การประชุมทางวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน ประจำปี พ.ศ. 2556 เรื่อง “180 ปี (2376-2556) ความสัมพันธ์ ไทย-สหรัฐอเมริกา; ไอซีที : บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา”


สหรัฐอเมริกามีพัฒนาการและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประภาสโรงงานคอมพิวเตอร์ใหญ่ของไอบีเอ็มที่ซิลิคอนวอลเล่ย์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) เพื่อจุดประกายให้วงการคอมพิวเตอร์ของประเทศไทยคิดถึงการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติให้ทัดเทียมประเทศที่เจริญแล้ว

ICT for All Symposium 2013

หลักการและเหตุผล

ตั้งแต่ พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) รัฐสยามเริ่มมีความสัมพันธ์ข้ามรัฐกับอเมริกาผ่านการลงนามในสนธิสัญญาทางการค้า ในทำนองเดียวกันกับสนธิสัญญาเบาว์ริงที่สยามทำไว้กับอังกฤษ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2399 (1856) สยามกับสหรัฐจึงได้เริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ ความสัมพันธ์ระหว่างสองรัฐเป็นไปโดยราบรื่น ก่อประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย ดำเนินไปอย่างฉันมิตร ทั้งด้านการค้า การปกครอง การศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และในปีพ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) นี้ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาดำเนินมาครบรอบ 180 ปี

สหรัฐอเมริกามีพัฒนาการและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประภาสโรงงานคอมพิวเตอร์ใหญ่ของไอบีเอ็มที่ซิลิคอนวอลเล่ย์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) เพื่อจุดประกายให้วงการคอมพิวเตอร์ของประเทศไทยคิดถึงการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติให้ทัดเทียมประเทศที่เจริญแล้ว[1]

จากดัชนีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Development Index: IDI) ซึ่งเผยแพร่โดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (United Nations International Telecommunication Union: ITU)[2] ซึ่งดัชนีดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการชี้วัดความเป็นสังคมสารสนเทศ (Information Society) ดัชนีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือสำหรับรัฐบาล ผู้ประกอบการ องค์กรพัฒนา นักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้ในการวัดและเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (Digital Divide) ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งนี้ จากข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2554 ดัชนีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับที่ 15 ของโลก คะแนน 7.48 (จาก 10) ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 92 คะแนน 3.41 และจากสถิติการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรโลก (Internet World Stats) พบว่า สหรัฐอเมริกามีประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จำนวน 245,203,319 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555) คิดเป็นร้อยละ 78.1ของประชากร (313,847,465 คน, ประมาณการ พ.ศ. 2555)[3] ในขณะที่ประเทศไทย มีประชาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จำนวน 20,100,000 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555) คิดเป็นร้อยละ 30.0 ของประชากร (67,091,089 คน, ประมาณการ พ.ศ. 2555)[4]

เนื่องในโอกาส 180 ปี ความสัมพันธ์ ไทย-สหรัฐอเมริกา ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเทียมกัน (Information and Communication Technology for All Club: ICT for All Club) ในฐานะองค์กรภาคประชาชน ซึ่งดำเนินงานเพื่อมุ่งลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในสังคม จึงได้กำหนดจัดการประชุมทางวิชาการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน ประจำปี พ.ศ. 2556 เรื่อง “180 ปี (2376-2556) ความสัมพันธ์ ไทย-สหรัฐอเมริกา; ไอซีที : บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา” ICT for All Symposium 2013 on “180 Years (1833-2013) of Thai-U.S. Relations; ICT: Lessons Learned from the U.S.” ขึ้น โดยความร่วมมือกับโครงการศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคการหลอมรวมเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนและพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจากสหรัฐอเมริกาในมิติต่างๆ เพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป

 

วัตถุประสงค์

     1. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนและพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจากสหรัฐอเมริกาในมิติต่างๆ

     2. เพื่อนำองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ได้มาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป

     3. เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

เป้าหมาย

เชิงปริมาณ สมาชิกชมรม ICT for All ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา ภาคประชาชาชน เด็กและเยาวชน เข้าร่วมงาน จำนวน 40 คน

เชิงคุณภาพ : ผู้ที่เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนและพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจากสหรัฐอเมริกาในมิติต่างๆ รวมถึงการนำความรู้ที่ได้รับไปปรับประยุกต์ใช้ในวงงานของตนเองต่อไป

การประชาสัมพันธ์

  1. เว็บไซต์, เครือข่ายสังคมออนไลน์, YouTube ฯลฯ
  2. สถานีวิทยุกระจายเสียง
  3. สถานีโทรทัศน์
  4. หนังสือพิมพ์
  5. นิตยสาร วารสาร
  6. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนและพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจากสหรัฐอเมริกาในมิติต่างๆ

     2. ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และขยายผลองค์ความรู้ที่ได้รับไปสู่การปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป

     3. ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

 

กำหนดการประชุมทางวิชาการ เทคโนโลยีสารสนเทศ

และการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน ประจำปี พ.ศ. 2556

เรื่อง “180 ปี (2376-2556) ความสัมพันธ์ ไทย-สหรัฐอเมริกา; ไอซีที : บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา”

ICT for All Symposium 2013 on “180 Years (1833-2013) of Thai-U.S. Relations;

ICT: Lessons Learned from the U.S.”

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เวลา 12.30 -16.30 น.

ณ ห้องประชุม 401 ซอฟต์แวร์ปาร์ค

เลขที่ 99 /31 หมู่ 4 อาคารซอฟต์แวร์ปาร์ค ชั้น 29 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

12.30 - 13.00 น.        ลงทะเบียน-รับเอกสาร

13.00 - 13.10 น.        วีดีทัศน์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเสด็จประภาสโรงงานคอมพิวเตอร์ใหญ่ของไอบีเอ็มที่ซิลิคอนวอลเล่ย์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960)   

13.10 - 13.25 น.        พิธีเปิด โดย  ศาสตราจารย์ ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน  ประธานผู้บริหาร (CEO) สถาบันศรีศักดิ์ จามรมาน การศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต (Srisakdi Charmonman Institute of eLearning) อธิการบดีกิตติคุณ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม  บุรุษคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย บิดาอินเทอร์เน็ตไทย

                         กล่าวรายงาน โดย นายทศพนธ์ นรทัศน์   ประธานชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน

13.25 - 13.30 น.        อ่านสารจาก ฯพณฯ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

13.30 - 14.45 น.         ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ประสบการณ์ ICT ในสหรัฐอเมริกา จากอดีตสู่ปัจจุบัน
และก้าวต่อไปในอนาคต"
  โดย  ศาสตราจารย์ ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน  

14.45 - 14.50 น.         มอบของที่ระลึกแด่ ศาสตราจารย์ ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน

14.50 - 15.35 น.        ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "180 ปี ความสัมพันธ์ ไทย-สหรัฐอเมริกา"

                               โดย ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

15.35 - 15.40 น.         มอบของที่ระลึกแด่ ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

15.40 - 16.20 น.        เปิดอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ
หัวข้อ “ไอซีที
: บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา และการประยุกต์ใช้ในประเทศไทย”

  • แนวทางการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (Digital Divide) ในสังคม
  • การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส
    ในยุคการหลอมรวมเทคโนโลยี

โดย นายทศพนธ์ นรทัศน์  ประธานชมรม ICT for All

16.20 - 16.30 น.                ปิดการประชุมและมอบเกียรติบัตรที่ระลึกแก่ผู้เข้าร่วมประชุมฯ โดย

                        อาจารย์ชนะ รุ่งแสง นายกสภาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

_________________________________________________

หมายเหตุ:           (1) บริการอาหารว่างและเครื่องดื่มในห้องประชุม  (2) การประชุมดำเนินการเป็นภาษาไทย

 

ผู้ประสานงานโครงการ

นายทศพนธ์ นรทัศน์

ประธานชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน

ตู้ ปณ. ๒ ปณฝ.ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10401

โทร. 0 8126 10726

e-Mail: [email protected]   เว็บไซต์: www.ictforall.org

Facebook: www.facebook.com/ICTforAll.org

ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้ฟรีที่ https://docs.google.com/spreadsheet/viewform?formkey=dFN6WHZEbmV1OFJVNXg1MWNVbDI4V2c6MA 

[1]  ศาสตราจารย์ ดร.ศรีศักดิ์  จามรมาน. เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง “พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ” จัดโดย โรงเรียนเทพศิรินทร์ ณ ห้องประชุม ชั้น 8 อาคารเทิดพระเกียรติ โรงเรียนเทพศิรินทร์ วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม 2549. หน้า 9.

[2] International Telecommunication Union (ITU). (2013). The World in 2013: ICT Facts and Figures. [Online]. Available: http://www.itu.int/en/ITU-D/Statistics/Pages/facts/default.aspx/. (Accessed date: November 18, 2013).

[3] Internet World Stats. (2013). Internet Usage and Population in North America. [Online]. Available: http://www.internetworldstats.com/stats14.htm#north/. (Accessed date: November 18, 2013).

[4] Internet World Stats. (2013). Asia Marketing Research, Internet Usage, Population Statistics and Facebook Information. [Online]. Available: http://www.internetworldstats.com/asia.htm#th/. (Accessed date: November 18, 2013).

หมายเลขบันทึก: 554878เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2013 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2013 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท