ปริศนาธรรม ในพระสมเด็จวัดระฆัง "พิมพ์ใหญ่"


พออ่าน "ปริศนาธรรม" ของ พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ (ต้นแบบ) แล้ว

ก็ทำให้ต้องคิดต่อว่า แล้วรายละเอียดที่เพิ่มมาในพิมพ์อื่นๆนั้นน่าจะสื่อ "ปริศนาธรรม" ในประเด็นใด

เช่น พิมพ์ใหญ่องค์นี้ มีเส้นแซม 2 เส้น ระหว่าง 
1. ฐานชั้นกลาง (สมาธิ) และ ฐานเรือชั้นบน (ปัญญา)

ที่น่าจะสื่อว่าก่อนสมาธิ จะนำไปสู่ปัญญานั้น น่าจะนานพอสมควร อย่าประมาท อย่าหลง ฯลฯ 
อะไรประมาณนั้น 
ท่านคงตั้งเส้นแบ่ง "เตือน" ให้เรารู้ว่า จากสมาธิสู่ปัญญานั้น ยากพอสมควรทีเดียว

และ 
2. เส้นแบ่งระหว่างฐาน "ปัญญา" สู่การปฏิบัติขั้นสูงนั้น อาจจะต้องเกี่ยวข้องกับการ "บวช" ที่สื่อด้วย "ผ้าทิพย์" ที่เป็นสัญญลักษณ์ของการเข้าสู่ "พรหมจรรย์" จึงจะสามารถปรับเลื่อน "จิต" ของตัวเองขึ้นไปอีกระดับขั้นสูงได้

เมื่อบวชแล้วก็จะมี

3. เส้นจีวร ที่ไม่มีในพิมพ์ทรงเจดีย์

ทำให้ผมคิดว่า พิมพ์ใหญ่นี้น่าจะสร้างมาภายหลัง ต่อจาก "ต้นแบบ" ครับ

หรือใครมีความคิดแตกต่างว่าอย่างไรครับ

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
หมายเลขบันทึก: 558903เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2014 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2014 11:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แอบเข้ามาอ่านความคิดเห็นเกี่ยวกับพระเครื่อง และสาระอื่นๆในหน้าเพจของอาจารย์ทุกคืนจนได้ความรู้มากมายแต่ยังไม่เคยได้ร่วมแสดงความเห็นกับอาจารย์ วันนี้เอาหน่อย เห็นด้วยกับอาจารย์ครับที่ว่าพระสมเด็จวัดระฆังซึ่งมีพุทธศิลป์ที่เรียบง่ายงดงามนั้นซ่อนปริศนาธรรมที่สูงส่งเอาไว้ การสร้างพระพุทธรูป(รูปเคารพ)เพิ่งมาเกิดหลังพระเจ้าอโศกมหาราช ก่อนหน้านั้นจะใช้เป็นสัญลักษณ์ในรูปของสัตว์บ้าง ดอกไม้บ้าง เช่นรูปสิงห์ใช้แทนการประกาศพระศาสนา(สีหนาทบันลือ)รูปช้างใช้แทนพระธรรมคำสอน ดอกบัวใช้แทนการประสูติ ต้นโพธิ์ใช้แทนการตรัสรู้ พระสถูปหรือเจดีย์ใช้แทนการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน (ท่านพุทธทาสท่านได้เขียนตีความเกี่ยวกับสัญลักษณ์ต่างๆในพุทธศาสนาจากหลักฐานงานปฏิมากรรมจำหลักตั้งแต่สมัยทวราวดี ศรืวิชัยไว้อย่างละเอียด) และสัญลักษณ์ต่างๆเหล่านี้ก็กลายมาเป็นพระพุทธรูปต่างๆ พิมพ์พระเครื่องตั้งแต่ยุคโบราณมาจนถึงปัจจุบันก็ล้อพิมพ์มาจากพระพุทธรูปปางต่างๆทั้งสิ้น ที่เห็นได้ชัดก็สองปางหลักๆคือมารวิชัย กับปางสมาธิ ไหนๆก็ต้องยาวแล้วขอพูดถึงพระพุทธรูปสองปางนี้นิดหนึ่ง ผมว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจพระสองปางนี้อย่างกระจ่างนักซึ่งสำคัญมาก(แต่คนฝ่ายมหายาน จีน ญี่ปุ่น ธิเบตกลับเข้าใจมากกว่า) พระปางมารวิชัยจะอยู่ตรงกันข้ามกับปางสมาธิจากหน้ามือเป็นหลังมือเลย(คนไทยต้องอ่านพุทธประวัติให้เแตก) ปางมารวิชัย(Concentration)ตอนนั้นเจ้าชายสิทธัตถะยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ครับยังไม่ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมมาสัมโพธิญาณ ภาพที่พระโพธิสัตว์เอาพระหัตถ์ขวาแตะพระธรณีหมายถึงท่านกำลังสู้รบกับพระยามาร(คือกิเลส)อยู่ หลังจากปราบมารเสร็จสรรพก่อนรุ่งสางของราตรีนั้นพระองค์ก็บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณพระอค์ประทับนั่งในปางสมาธิ(Meditation)เพื่อกำหนดญาณตามลำดับชั้น พระองค์หมดกิเลสอย่างไม่ต้องสงสัยไม่ต่องไปสู้รบกับมารที่ไหนอีก (พระยามารมาทวงสัญญาอีกครั้งก็ตอนปรินิพพานครับ) ทีนี้เข้าประเด็นของอาจารย์เลยครับ พระพุทธปฏิมาในพระสมเด็จวัดระฆังนั้นเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน(ไม่ใช่พระโพธิสัตว์))ประทับนั่งปางสมาธิ บนฐานสามชั้นใช้แทนสัญลักษณ์"ไตรสิกขา) ศีล สมาธิ ปัญญา ศืลจะอยู่ล่างสุดต้องทำใจให้บริสุทธิ์ก่อน แล้วจิตถึงตั้งมั่นและจิตตั้งมั่น(สมาธิ)นี่แหละคือความเพียรที่จะสู้รบกับพระยามาร(ปางมารวิชัย)ขั้นตอนนี้จะโหดที่สุด(อย่างที่อาจารย์บอก)ถ้าใครเคยอ่านประวัติหลวงปู่ชาแล้วจะรู้ หลังจากเอาชนะกิเลสจนสิ้นซากแล้วก็เข้าสู่โหมดแห่งปัญญาคือฐานบนสุด เหนือขึ้นไปคือองค์พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ รู้แจ้งเห็นจริงจะประกาศพระศาสนาไปอีกสี่สิบห้าปี แล้วเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระเกศที่เป็นกวยแหลม(ทรงเจดีย์)ขึ้นสู่เบี้องบน(ทะลุซุ้มก็มี)คือสัญลักษณ์แห่งพระนิพพานครับ...ดังนั้นพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังนี่นับว่าสุดยอดทั้งรูปแบบ(พิมพ์ทรง)และเนื้อหาที่แฝงปริศนาธรรมในพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน...แต่ไม่รู้ว่าพวกเซียนใหญ่เขาจะคิดแบบอาจารย์หรือแบบผมหรือเปล่าพวกเฮียแกเอาแต่จะปั่นราคาท่าเดียว...สุดท้าย เอาแค่การแยกพระสมเด็จเก๊ออกจากพระสมเด็จแท้นับว่าต้องใช้ความเพียรสุดๆท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตท่านวางกุศโลบายไว้อย่างเยี่ยมยอดจริง ขนาดผมเข้ามาศึกษาพระเครื่องจากอาจารย์อยู่บ่อยๆ จนป่านนี้ผมยังหาพระสมเด็จไม่ได้สักองค์ แสดงว่าผมยังอยู่ในขั้นใช้ความเพียร สักวันหนึ่งคงเข้าสู่โหมดปัญญา...ฮ่าๆๆ ขอบคุณครับอาจารย์

ขอบคุณครับที่มาช่วยขยายความ ท่านอ่านมามากกว่าผมแน่ๆเลย ในมุมนี้

แต่ท่านอาจจะยังทำ มรรคมีองค์ 8 ไม่ครบ หรือไม่พอมั้งครับ

ยังไงลองมาคุยกันได้ครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

ทุกอย่างเป็นสิ่งสมมติเท่านั้น ไม่มีเรื่องที่จริงแท้แน่นอน การคาดเดาหรือวิเคราะห์ต่างๆขึ้นอยู่กับภูมิความรู้,ปูมหลังและเชาว์ปัญญาตลอดจนปฏิภาณไหวพริบของผู้วิเคราะห์ ผู้ออกแบบมีจิตเจตนาอย่างไรล้วนเป็นสิ่งที่ผู้วิเคราะห์ใช้ภูมิความรู้อนุมาณเอาเท่านั้น สำหรับเซียนพระก็คิดตามแบบของเขา ถูกหรือผิดก็ไม่มีประโยชน์ในการศึกษา องค์ความรู้ในการศึกษาพระเครื่องก็มีหลายแนวทาง ส่วนรูปแบบการจดจำก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของผู้ศึกษาเป็นหลักว่าจะโน้มเอียงไปทางไหนครับ ไม่ได้มีหลักเกณฑ์อะไรจะมากำหนดตัวตนของผู้ศึกษาได้นอกจากตัวผู้ศึกษาเอง โชคดีมีพระแท้ทุกท่านและสงบสันติทุกท่าน...........สวัสดี

ผมก็ว่าอย่างนั้นแหละครับ อิอิอิอิอิอิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท