จิ๊บ พัชรี
นักศึกษากิจกรรมบำบัด พัชรี รุ่งฉัตร

ถอดความรู้จากการสัมมนาในหัวข้อ “กิจกรรมบำบัดฝ่ายเด็ก”


ถอดความรู้จากการสัมมนาในหัวข้อ “กิจกรรมบำบัดฝ่ายเด็ก”

      วันศุกร์สุดท้ายของปี 2556 ที่ผ่านมา ดิฉันและเพื่อนๆนักศึกษากิจกรรมบำบัดได้มีโอกาสฟังการสัมมนาพิเศษในหัวข้อ “กิจกรรมบำบัดในฝ่ายเด็ก” จากอาจารย์ดอกเตอร์กันนิกา เพิ่มพูนพัฒนาซึ่งในคาบเรียนนี้ถือว่าเป็นคาบเรียนสุดท้ายของพวกเราเหล่าว่าที่นักกิจกรรมบำบัด ซึ่งนอกจากพวกเราจะได้รับความรู้มากมาย ยังได้ทั้งรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของเหล่าอาจารย์อีกด้วย ถือเป็นการเรียนส่งท้ายด้วยความสุขจริงๆค่ะ วันนี้ดิฉันจึงอยากจะนำความรู้และประสบการณ์ดีๆจากการฟังหัวข้อสัมมนามาแบ่งปันให้กับท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ

            

อะไรคือภารกิจสำคัญของกิจกรรมบำบัดในฝ่ายเด็ก

     กิจกรรมบำบัดในฝ่ายเด็กจะให้ความสำคัญระดับพัฒนาการที่สมวัย สำหรับในประเทศไทยนั้นฝ่ายเด็กนี้ค่อนข้างเป็นที่รู้จัก แม้ในปัจจุบันจะมีจำนวนนักกิจกรรมบำบัดค่อนข้างน้อย แต่เราก็หวังว่าในอนาคตจะมีนักกิจกรรมบำบัดเพิ่มขึ้น สามารถให้การบริการได้ทุกฝ่าย ทั้งในเด็กพิเศษและเด็กปกติ (Health promotion) รวมถึงการให้คุณพ่อคุณแม่ของเด็กมาช่วยในการดูแลและทำ home program เองที่บ้าน เพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับตัวเด็กเอง

 

ทำอย่างไรให้การรักษามีคุณภาพสมบูรณ์ที่สุด

      ต้องมีการประเมินหาปัญหาอย่างครอบคลุมในครั้งแรกเพื่อนำไปตั้งไปตั้งเป้าหมายในการรักษา โดยที่ต้องมีการประเมินซ้ำทุกครั้งเพื่อดูความก้าวหน้าหลังการรักษาจากเด็กและผู้ปกครองด้วย นักกิจกรรมบำบัดจะประเมินผลลัพธ์ของเด็กจากการแสดงความสามารถในการทำกิจกรรม อารมณ์ การแสดงออกทางสังคม หรือแม้แต่รอยยิ้มและเสียงหัวเราะในเด็ก

 

จุดแข็งและจุดอ่อน??

       ปัจจุบันมีจำนวนนักกิจกรรมบำบัดค่อนข้างน้อย ทำให้ให้การรักษาได้ไม่เพียงพอกับจำนวนเด็ก จึงอยากให้ในอนาคตมีนักกิจกรรมบำบัดเพิ่มมากขึ้น ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการช่วยเด็ก ปรับทัศนคติต่อเด็กและการดูแลช่วยเหลือเด็ก ซึ่งจำเป็นมากต่อผู้ปกครองและนักกิจกรรมบำบัด

 

กลยุทธ์สำคัญในกิจกรรมบำบัดฝ่ายเด็กคือ

      การนำกรอบอ้างอิงและโมเดลต่างๆมาใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับเด็กแต่ละคน ให้การรักษาโดยมองมนุษย์เป็นองค์รวม เรียนรู้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ให้มากที่สุดและพัฒนาตนเองเสมอ

 

ความแตกต่างของกิจกรรมบำบัด MU – CMU

      Occupational Therapy = Natural neuroscience เป็นการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ ทฤษฎีและกรอบอ้างอิงทั้งหลายก็มาจากความจริงของมนุษย์ การเรียนการสอนของทั้งสองมหาวิทยาลัยนั้นคล้ายๆกัน เพียงแต่เราต้องเรียนรู้ นำมาปรับและนำมาใช้ให้เหมาะสม (Application + Implementation)

 

คุณอยากเห็นกิจกรรมบำบัดฝ่ายเด็กเป็นอย่างไรในอนาคต

     อยากให้มีนักกิจกรรมบำบัดเพิ่มขึ้น สามารถทำงานได้ทั้งในโรงพยาบาล โรงเรียน ชุมชน รวมถึงการมี Call center คอยให้ความรู้กับผู้ปกครอง เป็นการช่วยเหลือเด็กอย่างครบวงจร นอกจากนี้การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กปกติก็เป็นสิ่งสำคัญ ใช้ Health Promotion & Prevention ตัวอย่างเช่น ในต่างประเทศมีการใช้ Family Planer เพื่อเป็นการวางแผนครอบครัว ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดตามมาในเด็กและผู้ปกครอง การวางแผนชีวิตแบ่งเป็นสามระยะ คือ ก่อนแต่งงาน ก่อนคุณแม่ท้อง และหลังคุณแม่คลอดจนถึงหกเดือนแรก เป็นต้น นอกจากนี้อยากให้มีการศึกษาและทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ทางกิจกรรมบำบัดต่อไป

 

คุณจะใช้ Skill ของคุณกับบริบทสังคมไทยอย่างไร

     นักกิจกรรมบำบัดต้องพิจารณาบริบทของผู้รับบริการก่อนว่ามีพื้นฐานวัฒนธรรม สังคม และครอบครัวเป็นอย่างไร เพื่อวางแผนการรักษาให้สอดคล้องไม่ขัดแย้งกับบริบทของเด็ก เพราะเด็กต้องกลับไปอยู่บ้าน กลับเข้าไปสู่สังคม เราจะไม่แยกเด็กออกมาแม้จะเป็นเด็กพิเศษ

 

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการเปิด AEC

      การเปิด AEC นั้นเป็นการเปิดโอกาสในการทำงาน เราสามารถไปทำงานที่อื่นได้ แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีการแข่งขันสูงขึ้น ทำให้เราต้องเรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์มากยิ่งขึ้น

 

ขอขอบคุณคณาจารย์กิจกรรมบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล

อ.ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทอง

อ.ดร. อนุชาติ เขื่อนนิล

อ.ดร. กันนิกา เพิ่มพูนพัฒนา

 

     สำหรับดิฉันแล้วการเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุดค่ะ หากเรียนมีความตั้งใจและความพยายาม เพราะนอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่แล้วยังทำให้เราได้พัฒนาตนเอง พัฒนาองค์ความรู้ทางกิจกรรมบำบัด เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้รับบริการต่อไป ดิฉันหวังว่าท่านผู้อ่านจะได้ความรู้ไปไม่มากก็น้อยนะคะ

จิ๊บ พัชรี

 

ENGLISH VERSION OF KNOWLEDGE TRANSLATION: OCCUPATIONAL THERAPY IN PEDIATRIC CLIENTS >> CLICK >> http://www.gotoknow.org/posts/558951

 

หมายเลขบันทึก: 558949เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2014 23:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2014 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท