BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ปรัชญากฎหมาย เกณฑ์ตัดสินจริยธรรม และการเมืองไทย ๑


ตอนกลับไปเรียนปรัชญาระดับปริญญาโท (อีกครั้ง) ที่มช. นั้น สมภารก็ตั้งใจว่าจะทำวิทยานิพนธ์ด้านปรัชญากฎหมายในพระไตรปิฏก ดังนั้น จึงเก็บอ่านแนวคิดเรื่องกฎหมายเท่าที่จะพอมีเวลาและพอจะหาได้ แม้จะไม่ได้ทำด้านนี้ แต่แนวคิดเรื่องปรัชญากฎหมายก็ยังรกเรื้ออยู่ในคลองความคิดตลอด...

สมภารก็จับพลัดจับพลูไปทำเรื่องการกระทำเหนือหน้าที่ ซึ่งเป็นประเด็นเล็กๆ ระดับรากขนอ่อนของระบบรากไม้ ในด้านทฤษฏีจริยศาสตร์ จึงทำให้สมภารเกิดแนวคิดว่า บ่อเกิดกฎหมายกับเกณฑ์ตัดสินจริยธรรมนั้น มาจากพื้นฐานเดียวกัน ซึ่งเคยเขียนเล่าไว้ครั้งหนึ่งแล้ว แต่ไม่ได้เก็บบันทึกไว้ จึงสูญหายไป ในโอกาสที่การเมืองไทยกำลังมีปัญหาตามที่เป็นไปอยู่ จึงขอนำมาเล่าๆ บ่นๆ อีกครั้ง...

ในปรัชญากฎหมายนั้น มีแนวคิดเรื่องบ่อเกิดกฎหมายที่เป็นแก่นอยู่ ๓ สำนัก คือ สำนักกฎหมายธรรมชาติ สำนักประวัติศาสตร์ และสำนักกฎหมายบ้านเมือง ขณะที่จริยศาสตร์นั้น มีเกณฑ์ตัดสินจริยธรรมที่เป็นแก่นอยู่ ๓ สำนักเหมือนกัน กล่าวคือ ลัทธิคานต์ หลักคุณธรรม และประโยชน์นิยม โดยในเบื้องต้นเห็นว่าตรงกันดังนี้ คือ

กฎหมายธรรมชาติ - ลัทธิคานต์
สำนักประวัติศาสตร์ - หลักคุณธรรม
กฎหมายบ้านเมือง - ประโยชน์นิยม

และเมื่อการเมืองไทยมีปัญหาดังที่เป็นไปอยู่ สมภารก็จะเสนอแนวคิดเชิงวิจารณ์ว่า รูปแบบทั้งสามนี้ สะท้อนมายังการเมืองไทยอย่างไร ?

หมายเลขบันทึก: 554871เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2013 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2013 09:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมก็สนใจปรัชญากฎหมายไทยครับท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท