สร้างคนสร้างความสุข


     เมื่อหลายวันที่ผ่านมาได้มีโอกาสเรียนกับอาจารย์ป้อป อาจารย์ได้นำเคสมาเล่าให้ฟังหลายเคส แต่ละเคสมีความเหมือนและต่างกันออกไป แต่ละเคสได้เล่าเรื่องราวที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจและแปลกประหลาดใจว่าผู้รับบริการเปลี่ยนไปได้มากมายขนาดนี้ จากการที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาแต่ละเคสแล้ว ข้าพเจ้าจะขอยกตัวอย่างมาให้ผู้อ่านได้ฟัง1เคส เคสนี้ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีกับการที่ผู้รับบริการได้เข้าไปใช้ชีวิตในสังคมได้ตามความต้องการของผู้ปครองและตัวผู้รับบริการเอง ผู้รับบริการมาด้วยอาการเฉื่อยชา ไม่อยากเรียนหนังสือทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการเข้าสังคมด้วย ผู้รับบริการชอบเล่นกีฬาแต่ก็ไม่เคยได้เล่น ผู้รับบริการมาหานักกิจกรรมบำบัดพร้อมกับพ่อและแม่ด้วยความต้องการที่อยากให้ลูกกลับไปเรียนหนังสือได้เหมือนคนอื่นและเรียนอย่างมีความสุข จากการที่ข้าพเจ้าได้เรียนในคาบนี้ อาจารย์ป้อปแนะนำว่าให้ใช้ occupational frame of referece ในกรอบอ้างอิง PEOP ซึ่งจะบำบัดให้อยู่ใน occupational performent area ในเรื่องการศึกษา (Education) อันดับแรก ผู้บำบัดจะต้องค้นหาดูก่อนว่า ผู้รับบริการมีความชอบอะไร เราจะนำความชอบนั้นมาเปนสื่อในการบำบัด เป็นการใช้ Activity analysis and synthesis โดยการสอบถามผู้รับบริการว่า สิ่งที่เขาชอบนั้นคือการออกกำลังกาย นักกิจกรรมบำบัดเลยให้ผู้รับบริการวิดพื้น 100ครั้ง ให้คิดอย่างอุปมา-อุปมัยแล้วถามว่าระหว่างวิดพื้นกับการไปเรียนหนังสือ อย่างไหนหนักกว่ากัน แต่ระหว่างที่ทำกิจกรรมผู้รับบริการเกิดความเครียดจากการทำกิจกรรมที่ชอบแต่ไม่เคบทำ ผู้บำบัดจึงต้องฝึกให้ผู้รับบริการหายใจเข้า-ออกเป็นจังหวะเพื่อความผ่อนคลายและไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการบำบัด จากนั้นฝึกให้ผู้รับบริการมีความรับผิดชอบต่อกิจกรรมที่ทำด้วยการให้เงื่อนไข conditional CR โดยการถามผู้รับบริการว่าถ้าชอบเรียนอะไรก็ให้เรียนอย่างนั้น แล้วจะเรียนได้อย่างประสบความสำเร็จ ซึ่งในความคิดของข้าพเจ้าในฐานะนักกิจกรรมบำบัดเราควรให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการบำบัดด้วย (client and family relationship) ต้องให้ผู้ปกครองคอยสอบถามความชอบและส่งเสริมให้ตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จมากที่สุด อย่างผู้รับบริการในเคสนี้ ความชอบของเขาคือการได้เรียนภาษาจีนและเรียนกีต้า เมื่อผู้ปกครองทราบถึงความชอบ พวกเขาก็ได้ส่งเสริมและให้ไปเรียนตามสิ่งที่ชอบ จนในขณะนี้ผู้รับบริการประสบความสำเร็จในการเรียนทั้งสองอย่าง เล่นกีต้าก็เก่ง เรียนภาษาจีนก็ดี และทำทั้งสองอย่างอย่างมีความสุข ข้าพเจ้ารู้สึกว่า การที่ทำให้ผู้รับบริการกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้ตามความต้องการและมีความสุขกับการใช้ชีวิต เป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจ ไม่ใช่เฉพาะตัวนักบำบัดเอง รวมถึงผู้ปกครอง คนรอบข้าง ที่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวผู้รับบริการ ข้าพเจ้าคิดว่าพวกเขาก็รู้สึกภาคภูมิใจและดีใจไม่ต่างกันกับเราที่มีส่วนช่วยให้ผู้รับบริการประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตในสังคม สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณอาจารย์ป้อปที่ได้นำเคสกรณีศึกษามาให้พวกเราได้ศึกษากัน ทำให้เห็นว่าความต้องการของแต่ละเคสคืออะไร แล้วเราควรใช้กรอบอ้างอิงอะไรที่เปนแนวทางในการบำบัดให้ประสบความสำเร็จ

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 558143เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2014 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2014 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท