อากาศหนาว ข้าวชะงักการเจริญเติบโต


อากาศหนาวเริ่มย่างกรายเข้ามาทีละน้อยแล้วนะครับปีนี้  ปัญหาน้ำท่วมก็ยังคงกร้ำกรายรบกวนพี่น้องชาวไทยอยู่เช่นเดิม เพียงแต่ว่าปีนี้กรุงเทพฯและปริมณฑลรอดพ้น แต่ไปกระหน่ำซ้ำเติมพี่น้องภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคอีสานเสียเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้ระดับน้ำจะไม่สูงขึ้นมาจนทำให้ถนนหนทางหลักขาดการติดต่อเหมือนเช่นปี 2554 แต่พื้นที่ทำมาหากินของพี่น้องเกษตรกรก็ถูกน้ำกระหน่ำซ้ำซัดจนเสียหาย และต้องทิ้งช่วงการเพาะปลูกทำให้รายได้หายหดเยอะพอสมควร

แต่ที่สำคัญในขณะนี้ภัยธรรมชาติลูกใหม่ที่เข้าใกล้พี่น้องเกษตรกรนั่นก็ภัยภัยหนาว ซึ่งเป็นบรรยากาศที่สวยงามสำหรับประชาชนคนธรรมดาที่ต้องการสัมผัสบรรยากาศที่เย็นฉ่ำช่ำชื่นหลังจากที่ผ่านกาลเวลาที่ร้อนอบอ้าวมายาวนานพอสมควร แต่พี่น้องเกษตรกรทั้งภาคเหนือที่มีปัญหาแม่คะนิ้งที่ทำให้ใบของพืชไร่ไม้ผลถูกมวลน้ำที่มีอยู่ในเซลล์เกิดการแข็งตัวขยายมวลใหญ่ขึ้น ทำให้เนื้อเซลล์ของพืชฉีกขาดแตกหัก เมื่อเข้าสู่ช่วงสายน้ำแข็งหรือแม่คะนิ้งละลายและมีความร้อนจากแสงอาทิตย์เพิ่มความเข้มข้นเข้ามามากขึ้น จึงทำให้เกิดอาการใบไหม้สร้างความเสียหายแต่พืชผักอยู่มากเช่นกัน, หรือพี่น้องเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลา ก็จะมีปัญหาน้ำเน่าเสียจากอาหารและของเสียที่ตกค้าง เพราะกุ้งหรือปลาจะกินอาหารน้อย และพี่น้องชาวไร่ชาวนาที่มีรอบระยะการปลูกในช่วงนี้ ก็จะมีปัญหาข้าวกระทบหนาว ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต เป็นโรคอั้นโรคจู่ ตามมา

ก็ขอฝากพี่น้องเกษตรกรให้เตรียมตัวรักษาป้องกันกันให้ดีนะครับ อย่างน้อยการใช้หินแร่ภูเขาไฟ พูมิชซัลเฟอร์ (Pumish Sulpher) หว่านกระจายตั้งแต่ช่วงเตรียมเทือก หรือช่วงใกล้ระยะเวลาแตกกอ หรือก่อนข้าวตั้งท้องอายุ 50 – 60 วัน ก็จะช่วยทำให้ข้าวมีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศที่หนาวจัดหรือร้อนจัดได้เป็นอย่างดี (Agricultural Utilization of Silicon in China by Hailong Wang1, Chunhua Li2 and Yongchao liang3Effect of Silicon on Yield by Gaspar H. Korndorfer) หรือจะใช้กลุ่ม ไรซ์กรีนพลัส ซึ่งเป็นของจุลธาตุอย่างสังกะสี, แมกนีเซียม, กำมะถัน นิกเกิ้ล ที่จัดสรรคัดสูตรมาโดยเฉพาะเพื่อต่อสู้กับอากาศหนาวจัดที่จะเข้ามาสร้างผลกระทบด้านลบแก่พืช อันนี้ก็ขอฝากไว้ด้วยนะครับ ว่าสามารถใช้แนวทางปลอดภัยไร้สารพิษช่วยในการดูแลป้องกันมิให้เกิดผลเสียหายแก่พืชไร่ไม้ผลของพี่น้องเกษตรกร เพราะบางท่านเมื่อพืชกระทบหนาวหยุดชะงักการเจริญเติบโต แล้วไปเชื่อผู้หวังดีให้ใช้ยูเรีย 46-0-0 กระตุ้นหว่านทับลงไป ซึ่งไม่เกิดผลอะไรเลย หลังจากพ้นหนาวแล้ว ไนโตรเจนที่สะสมอยู่ในดินครั้งก่อนจำนวนมากก็จะถาโถมลำเลี้ยงขึ้นไป ทำให้เฝือใบอ่อนแอ ง่ายต่อการเข้าทำลายของโรค แมลง เพลี้ย หนอน ราและไร  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 081-313-7559

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 555675เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท