ดวงประทีปแห่งเเรงบันดาลใจ ๑๔


เราให้ผู้อื่นๆไปมากเเล้ว สิ่งสำคัญที่เราควรจะให้ คือ การให้ตนเองเสียบ้าง

มอบใจให้สุข

 

 

           สังคมที่เราอยู่อาศัยกันในทุกวันนี้เต็มไปด้วยความวุ่นวายต่างๆมากมาย จิตใจของคนเรามีความเห็นเเก่ตัวมากยิ่งขึ้นจากอดีตที่เราเคยมีน้ำใจให้กัน  เห็นใจซึ่งกันเเละกัน  ยอมรับซึ่งกันเเละกัน มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ฯ สิ่งเดิมๆทั้งหลายทั้งมวลนี้กับหายไปในชีวิตของเราตั้งเเต่เมื่อไหร่  เเต่ก่อนเราเคยผูกพันธ์กับสิ่งนั้นเเต่เดี๋ยวนี้เราห่างเหินจนอาจลืมเลือนความเป็นตัวตนของตนเอง "เเล้วทำไมล่ะ" ซึ่งคำตอบที่ได้อาจมีหลายอย่างหลายปัจจัยมารวมกัน  จากเดิมที่อยู่ด้วยกันกับพ่อเเม่ เเต่เดี๋ยวนี้พ่อ เเม่ เเละ ลูกแทบไม่มีเวลาได้พูดคุยกัน ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญเป็นยเพราะค่านิยมที่เปลี่ยนเเปลงไปในทุกขณะที่เราไม่สามารถหยุดยั้งได้ "เพราะเราเป็นเพียงคนธรรมดา" เราไม่สามารถหยุดเวลาได้  "เเต่ก่อนเราไปมาหาสู่กันตามบ้านเรือน" เเต่เดี๋ยวนี้สร้างกำแพงปิดกั้นจนมองไม่เห็นบ้านข้างเคียงเเทบหลังคา  หรือในชุมชนเมืองที่ในบางครั้งอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าบ้านข้างเคียงของเรานั้น คือใคร จากหลายเหตุหลายปัจจัยต่างๆนานาจึงเป็นสิ่งที่คอยบีบสังคมที่เราอยู่ให้เเคบลงเรื่อยๆ เเคบลงเรื่อยๆ ใช้เวลาพูดคุยกับคนในครอบครัวเพียงไม่กี่ประโยค อยู่ในสังคมของงาน งาน เเละงาน ทำให้ผลกระทบทางด้านเสียเกิดขึ้นมามากมาย อาทิ  ลูกขาดความอบอุ่นครอบครัว  สัมพันธภาพระหว่างคนในชุมชน  ทัศนคติเเคบลงในทุกขณะ      

           สังคมใดใด ก็ตามที่จะสามารถยืนหยัดอยู่อย่างสันติสุขได้ จะต้องมีผู้คนส่วนหนึ่งที่เสียสละ หรือจิตอาสา  การเสียสละนี้คุณธรรมอีกข้อ เป็นหลักคิดอีกข้อที่จะทำให้ ครอบครัว  ชุมชน  สังคม เเละประเทศชาติ อยู่อย่างร่มเย็น ถ้าทุกคนยอมรับซึ่งกันเเละกัน ถ้าทุกคนเข้ามาปรับตัวซึ่งกันเเละกันย่อมส่งผลทำให้สังคมอยู่ต่อไปได้อย่างร่มเย็น  "ผู้คิดอย่างนี้เป็นส่วนใหญ่  เราเองคิดอย่างนี้" เราก็ต้องรับฟังความคิดเห็นของส่วนใหญ่ เพราะนั่น คือ คนส่วนใหญ่  เป็นเเนวคิดที่เป็น "สากล" ให้คิดอยู่เสมอว่า ในการทำสิ่งใดใดนั้น เราสามารถทำเองได้ก็จริงอยู่ เเต่ถ้าเราทำงานคนเดียวนั้น โอกาสที่เราจะพลาดนั้นมีสูงที่สุด ฉะนั้นคุณภาพของงานที่ออกมาจึงเป็นงานที่ "มีพลังน้อย" ที่ขาดการมีส่วนร่วมของทุกๆคน เเต่ถ้าหากเราทำงานเป็นกลุ่มก้อนเเล้ว "เราย่อมจะมีพลังมากจากการมีส่วนร่วมของทุกๆคน" การเสียสละเป็นสิ่งสำคัญ เเละเป็นสิ่งที่สังคมใดใด ไม่สามารถขาดได้ ดังที่ในหลวงมีพระราชดำรัชไว้ คือ "ควรปิดทองหลังพระ" "เเต่ทำไมเราต้องปิดทองหลังพระด้วยล่ะ  เเล้วทำไมเราต้องเสียสละด้วยล่ะ" การเสียสละจะทำให้สังคมร่มเย็นจะทำให้ผู้อื่นเขามีความร่มเย็น ถ้ามีใครคนหนึ่งเข้ามาไตร่ถามธีระฯ ว่า ทำไมต้องเป็นเราที่เสียสละ ในสังคมมีคนอื่นๆอีกเยอะเเยะมากมาย ธีระฯ ก็คงจะบอกได้เพียงว่า "ลองดูสังคมสิทุกวันนี้เป็นอย่างไร  ถ้าเราไม่รู่จักเสียสละเสียบ้างเเล้วสังคมจะเป็นอย่างไร" ซึ่งข้อคำถามนี้ไม่สามารถตอบได้ เพราะขึ้นอยู่กับความคิด ขึ้นอยู่กับจิตที่ถูกขัดเกลามาเป็นอย่างดีของเเต่ละคน...สิ่งสำคัญ คือ การให้  การเสียสละ การอาสา "ลองหันกลับมาถามตัวเองว่า ตอนนี้เราให้เเล้วหรือยัง  เราเสียสละเเล้วหรือยัง  เราอาสาเเล้วหรือยัง"  สังคมไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง เเล้วหนึ่งในนั้นสังคมนี้เป็นของเราทุกคนที่จะร่วมด้วยช่วยกันดูเเล จากการมีน้ำใจให้กันบ้าง เสียสละให้กันบ้าง ดังที่เราเห็นในสังคมอยู่ในทุกๆวันว่าทุกวันนี้ผู้คนรอบตัวมีความเห็นเเก่ตัวสูงขึ้นในทุกขณะ  ความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ก็น้อยลงในทุกขณะ  จากที่เคยลุกจากที่นั่งให้คนชรานั่งรถประจำทางกลับนิ่งเฉยอย่างเด่นชัด  จากเดิมที่เราเคยให้กันเเละกันกลับไม่ให้  ถ้าสังคมไทยเราให้กัน  เสียสละให้กัน การเมืองเราคงไม่วุ่นวายเพียงเช่นนี้ "ถ้าให้เเล้วไม่สบายใจ" ถ้าให้เเล้วไม่สบายใจก็เก็บสิ่งนั้นไว้ก่อน เก็บไว้รอวันที่เราสบายใจเเล้ว หรือเราพร้อมเเล้วค่อยให้   "ถ้าให้เเล้วสบายใจ" นั่นล่ะที่เรียกว่าการให้ โดยตนเองเป็นผู้เสียสละเเล้ว ให้เเล้ว ทำให้ผู้อื่นสุขใจขึ้นไปอีก เเล้วเมื่อผู้อื่นสุขใจจากการที่เราให้เเล้วนั้น ในอีกมุมความคิดเล็กๆ เขาจะคิดว่า "เมื่อเขาได้ให้กับเรา เราก็จะให้คนอื่นๆต่อไป" โดยที่ข้าพเองมีความเชื่อเสมอว่า การให้นั้นถ้าเราให้เขาไปเเล้ว  สักวันหนึ่งเมื่อเขาย้อนนึกได้ เขาก็จะให้เช่นเดียวกับเรา จนเกิดเป็นเหมือนห่วงโห่ของการให้ที่คล้องกันไปอย่างไม่สิ้นสุด... การให้  การเสียสละ  การอาสา นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้  ลองให้คนอื่นๆสักครั้ง  ลองเสียสละให้คนอื่นสักครัง  ลองอาสาทำสิ่งที่ไม่ค่อยมีคนทำที่เป็นการกระทำที่ดี สักครั้ง ซึ่งการให้นั้น เราไม่ได้เสียหายเเต่ประการใด  "การให้ไม่ต้องคำนึกถึงยศฐาบรรดาศักดิ์  ไม่ต้องคำนึกถึงชนชั้นอันจอมปลอม  ไม่ต้องคำนึงถึงเกียรติเเละศักดิ์ศรีของตนเอง  ไม่ต้องคำนึงถึงการนึกเสียดายกับสิ่งที่ให้ไป"  การให้ในสิ่งที่ควรจะให้  ให้ในตามศักยภาพที่เรามี  ให้ตามความพึงพอใจโดยไม่เห็นเเก่ตัว  เมื่อให้เเล้วอย่าเคร่งกับการคิกเสียดายกับสิ่งที่ให้ไป...เเต่จงให้ด้วยใจที่จะให้  เสียสละด้วยใจ  ยอมรับด้วยใจ ให้ทุกสิ่งออกมาจากใจเเล้วการให้นั้นย่อมจะเกิดห่วงโซ่ที่เเข็งเเรง   การให้นั้นเราทุกคนฝึกกันได้  ถ้าในยามที่เราไม่สบายใจหรือทุกข์ใจในครั้งใดใด ลองให้  ลองเสียสละ  ลองอาสาดูสักครั้ง เพราะผลจากการให้นี้จะสามารถช่วยคุณได้ ทำให้คุณสบายใจได้ กับเรื่องราวในชีวิต ถามตนเองว่า "ตอนนี้เราให้เเล้วหรือยัง  เราเสียสละเเล้วหรือยัง  เราอาสาเเล้วหรือยัง  เรายอมรับผู้อื่นเเล้วหรือยัง  เรามีน้ำใจให้ใครเเล้วหรือยัง" ลองถามตนเองอยู่เสมอ  ลองพูดกับตนเองอยู่เสมอ  ลองให้อยู่เสมอ....

         เเต่ในเมื่อเราให้ผู้อื่นๆไปมากเเล้ว สิ่งสำคัญที่เราควรจะให้ คือ การให้ตนเองเสียบ้าง  ให้เวลาตนเองเสียบ้าง  ให้ตนเองสบายใจเสียบ้าง  ให้สอนตัวเองเสียบ้าง  เมื่อให้เขาอื่นใดเเล้วอย่างลืมให้กับตนเอง  ให้กับสิ่งที่ตนเองจะมีความสุข เเละให้กับสิ่งที่จะทำให้ผู้อื่นๆมีความสุข  เมื่อให้เเล้วตนเองมีความสุขเเละผู้อื่นๆมีความสุข นั่นล่ะเป็นการให้ที่สำคัญที่จะทำให้สังคมเราร่มเย็นสบายใจ...

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 555302เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2013 19:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2013 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบภาพประกอบนี้จังเลยครับ เห็นแล้วโลกนี้ช่างน่ารัก น่าอยู่จริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท