เมื่อเราต้องเป็นคนที่ตายแล้ว


จริงๆแล้วพวกเราทั้งหลายที่มีทั้งผู้นับถือพุทธศาสนาแบบไม่ได้เข้าวัดเป็นอาจิญเพราะกิจทางโลกคอยกำกับเวลาแต่สามารถเข้าใจหลักธรรมได้บ้างดำรงค์ตนอย่างใกล้ชิดชีวิตทางจิตวิญญาณ 

 

และกลุ่มคนผู้นับถือศาสนาพุทธที่เข้าวัดเป็นอาจิญแต่ไม่อาจเข้าถึงหลักธรรมได้และใช้ชีวิตอยู่บนความรู้สึกร้อนรนทั้งหลายเหล่านี้ต่างรู้สึกมึนงงกับความเชื่อเรื่องโลกหลังความตายกันใช่หรือไม่? 

 

โดยส่วนตัวตั้งคำถามอย่างสับสนอยู่เสมอว่าตกลงตายแล้วเป็นอย่างไรวิญญาณเราจะมีอยู่จริงหรือเปล่าแล้วจะรู้สึกอะไรอีก มั๊ยเจ็บปวดทรมานได้หรือไม่ล้วนไม่มีคำตอบ ท้ายที่สุดจึงต้องพยายามตอบตัวเองว่า ตายแล้วก็ไม่ต้องกลัวแล้วก็ไม่ต้องเจ็บ ร่างกายไม่มีแล้วเขาเผาจนไฟท่วมตัวก็ไม่ลุกขึ้นวิ่งหนีแล้วไม่น่ากลัวอีกแล้ว (เห็นภาพนี้ตอนมองเข้าไปในเตาเผาตอนคุณยายดิฉันเสียชีวิต

 

เมื่อยังอยู่ในวัยเด็กดิฉันเคยกลัวความตายมากๆๆๆ แต่ไม่กล้าบอกกับผู้ใหญ่คนใดกลัวมากจนคิดปรอบใจตนเองเช่นนี้ และเชื่อจนสนิทใจเมื่อเห็นภาพในเตาเผาครั้งนั้น  

 

เราจะอธิบายเรื่องโลกหลังความตายกันอย่างไรดีเล่า

 

ในสังคมวิทยาศาสตร์เช่นปัจจุบันโลกที่ต้องการการมองเห็นจับต้องได้และถูกปลูกฝังเช่นนี้มาตั้งแต่เริ่มต้นจำความได้  แม้แต่ในทางธรรมก็อธิบายเราไม่เหมือนกันไม่เข้าใจ จินตนาภาพไม่ออกว่าตกลงตายแล้วยังมีวิญญาณอยู่ใช่มั๊ยแปลว่ามีผีแต่ผีไม่ได้น่ากลัวเสมอไปต่างคนต่างอยู่อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกันได้ใช่มั๊ย?

 

ตกลงเราควรตั้งเป้าหมายทางจิตวิญญาณของเราว่าอย่างไรดี 

 

ทำคุณงามความดีไว้ให้มากๆไม่เบียดเบียนผู้ใดมองทุกสิ่งอย่างเป็นอนิจจังไม่ติดไม่ยึดไม่ครอบครองเพื่อไปสู่นิพพานที่แปลว่าไม่มีอะไรไม่เกิดใหม่หรือเปล่า?

 

หรือทำคุณงามความดีไว้ให้มากๆไม่เบียดเบียนผู้ใดเพื่อให้ได้ไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดียิ่งๆขึ้นไป  ได้ร่ำรวยสุขสบายอันเป็นความคิดอันนำไปสู่การยึดติดใช่หรือไม่?

 

ทำไมเราไม่เริ่มต้นพูดถึงเรื่องหลังความตายเหล่านี้อย่างจริงจัง แม้จะจับต้องไม่ได้ไม่ค่อยเป็นวิทยาศาสตร์แต่ถ้ามันคือความจริงก็คือสิ่งที่ต้องเรียนรู้จดจำและเข้าใจมันไม่ใช่หรือในเมื่อมันคือเราคือส่วนหนึ่งของสิ่งที่ต้องทำ ต้องเป็นคนที่ตายแล้ว (เมื่อคนที่ยังอยู่พูดถึงเรา) ไม่วันใดก็วันหนึ่ง

 

ทำไมเราไม่ทำการอธิบายเรื่องนี้อย่างจริงๆจังๆด้วยภาษาง่ายๆไม่ต้องมีการศึกษามากไม่ต้องเข้าวัดมากไม่ต้องรู้ภาษายากๆเช่นบาลีสันษกฤตก็เข้าใจได้เท่าที่เห็นหรือเคยเจอมากับตัวพอพูดถึงจุดที่กำลังจะคลี่คลายความสงสัยก็ใช้ภาษาบาลี ซะงั้นแล้วในที่สุดก็ไม่เข้าใจปล่อยให้ตีความกันเอาเอง  โดนอย่างนี้มาตลอด 

 

การทำความเข้าใจเรื่องนี้ก่อนจะนำไปสู่ความเข้าใจโดยองค์รวมหรือเปล่า? เมื่อเข้าใจกันแล้วข้อกล่าวหาเรื่องงมงายอาจจะค่อยๆคลี่คลายไปได้บ้าง  แม้คำอธิบายนั้นอาจไม่สามารถอิงวิทยาศาสตร์ได้บ้างในบางประเด็นก็ตามก็จริงแท้แล้ว 

 

นักคลั่งวิทยาศาสตร์ทั้งหลายคนรุ่นใหม่หรือรุ่นไหนๆก็ไม่ได้ปฎิเสธความไม่เป็นวิทยาศาสตร์โดยสิ้นเชิงไม่ใช่หรอ  อย่างน้อยๆเราก็ได้ยินประโยคว่า " ไม่เชื่ออย่าลบหลู่" อยู่บ่อยครั้งไม่ใช่หรอจากนั้นเราก็ค่อยๆเพิ่มเติมในประเด็นที่ยากมากขึ้นมากขึ้นดีกว่ามั้ย

 

หมายเลขบันทึก: 555580เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2013 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ธันวาคม 2013 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

...ทำวันนี้ให้ดีที่สุดนะคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท