ข้าวปั้น(ซูชิ) ปลอดภัยแค่ไหน


เราๆ ท่านๆ คงจะทราบกันดีว่า ข้าวเหนียวมักจะติดมือได้ง่าย เรื่องนี้มีวิธีป้องกันง่ายๆ คือ ให้เริ่มด้วยการกินอาหารมัน เช่น หมูทอด ฯลฯ เสียก่อน หลังจากนั้นข้าวเหนียวมักจะไม่ติดมือ

เราๆ ท่านๆ คงจะทราบกันดีว่า ข้าวเหนียวมักจะติดมือได้ง่าย เรื่องนี้มีวิธีป้องกันง่ายๆ คือ ให้เริ่มด้วยการกินอาหารมัน เช่น หมูทอด ฯลฯ เสียก่อน หลังจากนั้นข้าวเหนียวมักจะไม่ติดมือ

ข้าวปั้นญี่ปุ่นก็คงคล้ายกัน... เวลาปั้นต้องใช้น้ำลูกฝ่ามือกันข้าวติดมือ การใช้มือปั้นข้าวคราวละนานๆ อาจเสี่ยงต่อการทำให้อาหารมีเชื้อโรคปนเปื้อน

         

สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัยทำการสำรวจข้าวปั้น 5 แห่ง โดยการตรวจหาจำนวนเชื้อโรคอาหารเป็นพิษที่พบบ่อย 2 อย่างได้แก่ บาซิลลัส ซีเรียส และสแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส

เชื้อทั้งสองอย่างนี้ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้ทั้งคู่ ทว่า... เจ้าสแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียสร้ายกว่า เพราะสร้างสารพิษที่ทนความร้อนได้

การอุ่นอาหารให้ร้อนภายหลังจึงป้องกันโรคอาหารเป็นพิษได้น้อยกว่าสุขอนามัยในการเตรียม และเก็บอาหารผลการสำรวจพบมีเชื้อโรคอาหารเป็นพิษปนเปื้อนดังตาราง (ตารางที่ 1)

มาตรฐานกำหนดให้จำนวนเชื้อที่ตรวจด้วยการเพาะเชื้อต้องไม่เกิน 100 กลุ่ม (colony) ต่ออาหาร 1 กรัม

    ตารางที่ 1: แสดงจำนวนเชื้อโรคอาหารเป็นพิษในข้าวปั้น

ข้าวปั้นยี่ห้อ บาซิลลัส ซีเรียส สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส
1 0 80
2 620 0
3 660 0
4 10 0
5 0 0

จากตารางจะเห็นว่า ข้าวปั้นมีเชื้อโรคอาหารเป็นพิษปนเปื้อนมากถึง 2 ใน 5 ตัวอย่าง

การล้างมือด้วยสบู่ การใช้ภาชนะที่สะอาด รวมทั้งน้ำลูบมือ(สำหรับการปั้นข้าว)ก็ต้องสะอาดจริงด้วย จึงจะได้ข้าวปั้นอนามัย

เราๆ ท่านๆ ที่ชอบข้าวปั้นญี่ปุ่น(ซูชิ)คงจะต้องระวังไว้บ้าง ซื้อแล้วควรกินทันที ไม่ควรทิ้งไว้นาน เพราะเชื้อยังคงโตต่อไปได้อีก

หรือจะหันมากินข้าวเหนียว... พร้อมกับข้าวแบบไทย อีสาน หรือลาวแทนก็จะยิ่งดีใหญ่ อย่าลืมแช่ผัก ล้างผักให้สะอาดก่อนแซบทุกครั้งนะครับ

    แหล่งที่มา:                                      

  • ขอขอบพระคุณ > จุลินทรีย์ที่มากับ_.. ข้าวปั้น. ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย. ไทยรัฐ ๒๗ ตุลาคม ๔๙. หน้า ๗. // www.nfi.or.th & http://foodsafety.nfi.or.th
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT + โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > ๒๕ ตุลาคม ๔๙.
หมายเลขบันทึก: 55951เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2006 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

 Hungry เรียนท่านอาจารย์หมอวัลลัภ

 ข้าวเหนียวหมูปิ้ง สุดยอดครับ

 แต่ไม่ทราบว่า หมูปิ้งปนเปื้อนแมลงวันหรือไม่ครับ





ขอแสดงความเคารพท่านอาจารย์ JJ และท่านผู้อ่าน+ลปรร.ทุกท่าน...

  • เรื่องข้าวเหนียวหมูปิ้งจะปนเปื้อนหรือเปล่า > ไม่ทราบครับ
  • ที่ทราบคือ อร่อย + อุดหนุนคนไทยด้วยกันไว้ก่อนน่าจะดี
  • เรียน  อาจารย์หมอที่เคารพค่ะ
  • แม่ค้าแถวบ้านของดิฉันมักจะหุงข้าวสุก หรือข้าวเหนียวใส่ในกระติกใบโตที่ชาวบ้านเขาใช้ใส่น้ำแข็ง....แม่ค้าบอกว่าเก็บความร้อนได้ดี
  • แต่ไม่ดีต่อคนรับประทานใช่ไหมคะ...เพราะเห็นว่ากระติกแบบนั้นมีสารอะไรสักอย่างปนเปื้อนมากับเม็ดข้าว ทำให้เป็นอันตรายกับผู้บริโภค
  • สมัยนี้ทั้งแม่ค้าและลูกค้า ต่างก็ถือความสะดวกสบายนำหน้า และไม่ค่อยได้คำนึงถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพของตัวผู้บริโภค โดยใช้ถุงพลาสติกหรือกล่องโฟมพลาสติกใส่ข้าวร้อน ๆ หรือกับข้าวร้อน ๆ
  • เขาว่าพลาสติกพวกนั้นจะทำให้เราเป็นมะเร็งได้ใช่ไหมคะ
  • ชอบขาวเหนียว ไก่ย่าง ไทยมากกว่าครับ
  • ชอบกินครับ
  • ขอบคุณมากครับ

ขอขอบคุณอาจารย์ปวีณา และท่านผู้อ่าน+ลปรร.ทุกท่าน...

  • ข้าวร้อนๆ ส่วนใหญ่อุณหภูมิไม่เกิน 100 องศาเซลเซียส (จุดเดือดของน้ำ)
  • กับข้าวส่วนใหญ่มีน้ำปน > อุณหภูมิไม่น่าจะเกิน 100 องศาเช่นกัน
  • กับข้าวที่มีน้ำมันปน > มีโอกาสที่อุณหภูมิจะสูงเกิน 100 องศา

อุณหภูมิช่วงที่มีโอกาสเกิดสารก่อมะเร็งสูงอยู่ในช่วง 200-800 องศาเซลเซียส > ที่พบบ่อยมากได้แก่...

  • (1). การเผาขยะพลาสติก ขยะติดเชื้อ(ในโรงพยาบาล) เผาศพ
    (2). อาหารทอดความร้อนสูง (deep fry) หรือการทอดน้ำมันท่วมอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่ใช้น้ำมันซ้ำซาก เช่น ปาท่องโก๋ ฯลฯ
    (3). อาหาร(ที่มีไขมัน)ปิ้ง ย่าง เผาจนไหม้เกรียม หรือเกิดควัน เช่น การทำบาร์-บี-คิว หมูปิ้ง ฯลฯ

ถ้าเราหลีกเลี่ยงได้ > นั่นคงจะดีที่สุด...

  • ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ > ขอแนะนำ...
    (1). เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ โดยเฉพาะไขมันสัตว์ เพื่อลดโอกาสได้รับสารก่อมะเร็ง
    (2). เลือกอาหารประเภทแกง แกงมีน้ำปน ทำให้อุณหภูมิเกิน 100 องศาเซลเซียสได้ยาก
    (3). นำปิ่นโตสเตนเลสไปใส่กับข้าว
    (4). ซื้อแต่กับข้าว + หุงข้าวเอง
    (5). ล้างผักใส่กล่องไปเสริมสารต้านอนุมูลอิสระ
    (6). หุงข้าวกล้องเอง (ข้าวกล้องมีวิตะมิน แร่ธาตุ เส้นใย และสารต้านอนุมูลอิสระสูง)

ขอให้อาจารย์ปวีณา และท่านผู้อ่าน+ลปรร.ทุกท่านมีความสุข มีสุขภาพดี และมีโอกาสเลือกอาหารที่ดีกับสุขภาพครับ... 

ขอขอบคุณอาจารย์ขจิต และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • เที่ยงวันนี้หน่วยงานผมก็มีการเลี้ยงส้มตำไทย(ไม่ใส่ปู ปลาร้า) ส้มตำปู-ปลาร้า ส้มตำใส่ส้มโอ ข้าวเหนียว ไก่ย่างกันครับ...
  • พวกข้าวปั้น หรือซูชินี่... สำหรับผมแล้วไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ ยิ่งปลาดิบแล้วยิ่งไม่ชอบใหญ่เลย

ขอให้อาจารย์ และท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข มีสุขภาพดี มีโอกาสเลือกอาหารถูกปาก และดีกับสุขภาพครับ...

  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอเป็นอย่างสูง
  • คำตอบและคำอธิบายความของอาจารย์หมอ มีคุณประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของดิฉันมากค่ะ...เพราะตัวเองใช้ชีวิตอยู่นอกบ้าน ต้องพึ่งพาอาหารสำเร็จรูปประเภทข้าวถุง-แกงถุง หรือข้าวกล่อง (กล่องโฟม) อยู่เสมอ
  • แนวทางทั้ง 6 ข้อ จึงเป็นวิถีทางที่ตัวเองจะขอนำไปปฏิบัติ และจะได้บอกต่อเพื่อนรอบข้างอีกด้วย
  • ขออานิสงค์ในการชี้แนะ ส่งผลให้อาจารย์หมอสุขภาพแข็งแรง จิตใจเบิกบานแจ่มใสยิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่นเดียวกันค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์ปวีณา และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ผมเองก็พึ่งอาหารสำเร็จรูปเหมือนกันครับ... เลยทำให้ต้องคิดหาวิธีลดความเสี่ยงลงไป
  • ตอนนี้ปิ่นโตสเตนเลสไทยขายดีไปถึงพม่าแล้ว เพราะคนพม่ารายได้น้อย ต้องประหยัด คดข้าวไปทำงาน
  • ปิ่นโต และที่เก็บอาหารสเตนเลสมีให้เลือกหลายขนาด และมีจำนวนชั้นให้เลือก > ถ้านำไปใส่ของร้อนจะนับได้ว่า ปลอดภัยมากๆ เลย

ขอให้อาจารย์ปวีณา และท่านผู้อ่านมีความสุข มีสุขภาพดี มีทางเลือกในการซื้อหาอาหารคุณภาพสูง + ปลอดภัยครับ...

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท