วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

ปีใหม่ท่องเที่ยวเชิงธรรมกับวนเกษตรวัดป่าโนนสวรรค์ร้อยเอ็ด ในวันสำคัญของคนไทยต้องไปตามเส้นทางธรรมแม้จะยาวไกลการเดินทางไม่มีวันสิ้นสุด นั่นคือเส้นทางแห่งความสุข คนเข้าวัด คนเฝ้าวัด คนไทยกับวัด การท่องเที่ยวเชิงธรรม กัน “เส้นทางธรรมะแห่งวัดป่าโนนสว


ปีใหม่ท่องเที่ยวเชิงธรรมกับวนเกษตรวัดป่าโนนสวรรค์ร้อยเอ็ด

          ในวันสำคัญของคนไทยต้องไปตามเส้นทางธรรมแม้จะยาวไกลการเดินทางไม่มีวันสิ้นสุด นั่นคือเส้นทางแห่งความสุข คนเข้าวัด คนเฝ้าวัด คนไทยกับวัด การท่องเที่ยวเชิงธรรม กัน “เส้นทางธรรมะแห่งวัดป่าโนนสวรรค์”  บ้านยางด่อ ต.เทอดไทย อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด โทร.081-0600723

หลวงปู่คำปั่น จันทโชโต เจ้าอาวาสวัดและเป็นเจ้าคณะตำบลเทอดไทย  เอกลักษณ์คือ “สวมลูกปะคำ” ขนาดลูกมะนาว เป็นวัดขนาดใหญ่สร้างมาจากนิมิตของเจ้าอาวาส โดยใช้หม้อดินจำนวนนับพันนับหมื่นลูก เป็นหม้อดินจากฝีมือของชาวบ้าน ต.เทอดไทย เพราะหมู่แห่งนี้มีอาชีพปั้นหม้อ

จึงนำมาประดับตกแต่งดูสวยงามแปลกตา ทางเข้ามีรูปปูนปั้นขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชาวบ้าน ชาวนา ประเพณีวัฒนธรรม ลวดลายมังกร รูปช้าง ม้า วัว ควาย นกอินทรีย์ ยักษ์ บริวาร สัตว์ในตำนานพระพุทธศาสนา ทางขึ้นบันไดมีลวดลายมังกร พญานคราช เจดีย์ประธานหลายชั้นทางเข้าจะเป็นปากหนุมานแต่ละชั้นจะมีจิตรกรรมฝาผนัง เกี่ยวกับองค์สมเด็จสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ซุ้มประตูวัดมีเต่ายักษ์ 2 ตัว ดูคล้ายศิลปะทางขอมและอินเดีย

 

ตั้งสูงตระหง่านคือ “เจดีย์พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ สามารถเดินขึ้นไปจนถึงยอดสููงสุด ไหว้พระ ตีฆ้อง ชมทิวทัศน์ จากที่สูง ทุ่งนาเขียวขจีในฤดูฝน ทุ่งรวงทองในฤดูเก็บเกี่ยว และฤดูแล้งในเดือนเมษายน

                      หลวงปู่คำปั่น   จันทโชโต หรือพระครูจันทสุวรรณ เจ้าอาวาสวัดป่าโนนสวรรค์  และเจ้าคณะตำบลเทอดไทย  ภายในอุโมงค์ ใต้เจดีย์ ดูเงียบขรึม สงบร่มเย็น น่าศรัทธาอย่างยิ่ง รองเท้าวางด้านหน้าจำนวนหลายคู่ แสดงว่าเหล่าศิษยานุศิษย์มากราบนมัสการ เข้าทางประตูปากยักษ์หรือหนุมานประมาณนั้น พบหลวงปู่คำปั่นนั่งบริกรรมพระคาถา สวมลูกประคำเส้นยาว ลูกเท่ามะนาวแป้นอย่างน่าเกรงขราม

 “พระครูทักทายด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนพระเกจิอาจารย์อารมณ์ดี” ท่านบอกว่า มันลุกนั่งยากไปมาลำบากแล้วโยม อายุมาก อาตมาอยู่ที่นี่กว่า 45  ปี เมื่อก่อนคนไม่ผ่านหรอก มันน่ากลัว ป่าช้า “คนกลัวผี” ถนนหนทางสัญจรมายากลำบากมาก น้ำท่วม ฝนแล้ง รวมอยู่ที่นี่

            พระครูจันทสุวรรณ หรือหลวงปู่คำปั่น จันทโซโต เล่าให้ฟังว่า มาปักกดที่นี่ นิมิตว่า ให้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ขอให้สร้างจากจินตนาการเพื่อการเรียนรู้ เส้นทางธรรม เตือนสติเตือนใจผู้มาพบมาเห็น แนวทางการสืบทอดพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นการพุทธบูชา สร้างพระธาตุพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ แต่ละปรางค์ชาติขององค์สมเด็จสัมมาพระพุทธเจ้า  วัดอยู่ห่างไกล บ้านนอก เดินนับหมอนรถไฟจากกรุงเทพ ฯ มาบวชเป็นพระไม่มีสมบัติ ไม่มีเงิน ได้แต่บำเพ็ญเพียรภาวนา ตามหลักพระพุทธศาสนา  แนวคิดคือ “ให้เป็นดินแดนเตือนสติคน ให้คนทำดี”   จากเงินสลึง เงินบาท ที่เหล่าพุทธศาสนิกชนบริจาค  จากสลึง ถึงบาท สิบบาท ยี่สิบบาท ห้าบาท ร้อยบาท หลายร้อยบาท เป็นหมื่น เป็นแสน เป็นหลายร้อยล้านบาท หลั่งไหลด้วยสายธารศรัทธา

                หลวงปู่คำปั่น  จันทโซโท เล่าให้ฟังถึงความอดทน อดกลั้น และตั้งใจทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา ด้วยความเชื่อมั่นศรัทธา ว่า ชีวิตนี้ขอถวายเพื่อเป็นสาวกของพระศาสดาองค์เดียวคือ “พระพุทธเจ้า”  จากพระธาตุคิดถึงความเป็นสิ่งที่มาคู่กับคนคือ  “ไห” หรือหม้อดิน ใช้เป็นเครื่องหุงข้าว ต้ม ยำ ทำแกง เก็บเงิน เก็บทอง คนรวยๆเขาจะฝังไหเงินไหคำ ไว้ในที่ลับ กันขโมย กันโจรในสมัยก่อน เริ่มบอกกล่าวชาวบ้านว่า หากมีไหเก่าที่ยังไม่แตกไม่ร้าวให้นำมาบริจาคไว้ที่วัดป่าโนนสวรรค์  ได้ทั้งไหเก่า ไหใหม่ ไหปลาร้า ปาก 2 ชั้น มีฝาครอบใส่เถ้า กันแมลงวันลงไป  บ้านยางด่อ-เทอดไทย เป็นหมู่บ้านปั้นดินเผา หม้อดินโด่งดังมาก ปัจจุบันยังมีการปั้นดินหลายเจ้า ซื้อและสนับสนุน หลายร้อยหลายพันใบ หลากหลายขนาด บางชิ้นหลายร้อยปี หรือจะเป็นพันปี

                หลวงปู่คำปั่น กล่าวว่า จากปากทางทุ่งเขาหลวง ถนนแจ้งสนิท  ออกจากเมืองร้อยเอ็ดประมาณ 26 ก.ม.แยกเข้ามา 6 กิโลเมตร มีป้ายขนาดใหญ่ เป็นหม้อดินคือสัญลักษณ์ ตรงป้อมยามตำรวจ สภ.ทุ่งเขาหลวง วัดป่าโนนสวรรค์ก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ซุ้มประตูทางเข้าวัด ถนนเข้าวัด เป็นซุ้มพญานาค ขนาดใหญ่ หัวยกสูง หางเป็น 2 กำแพง สองข้างเป็นรูปปั้นเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา พระประจำวันเกิด สัตว์ในพระพุทธศาสนา นก วัว ควาย ช้าง อินทรีย์ ค้างคาว ลิง ชะนี เสือ สิงโต มองไม่เบื่อ  เป็นความอลังการที่ทุกคนพบเห็นต้องบอกว่า ยิ่งใหญ่จริงๆ

                 หลังวัดดินแดนสู่สัมปรายภพ  มีการจำลองภาพแห่งความเป็นไปหลังจากที่ทุกคนพบกับ “การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย”  ทั้งคนทำบาป เปรตอสุรกาย นรก ต้นงิ้วหนาม  คนทำบาปกรรมอย่างไร เวรกรรมย่อมติดตัวไปทั้งภพนี้ และภพหน้า  ไม่ต้องมีคำอธิบาย ลูกเล็กเด็กแดงที่เดินทางมาท่องเที่ยวชิงธรรมะ   เข้าใจทันที มองไปที่ยอดพระธาตุที่สูงตระหง่าน จากนั้นแวะเวียนขึ้นไปช่องทางธรรมะ ศึกษาพระธรรมรอบกำแพง ชั้นของพระธาตุ   12 ชั้น กราบไหว้พระ เป็นสวรรค์แห่งความสุข  บันได 2 ข้าง เป็นพระยานาคราช กำแพงรั้วล้อมทางเดินเป็นหม้อดินจำนวนมากมายศูนย์รวมหม้อดินที่มากที่สุดในประเทศไทยหรือมากที่สุดในโลก

                    หลวงปู่คำปั่น จัทโชโต มีแนวความคิดแห่งความเป็นเลิศของพระนักพัฒนาศิลปะวัฒนธรรม เป็นพระที่มีความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ  “ชาวนา”  ข้างทางติดกับหางพระยานาคราช เป็นพิพิธภัณฑ์ชีวิต  ชาวนา คนกับควาย ไถนา คราดนา ตำข้าวด้วยครกมอง วิถีชาวบ้าน หลวงปู่คำปั่นบอกว่า “อย่าลืมตัวเอง อย่าลืมกำพืดตัวเอง”   ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ต้องเป็นผู้มีแต่ให้ อาตมา อยู่วัดป่าโนนสวรรค์ กว่า 45 ปี อยู่กับชาวบ้าน อยู่กับชาวพุทธศาสนิกชน มีเมตตา โทร.081-0600723  อาตมาไม่ไปไหนหรอก อายุมากแล้ว อีกประการญาติโยมมาไม่พบ ผิดหวัง เป็นเรื่องทุกข์ใจ เขามาเขาอยากสบายใจ อาตมาต้องอยู่ ยกเว้นมีภารกิจหลีกเลี่ยงไม่ได้

         “ลูกหลานที่ได้รับฟังเรื่องราว เล่าขานสู้ไปเองไม่ได้”  แต่จะอยู่ห่างไกลแสนไกล หากรับรู้ด้วยจิต ด้วยวิญญาณ หรือการแผ่เมตตาของอาตมาถึงลูกหลาน ญาติโยม ขอให้มีอำนาจแห่งพระศาสดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงให้ทุกท่านมีแต่ความสุข ความเจริญ พ้นจากภัยทั้งปวง ด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภารธนสารสมบัติทุกๆคน”

           ด้านหลังเป็นดินแดนแห่งขุมนรก และป่าช้า ไว้เตือนสติสำหรับคนทำบาป กรรม เวร นรกขุมที่ร้อนที่สุด กระทะทองแดง ต้นงิ้วหนาม บาปกรรมที่กระทำไว้ ต้องได้รับกรรมอย่างไร ช่างวิเวกวังเวงข้อสำคัญ อย่าไปคนเดียว ท่านอาจเสียขวัญ ถึงขนาดเสียสติวิปลาส ก่อนกลับเดินทางเข้าไปรับพรกับหลวงปู่ คำปั่น จันทโชโต รับน้ำพระพุทธทนต์ ด้ายสายสิน การเดินทาง ตามเส้นทางร้อยเอ็ด-ธวัชบุรี-เสลภูมิ (ทางหลวงหมายเลข 23) กิโลเมตรที่ 139-140 เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 7 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองร้อยเอ็ดประมาณ 18 กิโลเมตร

วัชรินทร์  เขจรวงศ์/รายงาน

โทร.085-7567108

หมายเลขบันทึก: 557668เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2013 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ธันวาคม 2013 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท