โอกาสอุปสรรคและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ...สปา


 

 

 

  โอกาส

 อุปสรรค

 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

 Interest                   (ผลประโยชน์)

- รัฐส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวทำให้สามารถสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ

- การตั้งราคาสูงต่ำได้ตามคุณภาพบริการ ไม่ใช่ตามต้นทุน

- มีองค์กร และสมาคมที่ให้ความรู้ และช่วยพัฒนาธุรกิจสปา

- หากสภาพเศรษฐกิจไม่ดี จะส่งผลต่อรายได้ของธุรกิจ

 - กฎหมายภาษีอากร

- กฎหมายส่งเสริมการลงทุน

 Client ( ลูกค้า )

- มีลูกค้าจากต่างประเทศ

- ลูกค้ามีค่านิยมดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น

 - การให้บริการไม่สามารถเก็บไว้เป็น stockทำให้จัดการ เรื่องdemand กับ supply ให้พอดีกัน เป็นเรื่องยุ่งยาก

- ลูกค้าอาจเข้าใจผิดในการบริการ เช่นการเข้าใจผิดว่า การให้บริการบางอย่างของธุรกิจสามารถรักษาโรคได้

 -พระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค

-กฎหมายโฆษณา

 Capital ( ทุน )

- ด้านเงินทุนมีการลงทุนสูง

- ด้านเทคโนโลยีลอกเลียนแบบได้ง่ายเนื่องจากไม่มีกฎหมายลิขคุ้มครองแบบสินค้า

- ด้านทักษะต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

-กฎหมายกู้ยืม

-กฎหมายว่าด้วยสัญญา

- กฎหมายว่าด้วยเรื่องหนี้

-กฎหมายแรงงาน

-ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับมาตรฐานผู้ให้บริการกิจการสปา

 Wrong Doing / Good Doing             (การกระทำที่ผิดพลาด  หรือ การกระทำที่ส่งผลดี )

  - การให้บริการส่งผลดีต่อสุขภาพกายและจิตใจของลูกค้า

- การควบคุมการบริการให้สม่ำเสมอได้ยาก เพราะว่าคุณภาพการให้บริการ จะขึ้นกับตัวพนักงานที่ให้บริการ

- หากมีการให้บริการที่ผิดพลาดทำให้ลูกค้าได้รับผลเสียด้านสุขภาพได้ เช่น การนวดที่ไม่ถูกวิธีอาจทำให้ลูกค้าได้รับบาดเจ็บได้

- อาจมีการแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการให้บริการได้

- อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

- พนักงานที่มีฝีมือ ลาออกเพื่อไปตั้งกิจการแข่งกับธุรกิจ

 -กฎหมายแรงงาน

-พระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค

-กฎหมายว่าด้วยการละเมิดและค่าสินไหม

-ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับ มาตรฐานความปลอดภัยกิจการสปา

-พระราชบัญญัติเครื่องสำอางค์

-พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

- กฎหมายว่าด้วยเรื่องสัญญา

 Business Process ( กระบวนการธุรกิจ )

 

 

 

 

-กฎหมายเช่าอสังหาริมทรัพย์

-กฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท

-ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับมาตรฐานกิจการสปาเพื่อสุขภาพ

 

ลินดา วัฒนเกียรติวงศ์

4818140064

หมายเลขบันทึก: 55320เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2006 01:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เนื่องจากมีความสนใจในธุรกิจนี้เหมือนกัน การจะเข้าไปทำในธุรกิจนี้จึงต้องศึกษาข้อมูลให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตลาด และความปลอดภัยของลูกค้า ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของเราอยู่รอดไปได้ อยากถามอ้อนว่า อ้อนจะเริ่มต้นในการทำธุรกิจนี้อย่างไร จะศึกษาข้อมูลเองจากแหล่งปฐมภูมิ หรือจะซื้อเฟรนไซน์ที่เขาทำเอาไว้แล้ว แล้วมาบริหารเอง ซึ่งถ้าเป็นข้อที่สอง เราจะได้ know how จากเขาเพราะเราจะได้อะไรที่เป็น standard ไม่ว่าจะเป็นเรืองของ business process, marketing campaign หรือช่างที่ชำนาญการ อ้อนมีความคิดเห็นว่าอย่างไรค่ะ

ขอบคุณค่ะพี่เจี๊ยบ  เรื่องการเริ่มต้นธุรกิจนั้น อ้อนสนใจในลักษณะ   franchise เป็นทางเลือกแรกๆค่ะ
ที่จริงที่อ้อนสนใจ franchise เหตุผลไม่ใช่เรื่องของ know how อย่างเดียวเท่านั้น  แต่เป็นเรื่องของแบรนด์ กับโอกาสความอยู่รอดของธุรกิจด้วยค่ะ

ลักษณะของธุรกิจ    franchise จะมีข้อดีที่มีแบรนด์ที่เป็นที่รู้จัก  ทำให้ง่ายในการเข้าสู่ตลาด และไม่ต้องใช้เวลาในช่วงเริ่มต้นธุรกิจนานนัก ลูกค้าก็มั่นใจในคุณภาพว่าได้มาตรฐาน และ % ที่ธุรกิจจะอยู่รอดมีสูง  (จากสถิติ ธุรกิจทั่วไป   90  กว่าเปอร์เซ็น จะล้ม ใน 5-6 ปีแรก แต่ธุรกิจ franchise โอกาสรอดจะสูงกว่ามาก )

แต่ปัญหา ก็คือfranchise ของไทยจะมีความแตกต่างจากในต่างประเทศ สถิติที่ว่า ธุรกิจ franchise โอกาสรอดจะสูงตามตำราต่างประเทศนั้น คงนำมาใช้ในใช้ในไทยไม่ได้ทีเดียวนัก  

เนื่องจาก ในต่างประเทศ franchise จะเกิดจากธุรกิจที่ดำเนินการประสบความสำเร็จ มีความชำนาญในตัวธุรกิจเป็นอย่างดี   แล้วจึงเปิดขายเป็นfranchise  คนที่ซื้อfranchise  ก็เลยประสบความสำเร็จได้ไม่ยากค่ะ เพราะมีสูตรสำเร็จ  มีระบบที่ไม่ต้องลองผิดลองถูกเอง ช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก 

ต่างจากในไทยที่มาฮิตๆ เปิด franchise กันค่ะ   เหมือนเอามาแต่เปลือกก็มีเยอะ  เช่นตั้งธุรกิจเพื่อจะเน้นขาย franchise กันอย่างเดียว  ทั้งๆที่แบรนด์ยังไม่ติดตลาดก็มี หรือก็ยังไม่มีความชำนาญในธุรกิจ    แบบนี้คนที่ซื้อ franchise ไป ก็ต้องรับความเสี่ยงเหมือนเดิม  แถมยังต้องเสียค่า franchise พร้อมกับมีสัญญาผูกมัดมากมาย

ดังนั้น อ้อนคิดว่าการเริ่มต้นธุรกิจ  จะพิจารณาตัว   franchise ในแต่ละแบรนด์ก่อนค่ะ  ถ้าเห็นว่าเจ้าของแบรนด์เอง  ก็ไม่ได้มีความเข้มแข็งในธุรกิจ  ก็สนใจการเปิดเองเป็นทางเลือกถัดไปค่ะ

แนะนำให้ทำเองครับแต่เจ้าของเองต้องมีความรู้ก่อนนะครับ

เนื่องจากตอนนี้ทำธุรกิจนี้อยู่ครับ ต้องใช้เวลาและความอดทนมากๆ ครับ

เป็นกำลังใจให้ครับ อาจต้องใช้ที่ปรึกษาบ้าง แต่อย่าเชื่อทั้งหมด โดยเฉพาะการซื้อของ

แต่ที่สำคัญคือการออกแบบตั้งแต่ต้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท