จูนคลื่น QA_KM ใน NU_AHS 1


" ขอให้ทุกท่านจำง่ายๆ ไว้ว่า การบริหารจัดการของคณะสหเวชศาสตร์ ยึดหลักการของการประกันคุณภาพศึกษาและการจัดการความรู้เป็นฐานของการบริหารจัดการทั้งปวง"

          สำหรับบุคลากรของคณะสหเวชศาสตร์ มน. ที่ติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรม วันคณบดีพบหน่วยงาน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2549 ที่ผ่านมา  ดิฉันขอตามมาเล่าให้ฟังอีกครั้ง อย่าหาว่าตื้อเลยนะคะ ทั้งที่ตื้อจริงๆ

          เช้าวันนั้น ดิฉันประเดิมด้วยการฉาย power point จำนวน 9 แผ่น ที่ตั้งใจจะทบทวนให้บุคลากรทั้งรุ่นเก่า เก๋าจนอาจลืมเลือน และรุ่นใหม่เอ๊าะๆ ที่เพิ่งเข้ามาทำงานได้ไม่กี่วัน รวมทั้งรุ่นกลางเก่ากลางใหม่ทั้งหลาย ได้ทราบหลักการพื้นฐานของ NUQA

          slide 2 แผ่นแรก copy มาจาก slide ของท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ (ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร) เพราะสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว

          ด้วย slide แผ่นนี้ ดิฉันประเดิมว่า " ขอให้ทุกท่านจำง่ายๆ ไว้ว่า การบริหารจัดการของคณะสหเวชศาสตร์ ยึดหลักการของการประกันคุณภาพศึกษาและการจัดการความรู้เป็นฐานของการบริหารจัดการทั้งปวง"

           ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา: NUQA เปรียบเสมือนกระจกที่จะช่วยสะท้อนภาพ อดีต  ปัจจุบัน และอนาคต ของคณะฯ

          ระบบนี้ ประกอบด้วย การประกันคุณภาพภายใน IQA ที่เราทำกันทั้งปีในเนื้องานและประเมินปีละครั้ง กับ การประกันคุณภาพภายนอก EQA ที่ประเมินระดับกลุ่มสาขาและระดับมหาวิทยาลัย 5 ปีครั้งโดย สมศ.

          การประเมินคุณภาพภายใน จะควบคุมคุณภาพ 2 ส่วน คือ PART A และ PART B

         PART A คือ ปัจจัยนำเข้า Input :I  และกระบวนการทำงาน Process :P  ถ้ามีคุณภาพดี ก็เปรียบเสมือนกระจกที่สะท้อนภาพอนาคตของคณะฯว่าสดใส

          PART B คือ ผลผลิต Output :O ถ้ามีคุณภาพดี ก็เปรียบเสมือนกระจกที่สะท้อนภาพ สิ่งที่ทำมาแล้วและสิ่งที่กำลังทำอยู่ (อดีต+ปัจจุบัน)ว่า ทำถูกต้องแล้วคร๊าบบ... 

          ทั้งนี้  การประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. จะเน้นตรวจสอบคุณภาพของผลผลิตเป็นหลัก

          แต่ทว่า การทำการประเมินตนเอง / ตรวจสอบ / สรุปโดยผู้บริหาร (SAR / CAR / YAR) ที่ผ่านมาตั้งแต่ปีการศึกษา 44 - 47 ใน PART B เราไม่ได้ให้น้ำหนักแก่ตัวบ่งชี้คุณภาพด้านต่างๆ ว่าตัวไหนควรมีน้ำหนักมาก  ตัวไหนน้อย

          เพิ่งจะเมื่อ ปีการศึกษา 2548 ที่ผ่านมานี่เอง ที่เราเริ่มถ่วงน้ำหนักให้ กับมาตรฐานของภารกิจทั้ง 4 ด้าน คือ ผลิตบัณฑิต  วิจัย  บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม = 35  35  20  10  (แบบนี้ Rating มน. จะอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยและผลิตบัณฑิต)

          ตอนแรก มหาวิทยาลัย ยอมให้แต่คณะฯ ถ่วงน้ำหนักตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐานได้เองตามชอบใจ

          แต่ มา ณ บัดนี้ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สมศ. กำลังประเมินภายนอกมหาวิทยาลัยรอบสอง  และจะมาประเมิน มน. ในราวสิงหาปี 2550  ซึ่งเขาจะ Accredit: รับรองมาตรฐาน และ Ranking : จัดอันดับ  กลุ่มสาขาและมหาวิทยาลัยด้วย 

          ดังนั้น  การถ่วงน้ำหนักตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐานของคณะวิชาในกลุ่มสาขาเดียวกันต้องถ่วงเหมือนๆ กัน (เป็น CAR version 2)  

          ด้วยวิธีการที่หินกว่าเก่า  คณะสหเวชฯ จะตกที่นั่งลำบากแค่ไหน อย่างไร ดิฉันจะฉายภาพให้ท่านทั้งหลายดู เพื่อท่านทั้งหลายจะได้มีเวลาวางแผนกลยุทธ์ในการเตรียมรับศึกหนักครั้งนี้ !!! 


 หมายเหตุ

SAR = Self Assessment Report = รายงานประเมินตนเอง

CAR = Check Assessment Report = รายงานประเมินตรวจสอบ

YAR = Yearly Assessment Reort = รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในประจำปี

 

หมายเลขบันทึก: 55770เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2006 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบคุณอีกครั้งครับที่กรุณาช่วยนำกลับมาย้ำกันหลาย ๆ รอบ จะได้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และช่วยกันคนละไม้คนละมือ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท