กิจกรรมบำบัดกับ"นายชาเขียว"


 

    จากการเรียนวิชาการสังเกตและการให้เหตุผลทางคลินิกพื้นฐาน โดยได้ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดและการนำเอากรอบอ้างอิงต่างๆมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการรักษา ซึ่งในแต่ละกรณีนั้นมีความหลากหลายในวิธีการรักษาและใช้กระบวนการทางกิจกรรมบำบัดแตกต่างกันออกไป

    กรณีศึกษาที่ดิฉันสนใจนั้นเป็นวัยรุ่นเพศชาย ซึ่งขอใช้นามสมมุติว่า “นายชาเขียว” เรียนอยู่สถาบันเทคนิคแห่งหนึ่ง โดยนายชาเขียวไม่สนใจการเรียน ไม่มีความสุขในการเรียน เป็นคนเฉื่อยชา มีปัญหาทางอารมณ์ และทักษะการเข้าสังคมลดลงเนื่องจากเรียนไม่ดี ผู้ปกครองจึงได้พามาปรึกษานักกิจกรรมบำบัดเพื่อทำให้นายชาเขียวกลับไปเรียนหนังสือได้อย่างปกติ ซึ่งหลังจากมาปรึกษานักกิจกรรมบำบัด นักกิจกรรมบำบัดได้ให้คำแนะนำและทำการปรับเปลี่ยนความคิด ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบตัว และใช้กระบวนการทางกิจกรรมบำบัด จึงทำให้นายชาเขียวค้นหาสิ่งที่ตนเองอยากเรียนจริงๆเจอ และกลับไปเรียนได้อย่างมีความสุข

      โดยกรณีนายชาเขียวนี้ นักกิจกรรมบำบัดได้ใช้กรอบอ้างอิง PEOP (Person Environment Occupation Performance) โดยเริ่มจากการให้ลองวิดพื้นซึ่งเป็นสิ่งที่ชอบ100ครั้ง แล้วคิดอุปมาอุปไมยว่าการออกลังกาย100ครั้งนี้ มันเหนื่อยเท่าการเรียน100ครั้งไหม ซึ่งถ้าหากทำได้การเรียนก็ไม่น่าจะยากเกินความสามารถ การให้ลองวิดพื้นนี้เป็นการดูว่านายชาเขียวมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่มอบหมายให้หรือไม่ ซึ่งเมื่อทำไปสักพักนายชาเขียวเกินความเครียดและเหนื่อย ต่อมาได้ทราบเพิ่มเติมว่านายชาเขียวแค่ชอบแต่ไม่เคยทำจริงๆ จึงแปรผลได้ว่าชอบแต่ไม่มีความรับผิดชอบนั้นเอง นักกิจกรรมบำบัดให้นายชาเขียวบอกความต้องการของตัวเอง ว่าชอบอะไร อยากเรียนอะไร ทำไมถึงไม่อยากเรียน และถามถึงสิ่งแวดล้อมเช่น โรงเรียนเป็นอุปสรรคในการเรียนหรือป่าว ซึ่งการมองถึงสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อตัวนายชาเขียวก็คือ Environment โดยจะดูว่าอะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนบ้าง อะไรที่ทำให้ไม่อยากเรียน โดยในกรณีนี้พบว่าในโรงเรียนมีผลทำให้นายชาเขียวไม่อยากเรียน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมด้วยการย้ายโรงเรียนเพื่อไปเรียนในสิ่งที่ชอบ โดยในกรณีนี้ผู้ปกครองเพิ่งทราบว่านายชาเขียวชอบเล่นกีต้าร์และชอบภาษาจีน จึงได้มีการย้ายโรงเรียนและทำการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่สอนเกี่ยวกับดนตรีและภาษาจีน เป็นผลให้นายชาเขียวมีความสุขในการเรียนมากขึ้น

      นักกิจกรรมบำบัดจะใช้ Occupation หรือกิจกรรมเป็นสื่อในการบำบัด และในกรณีนี้ที่มีปัญหาทางอารมณ์ ดิฉัน ในฐานะนักกิจกรรมบำบัดชั้นปีที่2 คิดว่า ควรบำบัดรักษาโดยการหากิจกรรมที่ทำแล้วรู้สึกสบายใจ คลายเครียด เช่น หากเริ่มรู้สึกเครียดให้หยุดพักแล้วกำหนดลมหายใจเข้า-ออกให้เป็นจังหวะเพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการเรียนหรือความเครียดอื่นๆ หรือเล่นกีต้าร์เพื่อปลดปล่อยความเครียดไปกับเสียงเพลง เสริมสร้างทักษะทางสังคมโดยการหากลุ่มเพื่อนที่ชอบเล่นกีต้าร์หรือชอบภาษาจีนเหมือนกัน เพื่อมีไว้พูดคุยหรือปรึกษาปัญหาต่างๆ หรือพูดคุยกับบุคคลที่สำคัญที่สุดนั้นก็คือพ่อแม่ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการรับฟังปัญหาและช่วยแก้ไขปัญหา โดยแนะนำให้หาเวลาทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความรักความผูกพันในครอบครัว และเพื่อความสุขของทุกคนในครอบครัว ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของกรอบอ้างอิง PEOP (Person Environment Occupation Performance) นั้นก็คือการมี Well-Being นั้นเอง

     จากการเรียนวิชานี้ทำให้ดิฉันรู้ว่ากิจกรรมบำบัดนั้นมองทุกสิ่งรอบตัวผู้รับบริการ มองหนทางการแก้ไขโดยใช้กิจกรรมเป็นสื่อบำบัด มองความสามารถที่ผู้รับบริการหลงเหลืออยู่  โดยไม่ได้มองแค่ปัญหา มองความสนใจหรือความต้องการจริงๆของผู้รับบริการ  และสิ่งสำคัญคือการมองหาเป้าหมายสูงสุดในชีวิต นั้นคือ.. การได้มาซึ่งความสุขนั้นเอง :)

 

    สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอาจารย์ป็อปที่ช่วยทำให้เข้าใจกิจกรรมบำบัดมากขึ้นค่ะ

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 557584เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2013 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2014 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท