ตั้งวงสนทนา "กล้าที่จะสอน"


              

 

 

     เมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๓  ธันวาคม ที่ผ่าน มา  ผมได้ไปร่วมวงสนทนา หนังสือ "กล้าที่จะสอน"  ที่กรุงเทพฯ  ครับ

 

 

     นัดที่สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา เก้าโมงเช้า  ผมไปถึงก่อนเลยไปนั่งรอที่วัดราชบพิธ

 

  เก้าโมงเช้า  ก็เข้าไปที่สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา  ทางสำนักพิมพ์เงินมีมา   ก็พาผมนั่งแท็กซี่ไปบ้านคณะกรรมการที่เราจะสนทนาด้วย 

 

    ทำเอาผมเซอร์ไพรส์เลยครับ เมื่อบุคคลที่จะไปสนทนาด้วย คือ อ.วิศิษฐ์  วังวิญญู  (ผมไม่ทราบมาก่อน)

 

        จิบน้ำชาไป  ฟังไป  แลกเปลี่ยนเรียนรู้มุมมองกันไป 

 

กล้าที่จะสอน (Courage to teach) ของ ปาร์กเกอร์ เจ.ปาล์มเมอร์ teach ของ ปาล์มเมอร์ อ.วิศิษฐ์ บอกว่ามาจากคุณลักษณะ ที่สำคัญของ ครู ๓ ประการ คือ


๑. ครูต้อง Connect กับ "ครูภายใน" ของตัวเองได้ ครูภายในในที่นี้ก็คือ "ตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง" รับฟัง "เสียงจากครูภายใน" ของตัวเอง สามารถสือสารเชื่อมโยงกับครูภายใน หรือ แก่นแท้ชีวิตของตัวเองได้


๒.ครูต้อง Connect กับ วิชาที่จะสอนได้ ครูสอนเรื่องใด ต้องเข้าไปอยู่ในโลกของวิชานั้น ต้องนำวิชานั้นมาอยู่ในชีวิตตนเอง ครูกับวิชาเป็นหนึ่งเดียวกัน


๓. ครูต้อง Connect กับผู้เรียนได้ ครูที่จะสามารถ Connect กับผู้เรียนได้ คือ ครูทีสามารถแสดงความเปราะบางของตัวเองออกมา ความเปราะบางของครู จะเป็นสะพานเชื่อมโยงเข้าไปในใจผู้เรียน เชื่อมโยงกับความเปราะบางของผู้เรียน
กล้าที่จะสอน คือ ครูนำทั้ง ๓ คุณลักษณะ มาเจอกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยครู นำวิชา และ ผู้เรียน มาพบกัน

 

อ.วิศิษฐ์ บอกว่า ลักษณะของครูกล้าที่จะสอน (Courage to teach) ไม่ใช่ครูที่แสดงให้นักเรียนเห็นว่าตัวเองมีความรู้ความสามารถ มีความเก่งกล้าสามารถ แต่เป็นครูธรรมดาๆ ที่มีลักษณะเปราะบาง มีความไม่มั่นคง มีความผิดพลาดได้ เหมือนกับครูฝึกสอนใหม่ๆ ที่ยังไม่เก่ง ยังไม่คล่อง ครูฝึกสอนยอมรับว่าตัวเอง มีความกลัว แล้วก็สอนไปด้วยความกลัว แต่ครูปัจจุบัน ที่ผ่านประสบการณ์มามาก จะสร้างภาพว่าตัวเองไม่กลัว ทั้งที่ตัวเองยังมีความกลัวอยู่ โดยปิดบังความกลัวของตัวเองด้วยอำนาจและการจัดการชั้นเรียน จะเห็นว่า นักเรียนจะ "เชื่อมโยง" กับ "ครูฝึกสอน" ได้ดีกว่า "ครูเก่า"

 

อ.วิศิษฐ์ พดถึงเรื่อง "นักศึกษานรก" จากหนังสือ ผู้เขียนปาล์มเมอร์ บอกว่าเข้าไปในชั้นเรียน เจอนักศึกษานรกเพียงคนเดียว ทำให้ต้องหมกมุ่นกับนักศึกษาคนนี้ จนไม่นีกถึงความต้องการของนักศึกษาคนอื่นๆ ปาล์มเมอร์บอกว่าเป็นความล้มเหลวของตัวเอง ต่อมาปาล์มเมอร์เจอนักศึกษาคนนี้ ขับรถให้เขา เขาได้พูดคุย เขาก็ได้รู้ว่านักศึกษาคนนี้ ถูกพ่อดุด่าทุกวันว่าโง่เง่า ไม่อยากให้เขาเรียน...จากประเด็นดังกล่าว อ.วิศิษฐ์ เสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า เด็กทุกคน คนทุกคน ต้องการเป็นคนดี ต้องการเรียนรู้ ด้วยกันทั้งนั้น เวลาอาจารย์ทำกลุ่มแล้วมีหลายคนที่ไม่พร้อมจะเข้ากลุ่ม อาจารย์จะใช้ความเปราะบางของตัวเอง มองเขาไปในใจเขาเพื่อหาความเปราะบางของเขา เขามีบางอย่างที่ติดขัดในใจ เราต้องเข้าใจเขา

 

 

    คุยกันสามชั่วโมง   รู้สึกว่าเวลามันผ่านไปเร็วมาก  ได้ประสบการณ์  แนวคิด  มุมมอง   ที่ขยายความคิดเก่าๆ  ของตัวเองได้มาก      ผมชอบแนวคิด ของ  อ.วิศิษฐ์   ที่บอกว่า

 

"ไม่จำเป็นต้องละทิ้งความกลัว ในทางจิตวิทยาแล้ว ความกลัวมีอีกปีกหนึ่งคือความสั่นไหวและเปราะบาง ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้มนุษย์สามารถสนิทสนมกันได้"

คำสำคัญ (Tags): #กล้าที่จะสอน
หมายเลขบันทึก: 556576เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2013 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2013 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เป็นบทความที่ดีมากครับ..เป็นการดีที่ครูจะต้องรู้จักตนเอง ประเมินตนเองด้วย ขณะเดียวกัน ต้องเข้าใจผู้เรียน ครูไม่จำเป็นต้องวางฟอร์มเก่งไปซะทุกเรื่อง เรียนรู้จากเด็กบ้างก็ได้..ครูไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเอก ในทุกเวทีก็ได้..ใช่ไหมครับ

ใช่แล้วครับ ท่าน ผอ.ชยนต์ คุยกับคุณครูหลายท่าน บอกว่า "มาด" ของครูนั่นละครับ เป็นได้ทั้ง สะพาน เป็นได้ ทั้ง กำแพง ครูบางท่านวางมาดวางฟอร์ม เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เป็นผู้รู้ในทุกๆ เรื่อง มาด อย่างนี้ เป็นกำแพง ครับ มาดที่จะเป็นสะพาน คือ มาดที่ไม่ต้องมีมาดครับ ไม่ต้องวางฟอร์ม เรียบๆ ง่ายๆ เป็นกันเอง ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง เรียนรู้จากเด็กบ้างก็ได้

ขอบคุณครับ

เล่มนี้เล็งไว้อยู่แต่ยังไม่ได้ซื้อครับ ;)...

คุณ Tuknarak ครับ ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยมชม

อ.Wasawat ครับ เล่มนี้ ผมสั่งซื้อจากสำนักพิมพ์โดยตรงเลยครับ ไม่แน่ใจว่ามีวางขายหรือเปล่า

ขอบคุณครับ

เรียน ท่านอาจารย์ small man ;)...

SE-ED มีแล้วครับผม ;)...

อ้อครับ ผมไปเดินหามาหลายรอบ ปรากฏว่ายังไม่มีวางขาย มีวางขายแล้วนะครับ ขอบคุณมากครับ ท่าน อาจารย์ Wasasat

กล้าที่จะConnect..... ครูภายใน ... + วิชาที่จะสอน + ผู้เรียน .... ดีมากๆเลยค่ะ

... ของ สา' สุข.... จะเป็น 3C-PDSA ค่ะคือ Context, Core Value and Concept และ Criteria คือ เกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ นำไปสู่ P-D-S-A นะคะ


ขอบคุณมากครับ ท่าน Dr. Ple สำหรับ

Context, Core Value and Concept และ Criteria คือ เกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ นำไปสู่ P-D-S-A นะ

ผมจะได้ศึกษาเพิ่มเติมและนำไปปรับใช้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท