร ผลิตข้าว

การนำเข้า และส่งออก ของสินค้ากสิกรรม

  • -ลาวยังขาดดุลในเรื่องการนำเข้า แต่สำหรับกสิกรรมผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกประมาณ 300 ล้าน แต่นำเข้าประมาณ 200 ล้าน
  • -รัฐมีนโยบาย ในการนำเข้า และส่งออกให้มีสัดส่วนใกล้กัน
  • -สิ่งที่หวงห้ามด้านกสิกรรม คือ พืชพันธุ์ GMO อาวุธสงคราม
  • -ต้องมีการลงทะเบียน
  • -มีลิขสิทธ์การนำเข้า
  • -อยากให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและลาว เพราะมีความคล้ายคลึงกันหลายๆด้าน

ดร.จีระเดช: ไทยสามารถเอื้อประโยชน์ให้กับประเทศลาวได้ เนื่องจากเรื่องเทคโนโลยี และทางด้านต่างๆ

อาจารย์ชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์: ต้องคิดถึงว่าทำอย่างไรทำให้การค้าสะดวก และมีอะไรที่กลุ่มอาเซียนต้องคำนึงถึง

ข้อกังวลของภาคเอกชน คือ ความพร้อมของแต่ละประเทศ

ความพร้อมของกลุ่มประเทศทั้งหมดมีไม่กี่ประเทศที่พร้อม ต้องเป็นสิ่งที่แต่ละประเทศมาคุยว่าสิ่งเหล่านี้จะเข้ารูปแบบได้อย่างไร

ทั้ง เรื่อง 4 S ความพร้อมของแต่ละประเทศในอาเซียนไม่เท่ากัน ถ้า 4S ไม่เกิด ปัญหาเรื่องการค้าจะมีปัญหามากๆ

  • -Standard การปนเปื้อนจากปัญหาสารพิษต่างๆ เช่น ประเทศลาวจะมีมาก หากมีการถ่ายเทอาหาร จะมีการปนเปื้อนมาก
  • -เน้นเรื่อง Food safety จีนมีพลเมืองมาก ผลิตในประเทศไม่พอเพียง แต่มีศักยภาพการผลิตที่สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ
  • -มีมาตรฐานเรียกว่า THAIGAP/GLOBAL GAP (Private Standard) สภาหอการค้ามองว่า ทำอย่างไรถึงมีเครื่องมือมาช่วยให้เกษตรกรเอาเครื่องมือนี้มาพัฒนาตัวเอง
  • -เรื่อง Sustainability standard
    เรื่องสภาพแวดล้อม
  • -Legal labor
  • -Climate Change
  • -Safety
  • -Security
  • -Sustainability
  • เครื่องมือที่ช่วยในกลุ่มประเทศอาเซียน
  • -ASEANGAP ประเทศไทยมาปรับเป็น Q GAP เพื่อให้มีมาตรฐานเป็นอย่างเดียวกัน เพื่อความปลอดภัย
  • -ThaiGAP
  • -GLOBALGap ถึง 70% ที่ยังไม่สามารถผลิตอาหารให้เป็นไปตามระบบความปลอดภัยใน AEC ได้เลย
  • ต้องผลิตมาตรฐานให้เกิดความปลอดภัย เพื่อให้สามารถส่งออกไปยังประเทศอมริกา ญี่ปุ่นได้
  • การที่เกิดความเชื่อถือในมาตรฐานสินค้า ที่ต้องใช้เวลาไม่เกิน 5 ปี ถ้าทุกประเทศมีความพร้อม
  • กระทรวงวิทยาศาสตร์ ต้องพัฒนาต้องคิดเรื่องนี้ให้มากขึ้น เพราะหากสินค้าเกษตรไม่รับรอง ก็จะทำให้ขายสินค้าได้ยากขึ้น

การค้าในการกสิกรรมในประเทศอาเซียน

  • เรื่องอาหาร food
  • •Rice
  • • Fruit & Vegetable
  • • Aquaculture
  • • Livestock
  • Non food
  • -ยาง
  • FOOD & FEED:
  • -Maize
  • -Soy bean
  • FOOD & ENERGY
  • -อ้อย ปาล์มน้ำมัน
  • กศน. ต้องมีข้อมูล เรื่องต่างๆที่สำคัญดังนี้
  • 1. Logistics
  • 2. Supply Chain Management
  • 3. SPS control systems
  • 4.Borders inspect ต้องมีมาตรฐานป้องกันการค้า

งานวิจัย เรื่องการเทคโนโลยีเก็บเกี่ยว สามารถหาดูได้ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กศน.ต้องมีข้อมูลสำคัญต่างๆเหล่านี้ เพื่อไปบอกเกษตรกรได้ว่าต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

Case study เกษตรกรรายย่อยไปหา Supply chain ได้อย่างไร อำเภยดอนตูม นครปฐม สินค้าถูกส่งไปยังยุโรป ญี่ปุ่น ซึ่งมีมาตรฐานสินค้าที่สูง ก่อนหน้านั้นผลิตสินค้าไม่มีตลาด ก็ไมยั่งยืน ต้นทุนการผลิตสูง หลังจากนั้นเข้าใจเรื่องมาตรฐานและคุณภาพ สามารถอบรมให้ความรู้เรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก โดยม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน

สิ่งดีคือ เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ แต่ก่อนนครปฐมมียาบ้าเยอะมาก ตอนนี้เรื่องยาบ้าหมดไปค่อนข้างเยอะ

ชุมชนนี้มี 40 ครอบครัว มีพื้นที่การผลิตใหญ่ มีวางแผนการผลิตที่ดี ไม่ได้ปลูกเหมือนกันทั้งชุมชน

ผักบุ้ง ส่งออกไปที่ประเทศอังกฤษ จำนวนมาก

  • -Harvest 1000kgs/day
  • -Continuously 365days for Export & Domesticmarkets
  • เริ่มเอามาตรฐาน EUREPGAP ปี 2002
  • ปี 2008 มาตรฐาน Global Gap
  • ปี 2012 Thai Gap
  • -ได้รับรางวัลจากสมเด็จพระเทพ ทำให้เกิดมาตรฐานและความยั่งยืน
  • -การเกษตรอุตสาหกรรมทำให้เกษตรยั่งยืนได้ ประไทยและกลุ่ม ASEAN เป็นกลุ่มประเทศเกษตรอุตสาหกรรม แต่ไม่มีเรื่องอุตสาหกรรมหนักๆเลย ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องรักษาสิ่งที่เป็นจุดแข็งเหล่านี้ไว้

คำถาม: อยากให้เล้าเรื่อง CASE STUDY ที่ทำมานานถึง 9 เดือน ว่าเป็นอย่างไรที่พักดิน 3 เดือน

คุณชูศักดิ์ ดินต้องมีการพัฒนา ต้องมีการพักดิน ต้องมีกาเอาดินไปตรวจก่อน ดินจึงสมบูรณ์ เป็นระบบการผลิตที่มีการวางแผนที่ดี การพักดินเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เช่น การปลูกยาง ปาล์มน้ำมัน

คำถาม: การทำการเกษตรปัจจัยสำคัญ คือ น้ำ ใน AEC มีการวางแผนทรัพยากรที่มีผลต่อการผลิตร่วมกันหรือไม่

คุณเตียน: ใน AEC การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ต้องมีกฎหมายที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันและมีการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างมีเหตุผล

คำถามจากครูกสทช. อ.ดำเนินสะดวก: หากเราจะปรับคุณภาพของความปลอดภัยจะรู้ได้อย่างไรว่าเกษตรกรใช้เคมีมากน้อยแค่ไหน จะมีแนวทางอย่างไรที่ทำให้ตลาดๆใหญ่

คุณชูศักดิ์ : เชิญตลาดไท สมาคมตลาดสดแห่งประเทศไทย ต้องมีมาตรการระบบควบคุมการใช้สารกำจัดศัตรูพืช เอาไปให้เกษตรกรในเครือข่ายเอาไปปฏิบัติให้ได้ ตลาดศรีเมืองมีบทบาทมาก เรียกว่าโซนสินค้าปลอดภัยหากไม่ปลอดภัยจะลงไปตวรจสอบที่เกษตรกรทันที ปัญหาคือ สารเคมีที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ของปลอมที่ระบาดเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องกำจัดให้ได้

ในเมื่อเราเป็นผู้ใช้สารเคมีก็ต้องมีมาตรการในการตรวจสอบสินค้าเพื่อความปลอดภัย และต้องให้ความรู้ เกษตรกรว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ หาดกเกษตรกรใช้สารเคมีผิดประเภท ก็ทำให้เกษตรกรมีสารพิษในเลือด จึงเกิดผลกระทบกับตัวเกษตรเอง

คำถาม: ในเรื่องการทำเหมืองคำ น้ำที่ร่อนแร่ไหลลงไปแหล่งน้ำธรรมชาติ จะส่งผลกระทบต่อการเกษตรมากเพียงใด การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นมลพิษต้องแก้จากภาคอุตสาหกรรมด้วย

คุณเตียน: หลาย ๆ ประเทศพบปัญหาสิ่งนี้เหมือนกัน สิ่งที่ทำคือผลักดันให้บริษัทดังกล่าวปรับปรุง Water Treatment ก่อนพลักดันสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ

อ.แดง: คิดจะเก็บเงินค่าน้ำเสีย จากน้ำเสียไปสู่น้ำดี เมื่อลงไปแล้วต้องรู้จัก Treat น้ำ และแยกสารออกมา เกษตรกรรมจะต้องดูแลในเรื่องนี้ให้ดี ในด้านอุตสาหกรรม Volume น้อย แล้วทองคำตกก็ปล่อยน้ำกับทรายลง ปัจจุบันลาวมีที่มาก สิ่งนี้ยังไม่เห็นผล แต่ในอาเซียนเมื่อแคบขึ้น สิ่งเหล่านี้จะถึงลาวเอง

คำถาม : คุณนราวัลย์ จ.ลำพูน อยากทราบว่าเวียดนามมีกระบวนการวิธีการอย่างไรเพื่อพัฒนาผลผลิตจากอันดับท้าย ๆ ไปสู่อันดับ 1 หรือ 2 แต่ ไทยกลับไปสู่อันดับลดลง พัฒนาตรงนี้อย่างไร

คำตอบ จากเวียดนาม เรียนรู้จากไทยมาก่อน ถึงวิธีการอนุรักษ์ และการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ตัวอย่างฟิลิปปินส์ไม่สามารถปลูกข้าวได้

7 ปีที่แล้ว ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในประเทศเยอรมัน ตอนนี้สามารถรับรองเป็นมาตรฐานสากล ในการเลี้ยงปลาเดนกาซัส เกษตรกรเวียดนามเช้าทำงานเย็นเรียนหนังสือ แต่ประเทศไทยมีแต่ถดถอยลง

การจะดำเนินงานสิ่งใดก็ตาม จะต้องมีความมุ่งหวังหรือวัตถุประสงค์เพื่อความก้าวหน้าหรือถ้าเป็นการค้าต้องมุ่งหวังถึงผลกำรหรือรายได้ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งการพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซี่ยน นั้นเราจะต้องศึกษาสภาพปัญหาหรือความต้องการ หรือพื้นฐานของการประกอบอาชีพเดิม เพื่อจะเป็นพัฒนาสร้างคุณค่าให้ผลผลิตภาคเกษตร ไปสู ASEAN พัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดย กศน. จะต้อง เป็นตัวกลางส่งเสริมให้เกษตรกรปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยมี มาตรฐาน มีคุณภาพ มีความเป็นเลิศ เทียบเคียงคู่แข่งได้

สรุปผลการอบรม "ค่ายต้นแบบของ กสน.เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน" ประเทศไทยมีปัญาทางการเกษตร เรื่อง Food Safety มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในอนาคต เกษตรกรไทยต้องคิดใหม่ ทำใหม่ โดยการคิดนอกรอบ ประเทศไทยขายข้าวราคาแพง และใช้ต้นทุนการผลิตสูง ปัญหาที่เกษตรกรพบคือ ปัญหาการที่มีผลมาจากปัญหาการเมือง เกิดจากนโยบายทางการเมืองแบบประชานิยม เกษตรกรไม่มีอำนาจการต่อลองราคาพืชผลทางการเกษตร ขาดความยั่งยืน เกษตรกรไม่คิดเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับราคาตลาดต่างประเทศ และสอดคล้องกับพื้นที่เพาะปลูก การใช้ทรัพยากรน้ำที่ไม่เหมาะสมขาดการวางแผนการใช้้ำน้ำนอกฤดูกาล กศน.ควรทำโครงการพัฒนาบุคลากร ครู กศน.ส่งเสริมการเกษตรสู่อาเซียน 1.ยกระดับมาตรฐานการผลิตแบบเกษตรธรรมชาติ ให้ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย 2.พัฒนาครู กศน.ให้เป้น Trainers เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3.สร้างการบวนการคิดให้กับเกษตรกร สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม "คิดบวก" "คิดนอกกรอบ" พัฒนาการเกษตรรูปแบบใหม่ๆ ให้มีความหลากหลาย ใช้เทคโนโลยีด้านการเรียนรู้และการผลิตที่ทันสมัย โดยเฉพาะเทคโลยีชีวภาพ ที่สามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับของตลาดผู้บริโภค 4.สร้างแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือศูนย์เรียนรู้ ให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต 5.จัดกระบวนการเรียนรู้แบบ กศน.จัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ต่างๆ ตามความเหมาะสมแต่ละพื้นที่ และหลักสูตร เศรษฐศาสตร์และสหกรณ์ ให้เกษตรกรได้มีความรู้ด้านการบริหารจัดการฟาร์ม

27 มกราคม 2557.

กศน. ----------->เกษตรกรไทย ---------------> AEC

แนวคิด. 1. สร้างความคุ้นเคย ไว้วางใจกับเกษตรกรผู้ผลิต เพื่อทราบปัญหา ความต้องการพัฒนา

2. รู้วิธีแก้ และป้องกันปัญหาในอนาคต หรือการสร้างองค์ความรู้

3. กระบวนการดำเนินงาน เพิ่มศักยภาพ คน กศน. เกษตรกร. หาแนวทางเชื่อมโยง สถาบัน หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ระดมความคิดหาแนวทางที่ดี

4.สร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกรไทย ซึ่งจะต้องมีความร่วมมือจากหลายฝ่าย เช่น การทำแผนแม่บท เพื่อให้อาชีพของเกษตรกร ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง


สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมในวันที่่ 27 ก.พ. 57 เรื่องภาพยุทธศาสตร์ของภาคการเกษตรไทยและอาเซียนกับบทบาทของ กศน. หลังจากที่อบรมเสร็จ สิ่งที่จะต้องรู้หลังจากการอบรมแล้ว คือ ต้องมีความรู้ในเรื่อง ต่อไปนี้

1.รู้ปัญหา ความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ ว่าประสบกับปัญหาอะไร ต้องการที่จะพัฒนาในด้านใด เพื่อจะได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือได้ตรงกับความต้องการ

2. รู้วิธีที่จะแก้ปัญหา หรือวิธีที่จะให้ความช่วยเหลือกับเกษตรกร

3. รู้ว่าจะต้องมีกระบวนการในการทำงานอย่างไร จึงจะแก้ปัญหาได้ โดยอาจจะต้องมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพราะ กศน.คงไม่สามารถที่จะทำงานได้เพียงลำพังเพื่อให้งานประสบผลสำเร็จได้

4. เน้นสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเกษตรกร เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยการให้องค์ความรู้ต่างๆ เพื่อให้การประกอบอาชีพเกษตรเป็นอาชีพหลักของคนไทยตลอดไป

สรุปวันแรก รู้ทักทักษะการเป็นผู้นำ/สามารถนำนโยบายไปปฎิบัติได้/ต้องมีความพร้อมในทุกด้าน/สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า/รู้บทบาทหน้าที่กศน./ได้รู้ความหมายของ3v

ได้รู้ความหมาย5k8k ได้เรียนรู้ภาษาอาเซียน

ภาพยุทธศาสตร์ไทยสู่อาเซียนกับบทบาทของกศน.

สรุปการอบรมวันที่26ม.ค.57

-หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

- แนวความคิดกระบวนการพัฒนาการเกษตรไทย

- การเรียนรู้ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

- แนวคิดในการพัฒนาองค์กร กศน.

สรุป วันที่ 26 ม.ค.57

บทบาทของ กศน.และสร้างคุณค่าให้แก่ภาคการเกษตรด้วยแนวคิดแบบ 3 V

การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ภาคการเกษตรให้มีคุณค่าและหลากหลายด้วยทฤษฎี 3V

V1:Value added สร้างมูลค่าเพิ่ม

V2:Value Creation การสร้างคุณค่าใหม่

V3:Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

ศุภโชติ รุจิเลิศ สมุทรสงคราม

วันที่สอง ได้วิเคราะห์ร่วมกับกลุ่มสามเกี่ยวกับ3v

1.การบูรณาการความรู้ของกศน.

2.ไปสู่ภาคเกษตร

3.ไปสู่อาเเซียน

เจนจรี สร้อยประเสริฐ

ได้แนวคิดในการนำความรู้เรื่อง3vมาใช้ในการเติมความรู้แก่เกษตรกรเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าหรือบริการตามแนวทาง3v( value added value creation value diversity)ในขั้นตอนการจัดการข้อมูลสารสนเทศ ขั้นตอนการผลิต การออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างการยอมรับจากผู้บริโภคในทุกระดับเพื่อเป็น smart farmer อย่างยั่งยืน

สรุปการอบรมวันที่27ม.ค.57

-เรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาพม่าเพื่อเข้าสู่อาเซียน

-การคิดนอกกรอบ ในกรอบ คร่อมกรอบ โดยต้องโฟกัสสิ่งที่จะต้องทำ ในอนาคต แนวทาง แก้ไข(PPCO)หรือ(คขรอ)

-การถามมี4ประการคือ G(GOAL)R(Reality)O(options)W(will)

- จัดกระบวนงานกลุ่มโครงการ บทบาทในการเรียนรู้พลังงานทางเลือกระดับอาเซียนพร้อม

-รับฟังระบบกระบวนการพัฒนาภาคการเกษตร ประเทศมาเลเซีย กัมพูชา ฟิลิปปินส์

กนกพรรณ สุวรรณพิทักษ์

26 ม.ค.57 กศน.มีข้อดีที่เป็นองค์กรที่มีหน่วยงานครอบคลุมทุกพื้นที่ มีความยืดหยุ่นในการทำงาน มีเครือข่ายร่วมทำงานมากมาย งาน กศน.ครอบคลุมกว้างขวาง ทุกเรื่องเป็นการให้การศึกษาตลอดชีวิต เกษตรกรเป็นอีกกลุ่มเป้าหมายหนึ่งที่ควรให้การศึกษาในด้านการสร้าง Valueให้กับผลิตผลทางการเกษตรเพื่อให้แข่งขันได้ในASEAN

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ บทบาทของ กศน.และสร้างคุณค่าให้แก่ภาคการเกษตรด้วยแนวคิดแบบ 3 V

โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

และ ประธาน Chira Academy

สิ่งสำคัญคือ กศน. กระตุ้นให้มีแนวคิดเรื่อง Value Creation and Value Diversity

เราทำไปแล้วได้อะไร แรงจูงใจทำให้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ท่านทั้งหลายเป็น Leader ที่จะเอาชนะอุปสรรคที่เกิดขึ้น

การปลูกทุนมนุษย์ 8K’sK มาจากคำว่า Capital (ทุน)

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

เราทำโครงการเกี่ยวกับอาเซียนดังนั้นจึงต้องอยู่บนพื้นฐานคือ Trust ไว้เนื้อเชื่อใจ การร่วมมือกับอาเซียนทุนทางคุณธรรม จริยธรรมจึงสำคัญ อีกเรื่องคือเรื่องทุนทางปัญญา คือสิ่งที่เราเห็น คิดเป็น วิเคราะห์เป็น เราต้องมีความสุขในการทำงาน ต้องมีเครือข่าย เป้าหมายคือทำอย่างไรให้ภาคเกษตรยั่งยืน

ทุนแห่งความยั่งยืนคือมีสุขภาพดี และต้องมีปัญญาที่ดี เราต้องมีความใฝ่รู้ และความรู้พอที่จะอยู่ในการเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าเราคิดแบบเดิมคือลอกเขามา ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ไม่ไปสู่นวัตกรรม

การพัฒนาทุนมนุษย์ที่เรียกว่าปลูก คนในวันนี้มีศักยภาพสูงทำอย่างไรถึงกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ ต้องมี Motivation ,Inspiration ,Empowering, Standard , Quality , Excellence , Benchmarking

ในทฤษฎี 3 V ที่คิดไว้มีมาจากปลูกเก็บเกี่ยว สำคัญที่สุด

ตัวอย่าง

สิงคโปร์ ดูที่คุณภาพของ Consumer เราน่าจะ Approaching

อินโดนีเซีย ประเทศมุสลิม ประชากร 250 ล้านคน การเปิดเสรีอาเซียน สิ่งแรกที่ต้องทำคืองดภาษี ศุลกากร ยกเว้นสินค้าที่อ่อนไหวของแต่ละประเทศ

ในอาเซียนการตกลงเรื่องภาษีศุลกากรว่าจะยกเว้นภาษีเท่ากับ 0 ยกเว้นสินค้า ที่เป็น Sensitive อย่างเช่น ข้าว ส่วนสิ่งที่น่าสนใจอีกอันหนึ่งคืออาหารฮาราล สุดท้ายที่เราอยากจะคุยกับเขามากคือ เรื่องยางพารา น้ำมันปาล์ม ประมง ตัวอย่างของประเทศฟิลิปปินส์ มีกล้วยหอมส่งออกที่ทันสมัย มีสหกรณ์การเกษตรส่งกล้วยหอมออก แต่ยังทำไม่ได้ดี

ในด้านเกษตร..การรวมตัวกันของอาเซียน 10 ประเทศ มีความหลากหลาย (Diversity) มากมาย ยกตัวอย่างเช่น..

üบูรไนซื้อสินค้าจากพวกเราแต่รายได้สูง

üสิงคโปร์ เก่งเรื่องการค้าส่งออก และอาจจะเป็นตัวอย่างของเรื่อง Food Safety ได้

üอินโดนีเซีย ซื้อข้าวจากเรามหาศาล แต่วันนี้นโยบายจำนำข้าวของไทยเน่า.. จะบริหารข้าวกับอินโดนีเซียได้อย่างไร อาหารฮาลาลมีความต้องการมากจากไทยเรื่องอื่น ๆ เช่น ยางพารา ปาล์ม ประมง

üฟิลิปปินส์ เก่งเรื่องกล้วยหอมส่งออกเป็นอันดับต้นๆของโลก? สัปปะรด และมะพร้าว

ประมง.. มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมคล้ายๆ ประเทศไทยเป็นแต่แหล่งวัตถุดิบ

üลาว : มี Contract Farming จากไทย เป็นแหล่งวัตถุดิบคนไทยไปปลูกอ้อยที่สะวันเขตป้อนโรงงานทำน้ำตาลมิตรผล

üกัมพูชา : มีพื้นที่มาก ผลิตวัตถุดิบได้มาก มีโอกาสเรื่อง Contract Farming โดยเริ่มต้นทางแปรรูปภาคเกษตรกับไทย และในอนาคตข้าวจะขยายตัวมาก

üมาเลเซีย : เก่งมากๆ เรื่อง ปาล์ม แปรรูปน้ำมันปาล์ม มีการปลูกยางแต่ว่าน้อยลง น่าจะร่วมมือกับประเทศไทยได้ในเรื่องยางพาราและน้ำมันปาล์ม ถ้าภาษีน้ำมันปาล์ม = 0 ธุรกิจปาล์มของไทยจะมีปัญหา

üพม่า: ต้องการความร่วมมือโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคเกษตรและเกษตรแปรรูป เพราะปิดประเทศมานานจึงมีโอกาสมหาศาล

üไทย: มีปัญหาเรื่อง Food Safety และปัญหาการเมือง เรื่องข้าว และจะจัดการอย่างไรในเรื่องภาวะโลกร้อนเวียดนาม : 10 ปีแล้วพึ่งพาเรื่องแปรรูปการเกษตร บัดนี้ ทำได้ดีต้องเป็นแนวร่วมกับเรื่องข้าวมากขึ้น ประเด็นก็คือ เรื่องการเกษตรใน 10 ประเทศ มี Diversity มากมาย จะร่วมมือได้อย่างไรจึงจะสร้าง Value Diversity ให้เกิดขึ้นได้? ต้องมอง Diversity เป็น Assets บริหารให้ได้ ไม่ใช่ Conflict ให้ Diversity เติมเต็มซึ่งกันและกันระหว่างประเทศและ Sector ในอาเซียนในเรื่องการเกษตรให้ได้

ประเด็นเรื่อง “Value Creation” ในภาคการเกษตรโดย link กับ ASEAN ดร.จีระคิดว่า..แนวคิดเรื่อง Blue Ocean ที่เน้นไปที่การทำงานใหม่ ๆ หาลูกค้า และ Products ใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะเริ่มจาก 0 ก็ได้ ซึ่งอยากให้ กศน.ช่วยคิดและหาช่องที่แนวทาง Blue Ocean จากงานในครั้งนี้ร่วมกัน โดยเฉพาะเน้นไปที่.. Creativity + Innovation ไม่ใช่แค่สอนทำหลักสูตรเท่านั้น แต่ต้องเข้าไปมีบทบาทต่อภาคการผลิต (Real Sector) อย่างแท้จริง และอาจจะมีพันธมิตรเพิ่มขึ้นก็ได้

  • ถ้าเรามี Value Diversity ในภาคเกษตรจะทำอย่างไร

วิธีการบริหาร Value Diversity

1. Acknowledge

2. Accept

3. Understanding

4. Managing

5. Celebrate

Value Creation กับ Value Diversity เชื่อมโยงกัน น่าจะมาจาก 8K’s และ 5K’s เป็นหลัก จะอยู่ได้บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง

ประเด็นสุดท้าย “Value Creation” ในภาคเกษตร + ASEAN อาจจะมาจาก การที่ ASEAN คิดร่วมกันเพื่อให้เกิดห่วงโซ่อุปทาน หรือ Value Chain ผมมองไว้หลายโซ่ โซ่แรกคือ จะเห็นว่าโซ่นี้.. บทบาทของ กศน. มีความสำคัญ เสริมงานของเกษตรกรไทยกับอาเซียนอย่างแน่นอน หรือ การมอง Value Creation ที่ไปกระทบเป้าหมายอื่น ๆ เช่น Food Safety หรือ การสร้างมูลค่าทางการท่องเที่ยว Agro-tourism + ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Cultural and Community Tourism)

อยากให้ กศน.มอง Value Chain ของภาคเกษตรให้ครบ

การขายและการสร้างแบรนด์ แนวคิดใหม่ ๆ สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกร บทบาทของกศน. ถ้าเพิ่ม 3 V เพิ่มคุณค่าสินค้า ต้นทุนเท่าไหร่ไม่สำคัญ เพราะสิ่งที่ได้มานั้นมีคุณค่ามหาศาล

Creativity กับความคิดแบบเดิมแตกต่างกัน คำถาม คือ เราจะหลุดพ้นจากสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตหรือการสะสมได้อย่างไร

ทุนทางจริยธรรม ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม เป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ ถามว่าเราจะวัดทุนมนุษย์ด้วยอะไร ศักยภาพของคนในห้องนี้อยู่ที่ไหน Who kill creativity ศักยภาพความเป็นเลิศอยู่ข้างในไม่ใช่ข้างนอก ถามว่าได้ใช้ศักยภาพของตัวคุณเองเพื่อลูกค้าแล้วหรือยัง แล้วคุณสามารถชนะอุปสรรคได้อย่างไร

อ.ทำนอง ดาศรี

ขอเพิ่มจาก 3 V คือเราต้องเห็นคุณค่า ค่านิยมของเรา เราจะออกแบบคนไทยในอนาคตอย่างไร ค่านิยมคนไทยในอนาคตควรภูมิใจในความเป็นไทย คนไทยต้องเป็นคนดีมีคุณธรรม จริยธรรม เราต้องภูมิใจในประวัติศาสตร์ของเรา ที่สำคัญคือเรื่องวัฒนธรรม สังเกตได้จากสินค้าของเวียดนามทำจากวัฒนธรรมค่อนข้างเยอะ คนไทยต้องเห็นคุณค่าของค่านิยมของเรา หรือที่เรียกว่าอัตลักษณ์ ความภูมิใจในความเป็นไทย ใช้สินค้าไทย ค่านิยมคนไทยคืออะไร ภาคเหนือคืออะไร สินค้าที่ผลิตขึ้นมาต้องขายได้แล้วมีกำไร ทำอะไรก็ตามต้องถามผู้บริโภคก่อนว่าเขาอยากได้อะไร เขาต้องการทำอะไร

ให้ดูที่ความต้องการสินค้า ทำอย่างไรให้สินค้านั้นมีคุณภาพ สินค้านั้นลูกค้าต้องการหรือไม่ แล้วค่อยผลิต ตัว 3 V อย่าลืม + 1

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

ความคิดสร้างสรรค์ กศน. จะนำไปใช้อย่างไร

ดร.จีระ พูดเรื่องต้นน้ำ ทำอย่างไรถึงใฝ่รู้ และหาความรู้ทุกวัน

เราจะสร้างองค์ความรู้อาเซียน เราจะทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์ เราจะหาหนังสือ สื่อแบบไหนให้เกษตรกรรับทราบ แต่ละกลุ่มจะทำอย่างไรที่จะนำ IT ใส่ไปในโครงการ

ต้นน้ำ – รู้เขา รู้เรา รู้อาเซียน

กลางน้ำ – บริหารความหลากหลาย

ถ้าแข่งขัน เราต้องแข่งขันกับตัวเอง ต้องไม่หยุดอยู่กับที่ มีจังหวะในการผสานความคิดสร้างมูลค่าเพิ่มเช่นดูสินค้าฮาราลแล้วสร้างมูลค่าเพิ่มต่างหาก

ในต่างประเทศมีสมุนไพรอะไร ต้องสร้างโครงการกลุ่มละ 1 โครงการ ให้โครงการสุดท้ายตรงกับประเด็นพัฒนาเกษตรกรไทยสู่อาเซียน

Workshop

เพิ่ม Productivity ภาคเกษตร ไปสู่ ASEAN ไปสู่ 3V

1.เสนอโครงการที่เป็นรูปธรรมที่คิดว่าทำกับอาเซียนและเกิด Value Creation และสามารถปฏิบัติได้โดย กศน.

2.เสนอโครงการที่สามารถทำให้ กศน. นำเอาแนวคิดความร่วมมือกับอาเซียน ไปสู่ Value Diversity ที่เป็นรูปธรรม

กลุ่มที่ 1 โครงการข้าวปลอดภัย

เลือกโครงการข้าวความปลอดภัย กศน. มีส่วนร่วมในการทำโครงการข้าวปลอดภัย สามารถนำผลิตภัณฑ์ใช้เพื่อการบริโภคและส่งออก

สิ่งที่ท้าทาย เรื่องข้าวปลอดภัย มียุทธศาสตร์คือ มีผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญที่ต้องช่วยเรา เป็นบทบาทที่จะพาเราไปศึกษาดูงาน เรื่องการให้ข้อมูล ตัดสินใจช่วยเกษตรกรได้ สิ่งที่จะให้การผลิตได้ผลดีต้องพูดถึงเรื่องต้นทุนการผลิตสภาพภูมิอากาศ การเมือง การเงินเป็นส่วนหนึ่ง

อันดับแรก คือการพัฒนาคน ใช้ระบบกลุ่มของสหกรณ์เป็นตัวหลักในการพึ่งพาตนเองได้

กลุ่มที่ 3 การสร้างจิตสำนึกในการผลิต

ภาพรวมทำไมเป็นปัญหาตรงนี้ที่เกิดขึ้น การเอาสินค้าผลิตที่มาแล้วบางครั้งขายไม่ได้

ภาคกลางผลิตข้าว แต่ข้าวในเขตภาคกลาง ประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ซื้อข้าวจากประเทศไทยเพราะมีสารเคมีเยอะ เนื่องจาก

1. เราใช้สินค้าฟุ่มเฟือย เราเพิ่มต้นทุนการผลิตไป แต่ไม่ได้ประโยชน์ หมายถึงใช้สารเคมีฟุ่มเฟือย การใช้สารปกติได้ผลผลิต 90 % ถ้าไม่ใช้สารเลยได้ 25 % ต่อมาได้พัฒนาเพิ่มเป็น 45 %และ 90%

2. กระแสการดูแลสุขภาพค่อนข้างเยอะ ที่ขายสินค้าไม่ได้เพราะปัญหาในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

ไก่ที่เราทานทุกวัน สารอาหารที่ผลิตออกมาให้ไก่ ให้ปลา ตอนนี้สะสมอยู่ในตัวผลิตภัณฑ์ค่อนข้างเยอะ ดังนั้นในเรื่องการถ่าย การแปลเปลี่ยนค่อนข้างน้อย สะสมในเนื้อไก่ เนื้อปลาเยอะ

3. ไร้จิตสำนึก คือตัวสำคัญที่เราแปลเปลี่ยนความคิดพี่น้องเกษตรกรค่อนข้างยาก คนรุ่นใหม่
จะไม่ทำการเกษตร เรามุ่งหน้าไปสู่โรงงานอุตสาหกรรม เราต้องไปซื้อข้าวจากที่อืนมาทาน

การแก้ปัญหา ใช้สารเคมีตามเกณฑ์ของการผลิต

1. การทำการเกษตรมุ่งหวังเชื่อมต่อกับการเกษตร การเกษตรจะทำอย่างไรให้มีผลประโยชน์สูงขึ้น แนวคิดการศึกษาทำอย่างไรให้ผลประโยชน์ชัด คนส่วนใหญ่จะยึดว่าทำอย่างไรให้ผลประโยชน์ต่อไร่ได้สูงสุดได้เกินเกณฑ์ โดยการเพิ่มปุ๋ย เพิ่มยา

2. เรียนรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ

3. ปรับปรุงปัจจัยการผลิตอย่างไรให้อยู่ในเกณฑ์

4. สร้างจิตสำนึก

ธรรมชาติที่มีอยู่สามารถดำเนินการได้ เรียนรู้เข้าใจในแต่ละประเภท สิ่งต่าง ๆ ที่นำไปสู่การเกษตรในพื้นที่ได้นำไปใช้เพื่อเพิ่มมูลค่า

กลุ่มที่ 5 เกษตรกรอาเซียนร่วมเรียนรู้เรื่องพลังงานการเกษตร

การเรียนรู้โดยใช้สื่อ ICT เป็นหลัก

มีการเรียนรู้โดยใช้ Blog Line สื่อมัลติมีเดียส์

กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่เป็นคนเก่งมีความรู้ความสามารถในแต่ละประเทศเป็นหลัก มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

ปัญหาที่พบคือในเรื่องทางภาษา และการใช้เทคโนโลยี

อุปสรรค ใช้ครู ใช้พี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษา

จุดดีที่น่าจะเกิดขึ้นคือ เราจะได้ High Income เกิดการแบ่งปัน การมีชีวิตที่ผาสุก การเรียนรู้ร่วมกันคือการแปลรูปทางการเกษตร

พลังงานเป็นเพียงการเริ่มต้นให้อาเซียนพัฒนา เป้าหมายคือการพัฒนาอย่างผาสุกอย่างยั่งยืน

กลุ่มที่ 2 สมุนไพรลูกประคบ

จากการเห็นพืชสมุนไพรมีทุกภาคจึงเสนอแนวคิดโครงการสมุนไพรลูกประคบ เพราะสามารถใช้ได้ในการตลาดได้ทั่ว วัตถุดิบ มีคุณภาพสินค้าตัวดี ๆ อีกเยอะ ๆ สมุนไพรมีอะไรบ้าง บางตัวใช้ดม บางตัวใช้ประคบ

การสร้างระบบการแพ็กเกจให้มีหลายรูปแบบให้ดึงดูดผู้ใช้ จะใช้ผ้าอย่างไร กระบวนการตั้งแต่กระบวนการผลิต การเก็บรักษาความชื้นอย่างไร การแบ่งกลุ่มของ Package กลุ่มไฮโซมีระบบ Package อีกแบบหนึ่ง

มีการสร้างแบรนด์เนมตาม Local ของแต่ละพื้นที่แต่จะใช้ว่า Made in Thailand เน้นความพอใจของลูกค้า คุณภาพมาตรฐานต้องคงที่และพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ การบรรจุหีบห่อต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง กศน. ต้องทำพร้อมภาคีเครือข่าย สู่ประชาชนและยั่งยืน

กลุ่มที่ 4 ให้ครูกศน. ประสานเรื่องเกษตรอินทรีย์ การสร้างมูลค่า เกษตรอาเซียน

คนรุ่นใหม่ทำการเกษตรส่วนใหญ่จะขายโฉนดอย่างเดียว อยากให้คิดใหม่เพราะเป็นปัญหาแน่นอน

การพลิกวิกฤติเป็นโอกาส คือการมองนอกกรอบ เช่นขายกล่องเพชร กล่องพลอย การทำปากกาเขียนในอวกาศ ใช้ดินสอเขียนก็ได้

การผลิตให้ทันเวลาเป็นเรื่องสำคัญกว่าเรื่องอื่น เช่น ดอกไม้รับปริญญา ผลไม้สดตามเทศกาลตรุษจีน ไหว้เจ้า

การกำหนดราคาเองได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Creativity + Innovation + Value Chain จะครบ

จุดแบ่งใหม่ ในอนาคต คือ Noble Prize อันใหม่

ที่เด่นคือการสร้างมูลค่ากับความหลากหลาย

หัวใจสำคัญคือบทบาทและหน้าที่ของท่านต้องดูเครื่องมือให้ชัดด้วยว่าท่านมีอะไร สำหรับกศน. ในการนำพาไปสู่เป้าหมาย อย่าลืมบทบาทและหน้าที่

กศน. สามารถเป็นผู้บริหารจัดการการเรียนรู้ เพ่ือนำพาความรู้ไปสู่เกษตรกร

โดยการประสานผู่้รู้ท่ีรู้และปฏิบัติได้จริงไปให้ความรู้ แก่เกษตรกร การอบรมคร่ั้งนี้ทำให้เห็นเป้าหมาย

ทิศทางในการพัฒนาเกษตกรท่ีชัดเจน และได้เครือข่ายท่ีจะร่วมมือกัน ในการพัฒนาเกษตกรไทยให้เป็น smart farmer

เชาวนี อินทขันตี นครนายก

ทฤษฎี ๓v

value added สร้างมูลค่าเพิ่ม

๒ value creation สร้างคุณค่าใหม่

๓ value diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

ฝึกให้เป็นคนใฝ่รู้ สามารถคิดต่อยอด สร้างคุณค่า เพิ่มผลผลิตของภาคเกษตร มีความสามารถในการบริหารการเงิน การตลาด การใช้ social medias ฯลฯ

กนกพรรณ สุวรรณพิทักษ์

27 ม.ค.57Lesson Learnวันนี้มีหลายเรื่องแต่ที่อยากนำมาคิดต่อให้เกิดเป็นรูปธรรม คือขอเสนอของ ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ในเรื่อง G / E / H / V / I เป็น key words 5 คำ ทีมีความสำคัญ กศน.ต้องช่วยกันถอดรหัส ทำให้เป็นรูปธรรมในกลุ่มเกษตรกร หากทำได้จริงจะเป็นทางรอดของเกษตรกรไทย

ได้นำความรู้เรื่องของทฤษฎี 3 v มาให้ความรู้กับเกษตรกรสามารถทำให้เกษตรกรมีแนวคิดที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าที่มีความหลากหลาย เป็นที่ต้องการของการตลาด มีการคิดนอกกรอบ โดยมีการตั้งเป้าหมายและชนะอุปสรรคให้ได้จึงจะนำไปสู่ 3v

ต้องบริหารการศึกษาภาคเกษตรไปสู่อาเซียน

- ต้องมีการจัดการการพัฒนามาตรสิ้นค้าร่วมกับ 3v ไปยกระดับสิ้นค้าเกษตร

- แนวทางการดำเนินงานข้อคิดเห็นยุททธศาสตร์ของภาคเกษตรสู่อาเซี่ยน

ต้องบริหารการศึกษาภาคเกษตรไปสู่อาเซียน

- ต้องมีการจัดการการพัฒนามาตรสิ้นค้าร่วมกับ 3v ไปยกระดับสิ้นค้าเกษตร

- แนวทางการดำเนินงานข้อคิดเห็นยุททธศาสตร์ของภาคเกษตรสู่อาเซี่ยน

ค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน วันที่ 26 มกราคม 2557 ค่ายผู้นำต้นแบบในเรื่องการพัฒนาภาคเกษตรสู่อาเชียน. จำเป็นอย่างยี่งที่ผู้เข้ารับการอบรมต้องศึกษาหลักคิดการทำงานทฤที่เกี่ยวข้อง. วันที่ 27 มกราคม. 2557. ได้รับความรู้ในเรื่องภาพยุทธศาตรของภาคเกษตรไทยและอาเซียนกับบทบาทของ กศน.

ได้ทราบถึงคุณค่าของภาคเกษตรไทย/ภาคเกษตรไทยควรได้รับการพัฒาการผลิตสินค้าเพื่อเตรียมตัวในการรวมตัวกันในภูมิภาคอาเชี่ยนเพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสู่การแข่งขันระดับสากล

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรกรรมของ ASEANประเทศต่างๆจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในประเทศและต่างประเทศทำให้ได้รู้บทบาทกศน ในการสร้างคุณค่าให้แก่เกษตรกรด้วยแนวคิดแบบ3 vมากยิ่งขึ้น

ได้แนวคิดในเรื่อง 3 v มาให้ความรู้เพิ่มเติมแก่เกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าที่มีความหลากหลาย และเกิดแนวคิดแบบนอกกรอบ ในกรอบ โดยไม่เน้นทำสิ่งเดิมๆ มีแนวทางในการแก้ไข (ppco)

เมงกาลาบ่า ชอบการสอนของอาจารย์วินมากค่ะ ทำให้อยากเรียนภาษาพม่ามากขึ้น

ผอ.เอกชัย ปานเม่น และคณะครูศูนย์ฝึกฯ ชายแดนชุมพร

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมค่ายผู้นำต้นแบบของกศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน

1) รู้ปัญหา ความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่

2) รู้วิธีแก้ปัญหา

3) กระบวนการในการทำงานอย่างไร จึงขะแก้ปัญหาได้

4) สร้างภูมิคุ้มกันให้กับเกษตรกร เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

5) รู้ทักษะการเป็นผู้นำ/สามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้/รู้บทบาทหน้าที่กศน.

6) แนวความคิดกระบวนการพัฒนาการเกษตรไทย การเรียนรู้ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

นางสาวกิตติพร สุขประสงค์

ทราบถึงปัญหา อุปสรรคด้านการเกษตรที่ กศน.ต้องเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเกษตรกรไทย โดยนำหลักการคิด หลักการทำงาน กระบวนการทำงาน การประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย ในการทำงานให้สำเร็จสู่ความยั่งยืน โดยนำหลักทฤษฏี 3 V มาเป็นองค์ความรู้ที่จะสร้างผู้นำต้นแบบเอพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน

จิรพงศ์ ผลนาค กศน.อำเภอศรีสำโรง สุโขทัย

สิ่งที่โดนใจ : การเข้าสู่อาเซียน ควรให้เกษตรกร มีความรู้ ที่สามารถเข้าปะทะกับการเพิ่มผลผลิต/การค้าขายให้ได้ และต้องมีความรู้อย่างแท้จริง และอาเซียนควรจะมีการคุยกันเรื่องข้าว โดยเฉพาะเรื่องพันธุ์ข้าว ใช้การเข้าสู่อาเซียนเป็นตัวกระตุ้นเกษตรกร ทั้งนี้ให้อยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง การเรียนรู้ ยึดหลัก 4 L's ,2 R's และ 3 V คือให้เป็นคนใฝ่รู้ คิดต่อยอด สร้างคุณค่า เพิ่มผลผลิต บริหารการเงิน การตลาด และการใช้ social medias (26 ม.ค.2557)

อำภรณ์ ช่างเกวียน

ได้เรียนรู้วิธีคิดและไดัรับข่อมูลข่าวสารเพื่อเป็นข้อมูลในฐานคิดการจัดการศึกษาของ กศน.

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการNFE LEADER CAMP FOR AGRICULTURAL๒๖-๒๗January2014

1.ความมุ่งมั่นของ กศน.และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศที่จะพัฒนาครูกศน.ให้มีองค์ความรู้ในการเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรไทยในการเข้าสู่การแข่งขันและสร้างความร่วมมือในประชาคม aSean

2.ข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆของประเทศในอาเซียนด้านประชากร เศรษฐกิจภูมิอากาศ ผลผลิตฯลฯ

3.การใช้ทฤษฎี3 vเพื่อนำมาใช้ในการให้ความรู้แก่เกษตรกรและพัฒนาเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตร

4.การเรียนรู้ภาษาอาเซียน โดยเฉพาภาษาพม่า

จิรพงศ์ ผลนาค กศน.อำเภอศรีสำโรง สุโขทัย

สิ่งโดนใจ (27 ม.ค.2557) : ภาคการเกษตรกับอาเซียนกับบทบาท กศน. ประเด็นน่าสนใจที่ควรเข้าถึง คือ การก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของอาเซียน, logistics การคิดนอกกรอบ เป็นทักษะความรู้ที่จำเป็นต่อเกษตรกร และ กศน.ควรจะทราบถึงปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่เป็น real sector เป็นผู้บริหารการเรียนรู้ และทำ KM

สรุปสาระสำคัญองค์ความรู้การอบรมค่ายผู้นำต้นแบบ กศน.ดร..

๒๖/๐๑/๑๔ ภาคเช้า

๑.ชี้แจงทำความเข้าใจ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

- ชาวนา/เกษตรกร เปรียบเสมือนนกเหยี่ยว

- เรา (กศน.) คือ ผู้ฝึกเหยี่ยว ให้มีปัญญา หาเหยื่อ เพื่อตัวเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมและ ประเทศชาติ

๒.ชมวิดิทัศน์ ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี

- คนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร งานด้านการเกษตรต้องอาศัย พึงพา พึงพิง ปัจจัยที่หลากหลายที่ต้องให้ความสนใจและตระหนักรู้

- หลักการทำงานของท่านองคมนตรี ๗ ประการ ต้องพึ่งตนเอง พอประมาณ เดินสายกลาง มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้่มกัน เป็นคนดี และมีความสามัคคี

๓.พิธีเปิดโดยท่านเลขาธิการ กศน.

- MOU. ระหว่าง กศน. กับ มูลนิธิ FIHRD.เพื่อดำเนินการค่ายผู้นำต้นแบบ กศน.ในการพัฒนาเกษตรไทยสู่อาเซียน

- ขอให้พวกเราเอาจริง ทำจริง เพื่อองค์กร กศน.

๔.ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

- Learn Share and Care.

- เป้าหมาย คือ เกษตรกร และเชื่อใน หลัก ๓L (Life Long Learnning)

- กศน.ต้องติดอาวุธทางปัญญาเกษตรกร เข้าสู่ real sector และสู่อาเซียนให้ได้

- จุดสำคัญ คือ แผนยุทธศาสตร์ หลังการอบรม

- นำ ทบ. ๘k ๕K ๓V มาใช้ในการเรียนรู้

นายเฉลิมพล พวงทอง

สรุปการอบรมวันที่ 26 ม.ค.57

ทฤษฎี 3 v

- Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม

- Value Creation สร้างคุณค่าใหม่

- Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

อาจผสม V 2ตัวก็ได้ หรือบางทีสามารถผสมได้ทั้ง 3 V เพื่อสร้างสิ่งที่มีคุณค่าเพิ่มมากขึ้นตามลักษณะสภาพแวดล้อม

สรุปการอบรมวันที่ 27 ม.ค.57

Think out. Of the box

สถาบัน CEF ครีเอทีฟ ED ฟาวเคชั่น

Coaching :ถามมากกว่าพูด 80% จากคนเรียน

:20%เป็นประโยชน์กับการให้เขาพบคำตอบด้วยตัวเขาเองจะเหมาะกับเขามากที่สุด

อำภรณ์ ช่างเกวียน

ได้เรียนรู้ความคิิดสร้างสรรค์ เกิดจาก เป็นคนชอบอ่าน มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดเวลา ชอบฟังและแชร์ข้ามศาสตร์และชอบมองsupply ไปสู่ demand

ได้เรียนรู้ทฤษฎีแนวคืดการพีฒนายุคโลกเปลี่ยนแปลง

นำแนวคิดไปพัฒนาเกษตรไทยสูึอาเซียน ทราบโอกาสอุปสรรคจึุด่อ่อนแข็งของไทยและอาเซียน โดยกศน.ต้องประสานงานความน่ร่วมมือกับทุกหน่วยที่เดี่ยวข่อง้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขิอบคุณทีมวิทยากรครับ

นางสาวจารุวรรณ กวางทอง

สรุปการอบรมวันที่ 26 มกราคม 2557

-เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎี 3 v กศน.จะทำอย่างไรให้เกษตรกรรู้ทฤษฎี 3v

-ระดมความคิดเพื่อขยายผลสู่เกษตรกร เตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียน

สรุปอบรมวันที่ 27 มกราคม 2557

-เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของพม่า

-เรียนรู้ยุทธศาสตร์ของภาคเกษตรไทยเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ต้องมีการศึกษาในด้านต่างๆ คือ ด้านเศรษฐกิจ/การเกษตร ด้านสังคม/วัฒนธรรมและด้านการเมือง/ความมั่นคงของประชาคมอาเซียนให้ดี

-รู้ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาในด้านต่างๆพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตเกษตรกร พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต/การจัดการสินค้าเกษตรและพัฒนาทรัพยากรเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพสมดุลและยั่งยืน

-การคิดนอกกรอบ/คร่อมกรอบ วิธีการนำความคิดนั้นมาใช้ได้จริง

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

Panel Discussions & Workshop

ภาพยุทธศาสตร์ของภาคการเกษตรไทยและอาเซียนกับบทบาทของ กศน.

โดยนายคนิต ลิขิตวิทยาวุฒิ

รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านลอจิสติกส์และอาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการลอจิสติกส์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

Chief Learning Officer (CLO) บจก. 37.5 องศาเซลเซียส

คุณศิริชัย ออสุวรรณ

ประธานชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสท.)

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นายคนิต ลิขิตวิทยาวุฒิ

รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

- ประชากรภาคเกษตรมีประมาณ 23 ล้านคนถือเป็น 37% ของประเทศ

- สินค้าทุกตัวที่เกี่ยวกับเกษตร บางประเภทมีสินค้าครัวเรือนเกษตรไม่มาก แต่รายได้ที่ทำได้ปีละ 4-5 หมื่นล้านบาท

- ไทยมีที่ดินขึ้นอยู่กับ Productivity ต่าง ๆ

- เรื่องการเกษตรในเรื่องของน้ำ ไทยมีชลประทานขนาดใหญ่ กลาง เล็ก มีพื้นที่ 29 ล้านไร่

- พื้นที่อาเซียนจริง ๆ 4 ล้านกว่าไร่ อาเซียนมีการเจริญเติบโต 2 ล้าน ๆ เหรียญ มีการค้ากับต่างประเทศ ส่งออกนำเข้า มีการ Trade กันไม่มาก

- เรามีรายได้จากการท่องเที่ยวปีละ 8-9 หมื่นล้านบาท และคนไทยมีอายุ มากกว่า 60 %

- ก่อนทำอะไรต้องรู้เขา รู้เราก่อน

- รายได้ต่อคนที่ต่ำกว่า 1,000 ดอลล่าร์ต่อปี ถือว่าเป็นประเทศด้อยพัฒนา พบว่าในอาเซียนมีประเทศที่มีรายได้สูงไม่กี่ประเทศ อย่างสิงคโปร์ บรูไน

- ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ประเทศที่มีรายได้ต่ำ ส่วนใหญ่การเกษตรเป็นตัวขับเคลื่อนทั้งนั้น เราต้องรู้ก่อนว่าเราจะไปเชื่อมอาเซียนอย่างไร ประเทศที่โตต้องคำนึงถึงทรัพยากรในประเทศด้วย

- ทุกวันนี้การลงทุนในอาเซียน 9 ประเทศนั้นค้าขายกับประเทศไทยหมด บ่งบอกให้เห็นว่าเรากำลังแข่งขันกับไทย การลงทุนที่มากที่สุดคือ EU ตามด้วย ญี่ปุ่น และจีน พบว่าในอาเซียนมีการลงทุนปรามาณ 23 %คนที่ค้าขายกับไทยมากที่สุดคือจีน และที่น่าสนใจ คืออินเดียกับเกาหลีใต้ ส่วนนอกประเทศอาเซียนมีประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐ ยุโรป ค้าขายมากที่สุด

- การเปิดตลาดในอาเซียนมีตั้งแต่เมื่อไร ? จริง ๆ มีมานานแล้ว ส่วนประเทศในกลุ่ม CLMV ยังคงมีระดับรายได้ที่ต่างกันอยู่ 4 ประเทศนี้จึงขอเวลาเลื่อนที่จะต้องรวมกันเป็นหนึ่งและเกิด 3 เสาหลักด้านเกษตรในอาเซียนของไทยไม่เป็นรองใคร แสดงให้เห็นว่าไทยมีความสามารถเป็นพิเศษ ประเทศที่ไทยส่งออกไปน้ำตาลมากที่สุดคือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทยนำเข้ายางพารา จากมาเลเซียมากที่สุด

- ศักยภาพด้านการเกษตรไทยในอาเซียนยังคงมีความได้เปรียบในเรื่องการผลิต เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมค่อนข้างดี มีความก้าวหน้าทางการวิจัย และในเรื่องต่าง ๆ อย่างไรก็ตามก็ยังมีความเสียเปรียบในภาคเกษตรอยู่ เช่นการมีค่าแรงที่สูงกว่า เป็นต้น

- เรื่องมันสำปะหลัง ข้าวโพด ไม่มีประเทศใดในอาเซียนที่เก่ง เรามีความหลากหลายมากในสินค้า ส่งออกสินค้าสู่อาเซียนแต่ประเทศไทยกลับหันหลังไปสู่คุณภาพที่แย่ลง

- ไทยมี Knowhow ที่สูงขึ้น เช่นมันสำปะหลัง กัมพูชา แต่ก็ต้องย้ายฐานการผลิตสินค้าบางอย่างไปในประเทศอื่น ถ้าไม่ย้ายฐานการผลิตเข้าไปในประเทศอื่นก็ทำ

- ทำไมเราต้องเป็น Hub Logisticเนื่องจากเป็นความได้เปรียบทางภูมิประเทศที่ไทยมีเส้นทางออกไปต่างประเทศได้หมด เราต้องใช้ความเป็น Hub เจาะประเทศที่อยู่ชายแดน หวังว่าตรงนั้นเป็นสะพานทอดเข้าไป และในอนาคต ไทยอาจจะไปค้านอกอาเซียนเวียดนามใช้นโยบาย P 3 ตัว มีนโยบายที่ชัดเจน โดยเวียดนามแบ่งเป็น 5 กลุ่มหลัก

- บทบาทของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบายการทำงานของต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ภาคการเกษตรมีทั้งพืช ประมง ปศุสัตว์การจัดการธุรกิจ มีสถานบันเกษตรกร มีกรมส่งเสริมการเกษตร มีเรื่องการประกอบการ และการตลาดดูเรื่องความปลอดภัย สิ่งสำคัญคือเรื่องการบริโภค ดูเรื่องมาตรฐานสินค้าและอาหารต่าง ๆ

- ยุทธศาสตร์ภาคเกษตรและอาเซียน

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร

1. สร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกร

2. สร้างองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร เพื่อก้าวไปเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)

3. สร้างขีดความสามารถให้กับเกษตรกรและชุมชนในการรับมือกับความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

4. สร้างความมั่นคง ปลอดภัยด้านอาหารในครัวเรือนเกษตรและชุมชน

5. ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้เข้าสู่ภาคเกษตร รวมทั้งบริหารจัดการองค์ความรู้โดยชุมชน

6. สนับสนุนการเนินงานขององค์กรเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร

7. การพัฒนาเกษตรกรรายใหญ่ที่ทำการเกษตรพาณิชย์

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาขีดความสามารถในการผลิตการจัดการสินค้าเกษตร และความมั่นคงอาหาร

1. พัฒนาการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่ม
2. ส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Production)

3. เสริมสร้างการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นพืชอาหารและพลังงานให้เกิดความมั่นคง

4. สนับสนุนการพัฒนาระบบตลาดสินค้าเกษตร

5. สร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภูมิภาคและระหว่างประเทศ

6. ส่งเสริมและพัฒนางานด้านการเกษตร

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพสมดุลและยั่งยืน

1. ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรการ เกษตรและโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างเหมาะสม และยั่งยืน
3. สนับสนุนและผลักดันให้เกษตรกร มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร
4. เตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวางระบบการป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยธรรมชาติ
5. พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ
สถานการณ์

ประชากรต้องมีความมั่นคงทางด้านอาหาร ประชาชน ต้องมีความปลอดภัยทางอาหาร การกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร การจัดการสินค้า และความมั่นคงทางด้านอาหาร

- ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิถีชีวิตเกษตรกร การประกันภัย การคุ้มครองที่ดิน สร้างองค์ความรู้ให้เกษตรกร จุดเริ่มต้นอยู่ที่คน รัฐบาลไม่ต้องมาแก้ปัญหา สร้างให้เขารู้เป็นพื้นฐาน สร้างขีดความสามารถให้เกษตรกรชุมชนให้องค์ความรู้ ต้องเตรียมรับกับความเสี่ยง เตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต้องมีเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางอาหาร การสนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ ต้องชี้ให้เห็นความสำคัญของคนรุ่นใหม่เข้ามา เราต้องสร้างทีมให้แข็งแกร่งมีการให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยในการลดอุปสรรคทางการค้า ต้องร่วมวิจัยพัฒนาเกษตรกรรายใหญ่ ให้เกษตรกรรายเล็กสามารถสู้ได้

สรุป ภารกิจที่ทำ

การพัฒนาอาเซียน 1. Green 2. ความปลอดภัย 3. นวัตกรรม เมล็ดพันธ์ 4. การค้าสินค้าชายแดน 5. เครื่องจักรกลการเกษตร 6. การเพิ่มแหล่งน้ำ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปจุดแข็ง Paper นี้ คือ มีข้อมูลพื้นฐานเปรียบเทียบระหว่างไทยและอาเซียน มีนโยบายใหญ่ ซึ่งกำหนดโดยกระทรวงฯที่นำไปสู่อาเซียน มี Area ใหญ่คือการพัฒนาคน เรื่องคน สถานการณ์จริงที่กระทรวงเกษตรฯ กับ กศน. คิด ให้ดูว่าตรงไหนที่ทำงานร่วมกันได้ ข้อเสียคือเราไม่สามารถทำทุกอย่างให้สำเร็จในอาเซียนได้ เราต้องเลือกยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับ กศน. ที่จะขับเคลื่อนเล็ก ๆ แต่วัดผลได้แต่มัวไปสนใจแค่เรื่องธงกับอาเซียนอาเซียนเป็นจุดเล็ก ๆ ในโครงสร้างใหญ่ของโลกความสัมพันธ์ของเรากับโลกภายนอก 75 % ดังนั้นเราต้องทำเป็น Blogรวมกันในอาเซียน เพื่อไปสู้กับที่อื่น ๆ ด้วย

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

- ในภาพใหญ่อาเซียนคงจะมีตลาดที่ใหญ่ขึ้น เกษตรมีทั้งสองด้าน ถ้าผลิตภัณฑ์ของในประเทศกับอาเซียนแลกเปลี่ยนกันได้ Exchange ได้ เกษตรจะมีความก้าวหน้ากว่าคนอื่นพอสมควร

- เราแบ่งการเกษตรเป็น 2 เรื่องคือ Family Farming กับ Corporate Farming แต่ปัจจุบันเรากำลังปน 2 เรื่องในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ กศน.ต้องทำคือเราต้องไปช่วย Family Farm เยอะ แต่ถามจริงว่าที่เป็นอยู่นั้นถูกต้องแล้วหรือ

- ตัวอย่างโครงสร้างฟิลิปปินส์เป็น Corporate Farm แต่ของไทยยังเป็นเกษตรกรรายย่อย การได้ Production Yield เหมือน Farm สัปปะรด นั้นไม่เหมือนกัน ตัวอย่างจากบริษัท CP ขยายการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้สิทธิ์ GSP ในการขยายการส่งออกไปประเทศต่าง ๆ เช่น ลาว กัมพูชา

- การรุกของ Corporate Farm จะทำในเชิง Outreach หรือ Extra Training ซึ่งจะมาทำงานทับกับ กศน. ทันทีทันใดดังนั้นต้องหาให้เจอก่อนว่าใครจะเป็นตัวช่วยเขาที่เป็น Corporate Farm

- ผลผลิต Low endเป็นการเพิ่มปริมาณเยอะ แต่เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ถ้า กศน.จะต้องเข้าไปอบรมหรือช่วยเพิ่มเติม ต้องขยับขึ้น ไม่ใช่ผลิตสินค้า Low end แล้วไปขาย ไม่เช่นนั้นเพื่อนบ้านจะแข่งกับเราสังเกตได้ว่า บริษัทที่รวยอันดับหนึ่งในไทยส่วนใหญ่หากินทางภาคเกษตร ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอาจได้เปรียบเพราะต้นทุนการผลิตถูกกว่า ดังนั้นการผลิตโดยใช้สมมุติฐานเป็น Low end เราต้องหยุดอยู่กับที่ เราต้องใช้เทคโนโลยีใช้อะไรมากกว่าเดิมถ้า กศน.มุ่งไปในเรื่องผลผลิตควรจะใช้เทคโนโลยีเกษตรอินทรีย์และภาคอื่น ๆ

- ไม่ค่อยห่วงเรื่องการเคลื่อนย้ายฝีมือแรงงานและไม่แน่ใจว่าในที่สุดกลุ่มคนที่มา Train จะเป็นคนต่างชาติที่ต้องมาทำตรงนั้นหรือไม่มีคนต่างชาติมาทำงานในภาคเกษตรของเรา บทบาทต้องพัฒนาคนกลุ่มนี้ด้วยหรือไม่ แรงงานเป็นคนต่างด้าว เราต้องเข้าไปยุ่งด้วยหรือไม่

- การเคลื่อนย้ายของทุน ถ้าเราสร้างจุดสุดท้ายการเกษตรซึ่งไม่คงไว้ซึ่ง Family Farm จะมีนักลงทุนต่างชาติมาซื้อที่ดิน แล้วเราจะกลายเป็นผู้เช่าไป ในฐานะที่เป็น กศน. เราควรใส่เรื่องความตระหนักรู้ที่ดินที่ขายให้คนอื่น ๆ เพราะเมื่อถึงวันนึงเปิดเสรีขึ้นไปเรื่อย ๆ มีเครื่องมือเรื่องเงิน หรือลงทุนไปอีก ไม่เช่นนั้นที่ดินจะกลายเป็นของคนต่างชาติ อยากให้กศน. สร้างจิตสำนึกการรักแผ่นดินไม่ใช่หวังเพียงน้ำบ่อหน้าเล็กน้อย แต่พอระยะยาวที่ดินจะหายหมด

Key Word

Green = เกษตรอินทรีย์ ใช้นำน้อย ใช้พลังในการเกษตรน้อย และให้ผลผลิตเยอะ

Energy = เกษตรกรมักไม่รู้เท่าทัน Solar Farm ว่าจะคุ้มได้อย่างไร พื้นที่เกษตรกรเป็น Solar Farm ได้แล้วขายให้ กฟผ. หรือปลูกยูคาลิปตันด้วยได้มันสำปะหลังแปรรูปและเป็น Solar Farm ได้ด้วย

Hygiene = อาหารถูกสุขอนามัย ขยับจากสินค้า Low end เป็นสินค้าระดับกลางและสูง ต้องเกิดขึ้นจากการออกดอกออกผล

Value Creation ใส่ Crete Value ปลูกลักษณะ Hydro Techonology

I = Innovation Technology ปลูกอย่างไรไม่ให้เปื้อนดิน ไม่ให้ใช้สารเคมี

การวางแผนสู่อาเซียน Key Word

1.Contract Farming -Family Farm และ Corporate Farm มีส่วนต่างกันคือ เรื่อง Contract Farming เกษตรกรที่เป็น Family Farm ไม่ค่อยทำ Contract Farming

2.Open Loop กับ Close Loopแบบ Open Loop เป็นลักษณะเทรวมกัน แต่ทำอย่างไรจึงจะสามารถควบคุมได้หมด แต่ Close Loop ดูได้หมด ตลาดกลางต้องมีตัวคัดกรองให้ได้มาตรฐาน

3. Demand Side ไม่ใช่ Supply Side ถ้ายังให้เกษตรกรอยู่ได้ต้องเอา Demand เป็นตัวตั้ง

4. Logistic หลังจาก Post Harvesting มีความเข้าใจน้อยอยู่ เรายังไม่ได้ดู KeepHarvesting ไทยเก่งอย่างเดียวคือเอาสับปะรดไปลงกระป๋องการตรวจเช็คมะม่วงหมดว่าจะส่งไปปลายทางอย่างไรเรายังไม่มีการทำวิจัยอะไรที่ได้ผลประโยชน์กับส่วนรวม

5. เราเน้นแปรรูปแต่ไม่เน้นแบรนด์และคุณค่าของมันเอง

6. Traditional Farming เรายังทำแบบเดิมอยู่

7...............................

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บอกว่ามี 3 ประเด็นตรงมาก คือ

1. มีเป้าหมายชัดเจนเพราะคือ กศน. ต้องเข้าใจ CP ไม่ใช่ ช่วย CP

2. Value Creation กับ Blue Oceanต้องดูลูกค้า ดู Demand management ถ้ามังคุดสด ๆ ไปอยู่ในโลกได้ ประเทศไทยรวยแน่นอน ยังไม่มีการวิจัยอะไรที่ทำให้มังคุดสดได้

3. การศึกษาครั้งต่อไปต้องปะทะกับความจริง

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

- การนำข้อมูลต่าง ๆ มาสู่กระบวนการคิด

- การสร้างคุณค่าใหม่ต้องมาจากความคิดที่ต่างไปจากเดิม

- เสนอการนำแนวคิดไปสื่อสารต่อ Trainerคิดต่างจากเดิมคือคิดนอกกรอบอยากเสนอแนวคิดคร่อมกรอบ

การโค้ชคร่อมกรอบ

1. ให้นึกถึงข้อจำกัดของเขา กรอบองค์กร กรอบครอบครัว กรอบสังคมวิธีการคือทำลายกรอบความคิด แล้วคิดให้ข้ามกรอบองค์กร และกรอบสังคมคิดง่าย แต่นำไปใช้ไม่ได้เนื่องจากทำลายจารีตประเพณี สิ่งที่ดีงามของสังคม จึงควรคิดคร่อมกรอบ แต่อย่าทิ้งไอเดียนอกกรอบ

2. การบ่มความคิดคือคิดคร่อมกรอบ ให้ไอเดียสามารถนำมาใช้ได้จริง

วิธีการบ่มความคิดดิบ ๆ เข้าสู่นวัตกรรมได้ PPCOความคิด

1. นึกถึงข้อดี (Plauses) เครื่องยนต์

2. นึกถึงข้อดีในอนาคต(Potentials) ใบจักร

3. คิด แต่ว่า กังวล (Concerns) รูรั่ว

4. หาทางหลบเลี่ยง ความคิดกังวลให้ได้ ทำให้ไอเดียถูกนำมาใช้จริง (Opportunities) อุดรูรั่ว

Coach กับ Learning ที่ได้รับ

- Training 10 %

- Coaching70%

- on the jop20%

หลักการ Coaching เราจะใช้ในการถามมากกว่าการพูด 80 % ให้มาจากปากของเกษตรกร และ20% จากเรา เราเป็นเพียงคนชวนเขาคิดให้เขาค้นพบตัวเอง ซึ่งสิ่งที่เขาค้นพบไม่จำเป็นต้องเหมือนกับเรา

สิ่งที่จะถามในการ Coaching

ต้องถามเพื่อให้เขาเติบโต Grow(Goal , Reality , Options , Will (เลือกจะทำอะไร อย่างไร เมื่อไร) อยากได้ไอเดียเพื่ออะไร ภาพในอนาคตเพื่ออะไร

คุณศิริชัย ออสุวรรณ

- การเปิดเสรีประชาคมอาเซียนกลุ่มที่ได้ประโยชน์ได้แก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ซึ่งมีเยอะ แต่ผู้เสียประโยชน์คือผู้ประกอบการรายย่อย

- มีนักลงทุนจากต่างประเทศมาเยอะ อย่างเช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซียมีเยอะ ในประเทศไทยเอง มองเห็นปัญหาตรงนี้เช่นกัน คนจนจนมากขึ้นกว่าเดิม เพราะพื้นที่ถือครองลดลง

- ผลไม้อื่น ๆ มีปัญหาเยอะ ให้มีการทำตลาดกลางเพื่อการขายส่ง มีการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิต

โดยสรุป

อยากแสดงความยินดีกับทุกท่านที่คิดเรื่องนี้ ต้องรู้ปัญหา วิธีแก้ กระบวนการหลังจากเข้าหลักสูตรนี้แล้ว

นโยบายทำอย่างไรให้เกษตรกรไทยมีกำไรพอสมควร การแก้ไขหรือป้องกันในอนาคต เป็นเรื่องการสร้างองค์ความรู้ สร้างความใกล้ชิดกับภาคเกษตร และภาคเกษตรกรแห่งชาติ อยากให้ประเทศไทยอย่างเดิมเป็นอย่างไร กศน. ควรเพิ่มบทบาทในพื้นที่

จุดที่อยากขอเน้น คือการสร้างภูมิคุ้มกันกับเกษตรกรไทย มีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองที่ดินเกษตรกรรม ทำอย่างไรให้เกษตรกรไทยเป็นจุดเด่นของประเทศไทยได้ในตลอดไป

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เวลาจะเข้าไปทำตอนเสนอมี 2 เรื่องคือ จะพัฒนา สอน โค้ชอย่างไรถ้าเราไม่เข้าอาเซียนจะมีอาเซียนติดตัวอย่างไร ได้อะไรจากเช้าวันนี้

กลุ่มที่ 5 วิธีคิดนอกกรอบ ยุทธศาสตร์ เยี่ยมมาก แต่เป็นห่วงเรื่องการนำสู่ภาคปฏิบัติ มี Partner ในทุกส่วนของ กศน. มีการให้ความรู้เป็น MOU ร่วมกัน ระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และ กศน.

กลุ่มที่ 1 ภารกิจของกศน. น่าจะเข้าไปมีบทบาทในผลกระทบของเกษตรกร เช่น วัตถุดิบในราคาที่สูงขึ้น กศน.จะเข้ามีส่วนร่วมอย่างไรภาพอาเซียนเกษตรกรมีแนวโน้มในการมีส่วนสำคัญตรงนี้อย่างไรขาดแรงงานภาคเกษตรกร ปรับทัศนคติในเรื่องนี้ เกษตรกรต้องรู้เรื่องอะไรบ้างให้รวมกลุ่มกับภาคีเครือข่าย ให้มี MOU ร่วมกัน ให้กศน. ปูพื้นฐานวิชาชีพต่อยอด การค้าขายกับกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นเรื่อง G2G ที่ต้องดำเนินการ ให้ความรู้ปลูกทัศนคติเพื่อเกิดการปฏิบัติ

กลุ่มที่ 2 ผลผลิตทางการเกษตร สัตว์บก สัตว์น้ำ พืช ความไม่มั่นคงของเกษตรกร การตลาดเป็นเรื่องที่กศน.ควรนำไปพัฒนาคนด้วยหลักธรรม เลือกใช้คนที่ดูแลผู้คนในภาคเกษตร สนับสนุนกำลังกาย กำลังความคิด กำลังทรัพย์

รู้จักเก็บออม ทรัพยากรในประเทศต้องรู้จักประหยัดใช้ สิ่งที่ควรประหยัดคือกำลังกาย

รู้จักคบคนดี สร้างคนดี ให้คนดีเป็นกำลังสำคัญของสังคม เช่นประกาศเกียรติคุณคนดีเป็นต้นแบบ

รู้จักใช้ เช่น พักดิน บำรุงดิน น้ำ สร้างผลผลิตให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี

กลุ่มที่ 4ได้เรียนรู้วัฒนธรรมเมียนมาร์ ทางด้านการเกษตรรู้โอกาสทางการตลาดเพื่อสามารถนำไปคบคิดให้ภาคประชาชนเตรียมสู่การเปิด AEC ขบคิดเรื่องผลกระทบที่ต้องวางแผนต่อไป ทฤษฎี 2 R แนวคิดนอกกรอบ และคร่อมกรอบGoal มีอะไรบ้างที่นำไปสู่ปฏิบัติในพื้นที่

กลุ่มที่ 3รู้ปัญหาว่าในพื้นที่มีปัญหาอะไรบ้าง หาวิธีแก้ตามที่วิทยากรได้ให้แนวคิด คิดกระบวนการดำเนินงานเหมาะสมกับเกษตรกรในพื้นที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ รวมถึงการสร้างภูมิคุ้มกัน ปัญหาของกศน.อย่างหนึ่งคือการปรับเปลี่ยนนโยบายต่าง ๆ ทุกปี

ศรัญญา รัตนวรสุทธิ์

ได้แนวคิด 3v มาเพิ่มความรู้เพิ่มเติมในการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างคุณค่าใหม่ และะสร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

วันที่ 27 ม.ค.57 บทบาท กศน.ในการบูรณาการองค์ความรู้ภาคการเกษตรไทยและอาเซียน ไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกร ผู้นำกลุ่มเกษตรกรรมให้มีความรู้ในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานสากล

ประเสริฐศักดิ์ เดชศรีวิศัลย์

การเปลี่ยนแปลงที่จะเข้าเซียน การพัฒนาพันธ์ข้าวไทย การพัฒนาสร้างคุณค่าให้ผลผลิตทางการเกษตรไปสู่อาเซียน โดยมี กศน.เป็นตัวกลางในการส่งเสริมเกษตรกร

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

Panel Discussions & Workshop

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของภาคการเกษตรไทยและอาเซียนกับบทบาทของ กศน.

โดย นายคนิต ลิขิตวิทยาวุฒิ

รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านลอจิสติกส์และอาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการลอจิสติกส์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

Chief Learning Officer (CLO) บจก. 37.5 องศาเซลเซียส

คุณศิริชัย ออสุวรรณ

ประธานชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสท.)

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • -อยากให้ทุกคน Deep กับ Dive
  • -โครงการเน้นอะไรอยู่ที่ Implementation
  • Workshop

1. ให้แต่ละกลุ่ม เสนอต่อยอดจากโครงการ 3V เดิม โดยเน้นกรอบแนวคิดและวิธีการ

  • 1.กศน. จะมีบทบาทอย่างไรในโครงการดังกล่าว

1.1 องค์ความรู้ของ กศน. กับ ASEAN ในหัวข้อที่ท่านเสนอไว้

1.2 เครื่องมือส่งผ่านความรู้

1.3 อุปสรรค คือ อะไร?

1.4 จะมำให้สำเร็จอย่างไร?

2. เกษตรกรจะได้รับ 3 V อย่างไร

- บทบาทที่เหมาะสม อุปสรรค และวิธีการที่เหมาะสมคืออะไร

กศน. จะทำงานร่วมกับ..

- มูลนิธิฯ

- กระทรวงเกษตรฯ

- GMS + ASEAN

กลุ่มที่ 5 บทบาทการเรียนรู้พลังงานทางเลือกระดับอาเซียน

–พลังงานในอนาคตทั่วโลกไม่ว่าที่ไหนก็ตามมีข้อจำกัดทางด้านพลังงานจึงเป็นสิ่งที่ตระหนักและ
ถือเป็นประเด็นนำ ถ้าผ่านเรื่องนี้ได้โดยการเรียนรู้ร่วมกัน เรื่องอื่นจะเรียนรู้ได้

–กศน. ไม่มีความรู้เรื่องนี้ดีพอ ต้องใช้เครือข่าย เกษตรกร ก็ต้องใช้องค์ความรู้เรื่องนี้เหมือนกัน เครือข่ายด้านพลังงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการรวมเครือข่ายเป็นก้อน

–องค์ความรู้แยกเป็นสถานที่ เป็นกรม เป็นกอง มีศูนย์ฝึก และศูนย์วิทย์ ถ้ากระจายความรู้อย่างแท้จริงจะมีเครือข่ายพลังงานทางเลือกระดับ กศน.

–อุปกรณ์มีสื่อเป็นหลัก สื่อเรื่อง ICT สามารถกระจายให้ประชาชนได้ สื่อมีแยกเป็นหลายประเภท

อุปสรรคที่เกิดขึ้นคือมีองค์ความรู้ที่จำกัด เรื่องภาษาต้องมีพี่เลี้ยงเบื้องต้น เรื่องทัศนคติความเชื่อ พลังงานจากมูลสัตว์สามารถเคลียร์ได้

–นโยบาย ต้องส่งเสริมรัฐให้ความสำคัญเรื่องนี้ ถ้าเชื่อมโยงกันได้ทั้งหมดจะทำให้ กศน. โดดเด่น

–นโยบายเบื้องบนถือเป็นวาระของชาติเป็นพลังขับเคลื่อนที่ค่อนข้างแรง

–การจูงใจผู้เรียน สนับสนุนให้คนระดับรากหญ้ามีการใฝ่เรียน ใฝ่รู้

–เรื่องการวิจัยและพัฒนาพลังงานทางเลือกถ้าทำอย่างต่อเนื่องจะทำให้โครงการฯ สำเร็จได้แน่นอน

–เกษตรกร ได้ 3 V ได้อย่างไร ? กศน. จะเป็นตัวกลางในการส่งผ่านความรู้ทั้งไทยและอาเซียน

–ในเรื่อง Diversity กศน. เป็นตัวเชื่อมโยงความหลากหลาย กศน. เป็นสถาบันด้านพลังงานทางเลือก

–การร่วมมือกับเครือข่าย ถ้ามีความร่วมมืออย่างจริงจัง จริงใจ จะเชื่อมโยงไปกับเกษตรกรได้ อย่างเช่นในเรื่อง ข้าว ยางพารา และเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับเกษตรกร สามารถใช้เครือข่ายเรียนรู้ร่วมกันได้

–พลังงานทางเลือกเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ลดการใช้พลังงานที่ทำให้โลกร้อน

–พลังงานทางเลือกใช้สิ่งที่มีประโยชนอยู่ทำให้มีประโยชน์มากขึ้นโดยเน้นเรื่องการลดโลกร้อน

ร่วมให้คำแนะนำโดย

ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

- เป็นหัวข้อที่น่าสนใจมาก เท่าที่ความสนใจทั้งหมดในแง่เกษตรกรที่มาสนใจพลังงานทางเลือก น่าจะมี 2 มิติ คือที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน เปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือกให้เยอะแยะ ให้เฉพาะเจาะจงลงไป ใช้แผงโซล่าเซลล์ก็เป็นพลังงานอย่างหนึ่ง ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะใช้อย่างไร

- ให้ดูให้อยู่ในมิติทางการเกษตร เกษตรกรต่าง ๆ ก็จะได้เอาไปใช้ สินค้าทางการเกษตรก่อให้เกิดพลังงานทางเลือกเอง

- จุดอ่อน คือ ต้องมีพระเอกว่าเป็นเรื่องอะไร เอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง ประเทศไหนมีพื้นที่ในแนวเดียวกัน ประเทศ CLMV มีการเพาะปลูกเดียวกัน ก็ขยายผลได้ต้องเอาจุดร่วมให้ได้ ดูว่ามีอะไรในประเทศที่ใกล้เคียงกัน

- การอนุรักษ์กว้าง ๆ จะเอียงกับพลังงานเป็นหลัก หัวข้อที่คิดขึ้นมาจะแหลมคมต้องหาจุดที่ Intersect 3 ส่วน คือสินค้าเป็นตัวตั้ง คนที่อยู่ในพื้นที่ จะช่วยได้เยอะ และในเมื่อเป็นกศน. หรือ Institution น่าจะเป็นหลักสูตรที่หมุนได้หลายรอบในพื้นที่

คุณคณิต ลิขิตวิทยาวุฒิ

พลังงานทางเลือกหมายถึงอะไร ท่านไปใช้แทนพลังงานอะไร ถ้าใช้ทางเกษตร พลังงานทางเลือกต้องชัด ถ้าเป็นตัวสินค้าเกษตร ต้องใช้วัตถุสินค้าเกษตรอะไร ต้องมี By Product อะไร ต้อง Design ให้ชัด ตัวของเกษตรกรใช่หรือไม่ ตัวที่ใช้พลังงาน Individual

ชุมชนที่มีอยู่ถ้าเป็นพลังงานไฟฟ้าเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตัวเกษตรกร ต้องดูสินค้าตัวที่พูดต่างกัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นปลูกปาล์มน้ำมัน ไบโอดีเซล หรือ เอทเทอนอล ต้องชัดในความหมายของพลังงานทางเลือก

พลังงานทางเลือกที่เกิดจากผลิตผลทางการเกษตร พลังงานทางเลือกอื่น มีแสงแดด มีลมต่าง ๆ การใช้น้ำมันปาล์มทำ ไบโอดีเซล

เอาสิ่งนี้ไปบอกเกษตรกร ว่าเกษตรกรได้อะไร Value Added ที่จะได้มากขึ้นคืออะไร Value Creation มีพลังงานต่าง ๆ ขึ้นมา ท่านต้องขายได้ Value Diversity เกิดการกระจายไปในชุมชนในแง่องค์ความรู้ ท่านต้องรู้ว่าแต่ละประเภทเป็นอย่างไร เช่น พลังงานจากดิน องค์ความรู้ของพลังงานต้องตอบด้วยเครื่องมือ เอาไปใช้เป็นเครื่องมืออะไรได้บ้าง กศน. องค์ความรู้ต้องเอาจากกระทรวงเกษตรฯว่าใช้พลังงานอะไรบ้าง

การบรรยายองค์ความรู้ในพื้นที่น่าจะทำให้มีประโยชน์ขึ้น

คุณศิริชัย ออสุวรรณ

ความรู้คร่อมกรอบ เกษตรกรรายได้น้อย ทำอย่างไรให้รายได้มากกว่าเดิม และเรื่องการลดโลกร้อน การใช้พืชพลังงานทดแทน ต้องดูเรื่องการดำรงชีพ และเรื่องการตลาด ถ้าเราปลูกและมีตลาดได้ดีขึ้น ก็น่าจะส่งเสริมไม่สามารถกำหนดให้มีตลาดได้ ตั้งโรงงานแปรรูปสกัดน้ำมันดิบ ใช้ในโรงงานได้ มีการนำไปเผาใช้ในโรงงานไฟฟ้าต่าง ๆ

ถ้ากศน. พัฒนาองค์ความรู้เช่นนี้ต่อไปได้ก็จะมีแนวคิดที่ดีมาก

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

การเปลี่ยนพลังงานเป็นเรื่องใหญ่ ต้องเป็น change Agent จากรูปกลม ๆ มีแกนตั้งและแกนนอนเป็นสภาวะเสถียร

การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มจากบนซ้าย เสถียร และอดีต

Phase 2 จะเกิดสภาวะสับสนเก็บกด และจมกับอดีต

Change Agent ต้องมองให้เป็นอนาคตแล้วผลักดันให้ได้ เข้าสู่ Phase 3 และผลักดันสู่ Phase 4 โดยอัตโนมัติ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พลังงานทดแทนระหว่างอาเซียน กับ GMS

KM (รู้ว่าคืออะไร)ไม่ใช่ LO (ใฝ่รู้)

กลุ่มที่ 1 การผลิตข้าวปลอดภัยเพื่อจำหน่ายในอาเซียน

เหตุผลที่คิดเพราะไทยเป็นประเทศปลูกข้าวมานานและเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ การทำข้าวปลอดภัยหรือข้าวปลอดสารพิษ คนกศน.ต้องมีความรู้ในเรื่องข้าวเพื่อความปลอดภัยก่อน ข้อมูลที่จะรู้น่าจะมีเรื่องข้าว เรื่องพันธุ์ข้าว เรื่องผลผลิต และให้รู้กลุ่มเป้าหมายจำหน่ายให้ใครที่ไหน คนทำคือใคร ต้องรู้พื้นที่เพาะปลูก สร้างหลักสูตรเพื่อจัดการข้าวปลอดภัย

ทางกศน. ต้องมีภูมิปัญญาในเรื่องของข้าว ต้องเป็นองค์กรต่าง ๆ ที่ผลิตข้าว

การใช้สื่อ IT ให้เกษตรกรศึกษาค้นคว้า กศน.เป็นผู้จัดกระบวนการสืบค้นความรู้

มีการประสานงานกับผู้ให้ความช่วยเหลือ และถ่ายทอดร่วมกัน มีสื่อทางการศึกษา มีการจัดการศึกษา มีภาคีเครือข่ายที่กศน.สามารถใช้ประโยชน์ได้ เรื่องทุนเป็นสิ่งที่จำเป็น เกษตรกรต้องมีแหล่งทุน มีการบริหารจัดการ การรวมกลุ่ม การควบคุมคุณภาพ ทัศนคติของเกษตรกร เปลี่ยนจากการกินข้าวมาเป็นข้าวปลอดสารพิษ นโยบาย ให้ส่วนต่าง ๆ ช่วยส่งเสริมในด้านนี้ และจะจัดการอย่างไร

ทุนนิยม จะมาครอบงำหรือเป็นอุปสรรคให้กับกระบวนการของเรา พื้นที่ดำเนินการต้องใช้น้ำซึ่งไม่เพียงพอ เทคโนโลยีมีจำกัด เกษตรกรขาดอยู่ การแก้ไข ใช้กระบวนการ PDCA มีการตรวจสอบ พัฒนาข้อมูลต่าง ๆ ใช้ภาคีเครือข่าย เทคโนโลยีใหม่ และหลักวิชาการใหม่ แนะนำเงินทุนให้กับเกษตรกร ใช้ระบบสหกรณ์เข้ามาช่วยเหลือการผลิต สามารถมีส่งต่อเนื่องได้

เกษตรกรจะได้รับ 3 V ได้อย่างไร

1.จัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย และการมีส่วนร่วม

2. อุปสรรคที่เกษตรกรไทยยังประสบปัญหาอยู่ ถ้าทำในรูปของกลุ่มจะไม่ยั่งยืน บางครั้งอาจเปลี่ยนทัศนคติของเกษตรกรยาก บางครั้งเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัว ทั้ง ๆ ที่ใกล้ตัวแล้ว

3. ศักยภาพคนของกศน. ไม่เพียงพอ เพราะต้องทำงานหลายด้าน

4. เทคโนโลยีขาดแคลน

วิธีการ

1. พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ

2. ให้หลายภาคส่วนช่วยเหลือ

3. มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ

กศน.ต้องทำงานร่วมกับระดับบนรับรู้มาถึงพื้นที่ที่มีการประสานงานร่วมกัน กศน.พื้นที่ต้องประสานเองด้วย ทำอย่างไรให้มีหน่วยงานกลางที่ให้อบรมศึกษาต่อเรียนรู้ร่วมกัน และทำอย่างไรเพื่อสร้างรายได้เกษตรกรให้มีรายได้มากขึ้น

กลุ่มที่ 4 โครงการพัฒนาครู กศน. เพื่อส่งเสริมการเกษตร

พัฒนาคุณภาพ Contract Farm ต่าง ๆ ครูต้องรับรู้ปัญหา กระบวนการผลิตสู่เกษตรอินทรีย์
การจัดการตลาดในประเทศ การแปรรูป การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ การจัดการเงินทุนของภาคการเกษตร
มีความสำเร็จและล้มเหลวมากมาย มีเครื่องมือส่งผ่านความรู้ โดยใช้บุคคล สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีต่าง ๆ สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการสื่อสาร การจัดการเรียนรู้ทางไกล มีการจัดการเรียนรู้หลายรูปแบบ พัฒนาครูให้เป็นผู้นำเพื่อไปถ่ายทอดให้เกษตรกร ครูต้องมีเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้แหล่งต่าง ๆ ครูแต่ละภูมิภาต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง

ต้องดูอุปสรรคในการทำงาน เพื่อไม่เกิดอุปสรรค มีทรัพย์สินทางปัญญา มีผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตรหลายเรื่อง เป็นข้าวอันดับหนึ่งในอาเซียน มีทรัพย์สินทางปัญญาเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าวมาก่อน เกษตรกรและครูไม่รู้แหล่งความรู้ใหม่ ๆ มีการเพิ่มคุณค่าทางการผลิต เกษตรกรต้องเรียนรู้ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ มีการจัดความรู้ให้ถูกต้อง ค่านิยมและความเชื่อมั่นเฉพาะท้องถิ่น เป็นอุปสรรค การหวงวิชาของตระกูล เทคนิค ความรู้ที่ส่งต่อผ่านมาหลายชั่วคน

ปัจจัยสำเร็จ คือความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ความร่วมมือเกิดจากความจริงใจหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงจากนโยบายของรัฐ อาเซียน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน การไม่ดูแลทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

เกษตรกรได้ 3 V ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพ มีกระบวนการจัดการดีขึ้น มีการแบ่งโซนการผลิต

การใช้ข้อมูลทางการตลาดมาวางแผนการผลิต มีการทำงานร่วมกับองค์กร การวางแผนผลิต สอดคล้องกับการตลาด เกษตรกรรวมตัวกัน ส่งผลการผลิตที่เป็นระบบ มีการประกันราคาตลอดทั้งปี มีครูส่วนฝึกชายแดนทั่วประเทศ 200 คน แต่กศน.ยังไม่มีองค์ความรู้ นับเป็นโอกาสที่ครูจะได้มีความรู้เหล่านี้

การเพิ่มคุณค่าการจัดการวัฒนธรรมแบบใหม่ ๆ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจัดการต่าง ๆ เราจะวัดผลสัมฤทธิ์กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูไปถึงเกษตรกร

ท่านแรกคือ ครูที่สอนเราจะเป็นครูของกศน. รุ่นต่อไป

ที่สอง คือ กระทรวงเกษตร มีภารกิจหนักในเก็บข้อมูลต่าง ๆ ทั้งเรื่องการจำนำข้าว ฯลฯ การจัดกระบวนการเรียนรู้ มีกระทรวงพาณิชย์ มีการทำ MOM อธิบายบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน มีการกำหนด Framework ชัดเจน มีการประเมินผลเป็นช่วง ๆ ปรับแผนดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

กลุ่มที่ 3 การสร้างจิตสำนึกในการผลิต

จุดแรก ปัญหาและอุปสรรคใหญ่ของ กศน. เกษตรกรมีอาชีพที่รู้อยู่แล้ว สามารถส่งขายหรือจำหน่ายในพื้นที่ อุปสรรคแรกคือเกษตรกรเป็นเหมือนครู มีความรู้มากกว่าเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเรามีบทบาทอะไรกับเขา มาเพื่ออะไร

1.ตัวเกษตรกร

2. กศน.

3. ผลักสู่อาเซียน

เริ่มจากทำความเข้าใจกับเกษตรกร การผลิต Packing โฆษณาต่าง ๆ

การทำ ทฤษฎี 3 V เกษตรกรผลิตอยู่แล้วอาจพูดคุยว่าทำไมสินค้าเดิมส่งขายไปแล้วลูกค้าหยุดซื้อ ให้ประสานเครือข่ายดูว่าปัญหาตรงนี้คืออะไร จะได้ดูว่ามีอะไรมากกว่านี้ ทฤษฎี V 2 สินค้าตัวเดิม เช่นผลไม้มีมาก ถ้าผลิตขายได้นอกฤดูอาจทำราคาได้สูงขึ้น อาจใช้สารเคมีว่ามีผลเสียหรืออันตรายตกอยู่กับผู้บริโภค ต้องให้เขายอมรับและเชื่อถือเราก่อน เกษตรกรใช้หรือไม่ เราจะไปอย่างไรให้เขาเชื่อถือและไว้วางใจเรา และสร้างความคุ้นเคย การประสานกับหน่วยงานผลิตและองค์กรต่าง ๆ การใช้สารเคมีเรื่องฤดูเก็บเกี่ยวและธนาคารต่าง ๆ มีสำนักงานพาณิชย์จังหวัด

มีการเรียนรู้ร่วมกันและเรียนรู้เพิ่ม Learning และ Share กับข้อมูลต่าง ๆ ร่วมฟังเกษตรกร Share ความคิดกันมีการติดตามการพูดคุยให้ความรู้กับผู้ผลิต ความหลากหลายของการเรียนรู้ การดูงานการวิจัยในสื่อเครื่องมือหรือกลุ่มอื่นคงเป็นกศน.เหมือนกัน กศน.ต้องทำอะไรที่เป็นรากหญ้าก่อนส่งไปให้หน่วยงานอื่น

การตลาด สำนักงานพัฒนาชุมชนเก่งเรื่องสินค้า OTOP เป็นเพียงผู้ส่งเสริมสนับสนุนและประสานงาน

กลุ่ม 2 เรื่องลูกประคบ

การจุดประกายความคิดเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่ม คุณสมบัติวัตถุดิบแต่ละตัว กระบวนการผลิตมุ่งสู่การตลาดพื้นบ้าน ปัจจัยการผลิต การขนส่งเป็นอย่างไร การเก็บรักษาให้มีคุณภาพคงเดิมได้อย่างไร การสร้างแบรนด์เนมเพื่อดึงวัฒนธรรมมาใช้ คุณภาพและมาตรฐานต้องคงที่ไม่ใช่ซื้อไปแล้วไม่ได้มาตรฐาน ปรับเพื่อให้ทันกระแสอาเซียนโดยตลอดเพื่อไปสู่สปาสากล

องค์ความรู้เรื่องสมุนไพรที่กศน.มี การผลิตหลากหลาย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประโยชน์สรรพคุณ คำบรรยายทั้งไทยและสากล วิธีใช้ ข้อควรระวัง ต้องมีคู่ค่าที่ยังขาด ความรู้ด้านไอทีต้องมีเกษตรกรด้านไอที โลโก้ไม่เหมือนกัน แล้วแต่ความเหมาะสมแต่ละพื้นที่

การสอนการอบรม ศึกษาดูงานที่ท้องถิ่นไม่ว่าต่างประเทศหรือใกล้เคียง มีตลาดอาเซียน ต้องรู้เขารู้เรา รสนิยมตลาดเมืองไทยเป็นอย่างไร อาเซียนเป็นอย่างไร EU อย่างไร เราต้องรู้เรื่องกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ชอบอะไรอย่างไร สรรพคุณ บรรยายให้รู้ เรื่องการขนส่งต่าง ๆ

ทำสำเร็จอย่างไร ขจัดปัญหาต่าง ๆ การรองรับมาตรฐาน มีการวิจัยรองรับ

3 V เพิ่มมูลค่าของสมุนไพรธรรมชาติ VC สร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ แบรนด์ การทำ PR ความหลากหลายมีการทำแผนการตลาดมีการทำกลุ่มเป้าหมาย

กศน.จะร่วมกับภาคีเครือข่ายและการบูรณาการ แลกเปลี่ยนความรู้พัฒนาศักยภาพ กระทรวงเกษตรฯ ข้อมูลความเคลื่อนไหว อาเซียน ความรู้อินทรีย์ทำให้ Green Safe อยู่บนพื้นฐานความจริง และตรงประเด็น ต้องมี 5K’s ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาทางอารมณ์

ทุนทางปัญญา วัฒนธรรม สังคม มาตรฐาน ต้องเป็น Best Practice ให้ได้

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

ไม่ว่าเรื่องพลังงานทดแทน สารเคมี คนปลูกข้าว เขาคือ Expert เราเป็นเพียงตัวกลางในการเรียนรู้ เรียกว่า Adult Learning เกษตรกรอยากรู้อะไร คว้าโอกาสสู่ AEC ได้ เปลี่ยนจากไม่รู้ว่าเขาไม่รู้ เป็นรู้ว่าฉันไม่รู้ เป็นรู้ว่าฉันรู้ ไม่รู้ว่ารู้ ทำให้ได้โดยอัตโนมัติ

คุณศิริชัย ออสุวรรณ

เล็งเห็นถึงพลังบุคลากรของกศน. ทุกท่านมีพลังและความพร้อม ให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ พร้อมแสวงหาความรู้ แสวงหาความร่วมมือจากคนที่รู้จริง จะประยุกต์ให้ทำอย่างไรให้ประยุกต์กับสิ่งที่ต้องการได้ การสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้กับเกษตรกร ข้าวปลอดภัย แปรรูปผลิตภัณฑ์ มีข้าวแปรรูปเกษตรกรขายราคาเท่าทุนเป็นช่องทางทางการตลาด มีการแปรรูปใส่ถุง ข้าวปลอดสารพิษ ข้าวแปลก ๆ ข้าวไร่ พัฒนาสู่ตลาดมีสารต้านอนุมูลอิสระ มีการกระจายตลาดไปทั่ว ทำอย่างไรถึงขายได้ในราคาสูง

การสร้างการมีส่วนร่วม ทุกกลุ่มเห็นด้วยเหมือนกัน ดังนั้นความร่วมมือระหว่างเกษตรกร กศน. และภาคส่วนเห็นความสำคัญเพื่อการขับเคลื่อน

การพัฒนาองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร ต้องพัฒนาผู้นำและให้ความรู้กับสมาชิกทั่วๆ ไป ต้องนำไปต่อยอดองค์กรให้ได้ การเตรียมความพร้อมสหกรณ์การเกษตรในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยินดีให้การสนับสนุนเพื่อเป็นพลังก่อให้เกิดแผนแม่บทในแต่ละจังหวัด สร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรเกษตรกรในอนาคต

นายคนิต ลิขิตวิทยาวุฒิ

ข้าวปลอดสาร ข้าวปลอดภัย จะหมายถึงข้าวเปลือกหรือข้าวสาร ต้องชัด Meaning ในการนำเสนอแต่ละตัวต้องชัด ถ้าทำสินค้าข้าวปลอดภัยต้องสร้าง Image ขึ้นมาที่สร้าง Value Added มีเรื่อง GI เกี่ยวข้อง ภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง อยากให้คิดตรง Meaning ให้กศน.ทำตัวเป็นตัวกลางให้ได้ เกี่ยวข้องกับองค์กรไหนเป็นหลัก ไม่ต้องกลัวเกษตรกรไม่รับฟัง ให้เกษตรกรเป็นตัวจักร ที่จะสร้างตัวท่านเองเป็น Smart Officer ในการ Training ต่อไป การใช้สมุนไพรต่าง ๆ ต้องชัดเจน เรื่องสุขภาพต่าง ๆ มีระเบียบค่อนข้างเยอะ สินค้าสมุนไพรเป็น Change ดีมาก การอบรม ขณะนี้ต้องชัดเจนเพราะว่า Know how ต่าง ๆ เปลี่ยนไป เราต้องสร้างองค์ความรู้ตรงนี้ สร้างตำรับที่จะไปสอนและเข้าร่วม กศน. ในการเข้าร่วม

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

เขารู้ยังไม่ครบ ก็ทำให้เขารู้ให้ครบและเป็นระบบ ใช้ Modern Agricultural Knowledge สร้างเรื่องฝังลึกที่เป็นดั้งเดิมต้องต่อยอดเป็น Modern ต้องทำเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรและการศึกษาอินทรีย์ ศูนย์เรียนรู้เกษตรและการศึกษาสมุนไพร ศูนย์เรียนรู้และการศึกษาพันธุ์ข้าว

ใช้ความหลากหลายแต่มีความเฉพาะเจาะจงโดยเอาอะไร หลากหลาย เป็นโครงการกระจก 6 ด้านที่อยากจะให้

1. เข้าใจความต้องการผู้บริโภคและตลาดที่เปลี่ยนไป

2. การควบคุมคุณภาพ

3. การเพาะปลูกด้วยเกษตรอินทรีย์

4.เกษตรวิถีทางเลือก พลังงานพอเพียง

5. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

6. การสร้างมูลค่าเพิ่ม

ต้องให้กศน.ทำทั้ง 6 ด้าน เพื่อครอบคลุม

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จะนำสิ่งนี้ไปต่อยอดที่อุดรธานี

ขอพูด 2 เรื่อง ยกบทบาทของกศน. สูงขึ้น ใน Reality กศน.มีภารกิจเยอะ ถ้าทำดี ใฝ่รู้ มี KM และ LO ได้อะไร ต้องคิดในบริบทขององค์กร

อันแรกต้องถามตัวเองก่อนว่าถ้าจะทำงานหนักขึ้น หน่วยงานกศน.จะบริหารได้อย่างไร

จากแนวคิดเรื่อง Law of Deminishing Returnถ้า Enjoy Learning แบบนี้ ไม่มีคนกำกับดูแลจะทำอะไร

หลักสูตรนี้อยากระเด้ง อยากให้กศน. ดูเรื่องเกษตร Food Safety ว่ามูลค่ายังอยู่ในชุมชน และอยู่ในมือของกศน. ด้วย

ได้เรียนรู้อะไรมากมายในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน โดยเฉพาะข้อมูลเรื่องการเกษตรในแง่มุมต่าง ๆ เกษตรในประเทศ เกษตรในระดับอาเซียน ปัญหาด้านการเกษตรของแต่ละประเทศ ได้เรียนรู้เครื่องมือในการนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ให้เกิดเป็นรูปธรรม เช่น 2R 3V การคิดคร่อมกรอบ ภาษาอาเซียน ภาษาอังกฤษ เป็นต้น แต่ดิฉันชอบและเชื่อมั่นในหลักการทำงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ข้อ ที่่จะนำโครงการนี้สู่การปฏิบัติ คือ 1.คิด Macro ทำ Micro ซึ่งขณะนี้ กศน.กำลังจะคิดว่าจะทำอย่างไรหลังจากการอบรมนี้ที่จะทำให้เกษตรกรในพื้นที่ ได้ใช้ 3v เพื่อยกระดับผลผลิตสู่อาเซียนในรูปการแข่งขันหรือช่วยเหลือกันก็ตาม ในทางปฏิบัติ กศน.ต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ในพื้นที่ก่อน แต่ทำให้ดี เพื่อให้ไปสู่ตลาดนอกประเทศได้ 2.ทำเป็นขั้นตอน 3.ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคม คือทฤษฎี 2R นั่นเอง ต้องมีข้อมูลความจริงของพื้นที่ และดำเนินการให้ตรงจุด ซึ่งพื้นที่ต้องวิเคราะห์ปัญหา ความเป็นไปได้ อะไรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนดำเนินงาน 4.การสื่อความ ประสานงาน บูรณาการ ซึ่งแน่นอนว่าลำพัง กศน.หน่วยงานเดียวไม่สามารถผลักดันให้เกษตรกรมีีความสามารถผลิตผลผลิตที่มีคุณภาพสู่ตลาดต่างชาติได้ ความสำคัญอื่น ๆ ที่ต้องคำนึง แหล่งทุน วิชาการด้านการเกษตร ตลาด การขนส่ง หีบห่อ การกำหนดราคา ฯลฯ ดังนั้น จึงต้องมีการบูรณาการร่วมกัน และหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพน่าจะเป็นกระทรวงเกษตร ฯ คือ เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ อย่างไรก็ตาม การประชุมครั้งนี้เป็นการจุดประกายให้ กศน.ให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในภาคการเกษตร แต่ที่สำคัญอยากเห็นความต่อเนื่องของนโยบาย มิฉนั้น อบรมแล้วก็จะหายไป น่าเสียดาย

จากการอบรมนี้ทำให้ได้ทราบถึงศักยภาพของเกษตรกรไทยและกลุ่มอาเซียนทำให้ได้ภาพที่นำไปทำงานได้ อีกทั้งเครื่องมือทางการคิดต่างๆโดยเฉพาะ 3v ที่นำไปใช้กับการทำงาน

นอกจากนี้การได้ทราบวงจรการทำเกษตรจากต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ซึ่งในความคิดของข้าพเจ้าตอนนี้เกษตรกรเป็นได้เพียงต้นน้ำเท่านั้น กลางและปลายน้ำเป็นส่วนมืดของเกษตรกรที่มองไม่เห็นและไม่ได้เข้ามาควบคุมมาตรฐานของเกษตรกร

อีกประเด็นที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกกลัวคือ การเป็นเกษตรครอบครัวของชาวเกษตรกรไทยส่วนที่ไม่สามารถทำงานครบวงจรได้เหมือนเกษตรแบบบริษัท การเปลี่ยนวิถีชีวิตจึงเป็นเรื่องที่น่ากลัว

เรืองฤทธิ์ ชมพูผุดผ่อง

เป็นความท้าทาย การทำงานของ พวกเราชาว กศน. ที่จะต้องเปลี่ยนกระบวนการคิด ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเปลี่ยนแปลง ให้เกิดขึ้นกับเกษตรกร เพื่อเข้าสู่อาเซี่ยน กศน.ต้องทำให้เกิดฃึ้นเป็นรูปธรรม

3 V คือ เป้าหมาย ที่ทำให้เกิดขึ้นกับ เกษตรกรไทย เพื่อเข้าสู่อาเซี่ยนอย่างสมบูรณ์

ถ่้าสามารถถอดองค์ความรู้ ของโครงการหลวง มาเผยแพร่สู่กลุ่มเกษตรกร

โดยมี กศน กระทรวงเกษตร และโครงการหลวง ร่วมมือกัน มำเป็น pilot project

จนเห็นภาพความสำเร็จ แล้วขยายผล จะช่วยยกระดับเกษตรกรของไทยจากสภาพการผลิตแบบเดิมๆ

ท่ีผลิตแต่ขาดการจัดการ

สรุปการอบรมวันาี่28 ม.ค. 57

- เรียนรู้ภาษาพม่า เรื่องการออกเสียงและการเขียนพยัญชนะ

- เทคนิคการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมูลค่าด้วย New Technology & Packagig

โดยรศ.ดร.วิเชียร. เฮงสวัสดิ์ ผอ.ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

- ลดการสูญเสีย ดังนี้ ผลผลิต. คุณภาพ. ชื่อเสียง. กดราคา. สูญเสียสังคม

- การเพิ่มคุณภาพ

- การรักษาคุณภาพ. ดังนี้ กระบวนการเก็บเกี่ยว. เทคนิคและเทคโนโลยีการขนส่ง

-การสร้างมูลค่า. ดังนี้ การออกแบบการแพ็ค. การออกแบบการใช้งานได้ง่าย

-นายมาโนช. ปราครุฑ. หัวหน้าศูนย์ผลผลอต โครงการหลวงเชียงใหม่

- การวางแผนงานโครงการหลวง. ต้นน้ำ. กลางน้ำ. ปลายน้ำ

-การลดการปลูกฟิ่น

-ราคาของสินค้า. มาตรฐานราคาของโครงการหลวง

- หลักธรรมาภิบาล

-การบริหารการเงิน/ทุนของผู้ประกอบการภาคเกษตรและการเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ โดย รศ.ดร.ประเสริฐ. จรรยาสุภาพ. นายชัยสิทธิ์ ตันตนะรัตน์ คุณธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล

-องค์ประกอบการพัฒนาเกษตรกร

-ผู้ประกอบการภาคเกษตร

-แนวคิดในการพัฒนาภาคเกษตร

-ค่าใช้จ่ายการทำการเกษตร. แหล่งทุน. การบริหารเงินทุน. ธุรกรรมการเงิน. ปัญหาการแข่งขันการค้ากับต่างประเทศ

-การบริหาร/วางแผนทางการเงิน+การมีวินัยทางการเงิน

-ตรวจสอบสุขภาพทางการเงิน

-จดบันทึกรายรับ-รายจ่าย

-ประเมินรายจ่ายในอนาึต

-กำหนดเปป้าหมายทางการเงิน

-ปฏิบัติตามแผนและปรับนิสะยการใช้เงิน

-ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คาดหวังของทางเลือกลงทุนต่างๆ

-วิธีคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก

-ผลิตภัณฑ์ทางการเงอนหลักๆของธนาคาร

-แหล่งทุนจากธกส สินเชื่อ

-การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาเครือข่ทย โดยนายสมานมิตร. ห่อเร

-กระบวนการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน

-กระบวนการจินตนาการการใช้เทคโนโลยี(กระบวนการกลุ่ม)

-เรียนรู้วิธีการส่งความคิดเห็นใน Blog. พร้อมส่งงาน

สรุปองค์ความรู้ วันที่ 26. มกราคม 2557 ได้รับข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ที่เป็นแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ 2 ทฤษฎี คือ 2R ได้แก่ Reality -การมองความจริง และ Relevance - ตรงประเด็น เป็นพื้นฐานการวิเคราะห์งานการเกษตร โดยมีกรอบทฤษฎี 3 V คือ Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม Vallue Creation สร้างคุณค่าใหม่ และValue Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

Learning Forum & Workshop

Panel Discussion & Workshop (บรรยายภาษาอังกฤษ)

กรณีศึกษาการพัฒนาภาคการเกษตร/สินค้าเกษตรของประเทศอาเซียน

และเส้นทางการนำเข้า – ส่งออกสินค้าเกษตรระหว่างประเทศอาเซียน (2)

โดย Dr. Mel S.Abas

Philippines

Mr. Un Sila

Cambodia

Mr. Darwin Yang

Singapore – Thai Chamber of Commerce

Dr. Mel S.Abas Philippines

- เป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่ม.แม่โจ้ เป็นผู้เชี่ยวชาญการศึกษาและมาเรียนการศึกษาที่เมืองไทยในเรื่องเกษตรกรรมรู้ไม่มากอยากให้เข้าใจวิธีการมากกว่า

- ประเทศฟิลิปปินส์มีประชากรค่อนข้างจะหนาแน่น

- ในภาคการเกษตรมีแรงงาน 39.8 % ของมวลรวม มีการทำนา ปศุสัตว์ ป่าไม้ มีหมู่เกาะเครื่องเทศ ฟิลิปปินส์เป็นเมืองที่อยู่ในมรสุมแรงตลอด มีพืชพันธุ์ ธัญญาหารมาก

- เศรษฐกิจหลักของประเทศคือเกษตรกรรม ส่วนมากเป็นวัตถุดิบ ประมาณ 20% ของ GNP

- ปัญหาที่มองเห็นคือ เกษตรกรรมไปช้ากว่าจำนวนคน คนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากพอสมควร ความจนของเขาเพิ่มเรื่อย ๆ และขนาดความจนมากขึ้นเรื่อย ๆ การแก้ปัญหาคือการพัฒนาเกษตรกรรม

- ขณะนี้มีข้อจำกัดหลายอย่างเพื่อลดความยากจน มีแนวคิดให้เกษตรกรรมเป็นตัวหลักแล้วให้อย่างอื่นตามมา

- V1 คือการมีสินค้า V2 คือทำอย่างไรคือการเพิ่มสินค้าการผลิต และกระจายสินค้า V 3 การโปรโมท

- หลังจาก AEC ประกาศในปีหน้า การเพิ่มฐานการผลิต ลงทุน แรงงาน เขาก็จะทำเช่นนี้เหมือนกัน

- การทำสารที่ปลอดภัยให้เตรียมทุกอย่างให้เรียบร้อยเราเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน เราไม่ได้ตามใคร แต่เราต้องทำให้แข็งแรงมากกว่านี้

- ปัญหาที่เกิดขึ้นคือทางเหนือของเกาะลูซอน เป็นการเอาข้าวพันธุ์ที่ปลูกที่ฟิลิปปินส์แต่ปลูกไม่ขึ้น เพราะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกิดฝนทิ้งช่วง หรือน้ำท่วม สภาพคุณภาพดินต่ำ พวกสัตว์กินพืช ทำให้ข้าวไม่ได้ผลเท่าที่ควร และแรงกดดันทางสังคมเศรษฐกิจ คือ คนเยอะขึ้น ของมากขึ้น การผลิตของไม่ทันกับคน ไม่ได้ผลที่ฟิลิปปินส์ แต่ได้ผลดีที่เวียดนาม ฟิลิปปินส์เป็นศูนย์การข้าวที่ดีที่อาเซียน และไทยใช้พอสมควร

- เขาควรจะปรับปรุงต่าง ๆ ให้ดีขึ้น นี่คือปัญหาที่ควรไปจัดการ

- คุณภาพดินไม่ดีเพราะเป็นเกาะ ท้องนาต้องทำบนเขาไม่ได้ทำที่ราบ และทุกปีมีพายุ น้ำท่วมตลอด ทำให้ข้าวหายไปกว่า 70%

- การเสริมความมั่นใจผลิตข้าวของเขามองคนละมุมกับเรา เขาคิดว่าเมล็ดข้าวโตแล้วก็ไปปลูกได้เหมือนเดิม สิ่งที่ต้องทำคือการเพิ่มกำลังคน เขาต้องทำสิ่งที่เขาขาด และต้องแก้ไขสิ่งที่ทำมาแต่ก่อนอีกมาก

- การทำปุ๋ยธรรมชาติทดลองใช้สื่งธรรมชาติเกิดขึ้น การใช้ขี้ควายเป็นตัวเมนหลักในการผสม เช่นการใช้ออกานิกส์ผสมกับน้ำ กันแมลงด้วย

การกำจัดแมลงเพื่อรบกวนข้าว พยายามหลีกเลี่ยงสารเคมีทุกประการ

1.ไถลึกเพื่อให้แมลงตาย

2.ใช้ไฟล่อแมลงแล้วเอาไปฆ่า

3. ใช้กระดาษกาวจับแมลง

4. ใช้มือดึงวัชพืชออก

5. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี

ใช้พริก หรือกระเทียม กากน้ำตาลผสม เอาน้ำมันพืช ใส่กระเทียม หอมและสเปรย์
หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี

ใช้ใบไม้ ลำต้นพื้นเมือง ขี้แพะเพื่อควบคุมแมลง

ใช้ขี้ควาย ขี้วัว ผสมปัสสาวะ

ใช้ต้นเผือกทาโร่ห์ ปลูกในนาข้าว เพื่อล่อแมลงไปที่อื่น

การพัฒนาเกษตรกรรม

- การรวมตัวชาวนา ร่วมกันลงทุนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

- การเพิ่มความเสถียรของสิ่งแวดล้อม ลดความเสี่ยง เพิ่ม Yieal ของข้าวให้เก็บนานขึ้น

- ส่งเสริมเรื่องการเงิน เรื่องราคาสารเคมีที่ใช้เป็นการเกษตรกรรมอินทรีย์โดยตรง

-ลดความผันแปรของอากาศ น้ำท่วม สิ่งที่เป็นภัย

- ดูแลเรื่องความเสียหายและควบคุมขึ้นมา

Mr. Un Sila ,Cambodia

- ทำงานในเครือซีพีฝ่ายการตลาดเมล็ดพันธุ์ ขอพูดถึงกัมพูชาภาพรวมและเกษตรหลัก ๆ มีอะไรบ้าง

- การเกษตรกัมพูชายังคงตามไทยอยู่ และมีหลายส่วนของประเทศที่ติดกับไทยด้วย มีอาณาเขต 181,035 กม.ประเทศกัมพูชาติดกับไทยมากที่สุด ต.อ.ติดเวียดนาม

- กัมพูชาเมืองหลวงกรุงพนมเปญ มีการพัฒนาใหม่คล้ายกรุงเทพฯ แต่รูปแบบการสร้างตึกอาคารต่าง ๆ ของกัมพูชาเป็นฝรั่งเศส เนื่องจากใต้อาณานิคมของฝรั่งเศส

- เกษตรต่าง ๆ ของไทยเข้าไปในกัมพูชามาก อย่าง ซี.พี. ก็เข้าไปเยอะ

- ประเทศไทยและกัมพูชามีภูมิอากาศไม่ต่างกันเลย การปลูกผัก การทำเกษตรอุตสาหกรรม อาหาร

- กัมพูชามีพื้นที่คล้ายกระทะ มีทะเลสาบน้ำจืด

- การแต่งตัวใช้ภาษาเขมร (ขะแม)

- การปกครองแบบประชาธิปไตย มีพระบาทสมเด็จเจ้านโรดมสีหนุ เป็นกษัตริย์

- กัมพูชา อยู่ใต้อาณานิคมของฝรั่งเศส ปี ค.ศ.2406-2496

- ประชากรกัมพูชา 14.8 ล้านคน มีเวียดนาม จีน เข้ามาด้วย

- มี 24 จังหวัด และ 1 จังหวัดคือเมืองหลวง

- พระตระบองปลูกข้าวเป็นหลัก มีข้าวโพด อาหารสัตว์

- พืชหลักคือ พริกไทย ข้าว ยางพารา

- มีการตั้งไซโลหลาย ๆ จังหวัด

- สินค้าส่งไทย จีน เวียดนาม

- มีอุตสาหกรรมโรงงานเย็บผ้า โรงงานสีข้าว

- คนส่วนมากรับเทคโนโลยีมาจากไทยทั้งหมด สิ่งต่าง ๆ ไม่ต่างจากไทยมาก

- ปลูกข้าวปีละ 3 ครั้งมีทะเลน้ำจืด

- ซี.พี.ซื้อข้าวจากกัมพูชา ทำโรงสีข้าวเอง สีข้าวส่งตปท.ใส่ยี่ห้อไทย

Mr. Darwin Yang , Singapore – Thai Chamber of Commerce

- จีนบอกว่าจงให้ความสำคัญกับธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร เรื่องกิน ก็คือเกษตร อาหาร คือเหมืองทองบนดิน

- เราเป็นคนเลี้ยงคนครึ่งค่อนโลก ทำอย่างไรให้มีรายได้เลี้ยงเขา

- ยินดีให้เกษตรกรไทยเช่าพื้นที่ เพราะฝีมือเกษตรกรไทยดีสุดในอาเซียน

- อินโดนีเซียฝีมือการผลิตยังสู้ไทยไม่ได้อีกนาน สิ่งสำคัญคือเราต้องคิดนอกกรอบ อย่าเดินตามเขาอย่างเดียว

- วิธีการผลิตปุ๋ย อย่าไปบ้ากับปุ๋ยนำเข้า แต่เนื่องจากกฎหมายต่าง ๆ ไม่สามารถดำเนินไปได้ เรามีอะไรดีที่สุด ของดีอยู่ในบ้านเราอย่าไปกลัวมัน ถ้าเรามีโอกาสคิดเท่าเขา เขาต้องพึ่งเราทำมาหากิน สิงคโปร์ถูกบีบให้เก่ง ความชั่วร้ายของไทยคือไม่เคยลำบาก แต่สิงคโปร์เขาถูกบีบให้เก่ง เพราะเขาไม่มีทรัพยากรอะไรเลย - ให้ดูตัวอย่างของสิงคโปร์และไต้หวันที่ใช้ทรัพยากรมนุษย์เต็มที่ เพราะไม่งั้นจะไม่มีกิน คนสิงคโปร์ 1 คน รับผิดชอบงานเหมือน 5 คน แต่จ่ายเงินเดือนเหมือน 3 คน

- ถึงเวลาเกษตรกรไทยต้องรวยมั่ง การเกษตรไทยไม่ได้ขาด เราเก่งกว่าใครทั้งนั้น ต้องเอานักการตลาดมาเติม ต้องสามารถกำหนดราคาที่จะขาย

- เรื่อง AEC เราควรเติมเต็มประเทศเพื่อนบ้านดีหรือไม่ ไม่ต้องแข่งกันจะทำให้ประสบความสำเร็จสูงกว่านี้ นี่คือนักการตลาด

แสดงความคิดเห็น

1. วิถีชีวิตคนกัมพูชา คล้ายไทย มีวิถีการเกษตรเป็นแบบสมัยใหม่ คนสิงคโปร์ทำงานเป็น 5 เท่าแต่ได้เงินเดือน 3 เท่าจึงเหมือนมีความสุขสู้ไทยไม่ได้ รู้สึกยินดีที่อาเซียนเป็นพันธมิตรที่ดี มีความรู้สึกที่ดีต่อกันในการทำงานร่วมกันมากขึ้น

และถ้ากัมพูชาถูกการผูกขาดด้วย ซี.พี. อาจถูกแย่งสิทธิความเป็นเจ้าของไปเป็น Contract Farmer เกือบหมด

Mr. Un Sila , Cambodia

CP ขอดินสัมปทานเกือบหมด

Mr. Darwin Yang Singapore

เคยเป็นทั้งลูกจ้างและเจ้านายเขา สิงคโปร์บอกว่าเอาอะไรไปก็ได้แต่สิ่งที่ทิ้งไว้คือ Know how ของเขา สิงคโปร์ยินดีเปิด ทำไมสิงคโปร์ทำงาน 5 เท่าได้ตอบแทน 3 เท่า ไม่เหนื่อย แต่มีความสุข เพราะเวลาทำงานจะใช้คำว่า Just go to the point เพราะไม่มีเวลามาพูดมาก ทำงานมีความสุขเพราะว่าใช้เวลาสั้นมาก เช่นคนจบปริญญาตรีได้ 50,000 บาท คนสิงคโปร์สอนว่า Go to the point เช่นเขียน Project ต้องไม่เกิน 27 หน้า สรุปเวลาเข้าบอร์ดต้องไม่เกินครึ่งหน้า เพราะว่าทำงานหนักเพื่อประสบความสำเร็จ ไม่ใช่ทำแล้วมองเห็นไหม แต่เน้นการทำงานเพื่อบรรลุผล ทำงานแล้วจะเห็นหรือไม่เห็นช่างเขา แค่เห็นผลงานตัวเองก็พอใจ

ตัวอย่างการเขียนโปรเจคกู้เงิน เขียนแค่ว่า คนทำอะไรมา รายได้มีเท่าไหร่ จะทำอะไร จะส่งคืนเท่าไหร่

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

เรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาพม่า

โดย อาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย ร่วมกับ Mr. Sai Win tet

วันที่ 27 และวันที่ 28 มกราคม 2557

อาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย

- คนแถบนี้มี 3 พวก ได้แก่ คนน้ำ (คนทะเล) คนพื้นราบ (ชาวไทย) คนภูเขา เราอยู่กันเป็น พัน ๆ ปี

- ภาษากลางของภาษาอาเซียนคือภาษาอังกฤษ แต่แม้เป็นภาษาอังกฤษที่มีคนพูดมากที่สุดในโลกสำเนียงก็ยังไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับท้องถิ่น ภาษาอังกฤษที่แท้ ๆ มีหลายภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษมีความสะดวกคือความง่ายและความชัดของภาษา
- ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สั้นและกระชับ ภาษาฝรั่งเศสตายตัว มีการตั้งทุกอย่างเป็นเพศหมดจึงเป็นภาษากฎหมาย ภาษาฝรั่งเศสกับไทยการจัดวางเหมือนกัน แต่อังกฤษสลับหน้าหลัง

- การได้ภาษาของใคร เก่ง ชัด ถนัดต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น

Mr. Sai Win thet:

  • -ดีใจที่ได้มาร่วมงานวันนี้ อ.วินเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีลูกศิษย์ที่มหาวิทยาลัยมาก วันนี้จะมาสอนภาษาพม่าอย่างสั้นๆ ขออธิบายเกี่ยวกับวัฒนธรรมของพม่าให้ทราบในเบื้องต้นก่อน
  • -การตั้งชื่อของพม่านั้นตั้งชื่อจาก การเอาวันเดือนปีเกิด และเวลาของเด็กแรกเกิดไปผูกดวง เขาจะตั้งชื่อให้ สังเกตได้ว่าคนพม่าไม่มีนามสกุล
  • -คำทักทาย Greetting Word is เมงกาละบาร์
  • -ไทยและพม่ามีวัฒนธรรมเดียวกัน มีลอยกระทง และปีใหม่ เหมือนกัน ศาสนาพุทธเหมือนกัน แต่ลอยกระทงไม่ได้มีทุกที่ในเมียนมาร์
  • -ถ้าใครไปเมียนมาร์ ขอเชิญไปแมนดาเลย์เพื่อนมัสการพระแก้วมรกต
  • -ประเทศในอาเซียนเตรียมเปิดประชาคมอาเซียนเพื่อเป็นประเทศอาเซียน 1 เดียว บางครั้งให้ทิ้งประวัติศาสตร์บ้างแล้วมารวมกัน
  • -ประเทศไทยโชคดีไม่โดนครอบครองจากอังกฤษ พม่าสู้แล้วแพ้โดนยึดกว่า 100 ปี เพิ่งได้เอกราชเมื่อ พ.ศ.2491
  • -เราต้องการให้ประเทศรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อพัฒนาไปด้วยกัน พม่ามีความเชื่อของชนเผ่าไม่เหมือนกันสิ่งที่ต้องการคือการรวมพลังกัน
  • -เมียนมาร์เหมือนกับประเทศไทยในภารการเกตรกรรม รายได้ที่เข้าประเทศคือผลิตผลทางเกษตรกรรม
  • -เสียงพม่ามีวรรณยุกต์ 3 เสียง สระมี 3 ตัว อะ อ่า อ้า, อิ อี่ อี้ ,อึ อื่อ อื้อ พยัญชนะ 33 ตัว
  • -รากภาษามาจากภาษาสันสกฤต เช่น กรุณา
  • -พม่ากับไทยต่างตรงวินัย คนพม่าจะไม่ไหว้กัน แต่ไทยใหญ่จะไหว้ แต่พม่าชอบในการทักทายด้วยการไหว้ของคนอาเซียนเพราะรู้สึกว่าสุภาพมาก ต่อมาเขาเริ่มสอนในการไหว้ มันจะเป็นสัญญาณอะไรบางอย่างสำหรับการไหว้ เพื่อเป็นบุคคลิกของคนอาเซียนโดยเฉพาะ
  • -Myanmar language เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นโดยเฉพาะทางเหนือ
  • -ภาษาพม่าอีกหน่อยจะเป็นภาษาที่เริ่มใช้กันในอาเซียนและไทยก็เริ่มสนับสนุน

ไทยและเมียนมาร์มีวัฒนธรรมที่เหมือนกันในหลาย ๆ เรื่อง ไทยมีวัด เมียนมาร์มี Pagoda ที่เยอะเหมือนกัน อย่างเชียงรายมีวัดร่องขุ่น (วัดสีขาว) ที่น่าสนใจ เมียนมาร์มีเจดีย์ทองเยอะเหมือนไทย มีความเหมือนกันระหว่างไทยและเมียนมาร์ ทั้งวัฒนธรรมของคน

ความรู้สึกของคนเมียนมาร์และไทยมีความคล้ายคลึงกันมาก ไม่ว่าวัฒนธรรม ศิลปะ ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ด้านศาสนา ไทยมีวัดเยอะมีเจดีย์น้อยกว่าเมียนมาร์ แต่ที่เมียนมาร์มีเจดีย์เยอะแต่วัดน้อยกว่าไทย เช่นที่เมืองปะกัน เวลานั่งเครื่องบินผ่านเราจะเห็นเจดีย์เป็นพันเนื่องจากมีความเชื่อที่ทุกครอบครัวจะสร้างเจดีย์ แต่ไทยสร้างตามผู้นำที่เป็นพระ มาเมืองไทยเวลาเห็นวัดแล้วบางครั้งลืมเจดีย์ที่เมียนมาร์

Common Myanmar conversation

Greetings

A.Good day. min ga lar bar (khin byar / shint)

B.Good day. Nice to meet you. min ga lar bar (khin byar / shint) –

tway. ya. dar wun: thar bar deh

A.My name’s ………………. (Kya naw / kya ma) nan mae …….…………… bar

B.My name’s ………………. (Kya naw / kya ma) nan mae …………………… bar

A.Where are you from? beh naing ngan ga lae

B.I’m from Thailand. And you? (kya naw / kya ma) Thai naing ngan ga bar

(Khin bya / shin) yaw

A.I’m from Myanmar. (Kya naw / kya ma) Myanmar naing ngan ga bar

B.Where are you studying? beh hmar kyaung: tat tha lae

A.At Chiang Mai university. Chiang Mai tat ka tho hmar bar

B.What do you study? bar thin yu tha lae

A.Agriculture. sait pyo: yay: bar

B.The same as me. (kya naw / kya ma) nae. ah tu tu beh

A.That’s nice. kaung: bar deh

Thank you Kyay: zy: tin bar deh

ความแตกต่างของภาษาต้องมีความรู้และทักษะนั้นพอสมควร เขาต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมอย่างนั้น เนื่องจากภาษาพม่ามาจากสายทางมอญ เสียงพม่าจะกระด้าง พอชินแล้วรู้จะได้ การเรียนภาษาที่ดีต้องดูที่ดีว่าลิ้นเขาขยับอย่างไร

วรรณยุกต์ของพม่าค่อนข้างแบน พม่าจึงพูดเสียงราบ แตกต่างกับไทยมีวรรณยุกต์ 5 เสียง

สรุปองค์ความรู้วันที่ 27 มกราคม 2557 ได้ความรู้และประสบการณ์ที่เป็นข้อมูลและการวิเคราะห์ประเด็นเกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับนโยบาย บทบาทหน้าที่ขององค์กรที่รับผิดชอบงานด้านการเกษตรระดับชาติถึงระดับกลุ่มและเกษตรกรรายย่อย ร่วมกันวิเคราะห์ถึงประเด็นสำคัญที่ กศน ควรเข้าไปมีส่วนผลักดันการพัฒนาภาคเกษตรกลุ่มเป้าหมายสู่ประชาคมอาเซียน ตามกรอบความคิดทฤษฎี 3V รวมทั้งร่วมกันโครงการ กศน ด้านการเษตรสู่การปฎิบัติจริงต่อไป

สรุป องค์ความรู้

วันที่ 26 ม.ค. 57 เรื่องของ 3 V จะนำไปใช้ในการส่งเสริมให้เกษตรกรคิดเพิ่มมูลค่าของสินค้าตนเองให้แข่งขันในตลาดได้

วันที่ 27 ม.ค. 57 จะนำความรู้ไปใช้คือส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จัก หวงแหนและรักษาไว้ซึ่ง ที่ดินทำกินของตนเอง

วันที่ 28 ม.ค. 57 จะนำความรู้ไปใช้คือสนับสนุนให้กลุ่มรวมกลุ่มเกษตรกร ระดมเงินทุนและจัดการบริหารเงินของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ

เกศรินทร์ ทวีชีพ เยาว์ธานี

สรุปปวันที่ 26/01/2557

- เมื่อผ่านการอบรมแล้วจะได้เข้าไปเผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกร เพื่อเพิ่ม 3V ให้เกษตรกรสาทารถเข้าไปอยู่รอดในอาเซียน

- บทบาทของกศน. ต้องพัฒนาการเรียนรู้ ใฝ่รู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตของเกษตรกร มีมาตรฐานสูงขึ้น มีผลผลิตสูงขึ้น มีการร่วมมือกับชาวต่างชาติในอาเซียนในด้านการเกษตร (เกษตรธรรมชาติ) โดยเอาแผนที่มีอยู่มาเชื่อมโยง บูรณาการ กับทุกภาคส่วนได้อย่างยั่งยืน

- ทฤษฎี 3V ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรได้รับทราบองค์ความรู้อย่างถ่องแท้ เนื่องจากในประเทศอาเซียนมีความหลาหหลาย มีจุดเด่น-จุดด้อยทางด้านสินค้าเกษตรที่แตกต่างกัน รวมทั้งการหลีกเลี่ยงการแข่งขัน มาเป็นการร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆร่วมกัน และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมา เพื่อเปิดโอกาสให้อาเซียนสามารถกำหนดราคาสินค้าเกษตรของกลุ่มประเทศเราได้

สรุปวันที่ 27/01/2557

- ให้กศน. เป็นตัวกลางการเรียนรู้ระหว่างนักวิชาการกับเกษตรกร เสริมสร้างและส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้กับสินค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างการมีส่วนร่วมให้งานประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มสหกรณ์ หรือกลุ่มวิสาหกิจ สร้างภาพลักษณ์ของตราสินค้าเกษตรขึ้นมาเพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตร มีการพัฒนาองค์ความรู้ ต้องมีการพัฒนาผู้นำควบคู่กันไป เพื่อนำความรู้ไปต่อยอดในองค์กร และเกษตรกรต่อไป

- ไทยต้องสามารถกำหนดราคาสินค้าเกษตรที่จะขายได้ โดยร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

สรุปวันที่ 28/01/2557

- การจัดการผลิตผลทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว ต้องจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการสูญเสียทั้งด้านปริมาณแลคุณภาพของสินค้าเกษตรโดยส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาการและงานวิจัยต่างๆ และเผยแพร่แก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ไปใช้ได้อย่างจริงจังและแท้จริง

- การผลิตสินค้าการเกษตรควรคำนึงถึงว่าลูกค้าหรือตลาดต้องการอะไร เพื่อให้สินค้าสามารถมีแหล่งจำหน่ายและกระจายสินค้าได้ นอกจากนี้สินค้าทางการเกษตรต้องมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งจาก THAIGAP และ Global GAP

- การบริหารหรือการวางแผนทางการเงินให้แก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถช่วยตัวเองและพึ่งพาตัวเองได้ โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ การช่วยปรับวินัยทางการเงิน การรวมกลุ่มเพื่อเป็นการรับประกันหรือค้ำประกันกับสถาบันการเงินได้

- ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันได้เข้ามามีบทบาทกับสังคมมากขึ้น ดังนั้นควรใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ ทั้งในด้านการติดต่อสื่อสาร การให้ความรู้แก่เกษตรกร การแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆที่สามารถค้นคว้าได้อย่างง่ายดาย และเพื่อเป็นการเสริมความรู้ให้แก่ตนเองอย่างไม่จบสิ้น เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอด เผยแพร่ให้แก่บุคลากรในองค์กร และเกษตรกรต่อไป

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับที่จะนำไปปรับใช้กับงาน กศน.

ได้จุดประกายความคิดและได้แรงบันดาลใจที่จะนำเอาองค์ความรู้เกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ที่สำคัญ โดยเฉพาะ 3V มา

สร้างคุณค่าให้เกิดกับเกษตรกรไทยสู่อาเซียนโดยการใช้เทคโนโลยที่เหมาะสมและความร่วมมือที่สร้างสรรค์บนพื้นฐานของพหุสังคมและวัฒนธรรม

วันนี้ได้เรียนรู้การเตรียมความพร้อมของเกษตรกร ก่อนที่จะลงมือทำเกษตรให้มีคุณภาพเพื่อเข้าสู่ตลาดโลกภายนอก รวมทั้งได้แนวทาง ข้อคิดในการวางแผนการลงทุนให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

เป็นการอบรมครั้งแรกเกี่ยวกับการเกษตรทำให้ได้แนวคิดในการจัดทำโครงการกศน.ที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรให้มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมสู่อาเซียนมากยิ่งขึ้นโดยผ่าน social network

สุกัญญา ธรรมขันทา

สรุปองค์ความรู้ 28 ม.ค. 57 เทคนิคการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คือ เราจะผลิตอะไร จะผลิตอย่างไร และผลิตแล้วขายให้กับใคร โดยวางแผนการผลิตให้ควบคุมได้ทั้งคุณภาพและปริมาณให้ได้มาตรฐาน

สุทธิรักษ์ พุ่มไสว

การจัดอบรมครั้งนี้เพื่อต้องการให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ทักษะทัศนคติและเจตคติที่ดีในการบริหารมืออาชีพ เพื่อพัฒนาให้เกษตรกรไทยให้ก้าวหน้ายั่งยืน ตามแนวคิด 3 V คือ Value Added

Value Creation และ Value Diversity

นายสุรศักดิ์ เพิ่มผล

26 ม.ค. 57 แนวคิด 3 v สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้าคุณค่าใหม่ สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

27 ม.ค. 57 ภาพยุทธศาสตร์ของไทยในอาเซียน กาคิดคร่อมกรอบ

28 ม.ค 57 การเพิ่มมูลค่าเพิ่มด้วยการสร้าง Packaging การบริหารเงินทุนของเกษตรกร การใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเครือข่าย

วันที่ 27 มกราคม 2557 Create Thinking การคิดนอกกรอบ เกษตรกรควรที่จะได้รับการสร้างกระบวนการคิ แก้ปัญหาอาชีพเกษตรกรรม ที่เกิดประกายความคิดขึ้นแล้ว โดยถูกกรอบความคิดบล๊อกไว้ คือ กรอบความกลัว กรอบองค์กร กรอบครอบครัว และกรอบวัฒนธรรม การที่จะหลุดพ้นกรอบเหล่านี้ต้องกระโดดข้ามกรอบ แล้วใครจะมีหน้าที่ทำให้เกษตรกรนั้นกระโดดข้ามกรอบนั้นไปได้ ครู กศน.ต้องเป็นผู้ Coaching คือ การถามมากกว่าการพูด 20 % ซึ่งเป็นประโยคคำถามที่เกษตรกรค้นพบด้วยตัวของเขาเอง และชวนเขาคิด โดยการตั้งคำถามดังนี้

1. Goal =เป้าหมายชัดเจน

2. Reality =ความเป็นจริง

3. Option =มีทางเลือกอะไบ้าง?

4. Will =จะทำอะไร?

เชาวนี อินทขันตี นครนายก

27 ม.ค.2557 ยุทธศาสตร์ของภาคการเกษตรไทยและอาเซียนกับบทบาทของ กศน.

ตลอดสามวัน ที่เรียนรู้มาทำให้ผมมีแนวคิดและแนวทางปฎิบัติที่จะทำให้ภาคการผลิตของเกษตรและเกษตรแปรรูปของคนในพื้นที่ทำงานของผมดีขึ้นโดยจัดทำโครงการที่เชื่อมโยงกับ ASEAN ในด้านเกษตร การค้า การลงทุน และเกษตรแปรรูป นอกจากนี้อาจจะได้ประโยชน์ทางอ้อมตามมา เช่น Food Safety ลดการใช้สารเคมีและได้เรียนรู้ให้เป็นคนใฝ่รู้ สามารถคิดต่อยอด สร้างคุณค่า เพิ่มผลผลิตของภาคเกษตร มีความสามารถในการบริหารการเงิน การตลาด การใช้ Social Medias

28 มกราคม 2557

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมูลค่าเพิ่มด้วย New Technology & Packagin

การสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรระหว่างการผลิตถึงผู้บริโภค มีการสูญเสียระหว่างดำเนินการ การเก็บเกียว และการขนส่งต่างๆ มีผลกระทบต่อคุณภาพ (Quality) ของพืชผลทางการเกษตร ได้แก่ ความงอกหลังการเก็บเกี่ยว การใช้กัมมะถันลมผลผลิตทางการเกษตรเพื่อป้องกันแมลง รสชาดคุณภาพลดลง การเกิดเชื้อรา สารพิษตกค้าง สิ่งปลอมปนติดไปกับธัญญาหาร

การขนส่งสินค้าทางการเกษตรควรคำนึงถึงความเหมาะของสินค้า ดังนี้

1.การขนส่งทางอากาศ มีต้นทุนสูง ไม่เหมาะกับพืชผลที่มีราคาถูก
2.การขนส่งทางเรือ พืชผลที่จะส่งต้องมีอายุการเก็บรักษาภายใน 35-45 วัน

การศึกษาวิจัยหลังการเก็บเกี่ยว โดยมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเข้ามาทำการวิจัย และเติมเต็มความรู้ให้กับเกษตรกร ดังนี้
1.การชลอการสุก
2.การปรับปรุงพันธุ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
3.การควบคุมคุณภาพจากแปลงเพาะปลูก
4.การรักษาคุณภาพหลังการเก็บเกียว เช่น การใช้ความเย็นในการรักษาคุณภาพผลผลิต
5.การควบคุมคุณภาพการส่งออกและการนำเข้าสินค้าทางการเกษตร
6.การบรรจุภัณฑ์ที่ดีจะเป็นการยืดอายุผลผลิตระหว่างการขนส่ง

สุทธิรักษ์ พุ่มไสว

27 ม.ค.57 ได้รับความรู้จากอาจารย์ที่มีความรู้อย่างมาก เกี่ยวกับยุทธศาสตร้ของภาคการเกษตรไทย และอาเซียน กับบทบาทของ กศน. ซึ่งเป็นสิ่งท้าทาย ที่จะให้เกษตรกรมีจิตสำนึกในการรัก หวงแหนพื้นแผ่นดินไทยเอาไว้ แะปรับปรุงพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ

สุทธิรักษ์ พุ่มไสว

28 ม.ค.57 ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ และพม่า เทคนิคการเพิ่มผลผลิตและการเพิ่มมูลค่าด้วย new technology และ packaging การบริหารการเงิน และวิธีการเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่าง ๆ ตลอดจนการใช้ technology เพื่อพัฒนาเครือข่าย

26/ 1 /2014

ดร.กัมพล เสนาณรงค์

ปัญหาด้านการเกษตรในประเทศไทย

สาเหตุของปัญหา

แนวทางการแก้ปัญหาตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เพื่อแก้ปัญหาทุกระดับอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง จริงจัง จริงใจ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สูตร แห่งความสำเร็จ และความสุข

"ถ้าเมื่อวานทำงานสำเร็จ วันนี้ต้องทำดีกว่าเดิม"

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคปัจจุบันโดยใช้ทฤษฎี 5 K 8K หัวใจของการปรับตัวสู่อนาคต เพื่อพัฒนา มาตรฐาน คุณภาพ สู่ความเป็นเลิศ สามารถเท่าเทียมและสู่้คู่แห่งในอาเซียน และในโลก

การพัฒนาตามทฤษฎี 5 K และ 8K เป็นปัจจัยให้เกิด การเพิ่มมูลค่าตามทฤษฎี 3 V ได้แก่ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างคุณค่าใหม่ และการสร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

เสนอแนะการนำแนวคิดเรื่อง Blue Ocean มาใช้ประยุกต์ในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลถึงความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกัน เป็น Secter .ในอาเซียนในเรื่อง การเกษตร กศน.สามารถประสานให้เกิดบรรยากาศเช่นี้ได้

สรุปองค์ความรู้ วันที่ 28 มกราคม 2557 และแนวคิดการประยุกต์ใช้กับงาน กศน ดังนี 1. หัวข้อเรื่องเทคนิคการเพิ่มผลิตและเพิ่มคุณค่าด้วยหลังเก็บเกี่ยวหลักการมีข้อน่าสนใจสามารถประยุกต์ ใช้กับงาน กศน ได้ทั้งประเด็นกระบวนการ ตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังเก็บเกี่ยวที่ต้องพิจารณใช้เทคนิค วิธีการที่แตกต่างกันรวมทังการดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนต่อเนื่องกัน.

2, หัวข้อเรื่องความรู้และเทคนิคการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำสำหรับเกษตรกรเป็นข้อมูลที่นำไปแนะนำถ่ายทอดได้โดยตรง อาทิ การทำบัญชีครัวเรือน การวางแผนรายได้ในอนาคต หรือ แผนบริหารเงินทุนที่มีประสิทธิภาพ.

3. เรื่องความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ. เป็นข้อมูลความรู้สำหรับผู้ดำเนินงาน กศน จะได้ไปพิจารณาเลือกสรรเพื่อการนำพัฒนาประสิทธิภาพการปบัติงานในความรับผิดชอบ และพัฒนาศักยภาพเกษตกรเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเชียน ต่อไป

นางสาวไพดาว แสนดวงดี

สรุป วันที่ 26 ม.ค 57

- ก่อนเริ่มงานใดๆ เราต้องรู้ก่อนว่า 1. ทำอะไร 2. ทำอย่างไร 3. ทำเพื่อใคร 4 . ทำแล้วได้อะไร

- ได้รับความรู้เกี่ยวกับการนำ ทฤษฏีแนวคิดแบบ 3 Vมาใช้ เพื่อสร้างมูลค่า,การสร้างคุณค่าใหม่,และสร้างความหลากหลายให้กับผลผลิตของเกษตรกร เพื่อที่จะได้พัฒนาด้านการเกษตรไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

สรุป วันที่ 27 ม.ค. 57

- การจัดการเรื่องการจัดการเก็บรักษาดูแลผลผลิตสินค้าขนส่งสินค้าอย่างไรให้ผลผลิตไม่ให้เกิดความเสียหาย

- การสร้างมูลค่าควรเริ่มจากการคิดต่าง,คิดนอกกรอบ,และคิดคร่อม

สรุป วันที่ 28 ม.ค. 57

- การให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการกับผลผลิตทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว ต้องจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการสูญเสีย

- การให้ความรู้ด้านการผลิตสินค้าเกษตรว่าควรคำนึงถึงด้านการตลาดว่าตลาดต้องการอะไร เพื่อให้สินค้าสามารถมีแหล่งจำหน่ายและกระจายสินค้าได้

- การวางแผนทางการเงินให้แก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถช่วยตัวเองและพึ่งพาตัวเองได้

นางภัชรินทร์ เกตุแก้ว

สรุปวันที่ 26 มกราคม 2557

- บทบาทของ กศน. คือ ต้องเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรที่เป็นกลุ่มเป้าที่มีอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่ พร้อมกับการพัฒนาความรู้ สร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ฝึกให้เกษตรกรเป็นผู้ใฝ่รู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของตัวเกษตรกรเอง

สรุปวันที่ 27 มกราคม 2557

- สิ่งสำคัญที่ กศน. จะต้องดำเนินการคือ เริ่มต้นการพัฒนาคน สร้างให้เขามีความรู้ สร้างขีดจำกัดในชุมชนเพื่อเข้าสู่อาเซียน ชุมชนก็ต้องมีความมั่นคงทางอาหาร ผลิตเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าไป ความมั่นคงในชีวิตก็จะเกิดขึ้น

สรุปวันที่ 28 มกราคม 2557

- การแก้ไขปัญหาลดความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว คือ การลดต้นทุนการขนส่ง ลดต้นทุนการใช้พลังงาน ลดต้นทุนการผลิต

- การตลาดถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และการจะผลิตสินค้าเกษตรเราต้องคำนึงถึงว่าจะผลิตอะไร แล้วผลิตอย่างไร ถึงจะมีคุณภาพและได้มาตรฐาน

- การบริหารหรือวางแผนการเงินให้เกษตรกร โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ

- ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับภาคเกษตรทุกขั้นตอน

- ในอนาคตเกษตรกรต้องช่วยเหลือกันในชุมชนได้ เกษตรกรเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้

27/1/2014

ภาพยุทธศาสตร์ของภาคการเกษตรไทย และ อาเซียน กับ บทบาท กศน.

จุดอ่อนของไทย คืออัตราส่วนประชาชนไทยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 10 % เป็นตัวเลขที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ในมุมหนึ่งคือ เป็นภาระของประเทศที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดูแล

แต่ในอีกมุมมอง คนเหล่านี้ได้สะสมประสบการณ์ความสำเร็จความล้มเหลวในชีวิตไว้มากมาย เป็นคลังทางปัญญาที่ยิ่งใหญ่ ทำอย่างไรจะนำมาเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ เป็นทั้งจุดอ่อน และ จุดแข็ง

การเกษตรไทยมีทั้งจุดได้เปรียบ และเสียเปรียบในอาเซียน ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจในอาเซียน ในขณะเดียวกันจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลของเพื่อนบ้านว่าจุดอ่อนจุดแข็ง และยุทธศาสตร์และยุทธวิธีทางการผลิต และ การค่้า ของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนเป็นอย่างไร ความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตร และ กศน.เพื่อเลือกยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาสินค้าทางการเกษตรให้มีคุณภาพ เป็น Smart Farmer สามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สร้างอาหารที่ปลอดภัย การลดต้นทุนทางการเกษตร การใช้แรงงานข้ามชาติ การพัฒนาคุณภาพแรงงานข้ามชาติ การสร้างภูมิคุ้มครองเกษตรกรไทย ฯลฯ

Key Word ( G-Green / E-Energy / H-High Green / V -Value / I - Inovation @Technology

การนำข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นและครอบคลุมทุกด้าน มาสู่กระบวนการคิดเเป็นเรื่องสำคัญ การคิดนอกกรอบ แบบ PPCO

ผู้นำการเปลี่ยนแปลง นักพัฒนา และ เกษตรกรต้องคำนึง

28/1/2014

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมูลค่าเพิ่มด้วย New Technology & Packaging

ขั้นตอนสำคัญหลังการเก็บเกี่ยว จน ถึง ผู้บริโภค

- ความยั่งยืนของคุณภาพสินค้า

- ระบบการขนส่งสินค้าที่มีคุณภาพ การลดระยะเวลาในการขนส่ง การเลือกวิธีขนส่งที่เหมาะสมกับผลผลิต

ปัญหาที่สำคัญของการเกษตร คือ การตลาด

การเพิ่มประสิทธิภาพหลังการเก็บเกี่ยว ต้องคำนึงถึง Biology-Safety-Logistic-Machinery

ประเด็นการสูญเสียที่ต้องคำนึงถึง ประกอบด้วย เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ ชื่อเสียง/เครดิค- ราคา ลำดับคุณภาพที่ได้รับการยอมรับ

มูลนิธิโครงการหลวง การนำแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติ ( BEST PRATICE) ที่ควรศึกษา เป็นทฤษฎีที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้ว นานกว่า 40 ปี บนโมเดล ต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำ

คำถามก่อนปฏิบัติ

จะทำอะไร

จะขายให้ใคร

คู่แข่งคือใคร

จุดอ่อนของคู่แข่งคืออะไร

เทคนิคความสำเร็จ รู้จักลูกค้า วางแผนการผลิตร่วมกันชัดเจน บนพื้นฐานของตลาด

สร้างความประทับใจให้ลูกค้า (ควบคุมปริมาณ และคุณภาพ )

เทคนิคเยี่ยมเยียน ตรวจสอบปัญหา

หลายหลายโปรโมชั่น

ระบบการกระจายสินค้าที่ดี

ลูกค้าตรวจสอบแหล่งผลิตได้ ( Code)

การบริหารการเงิน /ทุนผู้ประกอบการเกษตร และการเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ จะต้องมีความเข้าใจรู้จักตัวเอง มีการจัดทำระบบบัญชี มีข้อมูลเพื่อการวางแผน ปฏิบัติตามแผน คาดการรายจ่ายในอนาคตได้ มีวินัยในการใช้

การรู้จักเทคโนโลยี่ และสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการส่งเสริมอาชีพ และ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ของเกษตรกร

ประโยชน์ของเทคโนโลยีในด้านต่างๆ แนวโน้มของการพัฒนาการทางเทคโนโลยีในโลกอนาคต ที่จำเป็นต้องรู้เท่าทัน และใช้ให้เป็น

สรุปวันที่28ม.ค.57

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมูลค่าด้วยnew Technology&Packaging

1.ลดการสูญเสียด้านปริมาณ

2.ลดการสูญเสียด้านคุณภาพ

3.ปรับปรุงคุณภาพ

4.สร้างมูลค่าเพิ่ม

เกษตรกรจะต้องคำนึง

การเพิ่มมูลค่า จำเป็นต้องหาแนวทาง ในประเด็นดังนี้

1.เราจะส่งสินค้าไปอย่างรวดเร็วได้อย่างไร

2.เราจะมีแนวทางในการลดค่าแรงงานลดการใช้พลังงานได้อย่างไร

3.เราจะทำอย่างไรไม่ให้กระทบสิ่งแวดล้อม

วันที่สาม ได้เรียนรู้ภาษาพม่า มีทักษะการพูดเล็กน้อย มีความรู้การบริหารการเงิน แหล่งที่มาของทุน เกษตรกรจะต้องเตรียมอะไรในการขอเงินแหล่งทุน ตลอดจนได้รู้องค์ประกอบการพัฒนาภาคเกษตร ได้ความคิดของคำว่า 3h hand ลงมือทำหรือเปล่า heart มีหัวใจทำหรือเปล่า สุดท้าย head มีหัวคิดหรือเปล่า

เจนจรี สร้อยประเสริฐ

การอบรมครั้งนี้ได้รับความรู้ที่หลากหลายจริงๆ การบริหารและการวางแผนการเงินนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกอาชีพที่ต้องการประสบความสำเร็จ ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปใช้ได้จริงรวมไปถึงการแนะนำเกษตรกร ภาษาอังกฤษก็เป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม smart trainersทุกคนสู้ๆค่ะ

ศรัญญา รัตนวรสุทธิ์

ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคการเกษตร

ยุทธศาสตร์ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร

ยุทธศาสตร์ 2 พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร

ยุทธศาสตร์ 3 พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพสมดุลและยังยืน

กนกพรรณ สุวรรณพิทักษ์

รูปแบบการทำงานโครงการหลวงน่าศึกษาเป็นตัวอย่างที่ดีมาก หากนำมาปรับขยายผลสู่กลุ่มเกษตรกรไทยในภาพรวม จะทำให้ก้าวสู่อาเซียนได้อย่างมั่นคง

อำภรณ์ ช่างเกวียน

min ga lar bar kya ma nan mae Amporn bar การวางแผนทางการเงินเป็นเรื่องสำคัญในการที่จะประกอบอาชีพให้ราบรื่น มีแหล่งหรือสถาบันการเงินที่จะให้การสนับสนุนทั้งของรัฐและเอกชน จะต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนน่ะคะ

ทิพย์วิมล หมื่นเตียง

-ได้เรียนรู้เรื่องของการจัดการเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว หลังจากที่ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วพบว่ามีการสูญเสียเป็นอย่างมาก ซึ่งจะต้องทำอย่างไรให้ผลผลทางการเกษตรยังคงสภาพเดิมไว้เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้ นอกเหนือจากมีการศึกษาวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่างๆแล้ว สามารถนำไปแนะนำให้แก่กลุ่มเกษตรกรหรือนำไปประยุกต์ใข้กับภูมิปัญญาชาวบ้านให้เกิดผลสูงสุด

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการเพาะปลูกพืชของโครงการหลวงโดยมีการวางแผนการเพาะเพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาดมีเทคนิคการเพิ่มผลผลิตตั้งแต่ต้นนำ้ กล้างน้ำ และปลายนำ้ โดยสามาโดยสามารถนำมาบใช้ให้เกิดประโยชน์

28 มกราคม 2557 ได้แนวคิด

-ผลิตอย่างไร จะลดต้นทุน

-ผลิตอย่างไรให้ได้คุณภาพ

-ผลิตอย่างไรให้ได้เชิงปริมาณ

-ผลิตอย่างไรให้ได้ตามความต้องการและได้มาตรฐานของตลาด ASEAN

การบริหารเงินและแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน

1. ตรวจสอบเงินทุน

2. จดบันทึกรายรับ-รายจ่าย

3. ประเมินรายจ่ายในอนาคต

4. กำหนดเป้าหมายทางการเงิน

5. จัดทำเป้าหมาย

6. ปฏิบัติตามแผนและปรับนิสัยการใช้เงิน

นายอธิญณัฏฐ์ ธนะเพทย์

วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๗๗ ท่านองคมนตรี กล่าวถึงเกษตรกรไทย ว่า พึ่งธรรมชาติ รัฐช่วยมากแต่ก็คอร์รัปชั่นมาก เกษตรกรต้องพึ่งตนเอง มีความพอประมาณ เดินสายกลาง เป็นคนดี มีคุณธรรม จากนั้น ดร.จีระ ฯ กล่าวว่า ที่ให้ กศน.ทำเพราะเชื่อในในปรัชญาการศึกษาตลอดชีวิต...โดยไปทำให้เกษตรกร มีความรู้ และสามารถเข้า AEC ได้

วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๗๗

๑. เรียนรู้ภาษาพม่า เมียน แปลว่า รวดเร็ว ม่า แปลว่า ร้อน พม่ามีคำทักทายคำเดียว คือ มิงกาลาบา เป็นการกล่าวสวัสดี พม่ามีวรรณยุกต์ ๓ เสียง สระ ๑๒ ตัว และพยัญชนะ ๓๓ ตัว

๒. ภาพยุทธศาสตร์ของภาคเกษตรไทยและอาเซียน กับบทบาทของ กศน.

- ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น วัตถุดิบราคาสูงขึ้น / ค่าแรงสูงขึ้นและขาดแคลนแรงงาน / สินค้านำเข้ามีมาตรฐานต่ำ / กลุ่ม AEC แข่งขันกันเองในการค้ากับประเทศนอก AEC / เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม โรคระบาดพืชและสัตว์

- กศน.ควรไปส่งเสริม Family Farm ให้ตระหนักและหวงแผ่นดินทำกิน

- เทคนิคการคิดนอกกรอบ หาข้อดี / อนาคตจะดีอย่างไร / ระมัดระวังอย่าเพียงกังวล / หาช่องทางทำให้ได้

- หลักการถาม หาเป้าหมายและจุดประสงค์ / ความจริงเป็นอย่างไร / กำหนดทางเลือก / ลงมือทำ

วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๗๗

๑. เรียนรู้ภาษาพม่า (ต่อ)......อายุมากกว่า ๑๖ ไปแล้ว จะเรียนพูดภาษาอื่น ๆ ได้ยากขึ้น

๒. การเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมูลค่าการบรรจุหีบห่อ สิ่งเหล่านี้ต้องมองการตลาดเป็นสำคัญ เพราะแม้อะไร ๆ จะดี แต่

การตลาดไม่ดี ก็เจ๊งจะทำ

๓. เกษตรกรจะบริหารเงินทุนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

- ต้องมีการวางแผน

- ต้องมีวินัยทางการเงิน

- ต้องมีความรู้อย่างครบวงจรในอาชีพ ในงานที่ทำ

- ควรมีที่ปรึกษาที่ดี

- ต้องรู้จักและมีวิธีการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ

วันที่ 26 มกราคม 2557

ได้เรียนรู้ บทบาทของ กศน.และสร้างคุณค่าให้แก่ภาคการเกษตรด้วยแนวคิดแบบ 3 V+ 1

1. Value Added เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม

ต้นน้ำ กศน.สร้างเกษตรกร ให้แสวงหาความรู้ ใฝ่รู้ ให้รู้เขา รู้เรา รู้อาเชียน เน้นความร่วมมือต่อยอดในการเพิ่มคุณค่า โดยใช้เครื่องมือ สื่อ IT เป็นต้น

2. Value Creation เป็นการสร้างคุณค่าใหม่

กลางน้ำ จากความหลากหลาย ประสานความร่วมมือ สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการร่วมมือกับประเทศอาเซียน เช่น สินค้าฮาลาล เป็นต้น

3. Value Diversity เป็นการสร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

ปลายน้ำ การจะร่วมมือกับประเทศใด ต้องศึกษาหาความรู้ ประเทศนั้นเด่นเรื่องอะไร มีทรัพยากร หรือสิทธิพิเศษอะไร เป็นต้น

+ 1 คือ คุณค่า ค่านิยมคนไทยในอนาคต ภูมิใจวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ รักชาติไทย เป็นต้น

วันที่ 27 มกราคม 2557

ได้เรียนรู้ ภาพยุทธศาสาตร์ของภาคการเกษตรไทยและอาเซียนกับบทบาทของ กศน. โดยใช้ทฤษฎี 2 R"s

1. Realty มองความจริง ข้อมูลพื้นฐาน เปรียบเทียบไทย - อาเซียน

2. Relevance ตรงประเด็น ในส่วน กศน.เน้นการพัฒนาคน ส่วนไหนเป็นของ กศน. กระทรวงเกษตร กระทรวงพาณฺชย์ เลือกยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม ขับเคลื่อนเล็ก ๆ แต่วัดผลได้ ในส่วนของ กศน.ยกบทบาทให้สูงขึ้น สร้างแรงกระตุ้น ความคิดใหม่ ๆใฝ่รู้ KM และ LO เป็นต้น

วันที่ 28 มกราคม 2557

ได้เรียนรู้ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร ในการลดการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว โดยมีตลาดเป็นตัวตั้ง เป้าหมายการผลิตนำเครื่องมือสมัยใหม่มาใช้ ยกระดับการผลิต รักษาคุณภาพ ใช้เทคนิคในการบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากการส่งออกเกี่ยวข้องรวมถึงการขนส่ง สุดท้ายนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหาร ลดความยากจนด้วยการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

Panel Discussion & Workshop

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมูลค่าด้วย New Technology & Packaging

โดย รศ.ดร.วิเชียร เฮงสวัสดิ์

ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

นายมาโนช ปราครุฑ

หัวหน้าศูนย์ผลผลิตโครงการหลวงเชียงใหม่

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์ประสพสุข พ่วงสาคร

รศ.ดร.วิเชียร เฮงสวัสดิ์

ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

ในช่วงแรกศูนย์ไม่มีนวัตกรรมแต่ใส่นวัตกรรมเข้าไป มีข้อมูลแล้วจะสร้างนวัตกรรมขึ้นมา เรื่องนวัตกรรมอยากให้มองเรื่องการตลาดเป็นสำคัญ การเกษตรและการผลิต สิ่งที่น่ากังวลคือการเกษตรทั้งหลายจะตายเรื่องตลาด เราจะนำไปสู่ความมั่นคงของอาหาร จะลดความยากจนของเกษตรกร คือเพิ่มรายได้ ยกตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ Durable Crop คือเมล็ดพืชทั้งหลาย เริ่มจากการเก็บเกี่ยว มีการขนย้าย กรองอยู่ในแปลงนา มีการลดความชื้น ทำความสะอาด พัฒนา สี เข้ายุ้งฉาง และเข้าตลาด จะเห็นได้ว่ามีขั้นตอนที่เยอะแยะ ในศูนย์จะเน้น 2 กลุ่มด้วยกัน

ยกตัวอย่างการเก็บเกี่ยวข้าว 100 กก. แต่จะถึงผู้บริโภคไม่ถึง 100 กก. เนื่องจากการขนย้าย มีการสูญเสียข้าวในการขนย้ายลดไปเรื่อย ๆ ในอดีตอาจเหลือประมาณ 60-70 กก. อย่างปัจจุบันสูญเสียประมาณ 10% ปัญหาคือเราจะลดรอยรั่วนี้ได้อย่างไร

1. ลดการศูนย์เสีย 30 ล้านตัน โดยเฉลี่ยในกลุ่มอาเซียน การสูญเสียข้าวหลังการเก็บเกี่ยว 5-25% เป็น 3 ล้านตัน ถ้าให้ตัวเลขคร่าว ๆ การสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดพืชและผัก ผลไม้

2. เรื่องคุณภาพ การกีดกันเรื่องภาษีโดยเอาคุณภาพเป็นตัวตั้ง คุณภาพอาหารเปลี่ยนแปลงไปเราจะรักษาอย่างไร ในช่วงนึงไทยเคยมีปัญหาเชื้อราจากข้าวโพดคือ อัลฟาท็อกซิน ปัญหาเรื่องสารพิษตกค้าง บางครั้งมีการฉีด 2-3 วันก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นปัญหา เรื่องสิ่งปลอมปนติดเข้าไปในผลิตผลทางการเกษตร อย่างข้าวที่ส่งไปต่างประเทศมีขาแมลงเล็ก ๆ เข้าไป ก็เจอส่งกลับทันที เราจึงควรลดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ (เรื่องชี้เสียง ปัญหาทางสังคมก็เกี่ยวข้องด้วย)

3. เราจะส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็วได้อย่างไร เพราะยิ่งช้าสินค้าก็สูญเสียได้ ตัวอย่างเช่น มะม่วงเขียวเสวยส่งนอก ส่งทางเครื่องบิน เพราะว่าส่งทางเรือจะเน่าเสียก่อน ต้องมีการยืดอายุวันก่อนไปถึงประเทศ มีการทดลองยืดอายุผลไม้ ไม่เช่นนั้นเราส่งทางเครื่องบิน กก.ละ 100 กว่าบาท แต่ถ้ายืดอายุได้เราสามารถส่งทางเรือได้ กก.ละ 10กว่าบาท ดังนั้นเราต้องปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพการจัดการ การลดพลังงานต่าง ๆ ลดค่าแรง คนงานทำอย่างไร

ตัวอย่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นสามารถลดความสูญเสียได้เหลือประมาณ 2 % การปรับปรุงดินโดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้ามาร่วมพัฒนาด้วย เรื่องสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็ควรคำนึงเช่นกัน ไม่ว่าจะใช้ห้องเย็น หรือตู้เย็น

4. เรื่องคุณภาพจะปรับปรุงอย่างไร เราจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างไร ให้ดูตัวอย่างญี่ปุ่นที่เน้น Package ที่สวยงาม

5. การเพิ่มรายได้ของเกษตรกร

6. การสร้างบุคลากร Man Power ผลิตบุคลากร ปริญญาโท เอก รับใช้สังคม มีการวิจัยทำทุกปี มีการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี

การทำงานของศูนย์นวัตกรรมฯ จะเป็นจิ๊กซอว์ ให้หลายด้านมาต่อ ๆ กัน ร่วมมือกัน ถ้าตัดส่วนไหนอกไปจิ๊กซอว์ก็ไม่สมบูรณ์ สิ่งสำคัญคือต้องเข้ากันได้และกลมกลืน ตัวอย่างการพัฒนาผลไม้ส่งออกเช่น กล้วย มังคุด ลองกอง ลางสาด ทุเรียน ต้องมีการพัฒนาเพื่อการส่งออกอย่างไร ให้สุกในต่างประเทศพอดี เรื่องไก่ หลังการเก็บเกี่ยวเราเก็บไก่เมื่อไร การเชือดไก่คือการเก็บเกี่ยว เชือดแล้วเป็นหน้าที่ของการเก็บเกี่ยว หมูพร้อมที่จะเชือด ทำอย่างไรไม่ให้เนื้อช้ำ นี่เป็นเรื่องของการเก็บเกี่ยว การรีดนมคือการเก็บเกี่ยวจนกระทั่งถึงผู้บริโภค ปลาก็เช่นเดียวกัน การใช้อวนทอดแห คือการเก็บเกี่ยว การสูญเสียเกิดขึ้นหลังการเก็บเกี่ยวเยอะแค่ไหน ตัวอย่างปลาแห้งหลังการเก็บเกี่ยวแล้วต้องดูให้ดี บางครั้งเก็บไว้นานแมลงกินหมด ปลาสลิดตากแห้งมีแมลงวันไปวางไข่บนปลา

มูลค่าทางการเกษตร มีการเกี่ยวข้องในแปลงตั้งแต่ Production เรื่อง Packing ทำอย่างไรให้อยู่ได้นาน

ทำไมเราจึงต้องลด Lost หรือความสูญเสีย

ปกติความสูญเสียเกิดขึ้นหลังเก็บเกี่ยว 30-50% ในต่างประเทศมีการเก็บเกี่ยวก่อนเข้าใส่กล่อง มีการทำ Pre cool การให้ความเย็นก่อนการส่งออก มีการใส่น้ำแข็งในกล่องผักทั้งหลาย มีการขนส่งที่มีขั้นตอนที่ดี ใช้ความเย็นตลอด การเก็บเกี่ยวยังใช้ด้วยมือ ประเทศไทยส้มบางครั้งมี่ 3 ลูกต่อต้น ตัวอย่างการเก็บเกี่ยวส้มใข้กรรไกรตัด ส้มห้ามเป็นแผลไมเช่นนั้นเชื้อราจะขึ้น ดังนั้นเวลาเก็บต้องใส่ถุงมือด้วย ใช้เครื่องมือในการจัดการ พลาสติกที่ใช้เป็นพลาสติกสำหรับผลไม้โดยเฉพาะสามารถยืดอายุได้ เช่นพลาสติกสำหรับมะละกอ พลาสติกขิง พลาสติกมะม่วง แต่ละพวกไม่เหมือนกัน พลาสติกแต่ละอย่างการถ่ายเทไม่เหมือนกัน ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์สามารถทำให้ผ่านได้ในปริมาณที่เหมาะสม

ปัจจุบันกำลังศึกษาวิธียืดอายุผลไม้อยู่ เช่น เทคนิค 1 MCT การสร้างกล่องที่ต้องคำนึงถึงความแข็งแรง การระบายอากาศ การกันน้ำ การDesign กล่องอย่างไรให้สวยเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ด้วย

ตัวอย่างตลาดกลางเช่น ที่นอร์ดเธอดาม จะมีดอกไม้ทั่วโลกมาที่นี้เพื่อการประมูลแล้วส่งออกไป

ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวยาวจากเนอเซอรี่ไปถึงผู้บริโภค โดยเฉลี่ยการสูญเสียทั่วไปจากทั่วโลกประมาณ 32 %

เรื่องที่สำคัญในอนาคต

Food Safety จะมีความสำคัญมาก เรื่อง Organic เรื่องโลกร้อน สภาพแวดล้อม การขยายระยะเวลาการเก็บ ของเสีย เรื่องทดสอบ และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ

อาจารย์ประสพสุข พ่วงสาคร

สิ่งสำคัญคือควรเริ่มด้วยการตลาดเป็นตัวตั้ง เป้าหมายหลัก ๆ 2 เรื่อง คือเรื่องการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร ตอบสนองเป้าหมายที่วางไว้

เมื่อผลิตมาได้แล้ว หลังการเก็บเกี่ยวทำอย่างไรจึงรักษาคุณภาพไว้ได้ก่อนการถึงมือผู้บริโภค มีการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวสูงมาก ความสูญเสียที่สรุปให้ฟังมี 4 เรื่องที่ต้องพยายามลดลงคือ

1. การลดการสูญเสียเชิงปริมาณหรือผลิตภัณฑ์

2. การสูญเสียเชิงคุณภาพ

3. การสูญเสียชื่อเสียง

4. การสูญเสียราคา ไม่สามารถเพิ่มรายได้เกษตรกรได้ ส่งผลให้เกิดการสูญเสียทางสังคมด้วย

การเพิ่มคุณภาพสินค้าให้เกิดขึ้นได้ การรักษาคุณภาพโดยลดต้นทุนการขนส่ง ลดการใช้พลังงานการเก็บเกี่ยวก่อนถึงมือผู้บริโภค ลดต้นทุนผลิต ลดจำนวนแรงงานลง ลดต้นทุนลง ทั้งหมดขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี และเทนนิคจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้

หลังการเก็บเกี่ยวแล้วจะเพิ่มหรือรักษาคุณภาพได้อย่างไร เช่น Pre Cool การใช้กระบวนการความเย็น การใช้เทคโนโลยีในการขนส่ง ผัก ผลไม้ เนื้อ ประมง การเก็บรักษาคุณภาพจึงเป็นเรื่องที่จะเป็นเพราะเป็นกระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว

การสร้างมูลค่าเพิ่ม เรื่อง Packaging เป็นเรื่องที่สำคัญมากไม่จำกัดแค่ต้องออกแบบสวย แต่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยที่สะดวกด้วย บางอย่างใช้พลาสติกที่เหมาะกับผลไม้ บางอย่างเป็นกล่อง แต่สรุปต้องทำให้สินค้าน่าสนใจและสะดวกในการใช้

นายมาโนช ปราครุฑ

หัวหน้าศูนย์ผลผลิตโครงการหลวงเชียงใหม่

โครงการหลวงเชียงใหม่เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ที่ทรงช่วยชาวไทยภูเขาที่มีวิถีชีวิตในการทำไร่เลื่อนลอยจะทำอย่างไรให้เกษตรกรมีการกินดีอยู่ดีนอกจากการปลูกฝิ่นต้องหาพืชอะไรที่ทดแทนการปลูกฝิ่นได้จริง ๆ พระองค์ได้มีการนำพืชหลากหลายมาให้เกษตรกรปลูก พืชที่ประสบความสำเร็จคือกาแฟ ได้นำเมล็ดมาจากต่างประเทศ มีการนำเมล็ดมาเพาะปลูก ในเบื้องต้นปลูกได้เพียง 3 ต้น บนภูเขา แต่พระองค์ได้ทรงเล็งเห็นแล้วว่าสามารถดำเนินต่อไปได้ และปัจจุบันกาแฟเป็นการส่งออกที่สำคัญ สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้แท้จริง

40 กว่าปี จากศูนย์สู่การสร้างรายได้

การดูผลิตผลว่าจะปลูกอะไร ดีอย่างไร ขายให้ใคร เรามีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร

มี Model ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดยสิ่งสำคัญคือส่วนที่อยู่ปลายน้ำคือลูกค้า ทำอย่างไรให้ลูกค้าซื้อสินค้าเรา และซื้อซ้ำ

การเลือกพืชที่เหมาะสมกับความต้องการปลูกพืช อย่างกาแฟที่อร่อยที่สุดในโลกต้องปลูกในพื้นที่ที่สูงที่สุด ดังนั้นไทยจึงหาพื้นที่ในการผลิต เช่นดูที่ดอยอินทนนท์ และหาเกษตรกรที่เราเอาพืชแต่ละชนิดไปให้เกษตรกรเพาะปลูก ตามด้วยการวางแผนการผลิตทำอย่างไรให้พืชเหล่านั้นตอบสนองต่อไป การทำงานไม่มีวันหยุด การทำการเกษตรก็ยังคงมีขนบธรรมเนียมประเพณี แต่ต้องแบ่งเวลาบริหารจัดการให้ตอบสนองลูกค้าได้

ปลายน้ำผลิตได้ต้องขายหมด แผนมาจากตลาด มีแผนรายปี รายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน

กิจกรรมต้นน้ำ

มีกรรมวิธีการวางแผนในการผลิต เช่น การเตรียมดินมีหมอดินเข้าไปส่งเสริมว่าจะเตรียมดินอย่างไรให้ดีเพื่อให้บริหารจัดการที่ดี สอนวิธีเพาะปลูก การเพาะปลูกแต่ก่อนให้เกษตรกรเพาะกล้าเอง แต่บางครั้งเกษตรกรลืมเพาะบ้าง เมล็ดพันธ์หายบ้าง พืชบางอย่างไม่โตตามความต้องการของตลาด มีการหมุนเวียนการจัด มีการเพาะเมล็ดให้กับเกษตรกร ทำอย่างไรลดต้นทุนได้ เมล็ดแต่ละ 1 เมล็ดของพืชต้องให้ความสำคัญ มีการเพาะเมล็ด มีการใช้เทคโนโลยี มีการใช้ความชื้นที่เหมาะสม มีการแจกต้นกล้า การปลูกพืชกรมหลวง มีการใช้สารเคมีที่ควบคุมได้ มีการทดสอบสารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยวเพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคปลอดภัย

ผักอินทรีย์ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือจากมูลสัตว์แต่ต้องหมักก่อน 1 ปี มาตรฐาน จะขายให้กับใคร ตัวอย่างเช่นผักไฮโดรโปรนิกส์ ต้องทำให้ถูกต้อง

แหล่งผลิต พูดถึงกรรมวิธีในการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว

ปลูกพืชอยากได้พืชต้องปลูกดี ๆ ดัชนีในการเก็บเกี่ยวต้องดูว่าพืชดีหรือไม่ ต้องดูแลตลอด

ลูกค้าต้องการอย่างไรต้องปลูกอย่างนั้น เช่น มะเขือเทศ ลูกค้าบางรายชอบสีเขียว บางรายชอบสีแดง ต้องมองถึงลูกค้า และปลายทางว่าลูกค้าอยู่ที่ไหน ดูการเก็บสีต่าง ๆ

กิจกรรมกลางน้ำ

คือแหล่งรวบรวมผลผลิต เก็บเกี่ยวแล้วส่งให้ส่วนกลางกระจายส่งให้ลูกค้าต่อไป โครงการที่ Design ต้องดได้รับมาตรฐานทางกฎหมาย มีมาตรฐาน GMP และมีกรรมวิธีในการตรวจสอบการรับผลผลิต เป็นโรงงานปิดไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าได้ บุคลากรต้องมีองค์ความรู้เรื่องประกันคุณภาพ ต้องมีสุขภาพแข็งแรง สุขภาพดี มีการทำความสะอาดร่างกายตลอด

การควบคุมในการผลิต ในเรื่องตัวอาคาร ความสะอาด ความเหมาะสม อันตรายที่ถึงผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นเคมีที่ติดมาจากกระบวนการผลิต ต้องมีกระบวนการตรวจสอบ ไม่อนุญาตให้เกษตรกรซื้อสารเคมีจากข้างนอก ซื้อจากโครงการหลวงได้อย่างเดียว ถ้าพืชไม่สบายต้องแจ้งหมอพืช เพื่อจ่ายยาให้กับพืช แล้วให้มีการวิเคราะห์ว่ามีสารเคมีตกค้างหรือไม่ แล้วเอามาทดสอบว่าพืชนั้นดีจริง ๆ จึงส่งมาที่โครงการหลวงได้ แล้วทำการตรวจสอบสารเคมีอีกครั้งหนึ่ง

อันตรายที่จะเกิดกับอาหารในทางชีวภาพ เช่น อีโครไลน์ที่ติดมากับพืช การปนเปื้อนไม่สะอาดในการเก็บเกี่ยว ระบบ GMP ต้องไม่มีการปนเปื้อน

อันตรายทางด้านกายภาพคือเศษหิน ดิน ทราย ต้องไม่ให้มีการปนเปื้อนติดไปกับอาหาร เช่นหนอน จะพยายามควบคุมไม่ให้เป็นอันตรายทางกายภาพได้

สรุปการผลิตในกลางน้ำสำคัญมาก การผลิตอาหารถ้ามีการบรรจุถุงเรียบร้อยแล้ว จำเป็นต้องมีการประกันคุณภาพ GMP หรือ อย. การทำอาหารในยุคปัจจุบันต้องทำอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย และมาตรฐานข้อกำหนดลูกค้าในแต่ละที่ด้วยทั้ง GMP และมาตรฐานสากล ระยะเวลาในการเดินทาง ในการจำหน่าย ทำอย่างไรถึงลดต้นทุน การยืดอายุพืช มีการวางจำหน่ายลดอุณหภูมิของพืช มีไฮโดรลิ่ง

การยืดอายุของพืช - หลังการเก็บเกี่ยวพืชมาแล้วพืชยังมีกระบวนการหายใจอยู่ ใช้เทคโนโลยี ดึงความร้อน เพิ่มความเย็น ใช้เทคโนโลยีการขนส่งที่ต้องมีกระบวนการต่อเนื่อง มีรถห้องเย็นจนถึงลูกค้า กรรมวิธีการผลิต ต้องออกแบบดีไซน์ให้เหมาะสมกับพืช เหมาะสมกับลูกค้า ต้องไม่แพงเกินไป ต้องมีการปรับเปลี่ยนดีไซน์ว่าทำอย่างไร ต้องมีการปรับปรุงให้มีความหลากหลายเหมาะสำหรับพืชแต่ละชนิด

ทำอย่างไรให้ต้นทุนการผลิตถูกลงเพื่อแข่งขันได้ เช่นกล่องแต่ก่อนมี 5 ชั้น อาจมาดีไซน์ใหม่ให้เหมาะกับพืชแต่ละชนิด ช่วยลดต้นทุน แต่ยืดอายุการใช้งาน

กิจกรรมปลายน้ำ

ต้องเข้าใจว่าลูกค้าคือใคร ลูกค้าคือคนที่รักเรา ซื้อของเรา ทำอย่างไรให้ซื้อของเราเรื่อย ๆ ทำอย่างไรให้ลูกค้ารักเรา มีความเชื่อมั่นกับเรา สร้างความประทับใจกับลูกค้า สินค้าสามารถควบคุมคุณภาพได้ สินค้าต้องมีความปลอดภัย และทางด้านกายภาพต้องเป็นตามที่กำหนด เช่นลูกค้าต้องการ 1 กก. 3 กก. ต้องไปเยี่ยมลูกค้าด้วย ว่าเขาต้องการจริงหรือไม่ มีปัญหาอย่างไร

เมื่อมีวิกฤติเกิดขึ้นจะ Apply กับลูกค้าได้อย่างไร

สรุป การส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืช ไม่ทำไร่เลื่อนลอย ไม่ปลูกฝิ่น ส่วนหนึ่งได้มาจากการตอบรับจากผู้บริโภคที่เชื่อมั่น สิ่งที่ต้องพัฒนาคือ ทำอย่างไรเพื่อให้สินค้าเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย พยายามลดต้นทุนการผลิตสินค้านั้น ๆ ทำอย่างไรให้สินค้าเป็นที่พอใจต่อผู้บริโภค มีการใช้เทคโนโลยี QR โค้ดในการตรวจสอบว่าเกษตรกรชิ้นไหน ผลิตเมื่อไร สามารถเช็คได้ ต้องพัฒนาให้ตอบสนองต่อเทคโนโลยี

อาจารย์ประสพสุข พ่วงสาคร

ชอบที่คุณมาโนช พูดว่าปลูกผัก อยากเอาผักหรือเอาเงิน ถ้าปลูกผักต้องทำอย่างไร เรื่องการตลาดก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ลูกค้าต้องซื้อซ้ำ ซื้อตลอดและซื้อมาก ๆ ต้องสามารถคุมได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ นอกจากการเตรียมพื้นที่แล้วต้องเตรียมบุคคลากรด้วย ชาวเขาบางเผ่าชอบนอนกลางวันทำงานกลางคืน บางเผ่าชอบนอนกลางคืนทำงานกลางวัน

มาตรฐาน GMP ทุกอย่างต้องได้มาตรฐานหมดทั้งสินค้าและบุคลากร

ที่สำคัญที่สุดคือทุกสินค้าสามารถสอบทวนได้ตั้งแต่ต้นน้ำ

แสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 1

1. มีข้อสงสัยว่าผลไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศไม่ว่าเป็นเชอรี่ แอปเปิ้ล มีการควบคุมเหมือนต่างประเทศที่ควบคุมเรื่องการบริโภคหรือไม่

2. ผักโครงการหลวง มีขายหลายที่ บางที่ติดแค่ว่าผักปลอดสารพิษ จากโครงการหลวง จะมั่นใจได้อย่างไรว่ามีความปลอดภัยอย่างแท้จริง

ดร.วิเชียร ตอบ

การนำเข้าส่งออกจะต้องผ่านด่านกักกันพืชโดยกรมวิชาการเกษตรที่ต้องตรวจสารพิษตกค้างทั้งหลาย แต่ทางปฏิบัติยังไม่อยากพูดถึง ในยุโรปเครื่องมือทันสมัยกว่า เช่นต่างประเทศเอา 4 ตำแหน่งของไทยวิเคราะห์ไม่ได้ ในอนาคตอาจต้องซื้อเครื่องมือจากต่างประเทศมาใช้กับเรา เช่นญี่ปุ่นมีการใช้กระบวนการอบไอร้อนถึงเข้าได้ ไม่เช่นนั้นไม่ให้เข้า อย่างอเมริกา ต้องผ่านการฉายรังสี ถ้าไม่ผ่านไม่เข้าประเทศอเมริกา ทุกอย่างเป็นกฎหมายของแต่ละประเทศที่กำหนดขึ้นมา แม้ส่งได้อิสระแต่ทุกประเทศสามารถกำหนดตรงนี้ได้

ส้มที่มาจากจีนจริง ๆ เข้าไม่ได้เราะมีใบที่ติดมาด้วย ใบที่ติดมาเขาใช้ฟอร์มาลีนทำให้สดอยู่ได้นาน ซึ่งเป็นปัญหา (ข้อมูลจากสวนส้ม) ไทยเคยมีการตรวจสอบให้เททิ้งหมดแล้วมาครั้งหนึ่ง

คุณมาโนช ตอบ

ผักที่จำหน่ายทั่วไปถ้าเป็นPackaging โครงการหลวงฯ มั่นใจได้เลยว่าปลอดภัยได้อย่างแท้จริง เนื่องจากมีการตรวจสอบสารเคมีของพืชและที่มา มีกระบวนการตรวจบนศูนย์สถานี และสารเคมีถึง 3 ขั้นตอนมีการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยสามารถรู้ได้เลยว่ามาจากสารชนิดไหน

บางกรณีไม่ได้บรรจุใน Package โครงการหลวง ไม่มั่นใจว่าเป็นอย่างไร มีเป็นไปได้ที่เกษตรกรปลูกเกินสิ่งที่โครงการหลวงต้องการซึ่งไม่รับซื้อ ส่วนหนึ่งปลอดภัยเพราะปฏิบัติตามเกณฑ์ อีกส่วนไม่ปลอดภัยเพราะบางครั้งอาจไม่ผ่าน หรือผลิตเกิน ไม่มั่นใจ

กลุ่มที่ 2

1.กลไกการดำเนินงานของโครงการหลวง ทั้งระบบถือว่ายอดเยี่ยมมากในการส่งเสริมการบ้าน การนำมาใช้ในพื้นที่หรือกลับมาใช้กับชาวบ้านเองจะทำอย่างไร เพราะระบบโครงการหลวงเป็นระบบที่ใหญ่ แต่ชาวบ้านจะนำไปปรับและประยุกต์ใช้อย่างไรบ้าง

2. การบรรจุหีบห่อที่ชาวบ้านจะนำไปขายได้ ในเรื่องต้นทุนการผลิต จะสร้างความเข้าใจให้ชาวบ้านตัดสินใจว่าสิ่งนี้ดีจริงหรือไม่ มีรายได้เพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ สามารถการันตีได้หรือไม่ว่าได้ข้าวเหมือนที่ใช้สารอยู่ จะเริ่มคุยกับเกษตรกร จะประยุกต์ใช้อย่างไรให้เหมาะสมกับที่เล็ก ๆ

คุณมาโนช ตอบ

กลไกอันดับแรกตามแนวคิดแบบโครงการหลวงฯ ต้องสร้างความเชื่อมั่นก่อนว่าทำแล้วไม่เสียเวลา ไม่เสียเงิน ต้องส่งเสริมเกษตรกรและสามารถขายได้ ต้องมาดูสินค้าว่าจะส่งเสริมอะไรและปลูกอะไร เราจะขายให้กับใครและทำอย่างไร หาจุดแข็งที่จะไปขาย มีขนบธรรมเนียมประเพณี องค์กรว่ามีดีอะไร เช่นพะเยามีปลาส้มที่ดัง ต้องหากลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้าเรา หาใครก็ได้ที่ซื้อสินค้เราแน่นอนและทำ Contract กัน ต้องหาจุดแข็งให้เจอและส่งเสริมเขา

การลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่า ใช้เทคโนโลยีที่ลดขั้นตอนและเกิดประโยชน์ได้จริง เทคโนโลยีบางอย่างถ้าใช้แล้วไม่เหมาะสมกับตัวเองก็จะเป็นโทษ ให้เหมาะสมกับตัว

นางสาวกิตติพร สุขประสงค์

27 มกราคม 2557

การสร้างกระบวนการคิดแบบนอกกรอบให้กับเกษตรกร กศน.จะทำอย่างไรให้เกษตรกรข้ามกรอบนั้นไปได้ โดยการถามนำมากกว่าการพูด ให้เกษตรกรได้ค้นหาความจริงด้วยตัวเอง มีเป้าหมายชัดเจนอยู่บนฐานความจริงกับทางเลือกที่หลากหลายและจะทำอย่างไรกับทางเลือกนั้น

28 มกราคม 2557

1. เทคนิคการเพิ่มผลผลิตและมูลค่าทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ การบรรจุภัณฑ์สินค้าทางการเกษตร

- ลดการสูญเสียด้านปริมาณและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว

- การปรับปรุงคุณภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้า

2. การบริหารการเงิน/การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การบริหารจัดการด้านการเงินของเกษตรกร

ทีมงานวิชากา Chiraacademy

การบริหารการเงิน / ทุนของผู้ประกอบการภาคเกษตร

และการเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ

โดย รศ.ดร.ประเสริฐ จรรยาสุภาพ

คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

นายชัยสิทธิ์ ตันตนะรัตน์

รองผู้อำนวยการกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

คุณธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

กรณีศึกษาที่น่าสนใจของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการบริหารเงิน

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

28 มกราคม 2557

ผู้ประกอบการภาคเกษตร

- เกษตรกรรายย่อย

- กลุ่มอาชีพเกษตรกร

- สหกรณ์การเกษตร

ทั้ง 3 กลุ่ม เกิดการเหลื่อมล้ำมาก คำถามคือ คนเหล่านี้จะทำอย่างไร รัฐบาลจะช่วยแบบไหน ง่ายที่สุด คือรัฐบาลเอาเงินไปให้ แต่มันจะจบในระยะสั้น เหมือนปัจจุบันที่มีการประท้วงตลอดเวลา แตกต่างจากหลายประเทศ คือ ญี่ปุ่น เกาหลี คือไม่ได้ช่วยเกษตรกรโดยเอาเงินไปให้ แต่ทำอย่างไรให้เกษตรกรช่วยตัวเองได้ในระยะยาว ก็จะพบว่ากลุ่มเกษตรกรจะใช้สหกรณ์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่โตและใหญ่ กลุ่มเหล่านี้ทำเรื่องเงินทุน และการตลาดที่เข้มแข็ง การวิจัยเรื่องภาคการเกษตร ซึ่งในระยะยาวก็สามารถช่วยตัวเองได้ รัฐบาลก็จะค่อยๆถอยออกมา

ขอพูดถึงเรื่องข้าว เวียดนามพัฒนาเรื่องการผลิตข้าวแซงหน้าไทยไปมากแล้ว

แนวคิดในการพัฒนาภาคเกษตร

- ความเหลื่อมล้ำและการกระจายรายได้เพื่อความเป็นธรรม

- ปรัชญาของการส่งเสริมการเกษตร

- รูปแบบ และวิธีการ

ค่าใช้จ่ายการทำการเกษตร

- ค่าปรับปรุงที่ดิน

- ค่าเมล็ดพันธุ์

- ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง

- ค่าปลูก

- ค่าเก็บเกี่ยว

แหล่งทุนของเกษตรกร

- พ่อค้าท้องถิ่น มีอัตราดอกเบี้ยสูง แต่ค่อนข้างชัดเจน

- สถาบันเกษตรกร/สถาบันการเงิน กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร มีต้นทุนให้เงินกู้ค่อนข้างต่ำ ถ้ามีการบริหารที่ดีพอ

- โครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐ เกษตรกรสามารถได้งบจากหน่วยงานภาครัฐ - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การบริหารเงินทุนของเกษตรกรที่ดี

- การทำบัญชีต้นทุนการผลิตอย่างง่าย

- การรวมกลุ่มกันในรูปกลุ่มเกษตรกร/สหกรณ์การเกษตร เพื่อลด ต้นทุนปัจจัยการผลิตและรวมกลุ่มขาย

- ลดปัจจัยการผลิตที่เกินความจำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

- การปลูกพืชเชิงเดี่ยวมีความเสี่ยงสูง ควรกระจายพืชหลากชนิด เช่น พืชสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ

ธุรกรรมการเงินภาคเกษตรของสถาบันเกษตรกร

- การให้สินเชื่อ

- การจัดหาปัจจัยการผลิต เป็นสิ่งที่สหกรณ์ทำอยู่

- การตลาดและการแปรรูป(การเพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตร) ทำได้ยาก

ปัญหาการแข่งขันการค้ากับต่างประเทศ

- ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ

- ขาดการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์

- ขาดการพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร

- ขาดงบวิจัยและพัฒนา ประเทศไทยให้ความสำคัญเรื่องนี้น้อยมาก

- นโยบายเกษตรภาครัฐ

อ.ทำนอง ที่อาจารย์ให้คำแนะนำเรื่องการเงิน คือ ต้องหัดทำบัญชี เรื่องความสูญเสีย ปัญหาต่างๆ ในการใช้ปัจจัยการผลิตเกิน

คุณธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล: เนื่องจากเป็นภาคเอกชน เรื่องการชำระหนี้ ดูเป็นรายเดือน

ธนาคารกสิกรพยายามมากขึ้นที่จะปรับโมเดลทางธุรกิจที่จะลงไปดูสหกรณ์การเกษตรมากขึ้น วันนี้จะคุยว่าจะบริหารเงินอย่างไร

การบริหาร/วางแผนทางการเงิน + การมีวินัยทางการเงินช่วยท่านได้

เริ่มจาก

1. ตรวจสุขภาพทางการเงินตัวเอง สินทรัพย์ –หนี้สิน เท่ากับ ความมั่งคั่งสุทธิ

2. จดบันทึกรายรับรายจ่าย

3. ประเมินรายรับ รายจ่ายในอนาคต

4. กำหนดเป้าหมายทางการเงิน

5. จัดทำแผนไปสู่เป้าหมาย

6. ปฏิบัติตามแผนและปรับนิสัยการใช้เงิน

การออมเงิน เพื่อความมั่นคงในอนาคต

  • -เงินฝาก
  • -ทองคำ
  • -พันธบัตรรัฐบาล
  • -กองทุนรวม
  • -สลากออมสิน-ธ.ก.ส.

หนี้สิน ก่อได้เมื่อจำเป็น

-คิดก่อนกู้ว่า ... มีความจำเป็นและนำเงินนั้นๆ ไปใช้ประโยชน์จริงๆ เช่น กู้บ้าน กู้เพื่อประกอบธุรกิจ ?

-ตรวจสอบประเภทสินเชื่อว่าตรงวัตถุประสงค์ ?

-เปรียบเทียบดอกเบี้ยจากหลายๆ แหล่ง หรือยัง ?

-จะผ่อนชำระสินเชื่อได้ตลอดสัญญาหรือไม่ ?

-ถ้าผ่อนไม่ได้จะทำอย่างไร

แหล่งเงินกู้ มีเงื่อนไขต่างกันดังนี้

  • -วงเงิน
  • -ดอกเบี้ย
  • -ความถี่ในการจ่ายชำระคืนหนี้
  • -ระยะเวลาของการกู้
  • -หลักประกัน คนค้ำประกัน
  • การบริหารหนี้สิน ทำอย่างไรเมื่อเงินไม่พอใช้หนี้?
  • -ไม่ก่อหนี้เพิ่ม
  • -ลด ละ เลิก สิ่งที่ไม่จำเป็น
  • -หาทางเพิ่มรายได้
  • -หารือกับเจ้าหนี้ เพื่อหาทางแก้ตั้งแต่เนิ่นๆ
  • -ไม่หนีหนี้ ไม่หันไปพึ่งเจ้าหนี้นอกระบบ

เคล็ดลับ (ที่ไม่ลับ) ... สำหรับชีวิตที่มั่นคง

ใช้จ่ายระมัดระวัง

รู้จักเก็บออม

ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง

นายชัยสิทธิ์ ตันตนะรัตน์: ธกส.ใช้หลักการคือ ต้องการพัฒนาประเทศถึงแม้เกษตรกรจะมีหนี้สินเพิ่ม แต่ก็มีสินทรัพย์เพิ่ม

การให้เกษตรกรกู้ เรียกว่าบันไดมรณะ ธกส.ตั้งทีมพัฒนาลูกค้า ว่าต้องพัฒนาลูกค้า การศึกษาไทย อยู่อันดับ 8 ในอาเซียน แต่เรื่องการเกษตรไม่มีการจัดอันดับ เพราะฉะนั้นไทยเหมือนจะต่อต้านทุนนิยม แต่บางครั้งก็ต้องใช้เงินอนาคตก่อน

บทบาทแรกในการพัฒนา คือ hand กาทำงาน hard อย่างหนัก head มีสมองมีความรู้หรือไม่

ต้องคิดว่าใช้ทุนอย่างไรให้เกิดประโยชน์ ของธกส.การให้เงินจะให้เป็นรายบุคคล กับตัวที่สอง คือ กู้กลุ่ม อีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มสถาบันต่างๆ

ธกส. มีอีกหนึ่งรูปแบบคือ ค้ำร่วม

การจำนำข้าว เมื่อก่อน ซื้อ 10,000 ขาย 10,000 แต่ปัจจุบันนี้จำนำข้าว 15,000

การให้ทุนแก่เกษตรกร ก็พอรับได้ ปัจจุบันเราจะมี Value chain ห่วงโซ่มูลค่า สมัยก่อนมุ่งแก่ผู้ที่ปลุกวัตถุดิบ คือเกษตรกร พอปลูกเสร็จส่งพ่อค้าคนกลาง และขายไป ประมาณ 20 ปี ให้หลัง ก็กลายมาเป็นผู้ผลิตเอง ได้ดอกเบี้ยต่ำ กระตุ้นให้ได้ส่วนต่างๆมาตกที่หมู่บ้าน ปัญหาคือเอาผู้ผลิตไปประกอบการ ทำของส่วนรวมมาเข้ากระเป๋าตัวเอง

มีหลายแห่งที่เอาเกษตรกรมาสู้กับผู้ประกอบการได้

ถ้าจะให้เงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีองค์ความรู้ต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ หากไปแนะนำเกษตรกร ต้องหาแหล่งสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เพราะหลายองค์กรเน้น CSR ซึ่งต้องหาลู่ทาง และมีกาเขียนโครงการ

เงินทุนไม่ได้เลวร้าย เหมือนไฟที่ใช้ประโยชน์หุงข้าวได้ แต่ถ้าผิดก็เหมือนเผาบ้าน

Workshop

กลุ่ม 1

1. ปัจจัยที่จะทำให้เกษตรกรบริหารการเงินให้มีประสิทธิภาพ มีอะไรบ้าง

1.1 การใช้เงินทุนที่มีประสิทธิภาพ

- การวางแผนการใช้เงินทุน วัตถุประสงค์

- การบริหารจัดการ

- องค์ความรู้

- การรวมกลุ่ม

- การมีวินัย ความซื่อสัตย์

1.2 องค์ความรู้ที่เกษตรกรต้องการ

- บัญชีครัวเรือน วิเคราะห์ค่าใช้จ่าย

- การบริหารหนี้สิน

-การผลิต การแปรรูป พัฒนามาตรฐานสินค้า

- การตลาด การขนส่ง บรรจุภัณฑ์

- การวมกลุ่ม เครือข่าย

1.3 วิธีการเข้าถึงเงินทุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ

- แสวงหาข้อมูลแหล่งเงินทุน ภารัฐ เอกชนที่มีดอกเบี้ยต่ำ ฟรี

- รวมกลุ่มเป็นสหกรณ์

- สมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์

- เชิญเจ้าของแหล่งเงินทุนมาให้ความรู้ ข้อมูลแก่เกษตรกร

2. ยกตัวอย่างกรณีเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการบริหารเงิน (ถ้ามี)

คุณชัยพร พรหมพันธ์ ชาวนาเงินล้าน จ.สุพรรณบุรี จากรายการคนค้นคน ทำนาขาดทุนมาตลอด 20 ปี ปรับเปลี่ยนมาทำนาอินทรีย์แค่ 3 ปี ให้หนี้ที่ติดมา 5 ปีหมดเลย

กลุ่ม 4

1. ปัจจัยที่จะทำให้เกษตรกรบริหารการเงินให้มีประสิทธิภาพ มีอะไรบ้าง

1.1 การใช้เงินทุนที่มีประสิทธิภาพ ต้องประกอบด้วย บัญชีต้นทุน ต้องดูที่รายรับรายจ่าย การวางแผนการใช้เงิน ปัจจัยการผลิต ที่ดูว่าเกินความจำเป็นหรือไม่ ดูต้นทุรน

1.2 องค์ความรู้ที่เกษตรกรต้องการ การรวมกลุ่ม กาจัดตั้งสหกรณ์ การบริหารการเงิน การบัญชี ต้องมีการวิเคราะห์ว่าบัญชีต้องดูได้ถึงอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

1.3 วิธีการเข้าถึงเงินทุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ต้องศึกษาข้อมูลแหล่งเงินทุน ว่ามีความต่างกันอย่างไร จัดเตรียมข้อมูลเอกสาร เพื่อขอเข้ารับแหล่งเงินทุน อันเป็นนิติบุคคล

2. ยกตัวอย่างกรณีเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการบริหารเงิน (ถ้ามี)

ไม่มีกรณีศึกษา

กลุ่ม 2

1. ปัจจัยที่จะทำให้เกษตรกรบริหารการเงินให้มีประสิทธิภาพ มีอะไรบ้าง

1.1 การใช้เงินทุนที่มีประสิทธิภาพ ใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ ส่งธนาคารให้ตรงเวลา

1.2 องค์ความรู้ที่เกษตรกรต้องการ การวิเคราะห์ เพื่อกำหนดเป้าหมายให้ตรงตามวัตถุประสงค์ ต้องมีมาตรฐานของสินค้า ต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ต้องมีการรวมกลุ่ม มีบัญชีที่น่าเชื่อถือ

1.3 วิธีการเข้าถึงเงินทุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ

สำรวจ วางแผน มีกองทุน การแสวงหาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลหลายกลุ่ม ต้องรู้ ระบบภาษี ศึกษาคู่แข่ง ศึกษากฎหมาย

2. ยกตัวอย่างกรณีเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการบริหารเงิน (ถ้ามี)

บ้านพงพา มีจุดเด่น ออมร้อยได้ล้าน ทำโฮมสเตย์ มีการศึกษาดูงานที่แม่กำปอง

กลุ่ม 3

1. ปัจจัยที่จะทำให้เกษตรกรบริหารการเงินให้มีประสิทธิภาพ มีอะไรบ้าง

1.1 การใช้เงินทุนที่มีประสิทธิภาพ ต้องมองขั้นตอนการผลิต ว่าในอนาคตจะมีกาเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ต้องมีวินัยในการบันทึก

1.2 องค์ความรู้ที่เกษตรกรต้องการ ในส่วนองค์ความรู้ ในการบริหารเงินทุน ต้องมองถึงความรู้ว่าเราต้องผลิตชนิดไหน และมีแหล่งความรู้จากที่ไหนบ้าง เพื่อที่จะนำความรู้ไปใช้ในสิ่งที่มีอยู่

1.3 วิธีการเข้าถึงเงินทุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ การเกื้อกูลกัน รวมตัวกัน เช่นแปรรูปกล้วย อีกที่หนึ่ง แปรรูปอ้อย น้ำตาล ต้องมาคิดว่าจะมารวมกันได้หรือไม่ เพื่อเป็นการลดต้นทุน หรือเป็นการช่วยกันในหมู่บ้าน ระดับอำเภอ ระดับสหกรณ์สามารถที่จะรวมกันและเพิ่มเติมหาแหล่งที่เราพอใจที่สุด

2. ยกตัวอย่างกรณีเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการบริหารเงิน (ถ้ามี)

จากประสบการณ์จาการทำงานที่บุรีรัมย์ มีปราชญ์ชาวบ้านชื่อคุณพ่อผา องค์กรภาครัฐพึ่งพาด้านการพัฒนา โดยเฉพาะธกส. ให้พ่อผาเป็นปราชญ์ด้านการบริหารจัดการทำเกษตรยั่งยืน ทำงานด้วยความอดทน ประหยัด อดออม ซึ่งทำให้ทุกคนประสบความสำเร็จได้

กลุ่ม 5

1. ปัจจัยที่จะทำให้เกษตรกรบริหารการเงินให้มีประสิทธิภาพ มีอะไรบ้าง

1.1 การใช้เงินทุนที่มีประสิทธิภาพ มีการวางแผนใช้เงินล่วงหน้า ทำบัญชีครัวเรือน

1.2 องค์ความรู้ที่เกษตรกรต้องการ ต้องมีแผนการใช้เงินล่วงหน้าในแต่ละเดือน บางคนไม่มีการวางแผน หลังจากนั้นทำบัญชีครัวเรือนกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งไม่มีดอกเบี้ย แหล่งเงินทุนธนาคารต่างๆ เช่น ธกส. สถานบันการเงินต่างๆ

1.3 วิธีการเข้าถึงเงินทุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ รวมกลุ่มในการกู้

2. ยกตัวอย่างกรณีเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการบริหารเงิน (ถ้ามี)

ศูนย์ฝึกสระแก้ว เอานโยบายเกษตรหมู่บ้าน มีขั้นตอนการทำให้เกิดผลกำไร ให้สมาชิก ผู้นำชุมชนตัดสินใจอย่างไร ก็เข้าไปติดตาม ไม่ต้องกู้ในแหล่งใหญ่ๆ

มีการตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการการเงิน ให้สมาชิกยืมเพื่อลงทุนให้เกิดผลและกำไร และหลังจากนั้นให้คืนต้นทุนโดยไม่มีดอกเบี้ย

จิรพงศ์ ผลนาค กศน.อำเภอศรีสำโรง สุโขทัย

28 ม.ค.2557 ประเด็นน่าสนใจ การเพิ่มผลผลิตและมูลค่าผลผลิต ต้องตอบให้ได้ว่าขายให้ใคร รู้พฤติกรรมการใช้สินค้าของผู้ซื้อ มูลค่าผลผลิตขึ้นอยู่กับตลาด นำเทคโนโลยี่และpackaging มาใช้ให้เหมาะสม รวมถึงการบริหารการเงินและทุนที่ดี สร้างความมั่นคงได้ในอนาคต การเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ จะสร้างโอกาสในการเรียนรู้และการเข้าปะทะเพื่อการแข็งขันได้ใน asean และทั่วโลก

เทคนิคสร้าง้เครือข่าย้เพื่ิอความสำเร็จ

sincerity equality respection supporting communicating environment for 3 V

วันอังคารที่ 28 มกราคม. 2557. ได้รับความรู้เรื่องเทคนิคการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมูลค่าด้วย new technology & packaging และวิธีการบริหารการเงินและทุนของผู้ประกอบการ

29 มกราคม 2557

การสร้าง บริหารเครือข่าย การตลาด และแบรนด์

-ศึกษาสินค้าของต่างประเทศที่อยู่ในประเภทเดียวกัน เพื่อสร้างความร่วมมือในการผลิต

-ศึกษาการตลาดอย่างละเอียด

-จะต้องสร้างบรรยากาศทางธุรกิจ

-สร้างและพัฒนารูปแบบของสินค้าให้น่าสนใจ เพื่อทำให้มีมูลค่าสูงขึ้น

-หาเครื่อข่ายนำวัตถุดิบมาผสมผสาน ให้มีมูลค่าสูงยิ่งขึ้นกว่าเดิม

-ประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง โดยวิธีต่างๆตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับ Network

- สร้างแบรนด์ สินค้าจากอัตลักษณ์ของตนเองให้เป็นที่ยอมรับ

นางทิพวรรณ สิทธิรังสรรค์

นางทิพวรณ สิทธิรังสรรค์ ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๗

การเกษตรของประเทศไทยในปัจจุบัน มีปัญหาหลายด้าน เช่น เกษตรกรพึ่งตนเองไม่ได้ เมื่อมีปัญหาก็ต้องรอคอยความช่วยจากรัฐบาล เช่น การรับจำนำข้าว การประกันราคาผลผลิตการเกษตร เป็นต้น ที่สำคัญมีการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีมาก ทำให้อาหารที่ผลิตได้ไม่ปลอดภัยจากสารพิษ และมีสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม และมีต้นทุนการผลิตสูงเกินความจำเป็น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการเกษตรดังกล่าว เราต้องน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในการทำการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรสามารถ “พึ่งตนเองได้” และ “พออยู่ พอกิน” ซึ่งบทบาทของครู กศน. ที่จะช่วยในเรื่องนี้ก็คือ การเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ หรือจัดกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้ และสามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

ในวันนี้ก็ได้เรียนรู้หลักทฤษฎีต่างๆ ของการเรียนรู้ ทฤษฎี 3V และได้เรียนรู้การเกษตรของประเทศเวียตนาม และประเทศลาว

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๗

ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาพม่ารวมทั้งวัฒนธรรมของประเทศพม่า ได้เรียนรู้ยุทธศาสตร์ภาคเกษตรไทยและอาเซียน ได้ทราบภาพรวมด้านการเกษตรของไทยที่รองเลขาธิการ สศก. สรุปได้ดีมากแต่มีเวลานำเสนอน้อยเกินไป ซึ่งภาพรวมไทยจะแข่งขันได้ในอาเซียนก็ต้องใช้ Green agriculture วิทยากรนำเสนอได้ดีทุกคน มีประโยชน์ดี ซึ่งได้มีการระดมความคิด ซึ่งเราได้ช่วยกันคิดสรุปได้ว่าบทบาทของ กศน. ก็คือการให้ความรู้เพื่อการสร้างบุคลากรแกนนำและสร้างเกษตรกรที่สามารถทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติได้เพื่อผลิตอาหารปลอดภัยและอนุรักทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน และทำให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ยังได้เรียนรู้ประสบการณ์การเกษตรในประเทศฟิลิปปินส์ กัมพูชา รวมทั้งยังได้เรียนรู้ประสบการณ์และแนวคิดของ Mr. Dawin Yang ซึ่งมีประโยชน์มาก

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๗

ได้เรียนรู้ภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ รวมทั้งวัฒนธรรมของประเทศพม่า ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ postharvest ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ช่วยลดการสูญเสียผลผลิตที่เสียหายหลังการเก็บเกี่ยว ได้เรียนรู้การบริหารจัดการผลผลิตของโครงการหลวงซึ่งดีมาก มีการศึกษาความต้องการของผู้บริโภคก่อนการผลิต เมื่อผลิตแล้วต้องขายได้ เรียนรู้เรื่องการบริหารการเงิน/ทุนของผู้ประกอบการภาคเกษตรและการเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาเครือข่าย

กนกพรรณ สุวรรณพิทักษ์

กศน.อาจช่วยส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรโดยสร้างเครือข่ายในพื้นที่ช่วยค้นหาผลผลิตที่สามารถเป็น GI ในแต่ละพื้นที่และ นำมาสู่การพัฒนาโดยใช้กระบวนการV1-3. พร้อมทั้งให้ความรู้และส่งเสริมเรื่องการสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นสุดยอดสินค้า ระดับโลก

28 มกราคม 57

5 นวัตกรรม IT 5 ปี ข้างหน้า

1. ทุกคนสามารถสร้างพลังงานเพื่อใช้ภายในบ้านขึ้นเองได้

2. มนุษย์จะใช้เสียงพูด ใบหน้า และดวงตาแทนรหัสผ่านได้

3. การใช้สมองสั่งงานโทรศัพท์มือถือ ใช้นิ้วสัมผัสความรู้สึกได้

4. การเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ทุกที่ ทุกเวลาด้วยเทคโนโลยีโมบาย

5. คอมฯจะคัดกรองข้อมูลให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของเราได้

28 มกราคม ได้รับความรู้ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาเครือข่าย ในอีก 5 ปี ซึ่งจะเกิด 5. เทคโนโลยีใหม่ขึ้นคือ 1. โมเดิลคณิตศาสตร์ 2. รถพลังงานไฟฟ้า 3. อาคารอัฉริยะ 4. เทคโนโลยีอัฉริยะช่วยป้องกันปัญหาอาชญากรรมในเมือง 5. ระบบการจัดการน้ำอย่างชาญฉลาด บรรเทาปัญหาน้ำขาดแคลน

28 มกราคม ได้ความรู้เรื่องของความสำคัญในอนาคต

Food Safety จะมีความสำคัญมาก เรื่อง organic เรื่องโลกร้อน สภาพแวดล้อม การขยายระยะเวลาการเก็บของเสีย เรื่องทดสอบและประสิทธิภาพในการบริหารการจัดการ

​นางทิพวรณ สิทธิรังสรรค์

นางทิพวรณ สิทธิรังสรรค์ ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๗

การเกษตรของประเทศไทยในปัจจุบัน มีปัญหาหลายด้าน เช่น เกษตรกรพึ่งตนเองไม่ได้ เมื่อมีปัญหาก็ต้องรอคอยความช่วยจากรัฐบาล เช่น การรับจำนำข้าว การประกันราคาผลผลิตการเกษตร เป็นต้น ที่สำคัญมีการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีมาก ทำให้อาหารที่ผลิตได้ไม่ปลอดภัยจากสารพิษ และมีสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม และมีต้นทุนการผลิตสูงเกินความจำเป็น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการเกษตรดังกล่าว เราต้องน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในการทำการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรสามารถ “พึ่งตนเองได้” และ “พออยู่ พอกิน” ซึ่งบทบาทของครู กศน. ที่จะช่วยในเรื่องนี้ก็คือ การเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ หรือจัดกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้ และสามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

ในวันนี้ก็ได้เรียนรู้หลักทฤษฎีต่างๆ ของการเรียนรู้ ทฤษฎี 3V และได้เรียนรู้การเกษตรของประเทศเวียตนาม และประเทศลาว

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๗

ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาพม่ารวมทั้งวัฒนธรรมของประเทศพม่า ได้เรียนรู้ยุทธศาสตร์ภาคเกษตรไทยและอาเซียน ได้ทราบภาพรวมด้านการเกษตรของไทยที่รองเลขาธิการ สศก. สรุปได้ดีมากแต่มีเวลานำเสนอน้อยเกินไป ซึ่งภาพรวมไทยจะแข่งขันได้ในอาเซียนก็ต้องใช้ Green agriculture วิทยากรนำเสนอได้ดีทุกคน มีประโยชน์ดี ซึ่งได้มีการระดมความคิด ซึ่งเราได้ช่วยกันคิดสรุปได้ว่าบทบาทของ กศน. ก็คือการให้ความรู้เพื่อการสร้างบุคลากรแกนนำและสร้างเกษตรกรที่สามารถทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติได้เพื่อผลิตอาหารปลอดภัยและอนุรักทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน และทำให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ยังได้เรียนรู้ประสบการณ์การเกษตรในประเทศฟิลิปปินส์ กัมพูชา รวมทั้งยังได้เรียนรู้ประสบการณ์และแนวคิดของ Mr. Dawin Yang ซึ่งมีประโยชน์มาก

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๗

ได้เรียนรู้ภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ รวมทั้งวัฒนธรรมของประเทศพม่า ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ postharvest ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ช่วยลดการสูญเสียผลผลิตที่เสียหายหลังการเก็บเกี่ยว ได้เรียนรู้การบริหารจัดการผลผลิตของโครงการหลวงซึ่งดีมาก มีการศึกษาความต้องการของผู้บริโภคก่อนการผลิต เมื่อผลิตแล้วต้องขายได้ เรียนรู้เรื่องการบริหารการเงิน/ทุนของผู้ประกอบการภาคเกษตรและการเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาเครือข่าย

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

Panel Discussions & Workshop

ยุทธศาสตร์การตลาดและการสร้างแบรนด์สำหรับสินค้าเกษตร

โดย ดร.สมบัติ ธีระตระกูลชัย

รองประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

ดำเนินการอภิรายโดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อาเซียนเป็นที่มาของพิมพ์เขียว คือการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินทุน แรงงานที่มีฝีมือ ภาษีนำเข้าเป็นศูนย์มีมาตั้งแต่พ.ศ. 2553 มีภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ส่วนใหญ่ ขอให้กลุ่ม CLMV ภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ในปี 2558 เช่นกัน

ยุทธศาสตร์การตลาดและการสร้างแบรนด์สำหรับสินค้าเกษตร

ดำเนินการตามเกณฑ์ TQA แต่อาจไม่นำประเด็นของ ซี.พี.มาพูดถึง

ได้ยกแบรนด์เด่นปี 2554 ได้แก่ มาม่า ซีพี เบียร์ช้าง เป็นต้น

ส้มธนาธร รู้จักดีเพราะมีการวางขายอยู่ทั่วไป แบรนด์ที่มาจากปริมาณและความถี่ เป็นแบรนด์ที่ไม่ต้องลงทุนโฆษณา แต่มาจากการวางขายเยอะๆและต้องเอาเรื่อง 3V Value added,Value creativity Value diversity มาใช้ด้วย

กล้วย ก็มีแบรนด์ แต่เป็นแบรนด์ของอเมริกา เช่น Dole เพราะไทยทำแบรนด์ไม่เป็น ซึ่งอยากให้กศน.ช่วยกระตุ้นความคิดในเรื่องนี้ เพราะเกษตรกรขาดความรู้ ขาดเงินทุน และขาดวิธีทำแบรนด์

กศน.ต้องช่วยเกษตรกรที่ต้องให้ความรู้ ร่วมกับหน่วยงานอื่น เช่น กรมทรัพย์สินทางปัญญาให้รู้จักจดลิขสิทธิ์

ตัวอย่างการพัฒนาแบรนด์ เรื่อง กล้วย เช่น การจัดประกวด การให้ความรู้ ขนมโก๋แก่ มีการจัดโชว์แสดงสินค้าไปต่างประเทศ จำนวนมากทำให้เป็นที่รู้จัก

ตัวอย่าง Value ต้องทำให้มีคุณค่า เป็นการสร้างโอกาสของการถูกสุขลักษณะและอนามัย ให้สร้างจากสิ่งที่ดี อย่าดึงจุดที่อ่อนมาเพราะจะทำให้คุณค่าเสีย

Thai Gap – Global Gap คือ ใบรับรองด้านคุณภาพสินค้าที่ถูกสุขภาพอนามัย ตั้งแต่กระบวนการแรกจนถึงกระบวนการสุดท้าย : ทำอย่างไรจึงจะให้ชาวสวนที่ปลูกผักของไทยคิดถึงเรื่องสุขภาพอนามัยกับสินค้าเกษตร

การสื่อสารที่ดีที่สุด คือ ปากต่อปาก

ตัวอย่างที่น่าสนใจของการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจของสายการบินต้นทุนต่ำ

- บินระยะสั้น

- สนามบินรอง ๆ

- ราคาถูกที่สุด เพราะใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

- ไม่เชื่อมต่อสายการบินอื่น เพราะจะทำให้ผูกพันสายการบินอื่น เกิดการผูกพันสามารถส่งผลเสียต่อธุรกิจได้

- พนักงานรายได้ดี เป็นการซื้อใจ เสมือนเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท

- ตัวอย่างเช่น สายการบิน South West ที่อเมริกา , Nok Air , Air Asia

ตัวอย่างเส้นทางชายสี่หมี่เกี้ยว

- จากรถเข็นธรรมดา สามารถมีถึง 2,000 สาขา

- มีเงินหมุน 3 ครั้ง

- ทำยอดจากคนขายไอติมสูงสุด ด้วยการใช้กลยุทธ์ทางการสมอง เช่นขายไอติม ใช้เสียง เข้าเร็ว ออกช้า หรือแกล้งรถเสีย

- ชัยชนะมาได้จากความฮึด อดทน สู้ไม่ถอย

- รายได้ที่ Set Up ไม่น้อยกว่าเขา

- กลยุทธ์ปากต่อปาก เส้นอร่อย รสชาติดี

- สร้างมาตรฐานจากการถามที่คนชอบมากินเป็นส่วนใหญ่

การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

- จุดแข็งคือ อาหาร เกษตร ท่องเที่ยว

- ความท้าทาย จุดอ่อนด้านภาษาอังกฤษ

- โอกาสมากมาย แต่ต้องตั้งหลัก Value

- GDP เรียงตามลำดับ ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย

- เงินเดือนเรียงตามลำดับ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย (มาเลเซียแต่ก่อนตามไทยทุกอย่าง แต่ปัจจันมาเลเซียแซงเราได้เพราะเราไม่ก้าวหน้า เราอยู่กับที่ จึงเสมือนถอยหลัง)

- อินโดฯ เริ่มแกร่ง เริ่มแข็งแกร่ง มีประชากรเป็นอันดับ 4 ของโลก

- ประเทศที่ควรจะลงทุนควรเลือกที่ลาว เพราะว่าเงินเดือนต่ำสุด ทรัพยากรสูงสุด ตามมาด้วยกัมพูชา

- ประเทศบรูไนอาจไม่เกี่ยวกับไทยในเรื่องค้าขาย

แบรนด์

- แบรนด์เกิดจากการเชื่อมั่นและต้องอยู่ในหัวเรา ไม่มีคำถาม

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

- อาเซียนแบ่งเป็น 3 แท่ง มีการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

- สร้างมาตรฐานคุณภาพสากล เป็นส่วนเรื่องการสร้างแบรนด์และการตลาดคุณภาพสู่สากล

- แบรนด์ไหนทำการตลาดก่อน ใครทำอะไรจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าวัตถุดิบไม่มีพรมแดนอีกต่อไป ต้องคิดว่าเมื่อของล้นตลาดแล้วคิดว่าจะไปทำอะไรต่อ

- ถ้าเกษตรกรขาดความรู้ เงินทุน การสร้างแบรนด์ กศน.จะช่วยทำอะไร

- สิ่งที่ ดร.สมบัติพูดคือเรื่องเกษตรที่เป็นระบบ

- Thai Gap ประกอบด้วยอะไรบ้าง

- มาตรฐานกับการสร้างแบรนด์ ต้องถามผู้บริโภคว่าพอใจหรือไม่

- แบรนด์เกิดจากการเชื่อมั่นและต้องอยู่ในหัวเรา ไม่มีคำถาม

- การจด GI (ลิขสิทธิ์) สามารถช่วยสร้างแบรนด์ได้ สร้างจากมาตรฐาน GI

- การมองวัตถุดิบจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ

- ตัวอย่างการเลี้ยงกุ้ง Lobster ในนาข้าว ใช้อาหารกุ้งกับมูลกุ้งเป็นปุ๋ย สามารถขจัดศัตรูต้นข้าว

- การใช้นาโยน ทำให้คนน้อยลง ไม่ใช้นาดำ

- คิดต่อยอด เช่นการนำยางพาราเอามาใช้ทำครีมหน้าเด้งได้

อ.ประสพสุข พ่วงสาคร

- ตัวอย่างมาม่า หรือแฟ้บ กลายเป็นตัว Represent ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

- ฝรั่งใหญ่ เวลาส่งออกนอกกลายเป็นตัวแทนของฝรั่งที่มาจากกรุงเทพไปแล้ว

- มะขามหวานเพชรบูรณ์ ให้ลองคิดให้ว่าสร้างมูลค่าอะไรได้มากกว่านี้ ลำไยอบแห้ง

- ทำอย่างไรให้ลำไยมี Zero Waste เช่น นำเมล็ดลำไยกลายเป็นลองกานอยด์

ทำราคาให้มีมูลค่าเพื่อให้ขายแล้วมีรายได้เพิ่มขึ้น

- สร้างความถี่ หาโอกาสที่ยังไม่มีคู่แข่งมากนัก เช่นบะหมี่เกาหลี

ปัญหาการผลิตสินค้าของไทย

- คือการรักษามาตรฐานในตัวคุณภาพ หรือสินค้าเอง มีปัญหา ตัวอย่าง ให้เราลองมองดูสินค้าที่มีแฟรนด์ชายส์ เวลาผลิตสินค้า Mass Production ไม่สามารถรักษาระดับมาตรฐานได้ อาจเป็นเพราะขาดวินัย ขาด GoodGovernance

ดร.สมบัติ ธีระตระกูลชัย

-สายธารแห่งมูลค่า

-CP ธุรกิจหลักคืออาหารสัตว์ ถ้าเป็นคุณภาพสูงอันดับหนึ่งของโลกต้องสนับสนุนให้ตัวกินเกิดขึ้น เมล็ดพันธ์การปลูกพืชครบวงจรเป็นสองสายธุรกิจ

-CPF เป็นหนึ่งในสายธุรกิจแต่เป็นบริษัทใหญ่ที่สุด CPAll ใหญ่เป็นที่สอง True ใหญ่เป็นอันดับสาม นอกนั้นเป็นพลาสติกเป็นอสังหาริมทรัพย์ การเงิน รถยนต์

- ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดมีไข่ ไก่ เป็ด หมู ปลา กุ้ง มีแค่ 6 ชนิด ภายใต้แบรนด์ ซี.พี. 5,000 – 6000 สาขา ขยายไปทั่วประเทศ มี Chester มากกว่า 200 สาขา และมี CP freshmark

- บริษัทมี 42 ประเทศทั่วโลก ความสำเร็จมาจาก ประธานธนินท์ เจียรวนนท์ และ ประธานอดิเรก ถ้ามองความสำเร็จให้มองความสำเร็จจากเบื้องบนสูงสุดที่ไปกันได้และไม่ขัดแย้งกัน

- โรงงานอาหารสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีฟาร์มที่ดี และที่มากเป็นตัวกิน ให้ทุกท่านเข้าใจว่าจะทำอะไรที่ดีสำเร็จต้องได้ต้นขั้วก่อน

- ปลาทับทิมตอนนี้เป็นสิทธิ์ของ ซี.พี. เกิดจากการผสมพันธ์ปลานิลให้ทนน้ำกร่อย ทนโลก โตเร็ว และในหลวงทรงพระราชทานนามว่าปลาทับทิม เป็นปลาทานง่าย เนื้อเยอะ โตเร็ว

- กุ้งขาว โตง่าย กินเร็ว

- หมูคุโรบุตะ

สรุปคือทำสายพันธุ์ ให้กินเก่ง โตเร็ว และไม่มีโรค

- ไก่เลี้ยงตาม Animal Welfare (สวัสดิภาพสัตว์) 1 คนเลี้ยงได้ 150,000 ตัว ข้างในมีอุณหภูมิอัตโนมัติ

- กุ้งเป็นโรงเรือนปิดแห่งแรกของโลก ใช้โพรไบโอติก คนไม่สามารถเข้าไปยุ่งได้ เป็นจุลินทรีย์ที่ดีไปกินขี้กุ้ง ไข่ 52 สัปดาห์ได้ 200 ฟองในอดีต เราเพิ่มด้วยประสิทธิภาพ ปริมาณ นวัตกรรมการเลี้ยง

- ทำแล้วต้องไม่หยุด ใช้วิจารณญาณในการบริโภคข่าว บริโภคสื่อ ต้องมีสติ มีวิจารณญาณว่าใช่หรือไม่

- การเติบโตเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าบริษัทอาหาร CPF ใหญ่เป็นอันดับที่ 29 ของโลก

GE

- สร้างกระบวนการเป็นวิธี ไม่มีจบสิ้น ทุกอย่างทำได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ทุกอย่างไม่มีขอบเขต ผู้บริหารทำแทนกันได้หมด

- คิดแล้วทำให้สำเร็จ ต้องเป็นผู้นำของสิ่งนั้น ๆ

CPF 3 ประโยชน์เพื่อความยั่งยืน

1. ประโยชน์ต่อประเทศ

2. ประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศ

ประเทศได้ ประชาชนได้ บริษัทจึงสามารถสร้างกำไรได้

ไทยส่วนใหญ่ทำเรื่องง่ายเป็นเรื่องยาก ต้องเปลี่ยนทำเรื่องยากเป็นเรื่องง่าย

CPG : Core Value

1. Speed & Quality

2. Adapt to change ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

3. มีคุณธรรม ซื่อสัตย์

4. กตัญญู ตอบแทนบุญคุณ พ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง เพื่อนรัก เพื่อนร่วมงาน

สรุปธุรกิจ ต้องมีต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ประกอบด้วยฟาร์ม อาหารสัตว์ ฝ่ายขาย

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่ CP เติบโตมาเกิดจาก

1. การเป็นผู้นำ เรื่องของเมล็ดพันธ์พืช คิดไกลกว่าคนอื่น

2. มาตรฐาน

3. ความต่อเนื่อง

ตัวอย่าง ของเกษตรกรเล็ก ๆ ที่คิดคล้าย CP มีความเป็นไปได้หรือไม่ ประสบความสำเร็จเพราะไปกำหนด Demand

ตัวอย่างของฟาร์มโชคชัย ที่พัฒนาจากกรณีที่เกือบจะเจ๊ง ทำอาหารสัตว์ วัว ควาย ม้า และไม่แข่งกับ CP ขายเป็นล่ำเป็นสัน เป็นกรณีคิดต่างๆ นมเปิดขายไอศกรีมแพง นมแพง ชื่อ Umm Milk

คำถาม

1. อ.สุรศักดิ์ ถามว่า ชื่นชม CP เราจะเห็นบริษัทไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศ ชื่นชมในการบริหารจัดการและวิสัยทัศน์ แต่สิ่งที่สงสัยคือความขาดแคลนของ CP , เรื่องเกษตรพันธสัญญา และ Contract Farming ทำให้เกษตรกรยากจนหรือไม่ กศน. ทำงานร่วมกับเกษตรกรเห็นความยากจน ความล่มสลายเหล่านี้ แล้วไม่ค่อยสบายใจ

และยังสงสัยเรื่องปลานิลอยู่ , ความเสี่ยงหรือความขาดทุนของเกษตรกรมีมาก เกษตรกรเสียเปรียบมาก จึงอยากถามแทนพวกเราทุกคน

สิ่งที่ CP แสดงความจริงใจในเกษตรกรรายย่อยมีอะไรบ้าง

สิ่งที่ CP ทำให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้

CP ใส่ ฮอร์โมนในอาหารหรือไม่

ดร.สมบัติ ธีระตระกูลชัย

คำตอบประเทศไทยมีเกษตรพันธสัญญา 600,000 ราย เป็นพืชสัตว์ทั้งหมด มีเกษตรกรที่ไม่เรียกพันธสัญญา แต่เรียก contract farming มีอยู่ 5,000 – 6,000 ราย มีเกษตรกรหลายรายที่หลุดพ้นหนี้จากการทำงานร่วมกับ CP

เรื่องการบังคับซื้ออาหาร ถ้าไม่ซื้อพันธ์ของเรา จะได้พันธ์ดีได้อย่างไร CP ไม่สามารถพูดถึงตรงนี้ได้เลยถ้า CP มั่ว สารที่กระตุ้นฮอร์โมน และเร่งเนื้อแดงใน CP ไม่มี

คำถาม เห็นว่าคุณภาพชีวิตเกษตรกรค่อนข้างย่ำแย่ ล้มเหลว อยากให้ CP แบ่งปัน Know how หรือองค์ความรู้ ผ่านกศน.เพื่อถ่ายทอดเกษตรกรให้มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น จะได้ประโยชน์อย่างไร

คำถาม รู้สึกประทับใจในวิทยากร มีกศน.ทุกพื้นที่อยากให้ท่านช่วยบริการถึงวิธีการ ค้นหา GI ของแต่ละพื้นที่ ทำอย่างไร ง่าย ๆ และมีแนวทางส่งเสริมแบรนด์ได้อย่างไร

คำตอบ คงไม่ใช่ธุรกิจ CP แต่เป็นที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ก.พาณิชย์ ให้การสนับสนุนอยู่ว่าจะไปจดทะเบียน GI ได้หรือไม่

ข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ ต่างประเทศเกือบลุกขึ้นค้าน กว่าจะได้สิทธิ์ค่อนข้างยาก ถ้าไม่ไปชนกับใคร ถ้าได้ GI เอามาสร้างฐานแล้วสร้างแบรนด์ ก็สามารถทำได้

Doleในอเมริกา เข้ามาขโมยแบรนด์และ Value ได้อย่างไร

ทุกอย่างต้องชัด มั่นคง และทุกอย่าง

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

การเป็น GI ในพื้นที่ ดู Product อะไรก่อนที่เด่น ๆ เช่นข้าวสามหยดที่พัทลุง

Dole กล้วย ถ้าเราไม่จด GI ก็มีคนมาขโมยแบรนด์เราแล้วจดเป็น Dole

ซอสพริกศรีราชา น่าจะมาจด GI เนื่องจากมีความเด่นในคุณภาพพริก

GI คือแหล่งผลิต และตัว Product สามารถดูแหล่งกำเนิด

คำถาม ผลิตภัณฑ์ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

คำตอบ ให้จดลิขสิทธิ์ใส่แบรนด์ ออกแบบโลโก้ ออกรายการวิทยุ รายการทีวี รายการหนี้แผ่นดิน

ในเชิงธุรกิจสร้างแบรนด์ง่าย แต่ GI ยากมากเพราะต้องไปสู้กับทั่วโลก

อยากให้ กศน. สร้างแบรนด์เหมือนเชลล์ชวนชิม เกษตรกรมีแบรนด์อะไรก็มาประทับตราที่กศน. จากคนที่สร้างแบรนด์ลำบาก ให้มาหาที่กศน.

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

Learning Forum – Activities & Game Simulations

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาทัศนคติสู่ความเป็นเลิศ

โดย รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

กิจกรรมที่ 1 แจกกระดาษเก็บไว้เป็นของลับของหวง และให้หาคู่ตัวเองให้เจอ ห้ามเปิดของลับให้เห็น

วัตถุประสงค์ เพื่อเรียนรู้การปรับกระบวนการเปลี่ยนแนวคิด

สิ่งที่เรียนรู้ ครั้งแรกที่หาคู่เหมือนจะไม่เจอเนื่องจากเรามีกรอบแนวคิดเดิมอยู่แล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ เราต้องเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแนวคิด คือ คิดนอกกรอบ

ลองคิดถึง Mindset ของประธานซี.พี. ว่าเขามี Mindset อย่างไร ธุรกิจถึงเป็นอย่างนั้น

- อดีตถ้าคิดถึง ซี.พี. จะคิดถึงไก่ แต่ปัจจุบันคิดถึง ซี.พี. คิดถึงครัว ซี.พี.

- กศน. มีโอกาสคิดนอกกรอบ ทำได้ง่ายกว่าวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ทำไมบทบาทกศน.ยิ่งใหญ่ เห็นคุณค่าของ กศน. วิกฤติประเทศไทย กศน.สามารถสร้างได้ ทำให้หายได้ ทำอย่างไร ถึงแม้อยู่ในระบบราชการก็มีวิธีการทำคุณภาพได้

กิจกรรมที่ 2 ให้คน 3 คนมาหน้าเวที คนหนึ่งเป็นอดีต คนหนึ่งเป็นปัจจุบัน คนหนึ่งเป็นอนาคต

ให้คนที่เป็นอดีตทับปัจจุบัน แล้วปัจจุบันจะรู้สึกอย่างไร

ให้คนที่เป็นอนาคตทับปัจจุบันอีกที แล้วจะรู้สึกอย่างไร

ถ้าปัจจุบันคิดถึงอดีตและอนาคตด้วยจะรู้สึกอะไร อึดอัด แต่ถ้าปล่อยอดีตและอนาคตไป จะรู้สึกโล่ง ดังนั้นสิ่งที่ กศน. ต้องทำคืออยู่กับปัจจุบัน ทำให้ดีที่สุด ถ้าเราอยากจะฝังสิ่งนี้ให้อยู่ใน DNA ของ กศน. ได้ คืออะไร

ถ้าอยากมีแบรนด์ ต้องหามุมดีให้เจอ ถ้าประกาศสิ่งที่ไม่ดี แบรนด์จะไม่เกิด

การสร้างแบรนด์

  • -แบรนด์คือสิ่งที่เกิดจากพวกเราหาอัตลักษณ์
  • -แบรนด์อาศัยเวลาในการสะสม ถ้าได้แล้วยั่งยืน
  • -แบรนด์มาพร้อมกับ Quality
  • -แบรนด์กับ GI อันไหนยั่งยืนกว่า
  • -ลิขสิทธิ์ คือความคิดแบบเก่าในเชิงการค้า
  • -ลิขสิทธิ์ เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความรวดเร็ว
  • -แบรนด์จะอยู่อย่างยั่งยืนและไม่มีใครสามารถขโมยได้ แต่ต้องหาให้เจอว่าตัวเราเด่นอะไรและจะประกาศอะไร เราต้องหาความแตกต่างให้ได้
  • -เราต้องหาความแตกต่างของเราที่จะสร้างแบรนด์ตัวเราเอง ต้องหาเอกลักษณ์ให้เจอที่คนอื่นไม่เหมือน
  • -มนุษย์มีการใช้พัฒนาการสี่ด้านคือ IQ EQ MQ SQ เป็นตัวฐานในการพัฒนาคน พัฒนาองค์กรเหมือนบัวสี่เหล่า บัวสี่เหล่าแบ่งโดยใช้ความสามารถของมนุษย์ออกมา
  • กิจกรรมที่ 3 วิเคราะห์ตนเองว่าเป็นประเภทใด
  • ต้องหาตนเองให้เจอและยอมรับว่าตนเองเป็นแบบนั้น

C นักทฤษฎี (ลักษณะคนเหนือ)

  • •ชัดเจน ถูกต้อง ตามกฎ มีเหตุผล ระมัดระวัง เป็นทางการมีหลักการ ยึดติดกับรายละเอียด ไม่ชอบเสี่ยง
  • D นักผจญภัย (ลักษณะคนใต้)
  • •กล้าตัดสินใจ เข้มแข็ง มุ่งมั่น ชอบการแข่งขัน มีข้อเรียกร้องสูง เป็นอิสระ มั่นใจในตัวเอง ดุดัน ผ่าซาก เอาตัวเองเป็นหลัก ใช้อำนาจ
  • S นักปฏิบัติ (ลักษณะคนกลาง)
  • •สงบนิ่ง ระมัดระวัง อดทน เป็นผู้ฟังที่ดีถ่อมตน เชื่อถือได้ ไม่รับแนวคิดใหม่ ไม่แสดงออก ดื้อเงียบ ไม่แสวงหาการเปลี่ยนแปลง
  • I นักกิจกรรม (ลักษณะคนตะวันออกเฉียงเหนือ)
  • •ชอบเข้าสังคม ช่างคุย เปิดเผย กระตือรือร้น มีพลัง ชักจูงใจผู้อื่น ร่าเริง โวยวายเสียงดัง ไม่ระมัดระวัง ตื่นเต้น รีบร้อน ไม่สนใจเรื่องเวลา

ตัวอย่างสถานการณ์ประเทศไทย

ในกรณีตัวอย่างปัญหาของประเทศไทย คนที่จะเข้ามาแก้ไขสถานการณ์ได้ ต้องมีคุณสมบัติทั้ง 4 อย่างต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์ และปรับตัว

ตัวอย่างคนกศน.

กศน. เป็นแบบไหนขึ้นอยู่กับจำนวน ของคนกศน.ที่มีประเภทไหนเยอะสุด

เช่น กศน. เป็น I มีลักษณะเอาตัวรอดอยู่ ต้องหาสถานการณ์ปัจจุบัน อดีตส่งผลปัจจุบัน ปัจจุบันส่งผลอนาคต คนดีคือคนที่มีโอกาสโกงและไม่โกงคือคนที่มีเหตุผล สติ และปัญญา

ถ้ากศน.เอาตัวรอด ก็ให้มีศรัทธา และให้มีเหตุมีผล

การทำแผน เวลาสร้างบ้านต้องมีแบบแปลน

เวลาเป็นหนี้ต้องมีแผน

Mindset สามารถเปลี่ยนแปลงได้

- ขึ้นอยู่กับระยะเวลา

-ขึ้นอยู่กับความคิดที่สะสมไว้มาเป็นการรวบยอด

-คือตัวกำหนดทุกอย่างภายใต้เงื่อนไข

- เป็นตัวกำหนดจุดตั้งต้น

- Mindset ต่างกับ Vision Mindset เป็นความคิดอยู่ในสมอง มีจินตนาการออกแบบเป็นสมองไว้แล้วปั้นมาเป็นเป้าหมายหรือ Goal หรือ Vision

กิจกรรมที่ 4 ลองคิดว่า กศน.น่าจะมี Mindset เป็นอย่างไร การบ้านให้แต่ละกลุ่มสร้าง Mindset ว่าองค์กร กศน.เป็นอย่างไร

- เป็นองค์กรแห่งความสุข

กิจกรรมที่ 5 การมี Mindset แล้วทำไมถึงไม่ทำ ประเด็นคือ Mindset ไม่ตรงตามคุณค่าที่เราอยากทำ ต้องตามคำถามให้เราพึงพอใจหมด Mindset จึงจะเกิด มีอะไรเป็นจุดเด่นมีคุณค่าของเรามั่ง

  • เราคิดว่าเราเองกับคนอื่นใครคิดว่าเห็นคุณค่าเราได้ดีกว่ากัน
  • คุณค่าออกมาด้วยวิธีไหน
  • ถ้าเราอยากเห็นคุณค่าของเราคนรอบข้างต้องบอก แต่เราจะเป็นคนแสดงออกมา
  • คุณค่าของกศน.
  • - กศน.เป็นที่พึ่งของประชาชน คิดอะไรไม่ออกบอก กศน.
  • - กศน.เป็นทางเลือกสู่การเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่
  • สิ่งที่ทำคือเอาคุณค่าไปสวมงานตรงนั้น ถ้าทำแล้วได้ประโยชน์ เราจะทำ แต่มีบางคนไม่ทำเพราะไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่ดีต้องเปลี่ยนที่ Mindset และระบบ
  • -ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อเปลี่ยนตัวเอง
  • -คนที่เมื่อมีการทำผิดแล้วสามารถซ่อนความผิดได้ จะกล้าทำของใหญ่ที่ผิดด้วย วิธีการคือ เริ่มแก้ของเล็ก ส่วนไปสู่ของใหญ่
  • -กศน.ต้องสร้างระบบให้ทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกัน เราต้องสร้าง Room ขึ้น ต้องทำของเล็กก่อนให้ Room คนดี ได้รับผลดี
  • -ทำงานสำเร็จเล็ก ๆ ต้องมีชมเชยให้สามารถทำสู่งานใหญ่ได้
  • -คนที่ประสบความสำเร็จได้ ความเพียรพยายามจะเป็นตัวผลักดันให้สำเร็จมากกว่าคนมีความสามารถ ดังนั้นคืออดทน อึด
  • -ถ้ามีโอกาสแล้วไอคิวไม่ดีคิดว่าประสบความสำเร็จหรือไม่

กระบวนการที่ประสบความสำเร็จไม่ยาก

สู้แล้วประสบความสำเร็จ

คนประเภทต่าง ๆ ทำอย่างไรถึงมีความสุข

  • 1.วันจันทร์หงุดหงิด วันศุกร์ดีใจ
  • 2.วันศุกร์หงอยเหงา วันจันทร์สดชื่น
  • 3.วันศุกร์มีสุข วันจันทร์สุขใหญ่

เราต้องหาคุณค่าให้เจอ ทำงานในสิ่งที่มีคุณค่าแล้วจะมีความสุข

คุณค่าคือเก่ง เชี่ยวชาญ ชำนาญ พรสวรรค์ ตัวเองต้องสร้างโอกาส

คุณค่าแท้ คือ คุณค่าที่ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เป็นของเป็นจริง และเป็นจริงเสมอ เช่น ความดีงาม จริงใจ ซื่อสัตย์ คุณค่าเทียม เช่น ความสวย ความดำ

สรุป สังเกตด่าคุณค่าแท้จะโผล่ที่ MQ ทุกตัว (คุณธรรม จริยธรรมเมื่อบังคับไม่ได้จึงมีกฎหมายมาเป็นตัวปกครอง) หาตัวเองให้เจอว่าคุณค่าแท้อยู่ที่ไหนแล้วมาสวมที่เราทำ ถ้าเราหาคุณค่าไม่เจอจะทำด้วยความยากลำบาก ถ้าเจ้านายสั่งให้เราสิ่งไม่ถนัด จะทำอย่างไร ถ้าเจอสิ่งไม่ดีหรือไม่ใช่เราต้องฝึกมอง 2 ด้านไม่ได้ ในความดีมีความไม่ดี ในความไม่ดีมีความดี ต้องรู้จักมองของสองสิ่งให้ได้ ต้องเปิดใจในการมองอะไรที่กว้างขึ้น และเห็นอีกมุมหนึ่งในการมองของไม่ดี สะท้อนให้เราไม่ทำลักษณะนั้น จะไม่เกิดเลยถ้าเราไม่เริ่มต้น ดังนั้น เมื่อเรียนเสร็จคอร์สนี้

สิ่งที่ต้องเริ่มต้นคือ ให้เริ่มต้นที่จะทำ อย่าไปเริ่มต้นทำของใหญ่ ให้ฝึกทำของเล็ก ๆ ให้สำเร็จก่อนแล้วใจจะมีกำลัง ทำปัจจุบันให้เป็นกรรมใหม่ เป็นอดีตในอนาคตแล้วจะดีขึ้นไปเรื่อย ๆ หลักการในการเดินไปข้างหน้าให้ใช้เหตุและผลเสมอ เหตุและผลยังไม่เหมือนกัน มีมนุษย์สัมพันธ์ ต้องเอาตัวรอด ไม่ผิดคุณธรรม

ลองคิดว่า ถ้าเจอเงิน 50,000 บาท แล้วอยู่ในระหว่างที่แม่ต้องหาหมอจะทำอย่างไรเอาเงินประกาศในโทรทัศน์หาเจ้าของเงิน แล้วประกาศเป็นลูกกตัญญูช่วยแม่

สรุป คือหาคุณค่าตัวเองให้เจอ ทำให้แตกต่าง ความสุข ความเบิกบานจะมา แต่ถ้าความสุข ความเบิกบานมาเราต้องรู้จักเรียนรู้แบ่งปัน เราจะมีความสุขในการให้ คนจะชื่นชม ความโชคดีจะหลั่งไหลมากขึ้น เราอย่าทะนงตัว ต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน ทำผิด แล้วให้อภัย เป็นกระบวนการที่ไม่ยาก แต่จะได้หรือไม่ได้อยู่ที่ตัวเริ่มต้น

เราจะเอาอะไรมาสู่ขั้นที่หนึ่งของเรา ลองมาเริ่มต้นแล้วจะแปลกใจขึ้น

กศน.มีส่วนผลักดันให้ Mindset ก้าวหน้าได้

การบ้าน

หา Mindset ของกศน.ว่าจะไปไหน

หา Mindset ของตัวเองให้ได้ว่าจะไปอย่างไร

ถ้า Mindset ไม่ลงตัว ให้ปรับ Mindset ของตัวเองแล้วชีวิตและความสุขมา การงานจะก้าวหน้า

วันที่ 29 ได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายในลักษณะของเครือข่ายพหุภาคี การสร้างแบรนด์เนม ภาวะผู้นำ

และการพัฒนาทัศนคติสู่ความเป็นเลิศ โดนใจในการสร้าง Mindset ทั้งของตนเองและองค์กร ที่จะนำไปสู่การเกิดนวัตกรรมการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จะนำองค์ความรู้ให้เกษตรกรไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณค่า

วันที่ 29 ได้รับความรู้ และนำไปประยุกต์ใช้

เรื่องของการสร้างแบรนด์สินค้าของชุมชน หรือสินค้าของตัวเองให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในสังคม

เรื่องการมีภาวะผู้นำ

วันที่ 29 มกราคม 2557
การสร้างและการบริหารเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน เพื่อสร้างคุณค่าให้ภาคการเกษตรแบบ 3 V

การมองความหลากหลายทางการเกษตร

บทบาททางการเกษตร
1.เราต้องกำหนดราคาสินค้าทางการเกษตรใหม่
2.เราต้องสร้างคุณค่าทางการเกษตร
3.การสร้างเครือข่าย
-เพิ่มอำนาจการต่อรอง
-การรวมกลุ่มการผลิต
-การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
-การแปรรูปเป็นการเพิ่มมูล
ยุทธศาสตร์การตลาดและการสร้างแบรนด์สำหรับสินค้าเกษตร

ยกแบรนด์เด่นปี 2554 ได้แก่ มาม่า ซีพี เบียร์ช้าง แบรนด์ที่มาจากปริมาณและความถี่ เป็นแบรนด์ที่ไม่ต้องลงทุนโฆษณา แต่มาจากการวางขายเยอะๆและต้องเอาเรื่อง 3V Value added,Value creativity Value diversity

Thai Gap – Global Gap คือ มาตรฐารการรับรองด้านคุณภาพสินค้าที่ถูกสุขภาพอนามัยกับสินค้าเกษตร

ประโยชน์ 3 อย่างสู่ความยั่งยืน
1.ประโยชน์ต่อประเทศชาติของตนเอง
2.ประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศที่ทำการผลิต
ซีพี ประสบความสำเร็จ คือ

1. Speed & Quality

2. Adapt to change ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

3. มีคุณธรรม ซื่อสัตย์

4. กตัญญู ตอบแทนบุญคุณ พ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง เพื่อนรัก เพื่อนร่วมงาน

กศน.อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 29 มกราคม ได้แนวคิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไปสู่ระดับโลก แต่ กศน.ไม่จำเป็นต้องเน้นสร้างสินค้าไปสู่ระดับโลก แต่ควรให้ความรู้ ดูแลเกษตรในครัวเรือน ช่วยกลุ่มเกษตรกรที่มีขนาดเล็กให้อยู่รอด ช่วยการเพิ่มมูลค่าสินค้า บริหารกลุ่มและเครื่อข่าย มีการสร้างแบรนด์ สร้างแนวคิด เพิ่มความรู้ เปิดโลกทัศน์ เพื่่อให้เกษตรกรมีภูมิต้านทาน มีเกราะป้องกันในการแข่งขันที่รุนแรงในยุคปัจจุบันได้

สำคัญที่ว่า กศน.ต้องลงมือจริง กล้าคิด กล้าทำ มีความคิดสร้างสรรค์ บริหารงานร่วมกับเครือข่าย มีความจริงใจ ให้ความเสมอภาคกับสมาชิกในกลุ่ม ให้เกียรติซึ่งกันและกัน คอยให้ความช่วยเหลือ ดูแลชุมชน ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วย

ได้แนวทางการสร้างแบรนของกศน ภายใต้สินค้าของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน และเรียนรู้วิธีการทำงานอย่างมีความสุขโดยการสร้างกรอบความคิดก่อนสำคัญอยู่ที่การเริ่มต้น

29/1/57

ภาษาพื้นบ้านเวียตนามสนุกดี

ม.แม่โจ้แหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรที่สมบูรณ์ มีการพัฒนาต่อเนื่องที่น่าเรียนรู้ กระบวนการ การบริหารที่น่าสนใจ

การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาด้านการเกษตร บนเงื่อนไขของข้อมูลความเป็นจริงในพื้นที่ชุมชน

การเพิ่มมูลค่าใหม่ผลผลิตทางการเกษตร ปัจจัยสำคัญด้านเวลา สถานที่ และรูปแบบ โดยอาศัยศักยภาพที่มีให้เต็มที่

ในโลกแห่งการแข่งขัน แบรนด์เป็นสิ่งสำคัญในการใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการสร้าง และขยายตลาด ซีพีเป็นตัวอย่างของการทำการค้าที่ประสบความสำเร็จในโลก มีกลยุทธ์ที่มีการพัฒนาการเปลียนแปลงอย่างเป็นระบบ

ความรู้ที่ได้มาทั้งหมดมหาศาล เป็นทุนทางปัญญา การจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต้องมีการคิดเชิงระบบ แต่ไม่ติดกรอบ การคิดนอกกรอบ Good will เป็นสิ่งสำคัญ

เรามุ่งแข่งขันกับอาเซียน มุ่งไปข่้างหน้า แต่จำเป็นต้องเหลี่ยวหลังว่าคนในชนบท ผู้ผลิตตัวจริงพึ่งพาตนเองได้หรือยัง มีอาวุธพร้อมรบในสนามรบทางเศรษฐศาสตร์เพียงไร ถ้าทำเพื่อขายให้ได้เงิน แต่ตนเองไม่มีอาหารที่ปลอดภัยเพื่อบริโภคก็คงไม่ใช่การพัฒนาที่ถูกต้อง

เจนจรี สร้อยประเสริฐ

ทีมวิชาการสรุปองค์ความรู้ได้ละเอียดและรวดเร็วมากเลยค่ะแต่ขออนุญาตแย้งในวิชาของรศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณีนะคะว่าลักษณะนักทฤษฎี(c)น่าจะเป็นคนภาคกลางส่วนนักปฏิบัติ(s)เป็นของคนภาคเหนือค่ะผู้เข้าอบรมท่านอื่นช่วยตรวจสอบด้วยนะคะว่าแย้งผิดหรือเปล่า

อำภรณ์ ช่างเกวียน

การสร้างและการบิหารเครือข่าย ในการดำเนินธุรกิจถ้ามีการแข่งขันโอกาสในการขาดทุนมีสูง การร่วมมือกันทางธุรกิจทึ่ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกันจะชนะด้วยกันทั้งคู่

การทำธุรกิจ สร้างbrandขอลตนเอง ประชาสัมพัธ์ให้เป็นที่รู้จัก ติดปากติดตลาด

ประโยชน้์ที่ได้รับจากโครงการ ได้หลักและกระบวนการคิดสู่การปฏิบัิติในการทำงานและรู่ช่องทางการประสานเครือข่ายในการพัฒนาการเกษตรกรสู่ประชาคมอาเซียน

สรุปวันที่29ม.ค.57

- เรียนรู้ภาษาอาเซียน(ภาษาเวียดนาม)

- เรียนรู้การสร้างและบริหารเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนเพื่อสร้างคุณค่าให้ภาคการเกษตรแบบ3v

- โดยได้รับกระบวนการในการสร้างคามร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนได้

- เรียนรู้ยุทธศาสตร์การตลาดและการสร้างแบรนด์สำหรับสินค้าเกษตร

- ได้รับกระบวนการตัวอย่างจาก cup

- เรียนรู้ภาวะผู้นำ และการพัฒนาทัศนคติสู่ความเป็นเลิศ

-ได้รับกระบวนการดังนี้ ความสำเร็จจะต้องมีกระบวนปารด้านนวัตกรรม. ความอดทน. ความสามารถ แต่ทั้งนี้จะต้องมีความคิดเริ่มต้นด้วย คุณค่า. แรงจูงใจ. จินตนาการ กลายเป็นmind. Set. เป้าหมายคาามสำเร็จ

ส่งสรุปการเรียนรู้ ค่ายผู้นำตันแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน สรุปการเรียนรรู้จากการอบรมได้ว่าการ

การนำหลักการ 2r 3v ไปใช้ต่อแนวทางการพ้ฒนาของเกษตรกรในระดับพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็นที่สามารกเข้าสู่อาเซียนได้อย่าง

มีประสิทธิภาพอ้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย....

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

Panel Discussion & Workshop

How to be the effective Trainer and your next step

: Innovative Projects for Sustainable Development.

Mindset ของกศน. เช่นการทำให้องค์กรมีความสุข พัฒนาคนให้มีความรู้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Mindset ของตนเอง เช่น ทำให้คนมีความสุข และทำงานให้ประชาชนเชื่อใจทำตามรอยพระยุคลบาท

รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

Mindset เกิดได้ต้อง Open Your mind ส่วนต่าง ๆ ไม่ได้สร้างเอาไว้ จุดสุดท้ายของปลายทางจะจบลงด้วยวิธีไหน สวยงามอย่างไร ต้องเห็นได้ชัด

สรุปคือ กศน. มีจุดตั้งต้น จุดเปิดคือ Mindset ได้ แต่ต้องไปวางจุดสุดท้ายจะจบอย่างไร การจบจุดสุดท้ายสวยงามและลงตัวคือการรวมพันธมิตรเป็นหนึ่งได้ แต่ประโยชน์ต้องเพื่อมหาชนและคนส่วนใหญ่ ถึงจบได้สวยงาม กศน.ต้องปรับ Mindset ไปที่การเคลื่อนคุณค่าให้เหมือนกัน แล้วเอาเครื่องมือมาปรับกับเป้าให้เคลื่อนไปอย่างเป็นประโยชน์ สร้างความสำเร็จจากผู้ให้และผลักดันเพื่อคนส่วนใหญ่ จะให้กศน.ก้าวหน้า

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Mindset ของ กศน. ไม่ยากเท่ากับ กฟผ. สำคัญที่สุดต้องมี Freedom

ประเด็นคือว่าเขาจะแนะนำคุณว่าการเรียนครั้งนี้ได้อะไร เสนอแนะว่าทำอะไรต่อ

อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

- อยากให้เริ่มจากทัศนคติก่อน ต้องเตรียมตัวที่ตัวเราก่อน ไม่ว่ามี Connection ดีแค่ไหน ถ้าไม่ปรับตัวเองก็ไม่น่าจะไปได้ ต้องแต่งตัวให้เขาชื่นชอบอย่างไร ทำอย่างไรให้สองวัฒนธรรมสามารถ Blend เข้าหากันได้ ต้องหาวิธีการ Break ice ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของเขาเป็นอย่างไร

- Mindset เราจะ Set Mind ของเราอย่างไร ต้องเรียนรู้ได้ เปลี่ยนแล้วเราต้องเดินหาเขา ไม่เช่นนั้นไม่สำเร็จได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ประเด็นของอาจารย์ณภัสวรรณ มีอยู่อันหนึ่ง ส่วนใหญ่ข้าราชการใช้ทฤษฎี Defensive มีกรอบ มีกล่อง ทำแล้วและต้องทำใหม่ ถ้าทำไม่สำเร็จ ก็จะเป็นปุ๋ยไปแล้วคนไม่รู้จัก ต้องเปลี่ยนทฤษฎีจาก Anything know เป็น Anything go ความดีไม่มีคนฆ่าทิ้ง

คุณวรวุฒิ โตมอญ

มาอยู่ที่กศน.เข้าใจหรือไม่ว่ามาเพื่ออะไร เรามีเป้าหมายเพื่ออะไร การเข้าสู่ AEC จะทำอะไร

การมาที่นี่เป็นเสมือนครู ก. แล้วต้องขยายผลเป็นครู ข.ต่อไป

ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์มีอะไรบ้างที่เกี่ยวเนื่องกับภารกิจและบทบาทกศน.

มีความคิดกระบวนการอะไรที่ต้องพัฒนา สิ่งที่ทำอยู่ที่เกี่ยวเนื่องกับบทบาทหน้าที่ของ กศน. ต้องมีการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ค้นหาความรู้ มีการพูดถึงเรื่องสื่อ พูดถึงเรื่องเครือข่าย Network ซึ่งสิ่งที่ให้เป็นเพียงหัวข้อที่วางไว้เพื่อให้กศน.เตรียมตัวกับอาเซียน

กศน.มีงบให้จังหวัดละ 2 ล้าน ให้ดูว่าต่อไปจะทำอะไรต่อ มีรูปแบบเดียวกันหรือไม่ โครงการเดียวกันหรือไม่

จะให้เครื่องมือสร้างรูปแบบเดียวกันของกศน. ส่งทาง Blog และให้ Keyword เป็นตัวอย่างให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของพื้นที่

กระบวนการพัฒนาแยกเป็น 2 ระดับ คือระดับวิเคราะห์ และขั้นการออกแบบโครงการใช้ทฤษฎี 3 Vของดร.จีระ เป็นเครื่องมือในการออกแบบพื้นที่ ขออนุญาตดร.จีระเพิ่ม V ตัวที่ 4 คือ Value Ethics เป็นการเพิ่มศิลธรรม จรรยาที่ดีของมนุษย์

อะไรคือประโยชน์ในความร่วมมือกันระหว่างในอาเซียน

Mr. Nguyen Duy Duc ผู้อำนวยการ สถาบันวิศวกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวแห่งเวียดนาม

ได้เคยมาที่เมืองไทยนานแล้วและได้หลายครั้ง คนไทยมีอัธยาศัยไมตรีดีและให้ความใกล้ชิดกับตัวเขาและครอบครัว คนไทยมีความขยันมาก มุ่งมั่น เห็นทำงานตั้งแต่เช้า คนไทยดีอยู่แล้ว จึงคิดว่าสามารถทำให้เกษตรของไทยกลับมาสู่การเป็นอันดับหนึ่งเหมือนเดิม

ทั้งเวียดนาม ทั้งอินโดฯ และอธิบดีจากลาว ใช้ Connection ที่อยู่ใกล้กันไป Visit เขาจะง่าย เวียดนามกับอินโดฯ เป็นประเทศที่น่าสำรวจต่อ เช่นอินโดฯ มีพลังงานและสมุนไพร ส่วนเวียดนามจะเด่นเรื่องการเกษตร อยากเชิญทุกคนไปเยี่ยมเวียดนามด้วย

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

ที่เรียนมานี่หลายวัน วันนี้เป็นวันสุดท้าย เราน่าจะย้อนไปดูโจทย์โดยเฉพาะท่านเลขาฯอยากให้การเรียนครั้งนี้เพื่ออะไร ท่านอยากให้เป็นผู้นำ มีทัศนคติ มองการณ์ไกล มีความพร้อมเข้าสู่อาเซียน มีธรรมะ มีการทำงานเป็นเครือข่าย และต้องการกลุ่มนี้เป็นต้นแบบเพื่อขยายสู่เกษตรกรไทย เป็นโจทย์ที่ต้องนำไปคิดว่าจะทำอะไรต่อ ทางหนึ่งเป็นการกระตุ้นศักยภาพจากภายในคือ Mindset หรือยุทธศาสตร์จาก ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ การกระตุ้นจากภายใน และภายนอกเช่นจากอาเซียน ให้ความรู้อย่างดีโดยไม่ได้กัก นับว่าเป็น Network ที่ต้องร่วมมือกันต่อไป

องคมนตรีอำพล ฯ พูดเรื่องเกษตรปราณีตใช้พื้นที่เท่าเดิมแต่มีผลิตผลเพิ่มขึ้นโดยใช้พื้นที่น้อย พัฒนาเกษตรกรเก่า สร้างเกษตรกรใหม่ พัฒนาผลผลิต

สิ่งที่ได้คือการกระตุ้นจากภายใน และความรู้จากภายนอก และ แนวคิด Learning how to learn สามารถใช้การเรียนรู้ร่วมกันได้ เอาวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องไปใช้ แล้วตัดสินใจว่าอะไรเป็นข้อมูลที่ดีที่สุด

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขยายผลต่ออาจให้แต่ละคนไปทำ Workshop เองอีก 50 คน เพื่อขยายผลต่อ จะทำอะไร ถ้าเป็นครูเชื่อมกับเกษตรกรและอาเซียนจะทำอย่างไร

Mr. Tiene Vannsouk

รองอธิบดีกรมพัฒนากสิกรรมและสหกรณ์ กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สปป.ลาว

ที่รู้คือสิ่งที่ไม่รู้ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ไม่รู้ มีหลายสิ่งที่ได้เรียนแล้วได้เป็นประโยชน์มากจากการอบรมครั้งนี้ แนวความคิดที่ดีที่ได้รับรู้ นำไปสู่พฤติกรรมจริง หมายถึงสิ่งใดที่มีประโยชน์และสิ่งใดที่ไม่มีประโยชน์ การนำผลประโยชน์ไปสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวในอาเซียน อย่างลาวก็มีหลายสิ่งที่ต้องพัฒนา ต้องอาศัยความร่วมมือในอาเซียนให้เข้มแข็งทุกด้าน อยากให้มีการต่อยอดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานลาว และไทย ขอแสดงความยินดี อวยพร และขอบคุณที่ให้ Vision ไปขยายสู่พฤติกรรมที่แท้จริง

อาจารย์ประสพสุข พ่วงสาคร

องค์ความรู้เรื่องเกษตร กศน. มีมากอยู่แล้ว ส่วนที่ให้ไปในวันที่ 2 และวันที่ 3 เป็นการให้ความรู้ และแนวคิด แต่สิ่งที่อยากให้เปลี่ยนแปลงคือถูกอิทธิพลอดีตครอบงำ จึงอยากให้ท่านเปลี่ยนกรอบเดิม ๆ เช่น บางครั้งให้ลองจินตนาการอะไรขึ้นมา ยังอยู่ในมุมเดิม เช่น รูปรถยนต์แบบเดิม พลังงานโซ่ล่าร์เซลล์ มีหลายครั้งที่ไม่คิดหลุดกรอบออกไป สิ่งที่อยากให้คิดคืออยากให้หลุดจาก Local ออกไปถึงระดับอาเซียนและระดับโลกให้ได้

ทำอย่างไรให้หลุดจากพันธการออกไปได้ สิ่งทั้งหลายเกิดจากใจ Mindset พยายามเปลี่ยนในใจลึก ๆ ก่อนเพื่อเป้าหมายอะไร นั้นเรียกว่า กศน.คือ Chang Agent เพื่อเปลี่ยนหมุดหมายไปสู่ Vision หรือเป้าหมาย ให้เรียนรู้ใหม่ ๆ ตลอดเวลา จะนำทุกท่านสู่การเปลี่ยนแปลง 3 V ให้ได้ และเป็นคนใหม่ The New กศน. แล้วเกษตรกรของไทยจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้นจากปัจจุบัน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทุนมนุษย์ ไฝ่รู้ ไปสู่ 3 V แต่อาจติดปัญหาที่องค์กร การเมือง แต่ปัญหาเหล่านี้ต้องแก้ อย่าง Maslow พูดว่าตายไปแล้วทิ้งอะไรไว้บ้าง

คุณชัยพร เหมะ

ประเด็นวันที่ 5 วันนี้เกิดประเด็นที่ท้าทาย คือเมื่อท่านออกจากห้องนี้ไปแล้วสิ่งที่ท่านได้จาก 4 วันมีอะไรบ้าง

ความท้าทายที่ 2 ท่านรู้จักคำว่าประสมประสาน ไม่ได้เอาอะไรมาผสมกันหมด ขนมชั้นถ้าซ้อนเป็นชั้น ๆ ไม่กลมกลืน

ประเด็นท้าทายของกศน.คือ Learn Share และ Care กับใครหรือไม่ ให้คิดเป็นองค์ประกอบอยู่ใน Mindset จะทำให้เดินออกอย่างผ่าเผย สามารถนำพาประเทศชาติไปได้ดี

อาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย

คุณวรวุฒิพูดถึง 3 เหลี่ยม V1 V2 V3 และเพิ่ม V4 อาจารย์จีระเดชขออยากให้เขียนว่าศีล สมาธิ ปัญญา สติ พระพุทธศาสนาสอนให้มีสติที่ดี อาจารย์จีระ สอนให้มีสติตลอดเวลาคือ V1 V2 V3

การปรับกระบวนทัศน์ หรือ Paradigm Shift ต้องมีทีมอีกทีมหนึ่งมองฉีกออกไป แต่ต้องอยู่ภายใต้การมีสติ

การพูดถึงมาตรฐานการตรวจสอบ การออกแบบให้เก็บไว้ในความทรงจำของกศน. แล้ว กศน.จะเป็นส่วนที่ทุกคนถามหา แล้วจะเป็นส่วนที่ทำให้ส่วนกลางของปิรามิดเต็ม

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

ถ้าเราทำจากนี้เป็นต้นไปข้าวที่เคยเป็นอันดับ 3 มาเป็นอันดับ 1 ทำได้อย่างไร ภาวะผู้นำที่อ.เฉลิมพล พูด คือเราสำเร็จได้ต้องมีแรงบันดาลใจ มีแรงจูงใจ มีปัญญา ต้องอดทน และนำสู่ความสำเร็จ

ถามว่ามีปัญญาได้อย่างไร ต้องตั้งคำถามให้เป็น

  • oถามเพื่อ Grow
  • oถามเพื่อหาความจริง
  • oถามเพื่อหาทางเลือก (option)
  • oต้องมี Will

เครื่องมืออีกอันหนึ่งคือสร้างเครือข่าย ต้องมีความเท่ากัน มีความเสมอภาค

ต้องมีทัศนคติในการช่วยเหลือคนอื่น รักคนอื่นให้เป็น ดูแลชุมชน ดูแลสิ่งแวดล้อม โครงการหลวงเป็นตัวอย่างที่ดีเรื่อง 3 V หรือ 4 V นำสิ่งที่เคยทำเป็นกระบวนการหรือเครื่องมือได้อย่างไร สิ่งสำคัญคือต้องเปลี่ยน Mindset ว่าเราทำได้ และทำได้ และทำได้ และจะเป็นที่หนึ่ง

รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

เราจะต้องเริ่มมองว่าสิ่งที่จะไปอยู่ข้างหน้ามีความท้าทายกับชีวิตเรา มีความมุ่งหวังไปสู่อนาคต กศน. เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย แต่เป็นการรวมพลังในอาเซียน เพราะฐานคือเกษตรกร โครงการนี้เป็นการพัฒนาผู้นำทางปัญญา เมื่อเห็นคุณค่ากศน. เป็นกลไกขับเคลื่อนประเทศ ทำงานแล้วได้บุญคือเป็นผู้แบ่งปันความรู้ ช่วยเหลือสังคม

ถ้าจะเดินต่อไปข้างหน้าจะเดินต่อไปอย่างไร คัดสรร Project ที่ดี

Spirit ต้องมาจากใจ

สิ่งที่ทำต้องง่าย เพราะ Learning จากห้องเรียน เอาสิ่งที่ต้องทำมา Renovate สิ่งที่ทำเป็นของดีได้ต้องไว

เวลาเริ่มให้เริ่มจากของที่เราเริ่มได้ และเมื่อทำสำเร็จจะมีพันธมิตรมาร่วมกัน ของที่ออกมาถ้าไม่สร้างความแตกต่างไม่สร้าง Surprise อย่าทำ คนเก่งอย่างกศน. ต้องทำอะไรที่เห็นการเปลี่ยนแปลงและใหญ่ได้ในอนาคต

มีความสุขกับการขับเคลื่อน แล้วพลิ้วไหวไปตามความเข้าใจ ใช้ธรรมชาติให้เป็นประโยชน์แล้ว Sustainable จะกลับมาสู่กศน. แล้วกศน.จะเป็นองค์กรที่ไม่มีใครลืม

โครงการนี้จะไปได้หรือไม่อยู่ที่การพัฒนาทุนมนุษย์ การพัฒนาตนเอง และการเลือกคนทำงานต่อ ทำคนเก่งไม่ต้องเยอะ แต่คนเก่งสามารถแพร่ขยายไปได้

ธรรมชาติของอาเซียนคือขอดูคนอื่นก่อน เมื่อคนอื่นเห็นจะทำตาม ให้สู้และท้าทาย แล้วสิ่งดี ๆ จะกลับมาหาทุกคนแล้วกศน.จะเจริญไม่หยุดยั้ง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อยากฝากเรื่อง Social Media ต่อเนื่อง อยากให้ทุกท่านมีเวลาคิดถึงโครงการนี้ เพื่อที่จะต่อยอด ให้หลุดจากสิ่งที่ไม่เคยเป็นมาเปลี่ยนแปลงใหม่ สรุปคือ ให้คิดถึง Project นี้ คิดว่าได้อะไรจากโครงการนี้ และจะทำอะไร และเมื่อทำสำเร็จแล้วจะได้อะไร สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องได้

1. Purpose of life

2. Meaning

3. Happiness

อยากให้รูระบบภายในให้ดีและหาทางออก

ทีมงานวิชาการ Chira Acadmy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

พิธีปิด และ Presentation

How to be the effective Trainer and your next step

: Innovative Projects for Sustainable Development.

กล่าวขอบคุณและสรุปโครงการ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้เข้ารับการอบรมมีความมุ่งมั่น อย่างดี Change ปรับกระบวนทัศน์ การเปลี่ยนสู่ 3 V (Value Added ,Valre

เห็นความมุ่งมั่น มิตรไมตรีจากประเทศเพื่อนบ้าน บางท่านอยู่ตลอด 5 วัน ได้มีการหารือย่างเข้มข้นในห้อง นอกห้องมีการหารือกับตัวแทนอาเซียนด้วย เรียกว่า Networking ให้ครูเป็นส่วนร่วมแลกเปลี่ยนและขับเคลื่อนต่อไป

สิ่งที่จะนำเสนอ

1. พลังงานทดแทนสินค้าเกษตร

2. สมุนไพรร่วมมือกับอาเซียน

3. ข้าวปลอดสารพิษและ ฟื้นฟู้ข้าวสู่อันดับหนึ่งของโลก

4. เกษตรปลอดสารพิษ

5.พัฒนาครูเพื่อพัฒนาเกษตรในอนาคต

หลักการคือปะทะกับความจริง ค้นหา กศน.กับเกษตรและเลือกประเด็นสู่ 3 V ให้ได้ เรียกว่าเป็นการเดินทางสู่ความท้าทาย ซึ่ง 102 คนต้องคิดต่อ เพราะกศน.ไม่ใช่แค่ สอนหนังสือหรือปรับหลักสูตร แต่อยากให้เน้นความรู้ ซึ่งนำความรู้ไปปฏิบัติให้ได้

หน้าที่ กศน.ต้องมีแนวร่วมไม่ว่าเกษตร ประชาชน ต่างประเทศ เน้นการทำงานที่เป็น Networking หรือ Strategic Partner ต่อไป

หวังว่าสิ่งที่เกิดใน 5 วันจะเป็นแรงบันดาลใจเพื่อความสำเร็จสู่กศน.ในอนาคตต่อไป

กลุ่มที่ 1ข้าวปลอดภัย

ความหมาย ข้าวที่ปราศจากสารปนเปื้อน เชื้อรา เศษวัชพืช ในอดีตข้าวหอมมะลิของไทยเป็นข้าวที่เชื่อถือได้ในเรื่องคุณภาพ แต่ปัจจุบันถูกจัดอันดับเป็นที่สาม น่าจะมีการพัฒนามูลค่า และเพิ่มคุณค่าให้อยู่ในอันดับ 1

1. คัดเลือกพื้นที่ และพันธุ์ข้าว

2. กลุ่มเป้าหมายผู้ผลิต

3. รู้จักผู้บริโภคในและอาเซียน

4. พันธมิตรในการวางแผน

ประเด็นที่ท้าทาย

1. การปรับเปลี่ยนทัศนคติสู่นาปลอดสารพิษ

2. กศน.มาเป็นส่วนช่วยประสาน

3. หาเทคโนโลยีที่เหมาะสม

สิ่งที่ต้องทำคือ อยากให้กศน.หาช่องทางในการขับเคลื่อนโครงการให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ

กลุ่มที่ 2 สมุนไพรลูกประคบ

  • oเป็นสมุนไพรเพื่อสร้างมูลค่า คุณค่า และความหลากหลาย
  • -วัตถุดิบ มีตะไคร้ ใบมะกรูด ฯลฯ
  • -คุณสมบัติ มีการ สร้างความเชื่อถือให้ผู้บริโภค มีความพอใจทั้งมาตรฐาน คุณภาพ ความเป็นเลิศ และ Benchmark
  • -กศน. จะมีบทบาทคือให้คนทำงาน และให้งานสำเร็จ
  • -ความสำเร็จ ให้เพียงพอต่อการตลาด มีความยั่งยืน ได้มาตรฐาน อ.ย. เพื่อสร้างคุณค่า มูลค่าเพิ่ม
  • -องค์ความรู้ ต้องศึกษาให้ลึก ให้การประชาสัมพันธ์ จากต้นน้ำ สู่ปลายน้ำ
  • -วิธีการใช้ ดูข้อห้าม ข้อควรระวัง วางตลาดในจุดที่สินค้าต้องการ
  • -การผลิต ทั้งแนวกว้าง และลึก
  • -มีการประเด็นในการบรรจุหีบห่อ
  • -สื่อ มีหลักสูตรกศน. ต้องพยายามทำองค์ความรู้ สื่อการสอน อบรม พาคีเครือข่าย อินเตอร์เน็ต
  • -อุปสรรค์ ความรู้เรื่องปัญหาอาเซียน รสนิยมของตลาด เป็นอย่างไร แต่ละพื้นที่ชอบอะไร ดูกฎหมายระหว่างประเทศ
  • -การใช้ภาษาสากล และอาเซียนบรรยายสรรพคุณ
  • -การขนส่งจะสำเร็จอย่างไร ขจัดปัญหาให้มากที่สุด
  • -เกษตรได้รับ 3 V อย่างไรจากการเพิ่มมูลค่าจะการสร้างมูลค่าสมุนไพรเล็ก ๆ
  • -สร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การแพคเกจจิ้ง
  • -เกษตรกรได้รับ 3 V จากสินค้ามีหลายรูปแบบ หลายความต้องการ อาจเป็นชาก็ได้
  • -การวางแผนการตลาดตรงตามกลุ่มเป้าหมายและตอบสนองที่หลากหลาย
  • -ความร่วมมือ กศน. องค์กรของดร.จีระร่วมให้ความรู้ เกษตรกร ภาคีเครือข่าย
  • -การทำงานร่วมกัน ใช้ข้อมูลที่หลากหลาย เกษตรอินทรีย์ การดูงาน การเผยแพร่ ความร่วมมือกับเครือข่ายธุรกิจ มีเป้าหมาย มีความจริงใจในอนาคต
  • -แนวทางที่จะนำมาใช้ ปรับปรุงรูปแบบให้น่าสนใจในอนาคต ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ ใช้เทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าใช้ประโยชน์ทางเลือก

กลุ่มที่ 3 โครงการสร้างจิตสำนึกเกษตรปลอดสารพิษโดย NFE

ปัจจุบันปัญหาเกษตรกรจำนวนมาก จึงขอใช้หลักอริยสัจสี่ ในการแก้ปัญหา

ทุกข์ของเกษตรกรแก้ปัญหาไม่ได้

สมุทัย สาเหตุ ไม่รู้ ขาดจิตสำนึก

นิโรธ การแก้ปัญหา ใช้สารเคมีตามเกณฑ์ เรียนรู้เรื่องสุขภาพ ส่งเสริมความรู้ที่ถูกต้อง สร้างจิตสำนึกที่ดี มรรค การปรับแนวคิดการใช้สารเคมี การเรียนรู้เรื่องปุ๋ย และยา การใช้เทคโนโลยี การสร้างจิตสำนึกยั่งยืน

การผลักดันให้มีมาตรฐาน

การสร้างจิตสำนึกเกษตรปลอดสารพิษโดย กศน.

การคิดสู่เป้าหมาย คือการสร้างมูลค่าเพิ่ม ตามแนว 3 V สร้างสินค้าให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ในระดับสากล สร้างเครือข่ายเพิ่มเติม

ปัญหาเรื่องการตลาด คุณภาพ งบประมาณ

การแก้ รวมพันธมิตรเป็นหนึ่ง เพื่อทำงานเพื่อเป้าหมาย

สิ่งที่จะทำ

1. สร้างเนื้อหาหลักสูตรวิชาที่เลือก

2. จัดกระบวนการเรียนรู้ให้เกษตรกร

3. สร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเกษตรกร

กลุ่มที่ 4 โครงการพัฒนาครูทางกศน.เพื่อส่งเสริมทางการเกษตร

ขยายเครือข่ายเกษตรธรรมชาติไปหลายอำเภอเนื่องจากมีทุนและองค์ความรู้อยู่แล้ว ทำอย่างไรถึงผลิตผักแล้วได้เงิน เกษตรกรต้องเพิ่มมูลค่าในเรื่องผลผลิตของเรา มูลค่าเรื่องมาตรฐาน การขนส่งไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีคุณภาพ จะแปรรูปให้มีความหลากหลายในการจำหน่ายได้อย่างไร

เราต้องพัฒนาครู กศน.ของเรา พัฒนาครูให้มีองค์ความรู้ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิต วิธีการคือ ต้องคำนึงถึงต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ คัดกรองครู ใครมีศักยภาพและฉายแวว เกษตรกรต้องมีศักยภาพและต่อเนื่อง ต้องนำครูไปถ่ายทอดได้ เกษตรกรต้องมีความรู้และพัฒนาไปสู่เป้าหมายได้

การทำงานร่วมกับเครือข่าย มีมากมาย เพียงแต่ไม่นำเครือข่ายมาร่วมขับเคลื่อนในการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อนำสู่เครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ สิ่งสำคัญคือการพัฒนาบุคคากรเพื่อขับเคลื่อนเกษตรกรสู่อาเซียนอย่างสง่างาม

กลุ่มที่ 5 การใช้พลังงานทางเลือกเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิตเพื่อก้าวสู่อาเซียน

แรงจูงใจคือพลังงานบนโลกบนดินสูญหายไป หรือลดน้อยลงทุกที เราต้องใช้พลังงานการผลิตที่มีต้นทุนสูง

พลังงานทางเลือก พลังงานชีวมวล แกลบ วัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ

ความร่วมมือกับตปท. กระทรวงพลังงานและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายตปท. ในประเทศ ศูนย์วิทยาศาสตร์การศึกษา วิธีการดำเนินการ สร้างคนมีความสำนึก ตระหนัก มีครูกระจายอยู่ทั่วทุกแห่ง เกษตรกรได้รับการซึมซับ

ระดับอาเซียน เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีที่ปรึกษา ใช้สื่อ SocialMedia ในการเรียนรู้ร่วมกัน มีองคาพยพ มีกศน.ตำบล มีครู กศน.กระจายทุกพื้นที่ ถ้าเลขาธิการฯ ให้ความสนใจจะได้รับอานิสงส์แน่นอน

การสร้างแบรนด์ ทำให้ผู้คนและนานาประเทศรู้จัก ถ้าเริ่มต้นให้พาเกษตรกรไปสู่การใช้พลังงานทดแทนจะทำให้กศน.เป็นที่ยอมรับมากขึ้น

แสดงความคิดเห็น โดย

นายประเสริฐ บุญเรืองเลขาธิการสำนักงาน กศน.

กลุ่ม 1 เรื่องข้าวปลอดภัย หัวข้อดี แต่อยากให้เพิ่มคือเรื่องความคุ้มค่า ต้องมีการวิจัยชัดเจนว่าสิ่งใดคุ้มค่าเท่าไหร่ ในการดำเนินตามพื้นที่ตรงนี้น

เรื่อง แบรนด์เนม ตัวอย่าง เซเว่น ซี.พี.ผลิตข้าวหลังจากผลิตเอามาทำกันบูด กศน. อยากให้มองว่าเราช่วยบอกพี่น้องได้หรือไม่ อยากให้มองเรื่องข้าวปลอดภัยเหมือนกัน เน้นว่าปลอดภัยอย่างไร ต้องทำอย่างไรถึงมีแบรนด์เนมชัดเจนว่าแบบไหน ทำอย่างไรถึงปลอดภัย

สิ่งที่การดำเนินการทุกวันนี้ ปีละ 1,000 กว่าล้าน แต่ด้านการเกษตรที่ส่งเสริมคน เรามีแบรนด์เนมเพื่อการรับรู้หรือไม่ อยากให้ทุกท่านคิดเรื่อง Packing หรือรูปแบบการจำหน่าย

ตราต้องเข้าสู่สังคมได้ ต้องเข้าสู่ประเทศได้

กลุ่ม 2 สมุนไพรลูกประคบ

เวลาดมพิมเสนนาน ๆ และการบูรแล้วปลอดภัยหรือไม่ ก่อนมีลูกประคบใส่พิมเสนใส่การบูรเข้าไป การนำอะไรแล้วแต่ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนทำอะไรเรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญ

การสร้างแบรนด์เนม ถ้าเป็นไปได้ต้องมี อ.ย.ด้วย

ให้ดูผลกระทบที่เกิดขึ้นมีจริงหรือไม่

กลุ่ม 3 จิตสำนึกในการผลิตเกษตรปลอดสารพิษ

ชื่นชม ต้องสร้างจิตสำนึกของผู้ผลิตเพื่อปลอดสารพิษ ตัวอย่างแตงโม ตัวผู้ผลิตเองยังไม่กล้ากิน

ทำอย่างไร สร้างจิตสำนึกไม่ให้เกิด

เรื่องสารเคมี ต้องดูให้ดี

กลุ่มที่ 4 โครงการพัฒนาครูทางกศน.เพื่อส่งเสริมทางการเกษตร

คน กศน.ต้องเข้าใจรูปแบบเพราะอยู่กับพี่น้องที่ด้อยโอกาส ต้องเข้าใจรูปแบบที่จะไปพัฒนากลุ่มเกษตรกร

อยากให้เน้นการศึกษาตลอดชีวิต ไม่ว่าน้ำท่วมไฟไหม้ หมอกควัน เป็นการส่งเสริมให้พี่น้องอยู่อย่างมีความสุขตลอดชีวิต ให้มองภาพรวมของ กศน.ว่าจะเดินไปอย่างไร

กลุ่มที่ 5 การใช้พลังงานทางเลือกเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิตเพื่อก้าวสู่อาเซียน

วัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ เป็นพลังงานทดแทน

เรื่องสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทนเป็นสิ่งที่ดี เมื่อมีพลังงานทดแทนปัญหาสิ่งแวดล้อมจะเกิด ดังนั้นจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาจากการใช้พลังงานทดแทน

ฺBrandname กศน.

ทีมงานวิชาการ Chiraacademy

เรียนทุกท่าน

รูปภาพบรรยากาศในวันที่ 30 มกราคม 2557

สามารถไปCopy ได้ที่ Fanpage: https://www.facebook.com/nfeleadercamp

ในอัลบั้ม NFE Leader Camp รุ่นที่ 1 ได้เลยคะ

ขอบคุณคะ

หลังจากอบรมแล้ว วันนี้มานั่งทบทวนองค์ความรู้ที่ได้รับ แล้วจะทำอะไรต่อไป ตอนนี้เรารู้และเข้าใจคนเดียว สิ่งแรกน่าจะขยายผลให้คนอื่นที่จะทำงานร่วมกับเรา รู้ใกล้เคียงเหมือนที่เรารู้จะได้มีแนวร่วมในการทำงาน โดยให้ผสมผสานกับงานที่เราทำอยู่เดิมแล้ว สิ่งแรกที่จะดำเนินการคือสร้างความเข้าใจให้เพื่อนร่วมงานและเครือข่าย วันที่ 4 กุมภาพันธ์นี้ สำนักงานกศน. กำแพงเพชรได้รับเป็นเจ้าภาพจิบกาแฟแชร์ความรู้ ที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดจะเวียนให้ส่วนราชการหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพแลกเปลี่ยนความรู้ในการทำงานระหว่างกัน จึงจะใช้โอกาสนี้จัดเสวนา หน่วยงานแต่ละหน่วยงานมีแนวทางพัฒนาเกษตรไทยสู่อาเซียนอย่างไรบ้าง จะได้รู้ว่าแต่ละหน่วยเขามีโครงการอะไรบ้าง รู้เขา รู้เรา คงได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่จะทำงานร่วมกันและมีเครือข่ายการทำงานต่อไป

ถึงลูกศิษย์กศน.ทุกท่าน

เกือบ 1 อาทิตย์แล้วนะครับที่ไม่ได้พบกัน ผมประทับใจในความสนใจและความสามารถโดยเฉพาะวันสุดท้ายที่ได้นำเสนอโครงการทั้ง 5 กลุ่ม

งานต่อไปต้องนำเอางานของแต่ละกลุ่มไปเชื่อมต่อและเชื่อมโยงกับASEAN ซึ่งขณะนี้ผมกำลังวางแผนกศน.กลุ่ม 2 อยู่ด้วยเช่นกัน

ขอความกรุณาให้แต่ละกลุ่มทำการบ้าน และส่งเข้า Blog ภายใน 7 วันดังนี้

กลุ่มที่ 1 หลังจากที่ได้ฟังวิทยากรจากประเทศลาวบรรยายให้สรุปว่าประเทศไทยและประเทศลาวมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงทางด้านเกษตรกันอย่างไร

กลุ่มที่ 2 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและอินโดนีเซีย และสรุปสถานการณ์ภาคการเกษตรของประเทศอินโดนีเซีย

กลุ่มที่ 3 ศึกษาด้านภาคการเกษตร และความร่วมมือกับประเทศพม่า

กลุ่มที่ 4 ศึกษาด้านภาคการเกษตร และความร่วมมือกับประเทศกัมพูชา

กลุ่มที่ 5 ศึกษาด้านภาคการเกษตร และความร่วมมือกับประเทศสิงค์โปร์

ยุพิน บัวคอม กลุ่มที่ 1

สรุปประเทศไทยและประเทศลาวมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงทางด้านการเกษตรอย่างไร

ประเทศไทยและประเทศลาวมีพื้นที่ติดต่อกันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมีความคล้ายคลึงกันทางด้านประเพณีวัฒนธรรมและภาษาจึงทำให้สามารถสื่อสารกันได้ง่ายมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ถ้ามองด้านการเกษตรประเทศลาวมีพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรที่ยังมีน้อย ประชากราส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ยังเป็นการผลิตแบบดั้งเดิมทำให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ เน้นการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก แต่ลาวมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมาก ถ้าประเทศไทยและประเทศลาวร่วมมือวางแผนการทำการเกษตรเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันในด้านการเกษตรและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ควรดำเนินการดังนี้

1. พัฒนาคน โดยพัฒนาเกษตรให้มีคุณภาพ มีจิตวิญญาณของเกษตรกร เน้นการทำการเกษตรแบบประณีต ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ประเทศเทศไทยต้องช่วยเหลือด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรทั้งสองประเทศ เช่น การศึกษาดูงาน ที่สำคัญต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง

2. พัฒนาผลผลิต ร่วมมือกันพัฒนาการเกษตรให้ได้ผลผลิตสูง การวางแผนใช้พื้นที่ในการผลิตร่วมกัน การใช้เทคโนโลยี การแปรรูปผลผลิต การพัฒนาเมล็ดพันธ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และเกษตรปลอดภัย การผลิตที่คำนึงถึงผู้บริโภค เน้น Food safety การวางแผนการผลิตอาหาร พัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร และมี supply chain manament ร่วมกัน ฯลฯ

3. พัฒนาเทคโนโลยี ประเทศไทยให้ความช่วยเหลือด้านองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี การวิจัย ที่ประเทศไทยทันสมัยกว่าประเทศลาว โดยมีศูนย์ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการเกษตรระหว่างสองประเทศ

4. พัฒนาตลาดการเกษตร บูรณาการความร่วมมือทั้งระบบการขนส่งสินค้าเกษตร พัฒนาระบบสหกรณ์เพื่อให้เกษตรกรได้รับส่วนแบ่งที่เป็นธรรม มีการเชื่อมโยงตลาดให้เป็นตลาดเดียวกัน

เรียนทุกท่าน

อย่าพลาดชมรายการ สู่..ประชาคมอาเซียน

ตอน : กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน

ออกอากาศทาง NBT

ศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 (เวลา 13.05-13.30น.)

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ

http://www.youtube.com/watch?v=sEuV1buV9Bc&feature...

รายการสู่ประชาคมอาเซียน ตอน กศน.เพื่อการพัฒนาเกษตรไทยสู่อาเซียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท