สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน แผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่6 (3)


สมุนไพร ตามแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉ.6 ตัวที่ 3 ที่ทั้งไทย มอญ เทศ ฯลฯ ต่างให้ความสนใจ

นำไปแปรรูปเป็นเครื่องดื่มและปรุงอาหาร รวมทั้งเป็นตัวอย่าง คื กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่นิยมปลูก

เช่น กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง)

     ผักเก็งเค้ง ส้มเก็งเค็ง (ภาคเหนือ)

     ส้มตะเลงเคลง (ตาก)

     ส้มปู (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)

 

ไฟล์:. Hibiscus sabdariffa (1) jpg

ที่มา:http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Hibiscus_sabdariffa_(1).jpg

กระเจี๊ยบได้ถูกนำไปศึกษาวิจัยจากหลายสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ช่วยให้เกิดความั่นใจ และเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยสูงยิ่งขึ้น

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระเจี๊ยบตามตำราของกระทรวงสาธารณสุข

ตามแผนพะฒนาการสาธารณสุข ฉ. 6นั้น ยังเป็นเพียงข้อมูลที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ บวกกับความคุ้นเคย

และความเชื่อมั่นในสรรพคุณยาตามภูมิปัญญา และบรรพบุรุษ ทำให้กระเจี๊ยบถูกนำมาใช้ทั้งในรูปของอาหารและเครื่องดื่ม

รวมทั้งเป็นยารักษาโรคได้เป็นอย่างดี  และยังเป็นยาลดความดันโลหิตสูง

โรคเรื้อรังยอดฮิตของคนไทยได้ด้วย กระเจี๊ยบเป็นที่สนใจของนักค้นคว้า นักวิจัยได้หันมาจับกระเจ๊๊ยบเป็นตัวศึกษา

ทั้งนี้เพื่อเข้าถึงคุณค่าทางเภสัชและการรักษา ของกระเจี๊ยบไทยที่มีคุณค่าต่อมนุษย์ชาติ จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง

ลักษณะของพืช กระเจี๊ยบเป็นพืชที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่มเล็ก มีความสูงตั้งแต่ 3 -6 ศอก

ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงอมแดงจัด ใบมีหลายแบบ ขอบใบเรียบ บางครั้งจะเห็นใบมีลักษณะเป็นหยัก

และใช้ประกอบอาหารได้ดีและเพิ่มรสชาติให้อร่อยอีกด้วย

 

กระเจี๊ยบที่นิยมใช้เป็นยานั้นมีสีดอกเป็นสีชมพู

Photobucket

ขอบคุณภาพกระเจี๊ยบจาก:http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=lastmoon&month=30-10-2009&group=5&gblog=24

ตรงกลางดอกจะมีสีเข้มและสีจะค่อยๆอช่อนลงจนถึงปลายกลีบ เมื่อกลีบดอกร่วงโรยไป

กลีบดอกรอง และกลีบเลี้ยงจะเจริญขึ้นมาทำหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ดไว้มีลักษณะสีแดงเข้มดังภาพ

ดอกกระเจี๊ยบ

ขอบคุณที่มาของภาพและข้อมูลอาหารเพิ่มเติมจาก:

http://www.panmai.com/Food/List_09.shtml

 

ส่วนที่ใช้เป็นยาคือกลีบเลี้ยงและกลีบรองดอก มีสรรพคุณ เด่นๆคือมีรสเปรี๊ยว ใช้เป็นยากัดเสมหะ และอื่นๆอีกมากมาย

 

ขอบคุณที่มาของภาพจาก:http://www.the-than.com/FLower/Fl-2/25/25.html

ช่วงเวลาที่นิยมเก็บยา เพื่อให้ได้ยามีคุณภาพเต็มร้อยคือ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวใช้เวลา 4 - 5 เดือนครึ่ง

วิธีใช้

หากต้องการใช้เป็นยารักษาอาการจัดเบา ปัสสาวะไม่สะดวก ให้นำกลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง

ตากแห้งแล้วบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร)

ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส

ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวัน จนกว่าอาการขัดเบาจะหายไป

หายป่วยแล้วดื่มเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรอร่อยรสหวานด้วยการเติมน้ำผึ้งก็ดี น้ำตาลทรายแดงก็ดี

และเหยาะเกลือแกงเล็กน้อยแต่ปลายช้อนแตะๆ เติมน้ำแข็งเกร็ดหรือก้อนเล็กๆแก้กระหายน้ำได้ดีทีเดียว

 

ขอบคุณความรู้เพิ่มเติมจาก

http://medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/hibiscus.html#Topic_cure

http://www.the-than.com/FLower/Fl-2/25/25.html

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=868208

ขอบคุณพระอาจารย์ผู้ประสาทความรู้ และเว็บไชด์ต่างๆที่นรำมากล่าวและอ้างไว้ในที่นี้

เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของเพื่อนมนุษย์ชาติด้วยกัน โดยปราศจากการหาผลประโยชน์และกำไร

นอกจากการเผยแพร่ความรู้และเรียนรู้ของผู้บันทึกเอง

ขอบคุณที่แวะมาร่วมลปรร.กันนะคะ

ขอบคุณค่ะ

มีแสงแดดรำไรๆแล้วคาดว่าถ้าบ่ายฝนหายไปเรามาทำน้ำกระเจี๊ยบดื่มกันดีไหมคะ

ขอบคุณภาพและติดตามลองทำชิมดูที่นี่ค่ะhttp://www.classifiedthai.com/content.php?article=20282

ขอไปเก็บกระเจี๊ยบในกระถางมาทำเครื่องดื่มก่อนนะคะ

หมายเลขบันทึก: 551325เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบค่ะ "น้ำกระเจี๊ยบ" เปรี้ยว ๆ ถ้านำมาชงดื่ม ใส่น้ำตาลนิดเดียวพอค่ะ...เพราะนิสัยของนู๋ ไม่ค่อยชอบหวานคร้า...ขนาดไม่ชอบหวาน หมอยังบอกว่านู๋เป็นเบาหวานเลยคร้า ถ้าชอบจะขนาดไหน คริ ๆ ๆ...ขอบคุณคร้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท