อบเชยลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ผลดี


อบเชยดีมากต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน

อบเชย เป็นต้นไม้ประจำหวัด ระนอง



ยอดอบเชยสีสวยงาม

อบเชย ต้องมีหลายคนยังไม่รู้จักแน่ๆนะคะ หรือเคยเห็นแต่ไม่ทราบว่าชื่ออบเชย จำกลิ่นไข่พะโล้ได้ไหมค่ะ เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่ใส่ในการทำไข่พะโล้ หลายๆคนอาจจะไม่ชอบกลิ่นเช่นเดียวกันหลายๆคนชอบกลิ่น เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมแรง แต่มีประโยชน์มาก บางคนนำมาต้มจางๆไม่เข้มข้นพอได้กลิ่นดื่มแทนน้ำ ร่างกายก็จะสดชื่นแจ่มใสได้ วันนี้นำเรื่องราวของอบเชยฝาก ดังนี้




อบเชย เป็นไม้ยืนต้นมีหลายพันธุ์เช่น อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวา ฯ

สำหรับประเทศไทยของเรานั้น แหล่งที่ปลูกมากคือที่พิษณุโลก

สารสำคัญที่พบ ในอบเชย พบว่าใช้บำบัดเบาหวานคือ เมธิลไฮดรอกซี่ ซาลโคน โพลิเมอร์ ( Methylhydroxy chalcone polymer หรือ MHCP) ซึ่งเป็นสารโคนชนิดแรกที่พบในอบเชยอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า โพลีพินอล( Polyphenol หรือ ฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid) นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆ เช่น terpinene ; vanillin ;terpinnene; coumarin ; linalool ;ocimene ; cinnamaldehyde ,cinnamic acid

สรรพคุณ อบเชบช่วยทำให้ร่างกายของคนเรามีความสามารถในการใช้อินซูลิน ( Insulin) เพื่อการสันดาบกลูโคสได้ดีขึ้นซึ่งมีรายงานผลการวิจัยนี้ใน Cinnamon Extracts Boots Insulin Sensitivity ลงตีพิมพ์ในวารสารของ USDAชื่อ Agricultura Research ฉบับเดือนกรกฏาคม 2002 อบเชยสามารถลดการดื้ออินซูลิน ทำให้เซลล์ต่างๆ นำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานให้หมดไปไม่ค้างอยู่ในเลือด อบเชยเหมาะสมกับเบาหวานชนิดที่ 2

ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกของกิ่ง

ขนาดและวิธีใช้ สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวน ให้ใช้อบเชยวันละ 1 ช้อนชา หรือประมาณ 1200 มิลิกรัม โดยแบ่งออกเป็น 4 มื้อ ซึ่งจะได้อบเชยผง ปริมาณ 300 มิลลิกรัม หรือมีขนาดเท่ากับ แคปซูลเบอรื 1 สำหรับผู้ไม่เป็นเบาหวานสามารถกินวันละ 500-600 มิลลิกรัม หรือ 2 เม็ดต่อวัน

สรรพคุณอื่นของอบเชย ใช้ปรุงเป็นยาหอม ยานัตถุ์ ทำให้สดชื่น แก้อ่อนเพลีย แก้อาการแน่นท้อง จุกเสียด ต้านมะเร็งได้ดี เพราะมีสารคลีเซอไรซินเข้มข้น รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง ขับปัสสาวะ ย่อยสลายไขมัน

พันธุ์อบเชยมี่ใช้ได้ดี อบเชยมีหลายพันธุ์ พันธุ์ที่มีชื่อเสียงคุณภาพดี ราคาแพงสุด เป็นสายพันธุ์จากศรีลังกา สายพันธุ์จากจีนอ่อนสุด อบเชยไทยไม่ค่อยนิยม เพราะเปลือกหนาไม่หอม ไทยจึงนำเข้าอบเชยสายพันธุ์จากประเทศอินโดนีเซีย

รายงานผลการทดลอง

รศ.ดร.วีณา มหาวิทยาลับมหิดลเล่าให้ฟังว่า ที่มาของงานวิจัยอบเชยกับเบาหวานไว้ว่า ดร.ริชาร์ด แอนเดอร์สัน แห่งศูนย์ค้นคว้าวิจัยทางโภชนาการ เบลท์สวิลล์ ( Beltsvillc Human Nutrition on Research Centers) ในเมืองเบลท์สวิลล์ ( belsville)มลรัฐ แมรีแลนด์ ( Meryland) สหรัฐอเมริกา สังกัดกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา ( U.S. Department of Agriculture หรือ USDA) หัวหน้าโครงการ รายงานผลการวิจัยนี้ในหัวข้อที่ว่า " Cinnamon Extracts Boots insulin Sensitivity" และได้นำลงตีพิมพ์ในวารสารของ USDA ชื่อ " Agricultura Research " ฉบับเดือนกรกฏาคม 2002

เป็นการต้นพบโดยบังเอิญ ขณะที่เขาและคณะกำลังศึกษาบทบาทของสารโครเมียม และอาหารชนิดต่างๆ ที่มีผลกับระดับฮอร์โมน อินซูลินอยู่ ซึ่งได้พบว่าของหวานจานหนึ่งคือ พายแอปเปิ้ล มีผลกระทบต่ออินซูลินอย่างมาก เป็นเหตุให้เขาตั้งใจค้นคว้าเกี่ยวกับอาหารจานนี้อย่างละเอียดและพบว่า อบเชย นั่นเอง ทำให้เกิดผลกระทบดังกล่าวและ เครื่องเทศชนิดอื่นๆที่มีผลคล้ายคลึงกับอบเชย อย่างเช่น กานพลู ใบเบย์ ขมิ้นชัน และยีสต์ ไม่มีชนิดใดเลยที่จะได้ผลเทียบเท่ากับอบเชย ซึ่งอบเชยยังไม่พบอันตรายแต่อย่างใดในการบริโภค


ข้อสังเกต/ข้อควรระวัง

1. ใบของต้นอบเชยบางชนิดที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงนิยมเรียกกันว่า ใบกระวาน

2. ผู้ที่ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด เป็นโรคริดสีดวงทวาร อุจจาระแห้ง และหญิงมีครรภ์ไม่ควรรับประทานอบเชย


( ขอบคุณสรรพคุณ อบเชยฯ จากหนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน เรียบเรียงโดย ภญ.จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก เภสัชกร 8 วช.สูนย์บริการสาธาณสุข 53 ทุ่งสองห้อง กทม. )




วิธีการใช้อบเชย มีผู้ใช้ไแบบต้มน้ำดื่มเพื่อสุขภาพไม่ได้เป็นโรคก็มี หรือบดเป็นผงใช้แบบผงหรือใส่แคปซูล และควรกินนครั้งละน้อยๆต่อวันทุกวัน อบเชยนั้นผู้ที่เป็นเบาหวานบางท่านที่ทราบที่ซื้อพันธุ์ของศรีลังกาก็ซื้อเป็นเปลือกอบเชยมาให้ร้านขายสมุนไพรบด แต่บางร้านเขาไม่บดให้ก็จะนำไปบดที่ร้านขายยาสมุนไพรที่บางร้านบริการการบดเป็นผง ได้แนะนำให้ผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นเบาหวานเรื้อรังที่อายุมากใช้วันละเม็ด คือ 1 แคปซูลก็ได้ผลดี สดชื่นและน้ำตาลอยู่ในระดับดี คนปกติใช้แล้วหน้าใส ผิวงาม สดชื่น ฯ รู้จักมีผู้ที่เป็นเบาหวานเรื้อรังและภรรยาผู้ที่เป็นเบาหวานใช้ได้ผลจริง คุณลุงที่แนะนำนั้นบอกว่า วันไหนกินขนมหวาน ผลไม้หวาน แล้วท่านจะกินอบเชยผงตาม 1/4 หรือครึ่งช้อนชา อบเชยใส่ขวดไว้วางไว้ในรถในห้องใกล้ตัวเสมอ

อบเชยบดป่นเป็นผง หรือที่เป็นเปลือก มีขายที่ร้านขายยาสมุนไพร และร้านขายของแห้งของชำบางร้าน เพราะปกติอบเชยจะขายเป็นชุดเครื่องทำพะโล้อยู่แล้ว จะลองนำมาตำบดเองก็ได้แล้วร่อนกรองก็จะได้ผงละเอียด ซื้อแคปซูลมาใส่จะได้กินง่ายขึ้น การนำสมุนไพรที่เป็นผงใส่แคปซูล ทำไม่ยากทำเองได้ เช่น ในช่วงเวลาที่นั่งดูโทรทัศน์ สมุนไพรเป็นผงใส่ถ้วย ดึงฝาแคปซูลออกนำส่วนที่ยาวกว่าฝาคว่ำลงในผงยาสมุนไพรให้เต็มแล้วก็ปิด ค่อยๆทำเดี่ยวก็ได้มาก หมดแล้วก็ใส่ใหม่อีกได้เรื่อยๆ ใส่ขวดไว้ หรือถ้าทำมากก็ไปจ้างร้านที่ขายยาสมุนไพรก็ได้



ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี

วันพฤหัสบดีที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๕๖

หมายเลขบันทึก: 552772เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2013 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2016 07:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ตัวเองเริ่มมีปัญหากับเบาหวานเหมือนกัน จึงใช้วิธีควบคุมอาหารที่จริงจังขึ้น อบเชยน่าสนใจครับ..
  • ขอบคุณความรู้ครับ พี่กานดาสบายดีนะครับ

-สวัสดีครับ..

-ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ..

-เก็บภาพ"คั่วบะฟักแก้ว"มาฝากครับ..

สวัสดีค่ะพี่ดา

  • น้องนางกลับมาแล้วนะคะ มารับความรู้จากพี่ดาค่ะ
  • ด้วยความระลึกถึงเสมอค่ะ

ดื่มได้ง่ายโดยไม่ต้องเพิ่มความหวาน



หาซื้อได้ที่ร้าน ขายยาสมุนไพร ในแม็คโคร

ร้านขายของชำบางร้านที่ขายชุดทำพะโล้ซึ่งพอต้มต่อครั้งได้




ไม่ควรต้มมากต่อครั้ง ประมาณ 1 คืบต่อน้ำ 1 ลิตร ต้มนานประมาณ 30 นาที




สงสัยจังว่าอบเชยมีผลกระทบกับตับหรือไม่เพราะว่าบางรายงานก็ว่าทานอบเชยมีผลกระทบต่อตับบางรายงานก็ว่าไม่มีอันตรายเลยทำให้ไม่แน่ใจที่จะทานเป็นเบาหวานก็อยากจะลองใช้ลดน้ำตาลดูบาง ใขข้อสงสัยให้น่อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท