ลิ้นนั้นสำคัญไฉน?


           ลิ้นนั้นสำคัญไฉน? คุณเคยสังเกตลิ้นของคุณเองบ้างมั้ยว่ามีลักษณะยังไงบ้าง  ลิ้นนอกจากจะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการพูด และเคี้ยวอาหารแล้ว ยังบอกอะไรคุณได้อีกเกี่ยวกับสุขภาพของคุณ ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้ง่ายมาก 

 

            ดูลิ้นบอกโรคได้ เราเคยสงสัยมั้ยครับว่าเวลาคนป่วยไปหาหมอแผนปัจจุบัน หมอมักจะให้คนป่วยอ้าปาก ร้องเสียงอาๆ ให้เสียงออกจากคอ เพื่อตรวจดูสภาพภายในช่องปากทั่วๆไป แล้วก็ดูต่อมทอนซิน แต่เวลาที่เราไปหาหมอแผนจีน  หมอจีนจะให้คนป่วยแลบลิ้นออกมาดู ไม่ค่อยดูต่อมทอนซิลซักเท่าไหร่ แปลกดีมั้ยครับ ตัวผมเองสงสัยเรื่องนี้มานานแล้ว ตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก แม่ก็เคยพาผมไปรักษากับหมอจีน หมอก็บอกให้แลบลิ้นยาวๆออกมาดู ก็สงสัยว่าเค้าดูลิ้นผม แล้วจะเห็นอะไร จนเมื่อผมได้ผ่านหลักสูตรอบรมทฤษฏีแพทย์แผนจีน จึงได้เข้าใจว่าหมอจีนเค้าดูอะไร เค้าเห็นอะไร และอ่านอะไรได้จากลิ้นผม

 

            การดูลิ้นเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจร่างกายที่สำคัญมาก รองลงมาจากการจับชีพจร [แมะ] เพื่อหาสาเหตุของอาการป่วย ลิ้นคนปกติที่ไม่เจ็บป่วย ลิ้นจะมีลักษณะเป็นสีแดงอ่อนๆและ จะมีฝ้าขาวบางๆอยู่บนลิ้น ลิ้นจะดูอ่อนนุ่ม ไม่แข็งทื่อ ไม่บวม เวลาแลบลิ้นๆจะตรง ไม่เบี้ยว ขอบลิ้นซ้ายขวาที่มาบรรจบกันที่ปลายลิ้นจะเรียบ ไม่มีขอบเป็นรอยหยัก เหมือนซี่ฟัน [เหมือนถูกฟันกดทับ ขอบลิ้น จนเป็นรอยฟัน]  ปลายลิ้นสีไม่ควรจะแดงจัด  

          

           แต่ในคนป่วยลักษณะของลิ้น จะต่างจากคนปกติทั่วไป มีประเด็นพิจารณาดังนี้

           1.สีลิ้นอาจจะ ซีดมาก จนถึงแดงจัด

           2.ฝ้าอาจจะเป็นแบบ มีฝ้าขาวบางๆ จนถึงมีฝ้าหนามาก ฝ้าอาจจะมีสีขาว เหลืองถึงดำได้ 

           3.เช่นเดียวกับขนาดของลิ้นอาจจะมีลิ้น แบบเล็กๆเรียวๆ จนถึงเป็นแบบลิ้นหนา 

           4.เช่นเดียวกับผิวของลิ้นอาจจะมีรอยแตก หรือรอยแยก แบบตื้นๆจนถึงแบบลึกได้

 

           5.ตำแหน่งของรอยแตกหรือแยกหรือรอยหยักจะอยู่ได้ที่บริเวณต่างๆบนลิ้น ซึ่งตำแหน่งที่เป็นจะสัมพันธ์กับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งที่ไม่สบาย

 

           6.ลิ้นปกติจะต้องไม่สั่น ไม่เบี้ยว จะต้องเคลื่อนไหวแบบปกติ ไม่สะดุด

 

           7.บริเวณขอบลิ้นทั้งสองข้างไม่ควรจะมี รอยหยักเหมือนซี่ฟันกดทับลิ้น

 

           เมื่อคนไข้หายป่วยแล้ว ในคนไข้บางคน สภาพของลิ้นก็สามารถจะคืนกลับสู่ สภาพปกติเหมือนเดิมได้ ลองสังเกตุตัวเองเวลา ไม่สบายเช่นเวลาเป็นไข้หวัด ลักษณะของลิ้นจะมีลักษณะ ต่างไปจากที่ขณะยังไม่ป่วย

           1.ถ้าเป็นหวัดน้อยๆมีไข้ไม่มาก ลิ้นอาจจะแดงขึ้นและมีฝ้าขาวๆกระจาย ทั่วๆลิ้น

 

            2. ถ้าเป็นหวัดมากขึ้น ไข้สูงขึ้น กลัวหนาว น้ำมูกใสๆ ลิ้นอาจจะมีสีแดงจัด ฝ้าบนลิ้นอาจจะหนาขึ้น

 

            3.ถ้าหากน้ำมูกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และอาการมากขึ้นไปอีก ลิ้นอาจจะแดง จัดร่วมกับฝ้าท่ีอาจจะเปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง

           แต่เมื่ออาการคนไข้ดีขึ้นแล้วหรือ หายป่วย สภาพของลิ้นก็จะกลับคืนสู่สภาพปกติ ยกเว้นในบางกรณีโดยเฉพาะ ในคนไข้โรคเรื้อรัง รอยโรคบนลิ้นอาจ จะยังไม่หายไปเลยทีเดียว ต้องใช้เวลา

 

            จากประสการณ์ที่ตรวจรักษาคนไข้ในที่ทำงานและที่คลีนิค พบว่า ประมาณ20-30% จะพบคนไข้มีลิ้นเป็นแบบขอบเป็นรอยหยัก ทั้งขอบด้าน ซ้าย และขวา เหมือนถูกฟันในปาก กดทับลิ้น จนป็นรอย เวลาบอกคนไข้เรื่องลิ้นว่าเป็น รอยหยัก คนไข้ส่วนใหญ่ก็จะพูดเหมือนๆ กันหมดว่าเห็นเป็นแบบนี้มานานแล้ว แต่ไม่ได้คิดอะไร ไม่คิดว่าจะมีความ สำคัญอะไร ถ้าหมอไม่ทักเรื่อง นี้ก็คงจะไม่สนใจเพราะไม่เดือดร้อนอะไร

 

            ลองยกตัวอย่างคนที่มีลิ้น เป็นรอยหยักเหมือนซี่ฟันกดทับลิ้น  จะพบได้ในคนไข้ ในหลายกรณี ผมจะนำเสนอ case ที่ผมเคยพบและรักษามา เล่าให้ฟัง

 

รายที่1 คนไข้หญิงอายุประมาณ 40ต้นๆ มีอาการหอบหืด [Asthma]  เป็นมาตั้งแต่เด็ก เมื่อไหร่ที่เป็นหวัด คนไข้จะมีอาการหอบมากจนต้อง เข้าพักรักษาในรพ.  case นี้เมื่อพบคนไข้ครั้งแรกเมื่อซัก ประวัติแล้วตรวจร่างกาย ก็จะพบว่า ที่ลิ้นคนไข้รายนี้มีลักษณะ เกือบปกติ ยกเว้นสีของลิ้นจะแดง และมีฝ้าบางๆ บนลิ้น ที่ขอบลิ้นจะมีรอยหยักทั้งสอง ข้างเหมือนรอยฟันมากดทับลิ้น

 

            จึงพอสรุปได้ว่าสมมติฐาน ของโรคหอบหืดน่าจะเกิดจาก การที่มีปัจจัยภายนอกมากระทำที่ปอด เช่นความเย็น ความชื้น ความร้อน [รวมถึงการที่ร่างกายอ่อนแอด้วย] ทำให้เกิดความร้อนทีปอด จึงทำให้หอบ โดยความร้อนนี้ อาจจะมาจาก สภาพหยิน [Yin] ของปอด พร่องลง หรือเกิดจาก หยาง [Yang] ของม้ามพร่องแล้วส่งผล ถึงปอดดังกล่าว

 

            ในวันที่พบคนไข้รายนี้อาการดีขึ้นเพราะพึ่งออกจากรพ. จึงไม่ได้รักษา  เหตุที่นำมาเล่าให้ฟัง เพราะจากวันที่ ตรวจพบสิ่งผิดปกติที่ลิ้น จนอีก1เดือน หลังจากวันนั้น ปรากฏว่าลิ้นคนไข้แตก ต่างจากเมื่อวันนั้นอย่างสิ้นเชิง รอยหยักที่ขอบลิ้นทั้งสองข้างไม่ปรากฏให้เห็น สีของลิ้นก็ไม่แดงเหมือนอย่างที่เคยเป็น แสดงว่าเมื่ออาการของโรคดีขึ้น รอยโรคที่พบบนลิ้นก็จะหายไป กลับคืนสู่สภาพปกติได้

 

รายที่2 คนไข้หญิงอายุประมาณ 30 ต้นๆ มีอาการอ่อนเพลีย หายใจไม่สุด มีน้ำมูก จามบ่อย นอนไม่หลับ ฝันบ่อย เกือบทุกคืน จากการตรวจร่างกาย พบคนไข้ มีอาการเหนื่อยอ่อน หน้าตาซูบซีด เหมือนไม่ได้นอนมาทั้งคืน  และพบลิ้นแดง และมีฝ้าบางๆ บนลิ้น ที่ขอบลิ้นจะมีรอยหยักทั้งสอง ข้างเหมือนรอยฟันมากดทับ ไม่พบสิ่ง ผิดปกติอย่างอื่น

 

            จากการตรวจร่างกายพอสรุปได้ว่า สมมติฐานอาการป่วยคนไข้รายนี้ มีปัญหามาจาก สภาพหยินของปอด และไตพร่อง

 

            การรักษาใช้วิธีฝังเข็มและสมุนไพรตามสาเหตุดังกล่าว

 

รายที่3 คนไข้หญิงอายุประมาณ 40 ต้นๆ มีอาการแน่นท้องหลังอาหาร ร่วมกับอาการประจำเดือนที่มามาก ทุกเดือน จากการตรวจร่างกาย พบมีรอยซี่ฟันบริเวณขอบลิ้นทั้งสองข้าง ไม่พบสิ่งผิดปกติอย่างอื่น

 

            จากข้อมูลที่มีอยู่สามารถอธิบายได้ว่า คนไข้รายนี้มีปัญหาในด้านชี่ของม้ามพร่อง ร่วมกับเลือดของ ตับพร่อง  

   

            การรักษาคนไข้รายนี้รักษา ตามสาเหตุดังกล่าว โดยการฝังเข็ม สมุนไพร และการใช้ความร้อนจากแท่งสมุนไพร [โกฏจุฬารัมพา] มารมที่บริเวณจุดฝังเข็ม เรียกวิธีรมความร้อน ที่จุดฝังเข็มนี้ว่า Moxibustion

             สนใจรายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพศึกษาได้ที่ http://www.thaiyinyang.com

หมายเลขบันทึก: 55174เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2006 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ลิ้นมีสีดำคับ

มันเป็นไรอะคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท