Snoezelen ในทางกิจกรรมบำบัดช่วยเด็กได้อย่างไร???


          

                        เนื่องจากในวันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม 2557 ดิฉันได้มีโอกาสเรียนในคาบของอาจารย์ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทอง และได้มีโอกาสนำเสนอเคสที่ไปศึกษาดูงานมา เคสที่ดิฉันและเพื่อนๆได้นั้นเป็นเคสฝ่ายเด็กที่มีอาการเป็นออทิสติก เป็นผลให้มีพัฒนาการการเรียนรู้ด้านต่างๆไม่สมวัย ซึ่งผู้รับบริการได้รับการบำบัดรักษาจากนักกิจกรรมบำบัดโดยได้ทำกิจกรรมต่างๆภายในห้อง Snoezelen เป็นห้องที่ผู้รับบริการหลายคนโดยฉะเพราะเด็กๆชอบที่จะเข้ามากัน หลายคนอ่านแล้วอาจจะสงสัยนะคะว่าห้องนี้มันคือห้องอะไรกัน และช่วยเพิ่มเรื่องพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กๆได้อย่างไร วันนี้ดิฉันจะพาทุกคนไปรู้จักกับห้องSnoezelenนี้กันค่ะ

       Snoezelen Room เป็นห้องที่ได้รับการปรับแต่งออกแบบให้มีสภาพแวดล้อมภายในห้องเหมาะกับวิธีการกระตุ้นการรับรู้และความรู้สึกที่หลากหลาย ที่เรียกว่า Multisensory อันได้แก่ การมองเห็น, การได้ยิน, การได้กลิ่น, การรับสัมผัส และการเคลื่อนไหว โดยมีหลักการง่ายๆ ก็คือ นักกิจกรรมบำบัดจะช่วยส่งเสริมการเล่น การทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากระบบประสาท การรับรู้ความรู้สึกหลาย ๆ ด้านดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น เช่น การใช้แสง สีและเสียง ระบบประสาทการรับความรู้สึกเหล่านี้ต่างส่งผลต่อลูกน้อยทั้งในแง่ของการกระตุ้นเร่งเร้าหรือช่วยทำให้สงบ และผ่อนคลายได้เหมือนๆ กัน เปรียบเสมือนกับการที่เราถูกกระตุ้นเมื่ออยู่ในโรงหนัง หรือ รู้สึกสงบสบาย เมื่ออยู่ในสปานั่นเอง อย่างไรก็ตาม หลายท่านคงนึกสงสัยว่า ระบบประสาทการรับความรู้สึกเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับสมาธิของลูกน้อยได้อย่างไร อยากให้ลองนึกถึงตอนที่ไปดูภาพยนตร์แอคชั่นต่อสู้บู๊ล้างผลาญ ลำพังถ้าได้ดูเพียงแค่ภาพคนต่อสู้กันก็คงจะไม่รู้สึกตื่นเต้นเท่าไหร่ แต่ลองมีระบบเสียงรอบทิศทางเข้ามาประกอบด้วยก็คงทำให้เราตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น ถ้ายิ่งโรงภาพยนตร์บางโรงมีระบบภาพยนตร์ 3 มิติด้วยละก็คงจะตื่นเต้น เร้าใจมากขึ้นอีกหลายเท่า ขนาดว่าหนังจบไปตั้งนานแล้วแต่ก็ยังตื่นเต้นไม่หายเลย แต่ในอีกสถานการณ์หนึ่ง หลายคนคงเคยไปนวดผ่อนคลายตามสปาต่าง ๆ กันมาบ้าง ลองสังเกตตั้งแต่บรรยากาศภายในสปา การจัดสภาพแวดล้อม การใช้แสงสลัวๆ บางแห่งอาจได้ยินเสียงน้ำตกเบาๆ การถูกนวดสัมผัสร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นต่างๆ หากใครได้เข้าไปใช้บริการก็คงรู้สึกสบาย ผ่อนคลายไม่ต่างกันเป็นแน่แท้ จะเห็นว่าที่ยกตัวอย่างมานั้น ระบบต่างๆ ที่ได้กล่าวมาล้วนแต่มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น ในเด็กก็คงไม่แตกต่างกัน ระบบประสาทการรับความรู้สึกเหล่านี้ต่างส่งผลต่อเด็กทั้งในแง่ของการกระตุ้นเร่งเร้า หรือช่วยทำ ให้สงบและผ่อนคลายได้เหมือนๆ กัน (ข้อมูลจาก:http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000104239)

     แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีการรักษาใดที่ทำให้โรคและความบกพร่องด้านต่างๆของเด็กหายขาดได้100% แต่จะต้องอาศัยปัจจัยด้านอื่นๆร่วมช่วยด้วย โดยฉะเพราะการดูแลเอาใจใส่จากคนในครอบครัวซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด และอาจจะเป็นวิธีรักษาที่ดีที่สุดก็ได้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 558810เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2014 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2014 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดิฉันก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้ศึกษาในกรณีเด็กออทิสติกเหมือนกัน ถ้าจะกล่าวถึงห้อง snoezelen ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในประเทศNetherlands โดยมีความสำคัญกับเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้ในด้านต่างๆเช่น ด้านการมองเห็น ด้านการได้ยิน เป็นต้น ถ้าหากเด็กเหล่านี้ไม่ได้รับการบำบัดรักษา เขาจะมีปัญหาในการดำเนินชีวิตอย่างแน่นอน เช่น เด็กบางคนมีปัญหาเกี่ยวกับฝ่าเท้ารับสัมผัส(touch)ที่ไวกว่าปกติ ไม่สามารถเดินบนหญ้า ทำให้เด็กเล่นบนสนามหญ้าไม่ได้ ปัญหาที่ตามคือไม่สามารถเล่นกับเพื่อนได้ เข้าสังคมไม่ได้ เด็กก็จะไม่มีความสุข ดังนั้นเมื่อเราเห็นแล้วว่าการกระตุ้นการรับรู้มีความสำคัญอย่างมาก การที่นักกิจกรรมบำบัดใช้ห้อง snoezelen มาใช้กับเด็ก ไม่ใช่ว่าจะกระตุ้นเรื่องการรับรู้เพียงอย่างเดียว แต่สามารถใช้เพื่อพัฒนาสมาธิของตัวเด็กเองได้อีกด้วย ซึ่งการปรับสภาพแวดล้อมในห้องก็จะขึ้นกับแต่ละบุคคลด้วย มิฉะนั้นอาจเกิดOverstimulation คือมีการกระตุ้นที่มากเกินไป ก็อาจจะทำให้การบำบัดนั้นไม่ได้ผล ( ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://alzjourney.com/tag/snoezelen/ )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท