วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

สรุปการจัดการความรู้เรื่อง การเขียนแผนการสอนที่มีประสิทธิภาพ (ครั้งที่ 1)


จากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเขียนแผนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ณ ห้องประชุม 1601 ชั้น 6 อาคารเรียน 1 ในวันที่ 4 ธันวาคม 2556 เวลา 11.30-14.00 น. มีอาจารย์นำเสนอ 4 ท่านได้แก่

    อ. เกศกาญจน์ บัวผัน จากภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช

    อ .เบญจมาภรณ์ นาคามดี จากภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และผดุงครรภ์

    อ. จิตติพร พืชผล จากภาควิชาพื้นฐานและพัฒนาวิชาชีพ

    อ .ศักดา เปรมไทยสงค์ จากภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

ผลการประชุมการจัดการความรู้ ได้ข้อสรุปดังนี้

เทคนิควิธีการปฏิบัติที่ดีในการเขียนแผนที่มีคุณภาพ มีขั้นตอนในการเขียนแผนการสอน 4 ขั้นตอน

  1. ก่อนเขียนแผนการสอน - ศึกษาและจัดเตรียมทรัพยากรพื้นฐาน

-          ศึกษาหลักสูตร ประมวลรายวิชา ขอบเขตเนื้อหา และวัตถุประสงค์ตามหัวเรื่อง

-          ศึกษาผู้เรียน

-          สำรวจทรัพยากรที่จะใช้ เช่น สื่อ โสต หนังสือ/ตำรา อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอน

-          สำรวจสิ่งแวดล้อม เช่น ห้องเรียน อาคาร สถานที่

-          ประสานงานกับห้องสมุด รวบรวมรายชื่อหนังสือ

-          อาจารย์ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำความเข้าใจเนื้อหาวิชา กำหนดการจัดการเรียนการสอน วิพากษ์ในภาควิชาก่อน ว่าวิธีการสอนเหมาะสมหรือไม่

-          การลงมือเขียนแผนการสอน หลักการเขียนแผนการสอนอย่างมีคุณภาพ แบบบูรณาการ ควรยึดหลัก 5W 2H กล่าวคือ

Why สอนไปทำไม แล้วกำหนดเป็นวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 2 ประเด็นใหญ่ คือ

วัตถุประสงค์ทั่วไป ใช้หลักการเขียน KAP ดังนี้

  • Knowledge (ความรู้) เขียนวัตถุประสงค์โดยใช้คำ ดังนี้ “อธิบาย ระบุ บอก ยกตัวอย่าง บรรยาย”
  • Attribute (คุณลักษณะอันพึงประสงค์) เขียนวัตถุประสงค์โดยดูจากหลักสูตร อัตลักษณ์บัณฑิต
  • Process (ทักษะ หรือกระบวนการคิด) เขียนวัตถุประสงค์โดยใช้คำ ดังนี้ “ให้การพยาบาล แก้ปัญหาผู้ที่ ....”

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Learning outcomes) เป็นการระบุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามรายวิชา โดยไม่จำเป็นต้องทุกด้านหรือทุกข้อของแต่ละด้าน แต่ควรระบุให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของหัวเรื่องนั้นๆ เมื่อทุกหัวข้อรวมกันแล้วจะครบถ้วน สมบูรณ์ ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชา โดยใช้หลักของบลูม(Bloom’s Taxonomy)

  • รู้ จำ (Remember)
  • เข้าใจ (Understand)
  • นำไปประยุกต์ใช้ (Apply)
  • วิเคราะห์ (Analyze)
  • ประเมินผล (Evaluate)
    • สร้างสรรค์ (Create)

What สอนอะไร เรื่องอะไร เพื่อกำหนดขอบเขตเนื้อหาสาระที่จะสอน

       ทั้งนี้หัวข้อสาระสำคัญในแผนการสอน สามารถเขียนได้ 3 แบบ คือ – เขียนแบบเน้นความหมาย เขียนแบบเน้นความสำคัญ และเขียนแบบเป็นองค์ประกอบ

Who ใครสอน ระบุชื่ออาจารย์

Whom สอนใคร ระบุชั้นปี รุ่น จำนวน

When กำหนดเวลาในการสอนในแต่ละเนื้อหา สอนเมื่อไร ปีการศึกษา วัน เวลา ชั่วโมง

How to teach สอนอย่างไร เช่น TBL บรรยาย ศูนย์การเรียนรู้

กำหนดวิธีการสอน

1)      วิธีการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเนื้อหา

2)      วิธีการสอนในแต่ละเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กำหนดสื่อที่ใช้ในประกอบการสอน

3)      วิธีการสรุปเนื้อหาสาระจากการสอนทั้งหมด

โดยใช้หลักการเขียนกิจกรรมการเรียนการสอนของ Kolb

ขั้นที่ 1 ประสบการณ์เชิงรูปธรรม ใช้ความรู้สึก (Feeling)

ขั้นที่ 2 การคิดไตร่ตรอง พยายามทำความเข้าใจกับประสบการณ์ที่ได้รับโดยการสังเกตผ่าน การดู (Watching) และการฟัง (Listening)

ขั้นที่ 3 การสรุปเป็นนามธรรม เป็นการใช้เหตุผลและความคิดในการเข้าใจสถานการณ์ แล้วสรุปเป็นความรู้รวบยอดโดยผ่านการคิด (Thinking)

ขั้นที่ 4 การทดลองปฏิบัติ เป็นการนำความคิดรวบยอดไปปฏิบัติจริงโดยผ่านการกระทำ (Doing)

How to evaluate กำหนดวิธีการวัดและประเมินผลโดยระบุกิจกรรมอาจารย์ แยกจากกิจกรรมนักศึกษา ประเมินผลอย่างไร ตาม learning outcomes เช่น TQF ประเมินด้านใดบ้าง เช่น คุณธรรม ทักษะทางปัญญา

  1. ดำเนินกิจกรรมการสอนตามแผนที่กำหนดไว้

-          Team Based Learning (TBL) การบรรยาย ศูนย์การเรียนรู้

  1. ประเมินผลหลังสอน

-          เป็นการตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่ผู้สอนกำหนดไว้นั้น ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นมากน้อยเพียงใด บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยควรมีการกำหนดวิธีการประเมินผลไว้ให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีการใด เช่น การถามตอบ การสอบหลังเรียน การแสดงความคิดเห็น การสาธิตย้อนกลับ การทำผังความคิด เป็นต้น และรวมทั้งเกณฑ์การประเมินผลด้วย

หมายเลขบันทึก: 558205เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2014 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2014 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

... ขอบคุณ บันทึกดีดีนี้ค่ะ ...

ขอบคุณค่ะ มีประโยชน์มากกกเลย

เพิ่มเติมเรื่อง แผนการประเมินผู้เรียนก่อนเข้าสู่กระบวนการสอน จะต้องสอดคล้องกับหัวข้อและประสบการณ์ของผู้เรียนค่ะ

เพิ่มเติมเรื่อง แผนการประเมินผู้เรียนก่อนเข้าสู่กระบวนการสอน จะต้องสอดคล้องกับหัวข้อและประสบการณ์ของผู้เรียนค่ะ

นักศึกษาแต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางคนอาจเรียนรู้ได้ดีจากการเห็นภาพ ไดอะแกรมต่างๆ บางคนชอบนั่งฟังบรรยาย บางคนชอบพูด บางคนชอบเขียน บางคนชอบลงมือทำ ดังนั้นผู้สอนจึงควรมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย และกิจกรรมการเรียนการสอนต้องสามารถส่งเสริมวิธีการเรียนรู้ของนักศึกษา (Learning styles) อย่างทั่วถึง

ดีมากเลยค่ะ

สามารถนำความรู้และแนวคิดใหม่ๆไปเป็นเทคนิคในการเขียนแผนการสอนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติค่ะ

ดีมากเลยครับ ขอบคุณสำหรับบทความดีๆอย่างนี้ครับ

มีประโยชน์. ชื่นชมอาจารย์ที่นำเสนอทุกท่านคะ

ดีมากค่ะ. กิจกรรมครั้งนี้เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เข้าใจกันและกัน & ช่วยกันพัฒนาเทคนิคการสอนเพื่อลูกศิษย์

ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นมากเลยครับ

ขอบคุณอาจารย์ที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ได้รับความรู้มากค่ะ

ชอบมากๆๆคะ ได้นำไปใช้ในการเขียนแแผนสอนเยอะเลย ขอบคุณนะคะ

นำมาแช่ร์เรื่อย ๆ นะค่ะ คอยอ่านบล๊อคอยู่เสมอค่ะ

เป็นการแลกเปลี่ยนที่ดีมากค่ะ

ดีคะเข้าใจมากขึ้นต่อการเขียนแผนการสอนภาคทฤษฎี แต่ การเขียนแผนการสอนภาคปฎิบัติการพยาบาลมีเทคนิคหลักการ อย่างไรให้เป็นรูปธรรม และผู้สอนคนอื่นสามารถสอนแทนได้เลย

สงสัยจัง

ดีมากคะการเขียนแผนการสอนภาคทฤษฎี...แล้วแผนการสอนภาคปฎิยัคิการพยาบาล..เขียนอย่างไรคะ

เป็นบทความที่น่าสนในมากๆค่ะ เพราะมีประโยชน์และช่วยให้เขียนแผนการสอนได้ง่ายขึ้นเยอะเลยค่ะ

ดร.ศุภาณ์นาฏ สุวรรณกิจ

เป็นบทความที่มีประโยชน์น่าสนใจและสรุปความได้ดีมากค่ะ

ขอชื่นชมทีมงานผู้จัดทำและผู้สรุปค่ะ

ขอบคุณที่มีการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ดีค่ะ

เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ดีมากครับ

การเขียนแผนการสอนเป็นสิ่งที่ผู้สอนควรรู้และปฏิบัติค่ะ..พอได้อ่านผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้ว ทำให้ตนเองมีแนวทางการเขียนแผนการสอนที่มีประสิทธภาพมากขึ้นค่ะ..ขอบคุณมากค่ะ

น่าสนใจมากค่ะ ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทำให้มีแนวทางปฏิบัติจริงๆค่ะ ขอบคุณค่ะ

Team Based Learning (TBL) น่าสนใจดีมากคะ ส่วนการเขียนแผนน่าจะมีการเพิ่มวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Learning outcomes) ตาม ดร. บลูม (Bloom’s Taxonomy) ในด้านสร้างสรรค์ (Create) ทุกรายวิชาจะดีมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท