ข่าวดีภูมิคุ้มกันสำหรับเด็กและเยาวชนไทยในยุคโลกาภิวัฒน์


“คนเรามีความพร้อมที่จะทำความดีอยู่ตลอดเวลา และจะทำความดีทันทีที่มีโอกาส”

           

ข่าวดีภูมิคุ้มกันสำหรับเด็กและเยาวชนไทยในยุคโลกาภิวัฒน์  <p>         ต่อจากนี้ไปเด็กและเยาวชนไทยจะได้รับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากภัยคุกคามในยุคโลกาภิวัฒน์ สืบเนื่องจากสานักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)  กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ผนึกกำลังกันขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โดยการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ สร้างคน สร้างสังคม สู่ความพอเพียง : การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ ตั้งแต่ป.๑ ถึง ปวช. เมื่อวันที่ ๑๖-๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ ที่ผ่ามา     </p><p>                            </p><p> (นางมัณฑนา สังขะกฤษณ์ รองปลัดกระทรวศึกษาธิการ เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา)</p><p align="left">            ปรากฏผลที่ได้รับออกมาเกินความคาดหมายที่ผู้บันทึกได้ตั้งเอาไว้ ในแง่มุมเชิงวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้นั้นผู้บันทึกเองไม่มีความรู้ในด้านนี้ (ผู้บันทึกเข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ในฐานะวิทยากรกระบวนการ) แต่ในด้านความมุ่งมั่นของครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่สมัครใจมาร่วมในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ในครั้งนี้เรียกได้ว่า เกินร้อย เป็นความประทับใจอย่างยิ่งของผู้บันทึกที่ได้เห็นความมี จิตสาธารณะ ของบรรดาเหล่าครูบาอาจารย์ ซึ่งทำงานกันทั้งวันอย่างหามรุ่งหามค่ำอดหลับอดนอนแต่ละกลุ่มทำงานกันถึงตีสามตีสี่ และเริ่มงานกันตั้งแต่แปดโมงเช้า ทำให้ความรู้สึกด้านลบที่เกาะกินอยู่ในใจมานานต่อพฤติกรรมของผู้ที่เป็นครูในปัจจุบัน ที่ได้รับการสั่งสมมาจากการบอกเล่าของผู้อื่น   หรือจากการอ่านสื่อต่าง ๆ ค่อย ๆ ถูกกะเทาะออกไปจนทำให้เกิดความละอายใจที่ตนเองเป็นคนมีอคติพิพากษาผู้อื่นเพียงแค่ได้รับรู้รับฟังมา ก็ขอถือโอกาสนี้ขอโทษครูบาอาจารย์ทั้งหลายด้วยนะครับ</p><p>      </p><p>                               (มุ่งมั่น และทุ่มเท)</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ครูทุกคนทำงานหนัก ทำแบบน้ำไหลไฟดับ (ไฟฟ้าดับเป็นช่วง และมีน้ำรั่วลงมาจากหลังคาเนื่องจากฝนตกหนักมาก) บรรยากาศในครั้งนี้น่าจะดูเคร่งเครียดแต่กลับตรงกันข้าม เป็นบรรยากาศที่มีความเป็นมิตร มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันข้ามสายงาน ข้ามหน่วยงาน (ในการสัมมนาครั้งนี้มีครูจากสพฐ. ช่วงชั้นที่ ๑-๔ ครูอาชีวะ และครูกศน.ทั้งหมดประมาณ ๑๒๐ กว่าท่าน) ครูกลุ่มใดทำเสร็จก็จะเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มอื่น ๆ  ไม่แยกงานเขางานเรา กลุ่มเขากลุ่มเรา แม้จะมีอุปสรรคจากเครื่องไม้เครื่องมือที่ไม่เพียงพอก็แบ่งปันกันใช้ ฝนฟ้าไม่เป็นใจหลังคารั่วอย่างหนัก(เหมือนน้ำตกเลย) คุณครูก็สามารถทำงานท่ามกลางความขาดแคลนได้เป็นอย่างดี สะท้อนถึงจิตวิญญาณที่พอเพียง</p> <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สาเหตุที่ทำให้คุณครูมีความกระตือรือล้น ทุมเท และร่วมแรงร่วมใจกันทำงานหนักด้วยความเพียรก็คือคุณครูทุกท่านมีเป้าหมายที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างชัดเจน เป็นเป้าหมายร่วมกัน เป็นเป้าหมายที่อยู่ในจิตใจของคุณครูทุกท่าน และเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้คุณครูทุกท่านสมัครใจมาพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ในครั้งนี้ นั่นก็คือ คุณครูทุกท่านอยากทำดีเพื่อถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุก ๆ เช้าในระหว่างรับประทานอาหารผู้บันทึกจะทักทายกับบรรดาคุณครูว่า เหนื่อยไหมครับอาจารย์ คำตอบที่ได้รับเหมือนกับจะมีการเตรียมกันมาล่วงหน้า คุณครูทุกท่านตอบไปในทำนองเดียวกันว่า เหนื่อยแต่ก็ภูมิใจที่ได้ทำให้ในหลวง ทำให้ผู้บันทึกต้องกินข้าวกับน้ำตาแห่งความปิติทุกเช้า ทำให้ไม่แปลกใจเลยที่ได้เห็นบรรยากาศการทำงานแบบเปี่ยมสุขและมีความสนุกกับการทำงาน</p> <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p> <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>            </p><p>(ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ความรู้ฝังลึก” [Explicit Knowledge] )</p><p>          สำหรับผลผลิตทางวิชาการที่ได้รับจากการสัมมนาในครั้งนี้ ในมุมมองของนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเชิญมาให้ความคิดเห็นหลังจากที่แต่ละกลุ่มได้นำเสนอผลงานนั้น ในภาพรวมปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจแต่ก็ได้มีเสนอข้อพึงระวังที่สำคัญก็คือ แผนการเรียนการสอนสอน หรือกิจกรรมไม่ควรที่จะอิงกับแนวคิดทางพุทธศาสนามากเกินไป ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่เป็นสากล สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกเหล่าชน แลทุกเหล่าศาสนา ในความคิดเห็นของผู้บันทึกนั้นรู้สึกอึ้งและทึ่งในศักยภาพของคุณครูเป็นอย่างมากกับผลผลิตที่ได้มากจากช่วงเวลาเพียงแค่ไม่กี่วัน ที่สามารถในการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีการปูพื้นฐานอย่างสอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละช่วงชั้น และมีความสอดรับในการส่งต่อของแต่ละช่วงชั้น ไม่ว่าจะเป็นวิชาใด(กลุ่มสาระ)ก็สามารถบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นอย่างดีแม้แต่วิชาพละศึกษาก็ยังมีตัวอย่าง การเล่นฟุตบอลตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  </p><p>          ทีแรกก็จะบันทึกในลักษณะ AAR แต่เมื่อทบทวนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วก็คิดว่าน่าจะเป็นข่าวดีของประเทศไทยมากกว่า ข่าวดีที่ว่านี้ก็คือ</p><p>          - ลูกหลานไทยจะได้รับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากภัยคุกคามที่แฝงตัวมากับกระแสโลกาภิวัฒน์อย่างจริงจัง (เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นนโยบายหลัก คราวนี้แหละที่ครูทุกคนจะให้ความสนใจกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะผู้บริหาร)</p><p>          - ลูกหลานไทยจะรู้เท่าทันในการดำรงชีวิตท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ได้อย่างพอเพียง มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี โดยมีคุณธรรมนำความรู้</p><p>          - เมืองไทยยังมีครูที่มีจิตวิญาณเปี่ยมล้นในความเป็นครู และเป็นครูนักปฏิบัติที่น่าชื่นชม(ขอปรบมือดัง ๆ ให้จากใจจริง) </p><p>          - ครูเล็ก ครูน้อย (โดยเฉพาะครูบ้านนอก) ที่เป็นครูนักปฏิบัติในด้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกทอดทิ้งมานานจะเข้าตากรรมการมากขึ้น มีโอกาสต่อเติมเสริมแต่งอุดมการณ์มากขึ้น</p><p>          - หากฝันฉันไม่หลอกหลอน(เป็นจริง) พระองค์ท่านคงจะทรงมีความสุขมากขึ้น</p>          จึงอยากจะเชิญชวนผู้ที่ได้มีโอกาสอ่านบันทึกนี้ร่วมขบวนการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แพร่หลายไปให้ทั่วทุกสังคมไทย และสังคมโลก โดยการลงมือปฏิบัติด้วยการเริ่มต้นจากตัวท่านเอง หากท่านลงมือปฏิบัติเสียแต่เดี๋ยวนี้ท่านจะได้รับความสุขอย่างที่ท่านไม่เคยมีมาก่อน ยัง…ยังไม่พอ หากท่านปฏิบัติทันทีท่านจะได้รับความภาคภูมิใจที่ได้เป็นคนดีมีความกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน แต่…เดี๋ยวก่อน อย่ารอช้ารีบลงมือปฏิบัติเดี๋ยวนี้ ท่านก็จะได้เป็นคนดีในทันทีทันใด (โปรดอ่านอีกครั้งหนึ่ง) <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">การเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้สอนให้รู้ว่า คนเรามีความพร้อมที่จะทำความดีอยู่ตลอดเวลา  และจะทำความดีทันทีที่มีโอกาส </p>   <p>        </p>

                   (โฉมหน้าผู้ร่วมขบวนการทักทอความดี)

 

</span>

หมายเลขบันทึก: 55457เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2006 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ครูจ้างสอน ความผิดพลาดการศึกษาไทยในยุคปฏิรูปการศึกษาเรียบเรียงเรื่องราวชีวิตครู(อัตราจ้าง)
บทความนี้คือคำให้การของครู(อัตราจ้าง)  ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา(สอศ.) ที่ได้สัมผัส นำมาเล่าเรื่องราวชีวิตในการทำงานของครู(อัตราจ้าง) ซึ่งขอเป็นตัวแทนสะท้อนถึงสภาวะความอึดอัดของจิตใจ ให้กับรัฐมนตรี ข้าราชการระดับสูง และมวลมนุษย์ทั้งหลาย ได้รับรู้เรื่องราวชีวิตของความเป็นครู(อัตราจ้าง) ชนชั้นสองแห่งใบเสมาที่อยู่อย่างไม่มีเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ความมั่นคง ความก้าวหน้าในอาชีพทั้งๆที่ ครู(อัตราจ้าง) รักในอาชีพครู รักนักเรียน อยากมีส่วนร่วมกับการพัฒนาการศึกษาของชาติ
ครู(อัตราจ้าง)มีหน้าที่หลักและสำคัญยิ่งคือการจัดกระบวนการเรียนการสอนตามชั่วโมงสอน ไม่น้อยกว่า 25-32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตรวจงานนักเรียน เตรียมการสอน จัดหาสื่อการสอน สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ งานวิจัยในชั้นเรียน แผนการสอน ดูแลความประพฤตินักเรียน ครูเวร งานพิเศษอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นงานด้านหลักสูตร วัดผลประเมินผล สื่อการเรียนการสอน ฝ่ายปกครอง ฝ่ายแผนงานสถานศึกษา งานศูนย์ข้อมูล งานโสตทัศนศึกษา งานสหกรณ์ งานแนะแนว/นิเทศ งานช่างพัฒนา(ทั้งในและนอกสถานที่) ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กรรมการฝ่ายปฏิบัติงาน ตามคำสั่งที่เกิดจากนโยบายของภาครัฐ กิจกรรมภายในสถานศึกษา กิจกรรมร่วมชุมชน โครงการรณรงค์มากมาย การประเมินคุณภาพศึกษา ทุกอย่างที่กล่าวมา ครู(อัตราจ้าง) คือกำลังสำคัญยิ่งที่นำพากิจกรรมต่างๆไปสู่เป้าหมาย
ความมั่งคง ความก้าวหน้าในอาชีพ เกียรติศักดิ์ศรีของครูไทย ไม่มีในครู(อัตราจ้าง) ชีวิตการทำงานของครู(อัตราจ้าง) เริ่มปฏิบัติงาน 07.30 น. เลิกปฏิบัติงาน 17.00 น. คือเวลาปกติ วันไหนมีกิจกรรมพิเศษเนื่องด้วยนโยบายภาครัฐ ต้องอยู่ประชุม จัดเตรียมงาน เอกสารกันวุ่นวายถึงค่ำ กลับบ้านไปต้องนำงานที่รับผิดชอบไปสานต่อให้เสร็จตามคำสั่ง ซึ่งครู(อัตราจ้าง) ช่วยกันปฏิบัติงานอย่างดี หวังให้สถานศึกษาเป็นสถานศึกษาที่มีความพร้อมตามนโยบายของรัฐ
อัตราการเข้าออกสูง เนื่องจากความไม่มั่นคง ไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพ สวัสดิการไม่มี (บ้างท่านทำงานเป็นครูอัตราจ้างมา 6 ปี แม้แต่ประกันสังคมไม่มีให้) อัตราเงินเดือนตามวุฒิปริญญาตรี 7,260 บาทไม่มีเพิ่ม ถึงครู(อัตราจ้าง)จะทำงานดีมีผลงาน มีความคิดเชิงพัฒนา มีความเป็นครู ประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแค่ไหนอัตราเงินเดือนเท่าเดิม ไม่มีซี ไม่มีขั้น หลายท่านทำงาน 6 ปีด้วยความตั้งใจ มานะอดทน เพื่อเยาวชน เพื่อสถานศึกษา เพื่อสังคมประเทศชาติ ผลสุดท้ายไม่มีอะไรตอบแทนครู(อัตราจ้าง)ให้เงินเดือนไปเดือนๆ ส่วนใหญ่สถานศึกษาจ้างครู(อัตราจ้าง) 10 เดือน อีก 2 เดือนช่วงปิดเทอมไม่มีเงินเดือนให้ บางสถานศึกษาแก้ไขโดยให้ครู(อัตราจ้าง) ออกสอนระยะสั้นตามสถานที่ต่างๆเพื่อจะได้มีเงินเข้าสถานศึกษาและมีเงินเดือนให้ครู(อัตราจ้าง)ในช่วงปิดเทอม มุมหนึ่งมองว่าอาชีพครู(อัตราจ้าง)นี้คือ ทางผ่าน ที่พักริมทาง ทางเลือกสุดท้ายในการประกอบอาชีพ บางคนเรียกว่า ครูปลอมบางท่านเข้ามาเป็นครู(อัตราจ้าง)ได้ไม่ถึงเทอม มีอันต้องลาออกไปเพราะได้งานใหม่ที่สบายกว่าบ้าง สอบบรรจุราชการสายงานอื่นติดบ้าง บางท่านสอนมาหลายปีสวัสดิการไม่มีดูแล้วไม่ก้าวหน้า จำต้องลาออก ทั้งที่ครู(อัตราจ้าง)เหล่านั้นเขารักเด็ก รักการสอน รักที่จะพัฒนาการศึกษาของชาติ ไม่ว่าครู(อัตราจ้าง) จะเก่งจะมีประสบการณ์สอนมากี่ปี อัตราเงินเดือนก็เท่าเดิม หน้าใหม่หมุนเวียนเข้ามา มาเป็นครู(อัตราจ้าง) ใครมีความอดทน ทนได้ก็อยู่ไป ทนไม่ไหวหรือได้งานอื่นก็ลาออก ผลกระทบตกอยู่ที่นักเรียน (ที่ภาครัฐพูดอยู่เสมอ มุ่งให้เด็กเยาวชนมีความรู้ความสามารถ มีการศึกษา จบออกมาไม่เป็นภาระของสังคม) นักเรียนต้องเรียนกับครูใหม่มีประสบการณ์มาแล้วบ้าง พึ่งจบมาใหม่บ้าง กว่าจะเข้าที่เข้าทางใช้เวลานานพอควร พอครูใหม่เริ่มทำงานเข้าที่ มีประสบการณ์ ไม่นานมีอันต้องลาออกไป หมุนเวียนกันไปไม่รู้จักจบสิ้น นักเรียนที่เรียนหนังสือบ่อยครั้งสับสน คูรสอนไม่เหมือนกัน แนวทางจัดการเรียนการสอนต่างกัน กว่าจะเข้าที่จวนปิดภาคเรียนแล้วนักเรียนจะได้อะไร(เกิดสูญกาศทางการศึกษา)
ความจริงครู(อัตราจ้าง)ทั้งหลายเหล่านั้นไม่ต้องละทิ้งนักเรียน โดยการลาออกจากอาชีพไม่ต้องการดิ้นรนหางานใหม่ ไม่ต้องการอ่านข่าวรับสมัครงาน ข่าวเปิดสอบบรรจุสายงานอื่น ไม่ต้องการที่จะเริ่มกับอาชีพใหม่ เพียงเพราะครู(อัตราจ้าง)ต้องการความมั่งคง ความก้าวหน้า แต่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)ไม่เปิดสอบบรรจุข้าราชการเลย มีข่าวลอยออกมาเป็นระยะ สุดท้ายเงียบ อีกประเด็นคือการบรรจุครู(อัตราจ้าง)ที่ทำงาน 5 ปีเป็นพนักงานของรัฐ ตำแหน่งครูพนักงานของรัฐ ซึ่งเกียรติศักดิ์ศรี แตกต่างกับข้าราชการครู เทียบกันไม่ได้ นี่หรือคือการปฏิรูปการศึกษา การแบ่งชนชั้นครูในสังคมไทย แล้วเมื่อไหร่การศึกษาไทยจะพัฒนาเทียบชั้นอารยประเทศ
บุคลากรทางการศึกษานับวันจะมีจำนวนลดน้อยถอยลงไปตามกาลเวลา ซึ่งก็มีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น เกิดจากการเกษียณอายุบ้าง การเปลี่ยนอาชีพบ้าง และอีกหลายประการที่ทำให้บุคลากรเหล่านี้มีจำนวนลดลงไป ลองนึกภาพว่าถ้าสถานศึกษา แห่งหนึ่งมีบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นราชการครู 3 ท่านนอกเหนือเป็นครู(อัตราจ้าง) 30 ท่าน อัตราการเข้าออกของครู(อัตราจ้าง)มีสูง แล้วการศึกษาของอาชีวศึกษาจะขับเคลื่อนไปได้อย่างไร เรื่องอัตราว่างจำนวนกว่า 500 อัตรา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 มาจนปัจจุบันนี้ ไม่เคยมีการสอบบรรจุครูเพื่อบรรจุในอัตราว่างนี้เลย
ปล่อยให้อัตราว่างไม่ถูกใช้มาหลายปี ส่วนสถานศึกษาที่ขาดครู ต้องทอดกฐิน ทอดผ้าป่า หาเงินไปจ้างครูมาสอน แก้ปัญหาด้วยตนเองเพราะสถานศึกษาไม่รู้จะหาครูที่ไหนมาสอนแต่ถ้ามีการเปิดสอบบรรจุ ทดแทนปัญหาเรื่องการมีครูไม่เพียงพอก็หมดไป แต่ไม่เป็นเช่นนั้นกลับเกิดปัญหาที่น่าวิตกเป็นอย่างมากขึ้นอีกตรงที่มาตรฐานและคุณภาพของครู(อัตราจ้าง)ที่รับมาทดแทนมีเพียงพอหรือไม่ เนื่องจากหลายสถานศึกษาไม่มีมาตรฐานในการคัดเลือกครู(อัตราจ้าง)ที่มีคุณภาพเข้ามาเพื่อปฏิบัติงานในสถานศึกษาเหล่านั้น
ด้วยเหตุนี้ครู(อัตราจ้าง)สังกัดสอศ.จึงร่วมกันเขียนบทความเพื่อเล่าเรื่องราว หวังเป็นอย่างยิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อการศึกษาของชาติ สกัดกั้นมะเร็งร้ายในวงการศึกษา
ความคิดเห็นของครู(อัตราจ้าง) เพื่อพัฒนาบุคลากรอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพ ความมั่นคงมีเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ให้สมกับคำว่า ครูที่ผู้คนยกย่องว่าเป็นแม่พิมพ์ของชาติ ไม่ใช่ว่าเป็นครูปลอมอย่างทุกวัน
คำถามที่ฝากถึงท่าน รมว. ทุกวันนี้ สพฐ. อบต. เปิดสอบกันหลายพันอัตราทั่วประเทศ คนดีๆ เก่งๆ ที่เป็นลูกจ้างของ สอศ. แห่กันไปสอบได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ใครที่ได้ถือว่ามีโชคดี ไม่ต้องทนทุกข์ ทุกข์ใจกับการเป็น ครูจ้างของ สอศ. ที่ไร้ความมั่นคง ที่รอคอยความหวังลมๆ ที่ครูจ้างทั้งหลายหวังว่าวันหนึ่งจะมีอะไรดีขึ้น ไม่รู้ว่าผู้มีอำนาจในการบริหาร จัดการ อาชีวศึกษาทำอะไรกันอยู่ คนของอาชีวศึกษาดีๆก็มีมาก ตอนนี้ไปอยู่ที่ สพฐ. อบต. ก็หลายคน อีกหน่อยก็คงเหลือแต่สิ่งที่ไม่มีคุณภาพเพราะคนดีๆ เขาคงออกไปหมดแล้ว แล้ว พ.ร.บ. คลอดแล้วก็ไม่รู้ว่าจะมีอะไรดีขึ้นไหม กับชีวิตครูจ้าง ท่านอย่าลืมนะ รูรั่วเล็กๆรูหนึ่งสมารถทำให้เรื่อลำใหญ่จมน้ำมามากแล้ว ทุกวันนี้อาชีวศึกษาแย่ ใครๆก็รู้ ปล่อยให้มีแต่ครูจ้างเต็มไปหมด คุณภาพ ประสิทธิภาพอยู่ที่ไหน ลองหันกลับไปดู วิทยาลัยเล็กๆดูบ้าง มีข้าราชการ 3 คน ครูจ้าง 40 อนาคตอาชีวศึกษาไม่ต้องพูด ผมว่าเข้าขั้นวิกฤติ ตราบใดยังปล่อยให้มีครูจ้าง ขาดกำลังขวัญกัน ท่าน รมว. พิจารณา ดูด้วยนะครับท่านคงไม่อยากเห็นภาพ ครูสอนไปหางานทำไป ว่าเห็นควรให้อาชีวศึกษาเปิดสอบเหมือนกับหน่วยงานอื่นบ้าง
ครูอัตราจ้างใน สอศ.ส่วนใหญ่เป็นวุฒิ ปทส.ซึ่งเทียบเท่าปริญญาตรี ที่อาชีวศึกษาผลิตออกมาเพื่อเป็นครูของอาชีวะ เป็นวุฒิที่ไม่เป็นที่รู้จักในองค์กรอื่นซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังเปิดสอนอยู่ พออาชีวศึกษาเปิดรับครูจ้าง ปทส. ไม่ยอมรับ ไปรับ วุฒิอื่นเช่น วศบ. ศศบ. ในบางสถานศึกษาเปิดสอบเป็นครูจ้าง ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา เขาไม่รับ ปทส. มีคนแข่งสอบกัน ปรากฏว่า ปวส. ได้เป็นครูจ้าง ปทส. ไม่ได้ มันเกิดอะไรขึ้นกับวงการศึกษาไทย
(อยากให้นำบทความที่ท่านเห็นว่าสมควรกระจายข่าวให้สังคมรับรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดี ตอบกลับด้วยนะครับว่าผลเป็นประการใด)

ด้วยความเคารพยิ่ง
ครูจ้าง สอศ.
[email protected] 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท