SCG ผู้ที่สร้างบารมีอย่างมีความสุข...


ถ้าเราทำสิ่งใด ๆ เพื่อเป็น "การให้" ไม่ว่าจะทำอะไร การกระทำเหล่านั้นจะเต็มเปี่ยมด้วยความสุข

การให้เป็นสิ่งที่ยิ่งให้ ผู้ที่ "ให้" ได้ คือผู้ซึ่งมีจิตใจที่งดงาม

ไม่ว่าทำสิ่งใด ถ้าเราทำไปโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน การกระทำเหล่านั้นจะไม่เผาเรา เพราะถ้าเราทำไปด้วยความอยาก "อยากได้ อยากมี อยากเป็น" ความอยากเหล่านั้นนั่นเองจะเผาเราทั้งเป็น ยังไม่ตายก็ถูกเผาแล้ว

การให้จึงเปรียบเสมือนน้ำทิพย์ที่ชะโลมจิตใจให้สดใสและชุ่มเย็น

ชีวิตเราต้องอยู่กับการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานภายนอกหรืองานภายใน ถ้าจิตใจของเราเป็นผู้ให้การทำงานทั้งหลายย่อมมีความสุข

ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งให้ยิ่งสดใส ยิ่งให้ยิ่งกวาดสิ่งเศร้าหมองออกจากใจทำให้หัวใจใสสะอาดและบริสุทธิ์

สังคมเราดีแน่นะ ถ้าหัวใจของทุกคนนั้นเป็นผู้ให้ 

เราทำงานทุกอย่าง เราต้องตั้งใจทำให้เต็มที่ ทำงานด้วยความดีและความเสียสละ

เสียสละละความขี้เกียจขี้คร้านออกจากจิตจากใจ เสียสละอัตตาตัวตนออกไป การงานทั้งหลายเหล่านั้นจึงเป็นความสุข

สุขที่ได้ให้ สุขที่ได้ทำงาน สุขจากเจ้านาย เพื่อนฝูง ลูกน้องพ้องบริวารเป็นคนดี

ชีวิตนี้คือความสุข ถ้าเราไม่มีอาการสะดุดทางจิตใจ

การทำงานเพื่อเอา ทั้งเอาเงินเอาสตางค์ เอาลาภยศสรรเสริญ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงย่อมเป็นสิ่งกีดขวางทางจิตใจ

เราทั้งหลายพึงมาเป็นผู้ให้ ชำระล้างสิ่งเศร้าหมองในจิตใจเพื่อให้ชีวิตนี้ราบรื่นและสวยงาม...

----------------------------------------------------

 

บุคลากรบริษัท SCG (siam cement group)

ได้มีศรัทธามาประพฤติปฏิบัติธรรมสร้างความดี สร้างบารมี อบรมบ่มอินทรีย์ เพื่อเป็นคนดีของสังคม...

หมายเลขบันทึก: 559628เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2014 06:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2014 06:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)


บารมี
(บาลี: pāramī; สันสกฤต: pāramitā) ปฏิปทาอันยวดยิ่ง คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น พระพุทธเจ้า พระอสีติมหาสาวก เป็นต้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ทศบารมี ๑๐ ประการ

ทศบารมี ๑๐ ประการ ได้แก่ ทานบารมี, ศีลบารมี, เนกขัมมบารมี, ปัญญา บารมี, วิริยบารมี, ขันติบารมี, สัจจบารมี, อธิษฐานบารมี, เมตตาบารมี, อุเบกขาบารมี เป็นบารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญมาอย่างยิ่งยวด จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเป็น ๓ ขั้น ตั้งแต่อย่างธรรมดา เรียกว่า "บารมี" อย่างกลาง เรียกว่า "อุปบารมี" จนถึงอย่างละเอียด เรียกว่า "ปรมัตถบารมี"

ในระดับ"บารมี" ทรงบำเพ็ญเพื่อพระโพธิญาณ โดยไม่คำนึงถึงทรัพย์สมบัติ ยศฐาบรรดาศักดิ์ และคนที่พระองค์รัก ทรงหวงแหนพระโพธิญาณยิ่งกว่าหวงแหนคนรักและทรัพย์สมบัติ จึงสละได้แม้กระทั่งคนรักและทรัพย์สมบัติ

ในระดับ "อุปบารมี" ทรงบำเพ็ญบารมีเพื่อพระโพธิญาณ โดยไม่คำนึงถึงอวัยวะร่างกาย ทรงหวงแหนพระโพธิญาณยิ่งกว่าหวงแหนอวัยวะร่างกาย จึงสละได้แม้กระทั่งอวัยวะร่างกาย

ในระดับ "ปรมัตถบารมี" ทรงบำเพ็ญบารมีเพื่อพระโพธิญาณ โดยไม่คำนึงถึงชีวิต ทรงหวงแหนพระโพธิญาณยิ่งกว่าหวงแหนชีวิต จึงสละได้แม้กระทั่งชีวิต

ทศบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ทรงบำเพ็ญละเอียดขึ้นไปตามลำดับ ตั้งแต่บารมีอย่างธรรมดา อย่างกลาง ไปจนถึงอย่างละเอียดที่สุด รวมเป็น ๓๐ บารมี

ที่มา : จริยธรรม.com

http://www.jariyatam.com/ten-fo-buddha/59-2009-06-21-02-06-12

เข้ากับสถานการณพอดี คงต้องเสียสละต่อไปสิเรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท