compromise...


 

        การทำงานร่วมกันในองค์กร compromise ถือเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญในการผลักดันองค์กรให้เดินหน้าต่อไป…แม้บางอย่าง...บางครั้ง...เราเองจะรู้สึกอึดอัดหรือขัดใจก็ตามที...แต่หากคิดอีกแง่หนึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ได้ฝึกตน..เออ...น่า...นะ...

        ความแตกต่างหรือความหลากหลายสะท้อนให้เห็นถึงอิสรภาพและความสวยงามทางความคิด...

        หากมีความขัดแย้งทางความคิด...ผู้เขียนจะเลือกใช้วิธี compromise โดยพยายามยึดหลัก เมตตา กรุณา กัลยาณมิตร...ในการอธิบายเหตุและผลของเราด้วยภาษาดอกไม้...หาก

                      ผลออกมาเป็นบวก : ก็มุทิตาไป...

                       ผลออกมาลบ  :  ก็อุเบกขาไป...

         แม้กระทั่งบางครั้งเราหวังดี (เกินไปหรือเปล่า?) ที่จะบอกกล่าว...แต่ (เขา) ไม่ยอมรับฟัง...เมื่อก่อนเคยโมโหว่าทำไมถึงไม่ฟังเราบ้างเลย...แต่ปัจจุบันก็มีบ้างแต่ก็น้อยลงมากแล้ว...โดยพยามคิดว่า...

         เราได้ทำเหตุ คือ แนะนำ บอกกล่าวในฐานะกัลยาณมิตรแล้ว...มีความสุขใจในสิ่งที่ได้ทำแล้ว  แต่

         ผล...จะออกมาเป็นยังไง...ก็ไม่เก็บมาใส่ใจมากนัก...เพราะผลขึ้นอยู่กับตัวเขาเองว่าจะเลือกลู่วิ่งไหน...ถือว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถไปควบคุม บังคับ บีบคั้นให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้...

     

        ดังนั้นในปัจจุบัน...จึงเก็บมาคิดแค่เหตุว่า...เราได้ทำหน้าที่ในฐานะกัลยาณมิตร (ตักเตือน บอกกล่าว แนะนำ ในสิ่งที่ดี) ได้สมบูรณ์หรือยัง...เท่านั้นพอ

 

        อีกเรื่องในทางการเมือง (เรื่องร้อนๆ ในขณะนี้) ก็จะมีคุยกันในองค์กร...แต่ผู้เขียนก็จะเลือกคุยเฉพาะกับคนที่คุยด้วยเหตุ – ผล เท่านั้น...โดยกรอบการคุยของผู้เขียนก็จะยึดที่แก่นเนื้อหาสาระเป็นสำคัญ ไม่ได้ยึดที่ตัวบุคคล ดังนั้นก่อนคุยผู้เขียนก็จะมีกติกาของตัวเองก่อนว่า ‘ห้ามเอาความชอบ – ไม่ชอบมาเป็นสาระ’ หากเห็นตรงกันในจุดนี้ก็คุยกันต่อไปได้...หากไม่ก็หยุด

        …ซึ่งถ้าหากคุยกันจะชอบถามว่าในประเด็นนี้...คิดยังไง? เพื่อจะดูว่าข้อมูลที่ผู้เขียนรู้กับเพื่อนที่คุยด้วยรู้ในทิศทางเดียวกันหรือไม่...แล้วค่อยมาวิเคราะห์ตามความคิดเห็นของตัวเองให้แต่ละฝ่ายได้รับรู้...

        มีอยู่หลายครั้งที่เคยคุย...ปรากฏว่าในเรื่องดังกล่าวคู่สนทนาไม่ได้แสวงหาหรือใส่ใจในข้อมูลเลยแต่ก็พยายามจะแสดงความคิดเห็นเป็นตุเป็นตะ (เอามันอย่างเดียว) ผู้เขียนก็เลยตัดบทว่า ‘เอางี้ไหม...ลองไปหาข้อมูลประเด็นนี้ก่อนแล้วค่อยมาคุยกัน...ปรากฏว่าโมโหเรา...หาว่าเราไปว่าเขาเข้าไปอีก…

        เฮ้อ...ไปกันใหญ่ ผู้เขียนก็เลยพยายามอธิบายว่า... ‘เราอยู่ในแวดวงการศึกษา ดังนั้นสิ่งสำคัญเราต้องแสวงหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงก่อนแล้วค่อยมาวิเคราะห์ ไม่ใช่ไปตามกระแสหรือความชอบไม่ชอบและเอามันอย่างเดียว’

          สุดท้ายก็เฮ้ออีก...นี่แหละหนาในปัจจุบันเขาถึงบอกว่า…

 

“คนส่วนใหญ่ชอบเอาความคิดเห็นมาแสดง...แต่ไม่ชอบแสวงหาความรู้หรือข้อมูลให้ครบถ้วนก่อน”

 

คำสำคัญ (Tags): #compromise
หมายเลขบันทึก: 556379เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2013 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2013 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผลขึ้นอยู่กับตัวเขาเอง ..... ว่าจะเลือกลู่วิ่งไหน ...เป็นคำขม ข้อคิดที่ดีจังเลยค่ะ ... ขอบคุณ

ถ้าเรา..คิดได้..เช่นนี้...ปัญหา..น้อย..ลง...ปัญญา.. เกิด.....(..เหตุที่เกิดได้ในแดน.ที่ มี..คนพุทธ..มากมาย..จึงเหลือเชื่อ..ว่า..ผล..ของการยึดมั่นถือมั่น..ในอัตตา.ได้.เป็นตัวพิสูจน์แล้ว..).....

ชอบความคิดระหว่างมุฑิตาและอุเบกขา ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณมากครับ : สำหรับความคิดเห็นจาก อาจารย์P'Ple คุณยายธี Dr.Pop...

ขอบคุณมากครับ : สำหรับกำลังใจจากทุกท่านที่มอบผ่านดอกไม้...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท