จากเขียนตามคำบอกสู่เรื่องราวของตนเอง


 

        วันนี้มีกิจกรรมต้นคาบเหมือนเช่นทุกๆครั้งที่ผ่านมาคือ การเขียนตามคำบอก จำนวน ๕ คำเพื่อให้นักเรียนสะสมฐานข้อมูลคำภาษาไทยที่ใช้บ่อย และสะกดได้อย่างถูกต้อง โดยครูนกบอกว่า วันนี้เราจะเขียนคำที่สอดคล้องสถานการณ์ซึ่งได้แก่คำว่า กระแสน้ำ จลาจล บรมฉายาลักษณ์ สถานการณ์ และนิรโทษกรรม เหมือนนักเรียนเขียนเสร็จครูก็เฉลยเพื่อตรวจให้คะแนน และหากผิดนักเรียนจะได้แก้ไขให้ถูกต้อง แต่วันนี้พิเศษที่ครูนกให้นักเรียนนำคำทั้ง ๕ คำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราว ทั้งนี้จากการส่งงานในครั้งที่ผ่านมา  ทั้งภารกิจสำคัญของวิชานี้คือ การเขียนรายงานเชิงวิชาการซึ่งครูนกเริ่มให้นักเรียนเขียนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ สมมติฐาน  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ตลอดจนสาระความรู้พบปัญหานักเรียนเขียนไม่ได้  โดยการเขียนสะท้อนความคิดตนเองไม่ได้ หรือสรุปความรู้ของตนเองไม่ได้ เขียนโดยภาษาพูด หรือเขียนแบบไม่มีประธาน หรือมีเฉพาะกิริยา จึงได้เพิ่มกิจกรรมนี้ขึ้นด้วยวิชานี้คือวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ จึงให้เวลาในการเขียนเรื่องราวอย่างอิสระ ภายในเวลา ๑๕ นาที หลังได้ฟังคำชี้แจงจากครู คำถามต่างๆ จากเด็กๆ เริ่มปรากฏเช่น
- เขียนกี่บรรทัด (ครูขอไม่จำกัดบรรทัดแต่กำหนดด้วยเวลา)
- เขียนหรือแต่เป็นนิทานได้หรือเปล่า (ได้เลยถ้าจะใช้คำว่า "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว......)
- ร่างก่อนได้หรือเปล่าค่ะ (อย่างไรก็ได้แต่มีเวลา ๑๕ นาที)
- เขียนแบบนี้ได้หรือไม่ (ครูนกเลยบอกว่า ลูกเขียนอย่างอิสระเลย หากลูกถามครูมากๆ จะกลายเป็นเรื่องของครูไปนะคะ ที่ครูย้ำคือ เรื่องที่เราเขียนควรสร้างสรรค์ นำเสนอในแง่บวก)

 

 


          ครูนกเดินดูพบแนวการเขียนที่น่าสนใจหลายๆ คนเลยค่ะ และสังเกตเด็กๆ จะมีความสุขกับการเริ่มเขียนเรื่องราวแบบไร้กรอบของตนเอง และได้ตั้งชื่อเรื่องราวที่ตนเองเขียน  นอกจากนี้นักเรียนสามารถใช้ข้อมูลของเหตุการณ์ที่สำคัญในบ้านเมืองมาใช้สื่อสารความคิดตนเองได้


          วันนี้มีความสุขแบบ win win ในห้องเรียนครูวิทย์สอนภาษาไทยที่เน้นให้สื่อสาร

หมายเลขบันทึก: 555309เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2013 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2013 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ยอดเยี่ยมครับ คุณครูนก ;)...

เขียนอย่างสร้างสรรค์ พลังภายในของเด็กได้รับการกระตุ้นแล้วครับ ขอชื่นชม

ชอบครับ ข้อความนี้สั้นๆแต่กินใจเหลือเกิน...

เรียนครูนก เพียงเริ่นต้นเขียน ก็ได้เขียนแล้ว

...ขอชื่นชมกิจกรรมที่ดีค่ะ...การเขียนภาษาไทยนั้นความยากอยู่ตรงที่ต้องเขียนสะกดคำให้ถูกต้อง ถูกที่ และถูกความหมายนะคะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ Wasawat Deemarn ครูนกว่าสอนภาษาไทยนี้ยากกว่าสอนเคมีค่ะ

ขอบคุณค่ะ...คุณ สมาน เขียว

พลังสร้างสรรค์เด็กเขามีมากมาย...ครูต้องพยายามจัดสถานการณ์ให้แสดงออกนะคะ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ Wasawat Deemarn
สอนภาษาไทยไม่ใช่เรื่องงานสำหรับครูนก.......แต่พยายามค่ะ

ขอบคุณค่ะ คุณครูมะเดื่อ

สอนจากเหตุการณ์ปัจจุบัน...เด็กสนุก และเชื่อมโยงได้มากมาย

สวัสดีค่ะ คุณ พ.แจ่มจำรัส

เจอแวว....คนเขียนดีหลายๆคนค่ะ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์หนึ่ง

เห็นด้วยเลยค่ะ ท่านวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

เพียงแค่ได้เริ่ม....เพียงแค่ได้จุดประกาย...เด็กเขามีพลังสรรค์ในตนเอง

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ ดร. พจนา แย้มนัยนา

ใช่เลยค่ะ ความยากในการเขียนคือ การรู้จักคำ การสะกด....และการสร้างสรรค์งานเขียน

หนูเขียน ในสิ่งที่อยากเขียน เขียนในสิ่งที่รู้ มีอะไร ก็เขียนไปก่อน สะกดถูกผิด ว่ากันที่หลัง...ค่ะ

สวัสดีค่ะ.....สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

ใช่เลยค่ะ ภาระของครูหลังจากนักเรียนคือ อ่านแล้วตรวจปรับแก้ไข อย่างคำว่า จลาจล มิใช่ จราจล หรือคำว่า ที่กับ ฉายาลักษณ์ตั้งแต่ พระบรมฉายาลักษณ์ พระฉายาลักษณ์.....ที่คำสำคัญคำถามของเด็กๆ มีไปถึงคำว่า พระฉายาบรมทิศลักษณ์ด้วยค่ะ

พี่นกครับ

สนุกมากเลย

ตอนทำกิจกรรมอะไรเสร็จผมก็ให้นักเรียนเขียนประเมินว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรด้วยครับ

บางทีก็เขียนเรื่องใกล้ตัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5ครับ

ขอบคุณครับ

ใช่เลยค่ะ น้อง ขจิต ฝอยทอง

ต้องให้เด็กๆได้เขียนในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเอง.....ช่วยแก้ปัญหานักเรียนเขียนไม่ได้อ่านไม่ออกได้ด้วย...เวลาพี่นกบอกเขาจะบอกว่า อาจารย์ขอช้าๆ ชัดๆ หน่อยจะได้เขียนให้ถูก........พี่นกก็ได้เรียนรู้ภาษาไทยเพิ่มเติมไปด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท