"สัญชาตญาณ"


               มีศัพท์คำหนึ่งที่ปรากฏในหลายสาขาวิชาต่างๆเช่น ปรัชญา ศาสนา จิตวิทยา ชีววิทยา ภาษาศาสตร์ ฯ คำนั้นคือ "สัญชาตญาณ" (Instinct) คำนี้มาจาก ๓ คำคือ สัญ-เครื่องหมาย บ่งบอก นัย, ชาต-การเกิด อุบัติ, ญาณ-ความรู้ แปลว่าตามศัพท์ ความรู้ที่เกิดขึ้นที่เป็นเครื่องหมายบอก เมื่อรวมคำ "สัญชาตญาณ" กลับแปลว่า ความรู้ที่เกิดขึ้นเอง ไม่ต้องเรียน (เปลื้อง ณนคร: พจนะ-สารานุกรม) ส่วนในราชบัณฑิตกลับให้ใช้คำว่า "สัญชาตเวค" เนื่องจาก คำว่า "ญาณ" เหมาะกับมนุษย์โดยเฉพาะ ส่วนในนัยของภาษาอังกฤษให้ความหมายดังนี้  1. An inborn pattern of activity or tendency to action common to a given biological species.2. A natural or innate impulse, inclination, or tendency. 3. A natural aptitude or gift: an instinct for making money.  4. Natural intuitive power. จาก Dictionary.com

               ในแง่ชีววิทยา คำนี้ปรากฏแก่เราเมื่อไหร่ วิวัฒนาการของร่างกายมนุษย์ที่อยู่บนโลกใช้เวลามานานหลายล้านปี สิ่งที่สืบทอดสายพันธุ์คือ ยีนหรือ DNA เป้าหมายของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดคือ "การเอาตัวรอด" อยู่บนโลกนี้ ที่มีอุปสรรคต่อการอยู่รอดมากมาย เมื่อรอดมาได้ ประสบการณ์นี้เองถูกฝังไว้ในยีนในรุ่นต่อมา (รุ่นที่สอง) นี่คือ จุดวิวัฒนาแห่งการเกิดสัญญาณ (ความรู้ที่จำได้) จากพ่อแม่ยีนใส่ไว้ให้ จากนั้น รุ่นที่สองก็ได้วิวัฒนาเพิ่มเติมอีก จนเกิดความแน่ใจว่า มรดกที่พ่อแม่มอบให้นั้น เป็นสิ่งที่ต้องสร้างความเข้มข้นอีก จนหลายรุ่นต่อมา ความจดจำและความรู้รอดคือ ทุนมรดกที่สำคัญยิ่งในการเอาตัวรอด

               จุดที่เราสามารถหาหลักฐานได้ในการกำเนิดสัญชาตญาณในสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์คือ การฝังตัวอยู่ในครรภ์แม่ สัญชาติญาณเกิดขึ้นในที่นี่เป็นครั้งแรกจาก ๑) ทุนเดิมที่บรรพบุรุษโบราณยุคต้นมอบให้มา ๒) เรียนรู้เองจากรุ่นต่อๆมา ๓) เกิดจากแม่ที่สืบทอดเอาจากแม่เมื่ออยู่ในครรภ์ ๔) เรียนรู้เอาเองหลังคลอดแล้ว

               ในแง่จิตวิทยา จากซิกมันต์ ฟอยด์บอกว่า สิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์มีแรงกระตุ้นจากภายในอยู่ ๒ อย่างคือ ๑) สัญชาตญาณเรื่อง การเอาตัวรอด ๒) การกลัวความตาย อันแรกเป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยความอยู่รอด อยู่ทนบนโลกนี้ แม้ว่าพ่อแม่จะตายไป แต่ยีนของลูกจะยังทำหน้าที่นี้ต่อไป นั่นสะท้อนให้รู้ว่า ชีวิตไม่อยากตาย อยากรู้รอดให้ยาวนานนั่นเอง แต่ชีวิตมีเงื่อนไข ดังนั้น สิ่งชีวิตจึงต้องปรับตัวเองด้วยการถ่ายทอดยีนเอาไว้ให้มั่นคง ทั้งสองจึงสื่อออกมาทางการสืบพันธุ์ ด้วยเหตุนี้ สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จึงต้องอาศัยเพศเป็นแรงขับในการสืบทอดสายพันธุ์ จนกลายเป็นสัญชาตญาณติดตัวไปทุกคน

                ในแง่ศาสนาก็เป็นเรื่องความเชื่อของแต่ละศาสนา ในที่นี่ขอกล่าวถึงพราหมณ์กับพุทธ เนื่องจากทั้งสองสัมพันธ์กันในแง่ประวัติความเป็นมา พราหมณ์เชื่อว่า ชีวิตอิงพระพรหมเป็นผู้สร้างด้วยอำนาจแห่งมายา มายาเหมือนที่ห่อหุ้มชีวิตมิให้เกิดวิโมกษ์ ในชีวิตมนุษย์มีสององค์ประกอบคือ ประกฤต (กาย) และบุรุษ (ใจ) หากเราอาศัยวิชชา (ปัญญา) แยกท้ังสองออกจากกันได้ ก็จะเข้าสู่วิโมกษ์ได้ แนวคิดเป็นของสำนักเวทันตะ ส่วนในพระเวทจะกล่าวถึงชีวะกับอาตมัน จุดที่เกี่ยวโยงประเด็นคือ "อัตตา" (self) ซึ่งเป็นแก่นสารของชีวิต ที่เป็นอมตะ เพราะสืบทอดมาจากพระปรมาตมัน (ต้นแบบอาตม์) คุณลักษณะของอาตมันเล็กคือ มันต้องการความอยู่รอด ไม่มีวันตาย ไม่อยากตาย แม้กายจะพังไป มันก็จะหาร่างเกิดใหม่

               ส่วนพุทธศาสนากล่าวเรื่องนี้ ที่จิตที่ถูกกิเลสห่อหุ้มจนเป็นเหตุให้ตัณหาเกิดความโดดเด่นขึ้น จนครอบงำจิตได้ จากนั้นความอยากก็จะบังคับให้จิต คิดการใหญ่ คิดตามอำนาจฝ่ายต่ำ อำนาจฝ่ายต่ำคือ "สัญชาตญาณ" (Desire or lust) นั่นเอง ด้วยอำนาจของสัญชาตญาณทางกายภาพเช่น เพศ หิว กลัว นอน อยาก เขลา กรรม ฯ เหล่านี้ คือ สัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิต การเอาชนะอำนาจเหล่านี้ได้คือ การฝึกจิตให้รู้ทันสัญชาตญาณเหล่านี้ โดยอิงวิธีฝึกจิต (สมถะ วิปัสสนา) จนเรียกว่า "ญาณ" ที่เกิดขึ้นในจิตเรียกว่า "ปัญญาญาณ" ญาณนี้เกิดจากการตั้งเจตนาขึ้นเองด้วยสติ ปัญญา มิได้เกิดเองตามธรรมชาติที่สืบทอดมา 

                ในแง่ปรัญชา มีหลายคนที่กล่าวไว้เช่น เพลโตบอกว่า จิตเดิมถูกความอยากกระตุ้นจนมืดบอด อริสโตเติ้ลบอกว่า ชีวิตมีพลังขับเคลื่อน ๔ อย่างคือ พลังในตัวเอง พลังศักย์ พลังแบบ และพลังเป้าหมาย พลังเหล่านี้สนับสนุนให้เกิดการเคลื่อนไหว เรียกว่า "เหตุ" และก่อให้เกิดพลังขับเคลื่อนไปสู่ "ผล" เหมือนแรงปรารถนาของสิ่งมีชีวิต คือ ความอยู่รอด (ผล) ส่วนค้านท์มองว่า พฤติกรรมแห่งเหตุผลที่ไหลออกมาเรียกว่า "วิญญาณ" (Soul) โซลมาจากพระเจ้ามอบให้ แล้วก็กลายเป็นพฤติที่แสดงออกเป็นญาณคือ รู้ด้วยตนเอง  ส่วนโชเป็นฮาวเออร์กล่าวว่า ที่กล่าวทั้งหมดนี้คือ "เจตจำนงตาบอด" (Blind Will) ที่มุ่งแต่จะหาทางเอาตัวรอดอย่างเดียว

                 มาถึงหลังนวยุค ได้รื้อถอนโครงสร้างความคิด ความเชื่อที่ปฏิบัติมา ถูกล้มล้างแบบล้มกระดาน โดยมองเรื่อง สัญชาตญาณว่า มันคือ ตัวตนของเรานี่เอง เรียกว่า "สิทธิเสรีปัจเจกบุคคล" ซึ่งได้มาการแหวกทางของนิเช่ ดังนั้น ยุคใหม่และหลังนวยุคจึงเน้น "ตัวตน" เป็นจุดขับเคลื่อน จึงไม่แปลก ที่ผู้คนยุคใหม่จึงอาศัยสิทธิ ความต้องการเพื่อตน ความอยากแบบทะเยอทะยานให้ตนเองโดดเด่นกว่าใคร จึงเป็นเหตุให้เกิดการ Battle กัน หรือ fighting กันอยู่ทุกที่ ทุกแห่ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ตนเองอยู่รอดนั่นเอง

                 การต่อสู้นี้แสดงออกมา ๒ ประเภทคือ ๑) แสดงออกโดยตรงแบบห้ำหั่น ใช้กำลัง เช่น สงคราม ชกต่อยกัน ฯ หรือเหมือนสัตว์ป่า ที่ใช้สัญชาตญาณกันนั่นแหละ  ๒) แสดงออกแบบสร้างสรรค์ เช่น การแข่งขันกัน เพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้าม เป้าหมายคือ ความอยู่รอด รางวัล เหมือนนักกีฬานั่นเอง

                ดังนั้น  คำนี้จึงฝังตัว สอดแทรก แวกว่ายอยู่ในสังคม จิตใจ อยู่ในตัวตนของเราทุกคน จนกลายเป็นสัญชาตญาณ โดยไม่ต้องมีใครบอก ใครสอน เช่น กิน ดื่ม สืบพันธุ์ กลัว ต่อสู้ ฯ เราควรหาวิธีเข้าถึงมัน เพื่อปรับมันให้เป็น "อัตญาณ" ของเราอย่างแท้จริง

-----------<>-------------

คำสำคัญ (Tags): #สัญ#ชาต#ญาณ
หมายเลขบันทึก: 556498เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2013 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2013 23:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เคยคุย..กับ...นักศึกษาหนุ่มเยอรมันเมื่อก่อนยี่สิบปีที่แล้ว.."เขา"..บอกว่า..เขาไม่เคยรู้จัก..คำๆนี้(Instinct)..และไม่เคยคิดว่ามี..ด้วยซ้ำ..อ้ะะ...(คนๆนี้..อยู่ใน.."นวยุค"..รึเปล่านะ...อ้ะะ)

... ตามมาอ่าน บันทึกดีดีนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท