ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 42


การแจกนาม วำสฺ, อนฺ, อจฺ/อญฺจฺ

 

๑. วำสฺ

การแจกรูปนามยังไม่หมด ตัวแรกคือ รูปที่ลงท้ายด้วย วำสฺ ปกติไม่ค่อยจะมีนามแบบนี้ เว้นแต่กรณีที่เป็นกริยากฤต คือ กริยาย่อยชนิดสมบูรณ์กาล พวกกรรตุวาจก. (สมบูรณ์กาลเรายังไม่เรียนแต่เราเรียนกริยาย่อยของสมบูรณ์กาลก่อน) ส่วนการใช้อย่างไร ค่อยๆเรียนรู้ไป

การแจกรูปนั้น คงไม่ยากแล้วสำหรับพวกเรา เพราะแจกนามแบบหลายฐานมาหลายบทแล้ว  วำสฺ นี้ แบ่งเป็นสามเค้า ดังนี้

เค้าแข็ง ตัวการานต์ก็คือ วำสฺ แต่ก็จะกลายเป็น วานฺ ในกรณี กรรตุการก เอกพจน์ ปุลฺลิงฺค, และกลายเป็น วนฺ ในอาลปนะ

เค้ากลาง วำสฺ เปลี่ยนเป็น วตฺ (เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะเสียงก้อง ก็จะเป็น วทฺ)

เค้าอ่อน วำสฺ เปลี่ยนเป็น อุษฺ ตรงนี้แปลกหน่อย ต้องจำให้ดี

ตัวอย่าง แรก วิทฺ (รู้) + วำสฺ = วิทฺวำสฺ  แจกได้สองเพศ คือ ปุ. และ นปุ.  (สำหรับ สฺตฺรี นั้น แค่เติม –อี ข้างหลังเค้าอ่อน เป็น วิทฺ +อุษฺ +อี = วิทุษี)

 .

.

ปุ. 

 .

.

.

นปุ.

.

 .

เอก.

ทวิ.

พหุ.

 

เอก.

ทวิ.

พหุ.

กรรตฤ

วิทฺวานฺ

วิทฺวำเสา

วิทฺวำสสฺ

.

วิทฺวตฺ

วิทุษี

วิทฺวำสิ

อาลปนะ

วิทฺวนฺ

วิทฺวำเสา

วิทฺวำสสฺ

.

วิทฺวตฺ

วิทุษี

วิทฺวำสิ

กรรม

วิทฺวำสมฺ

วิทฺวำเสา

วิทุษสฺ

.

วิทฺวตฺ

วิทุษี

วิทฺวำสิ

กรรณ

วิทุษา

วิทฺวทฺภฺยามฺ

วิทฺวทฺภิสฺ

.

วิทุษา

วิทฺวทฺภฺยามฺ

วิทฺวทฺภิสฺ

สัมประทาน

วิทุเษ

วิทฺวทฺภฺยามฺ

วิทฺวทฺภฺยสฺ

.

วิทุเษ

วิทฺวทฺภฺยามฺ

วิทฺวทฺภฺยสฺ

อปาทาน

วิทุษสฺ

วิทฺวทฺภฺยามฺ

วิทฺวทฺภฺยสฺ

.

วิทุษสฺ

วิทฺวทฺภฺยามฺ

วิทฺวทฺภฺยสฺ

สัมพันธ

วิทุษสฺ

วิทุโษสฺ

วิทุษามฺ

.

วิทุษสฺ

วิทุโษสฺ

วิทุษามฺ

อธิกรณ

วิทุษิ

วิทุโษสฺ

วิทฺวตฺสุ

 

วิทุษิ

วิทุโษสฺ

วิทฺวตฺสุ

 

 ๒. ศฺวนฺ ปุ. (สุนัข), ยุวนฺ ปุ.นปุ. (เยาว์) มีเค่าอ่อนคือ ศุนฺ และ ยูนฺ. ส่วนเค้าแข็งและกลางนั้น ใช้แบบเดียวกับ ราชนฺ (ตัวอย่าง อาลปนะ แจก ศฺวนฺ, ยุวนฺ) ส่วนเพศหญิงเป็น ศุนี, ยุวติ

                 **ลองแจกเองทั้งหมด**

 

๓. มฆวนฺ ปุ. (ผู้เอื้อเฟื้อ) ในภาษาสมัยหลังมักจะหมายถึงพระอินทร์ ศัพท์นี้มาจาก มฆ+วนฺ คือ ผู้มีทรัพย์ มีเค้าแข็งคือ “มฆวานฺ” กลาง “มฆว” และ อ่อน “มโฆน” 

     กรรตุ เอก แจกเป็น มฆวา  อาลปนะ มฆวนฺ,  เพศหญิงใช้ มโฆนี

                 **ลองแจกเองทั้งหมด**

 

หมายเลขบันทึก: 550997เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2013 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2013 09:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

เข้าใจยากมากๆ   แต่ก็ต้องพยายามอ่าน เพราะอย่กศึกษาครับ

      ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

ถ้าสนใจศึกษา ให้อ่านตั้งแต่บทที่ 1 นะครับ

ถ้าติดขัดเรื่องการอ่านตัวอักษร ก็ต้องพยายามหัดอ่านเขียนจนคล่อง

บางบทผมก็เขียนรวบรัด บางบทก็อธิบายละเอียด ถ้าไม่เข้าใจก็ถามได้ครับ

ขอบพระคุณสำหรับบทเรียนค่ะ ^-^

อาจารย์ทำบทเรียนเก็บไว้แล้วเหรอคะ ?

ถ้าอย่างนั้นหนูขออนุญาตยกคำถามจากบทที่แล้วมาไว้ที่บทนี้นะคะ ในส่วนของคำถามที่อาจารย์ยังมิได้ตอบ 

อาจารย์รบกวนหน่อยค่ะ หนูสับสน

'' โอมฺ กาตฺยานาย วิทฺมเห กนฺยากุมารี  ธีมหี ''

 โอม.. ข้าขอระลึกถึงเทวีผู้เป็นธิดาของมหาฤษีกาตยยัน ** 

** แล้วเราก็มาใส่เชิงอรรถไปว่าเป็นอวตารปางที่ 6 ในนวทุรคา คือพระทุรคาอวตารลงมาเกิดเป็นธิดาของฤษีกาตยยัน เลยมีพระนามว่า กาตยายินี คือผู้เกิดแต่วงศ์กะติหรือกาตยะ

มีบางท่านแนะนำว่าให้หนูใส่พระนามทับเข้าไปเลยเช่น ''โอม..ข้าขอระลึกถึงเทวีกาตยายินี/กาตยะยานี''

แต่หนูเห็นว่ามันมิถูกต้องตามไวยากรณ์มากนัก เพราะลองเปิดพจนานุกรมดูแล้ว กาตฺยาน แปลว่า descendant of kati

อาจารย์เห็นว่าอย่างไรคะ รบกวนช่วยแนะนำที

ขอบพระคุณค่ะ 

कात्यायनी กาตฺยายนี หรือ พระแม่ทุรคา

ในที่นี้ มีศัพท์เพศหญิง คือ กาตฺยายนี กนฺยา และ กุมารี

กาตฺยายนี ทับศัพท์เลยก็ได้ บอกความหมายก็ได้

ผมว่า ไม่มีปัญหา แล้วแต่จะชอบ แต่ควรมีเชิงอรรถเพิ่มเติม

จดเสร็จแล้วค่ะ อิอิ ร้างไปนาน เริ่มจะจำวิภักติของเพศชายและกลางไม่ค่อยได้ละ ^-^

ตัวนี้ยากนิดหนึ่ง

ลองเอา ธาตุ มาเติม วำสฺ แล้วแจกดูนะครับ

เช่น तस्थिवांस् จาก สฺถา

 

อาจารย์คะ หนูสงสัยคำว่า โทมนัสและโสมนัส ที่แปลว่าดีใจและเสียใจ ทั้ง โท และ โส มากจากไหนคะ ที่มาเติมหน้า มนสฺ

 

แล้วก็เผอิญหนูไปอ่านบทความเรื่องวรรณวิทยาของท่านอาจารย์ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา มา

ในนั้นมีเป็นประโยคสั้นสกฤตสั้นๆ กล่าวถึงพระสรัสวตี 

ซึ่งในบทความของท่านอาจารย์นั้นไม่บอกว่ามาจากที่ใด แถมยังมีแต่คำแปลภาษาไทยด้วยค่ะ

หนูใคร่อยากจะได้ต้นฉบับที่เป็นภาษาสันสกฤต ก็เที่ยวตะลอนถามคนโน้นคนนี้ตลอดว่าเคยพบเห็นไหม

สุดท้ายก็ต้องมาพึ่งอาจารย์ค่ะ เผื่อจะเคยผ่านตามาบ้าง รบกวนหน่อยนะคะ

''ฉันโปรดใคร ฉันก็ทำให้ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นนักปราชญ์ แลกวีผู้ฉลาดหลักแหลม ''

 

ขอบพระคุณค่ะ 

โทมนัส (โทมนสฺส) โสมนัส (โสมนสฺส) คงมาจาก ทุ และ สุ แต่เป็นภาษาบาลี ผมไม่ทราบว่าประกอบศัพท์อย่างไร

ภาษาสันสกฤตใช้ ทุมนสฺ และ สุมนสฺ ครับ

 

น่าจะเป็นบทนี้ครับ

ฤคเวท มัณฑละที่ ๑๐ สูกตะที่ ๑๒๕ มันตระที่ ๕ (๑๐.๑๒๕.๕) บาทที่สอง (บรรทัดล่าง ที่มี ยำ ตำตำเยอะๆ) ดังนี้

अहमेव सवयमिदं वदामि जुष्टं देवेभिरुतमानुषेभिः |
यं कामये तं-तमुग्रं कर्णोमि तम्ब्रह्माणं तं रषिं तं सुमेधाम ||

aham eva svayam idaṃ vadāmi juṣṭaṃ devebhir utamānuṣebhiḥ |
yaṃ kāmaye taṃ-tam ughraṃ kṛṇomi tam brahmāṇaṃ taṃ ṛṣiṃ taṃ sumedhām ||

(เทวนาครีอาจตกหล่น พอดีก๊อปมา ให้ดูโรมันเป็นหลัก)

 

โอ้โหหห ยอมเลยจริงๆค่ะ กราบขอบพระคุณอาจารย์มากๆ

 

ที่ผ่านมาถามใครก็ไม่มีใครจะทราบเลย หนูก็ไม่รู้ว่าจะต้องไปค้นตรงไหน

 

มันจะมีอยู่เว็บนึง ให้หามนต์พวกนี้ แต่เราก็ต้อง รู้คำขึ้นต้นของโศลกด้วยค่ะ ถึงจะขึ้นท่อนนั้นมาให้เราดูได้

 

แล้วนี่หนูไม่รู้อะไรสักอย่างสักคำ เหมือนงมเข็มในจักรวาล เลยจนปัญญาค่ะ

 

กราบขอบพระคุณอาจารย์มากนะคะ กำลังนั่งแปลอยู่ ไว้ถ้าสงสัยอะไรจะขออนุญาตถามค่ะ

 

ดูแล้วคงไม่ยากไปใช่ไหมคะ ?

อิๆ เป็นคำถามที่กว้างมากครับ ผมก็พยายามค้นๆ เท่าที่จะทำได้ ลองแปลไทยเป็นอังกฤษ/สันสกฤต แล้วค้นดู

โชคดีที่สมัยนี้มีคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีคอม ไม่มีเน็ต จ้างให้ก็ไม่ค้นให้ ;)

ท่อนนี้ไม่ยากเท่าไหร่ครับ

แต่ทั้งสูกตะ (ทั้งบท) ก็ไม่ง่ายครับ

อาจารย์คะ การกที่ 2 - เอกพจน์ ทำไมได้เป็น วิทฺวตฺ ล่ะคะ ที่จริงมันเป็นเค้าอ่อนหรือเปล่าคะ

น่าจะเป็น วิทฺ + อุษฺ + อมฺ = วิทุษมฺ  (หนู งง ค่ะ หรือว่าจำผิดเอ่ย)

 

เพราะว่าเพศกลางเค้าแข็ง มีแค่กรรตุ พหูพจน์ และ กรรมตรงพหูพจน์เท่านี้ไม่ใช่เหรอคะ

 

แล้วก็คำบอกพจน์ในตาราง พหูพจน์ รู้สึกอาจารย์จะใส่คำผิดไป เป็น ปุ.

 

แล้วก็คำนี้  तस्थिवांस् ให้หนูแจกมาส่งเหรอคะ ?

อาจารย์ขาหนูถามสักนิดนึงว่า แต่เดิมภาษาอังกฤษที่เป็น Old English นี่เขามีแบ่งเพศไหมคะ 

หนูไปอ่านจากหนังสือมาเขาบอกว่า

ภาษาอังกฤษนั้นเมื่อเริ่มแรกในภาษาดั้งเดิมที่เรียกว่า Old English  ก็มี 3 เพศเหมือนกันเพราะเป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลเดียวกับ Germanic หรือ ภาษาเยอรมัน    แต่เนื่องจากภาษาอังกฤษได้กลายมาเป็นภาษานานาชาติที่คนใช้มากที่สุดในโลก    จึงเริ่มมีการวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงด้วยสาเหตุที่การเรียนภาษาที่ 2  ของคนต่างชาตินั้นจะประสบความยากลำบากในการเรียนและจดจำในระบบ Genus-System    จึงเป็นผลให้หลักการใช้ภาษาค่อยๆ ถูกตัดทอนลงเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้     ทำให้ระบบเพศของคำนามสูญหายไปเหลือแค่คำสรรพนามที่บ่อกเพศ  he, she, it  เท่านั้น

เช่นเดียวกับภาษาเปอร์เซีย   ซึ่งแต่เดิมก็มี 3 เพศเหมือนกัน   แต่ถูกอิทธิพลของภาษาอาหรับเข้ามามีอิทธิพลจนต้องละทิ้งระบบเพศของคำนามไปในที่สุดเช่นกัน

 

เขากล่าวถูกไหมคะ  จริงๆก็ดูเหมือนภาษาอังกฤษปัจจุบันก็จะมีเพศเช่นกันนะคะ

ตัวอย่างเช่น Actor - Actress

 

ขอบคุณค่ะ ..

 

 

 

นปุ. เอก (1-3) เปลี่ยน วำสฺ เป็น วตฺ ครับ ตรงนี้แบ่งเป็น 3 เค้า

ให้ทดลองแจก ตสฺถิวำสฺ (ยืน) และ ชคฺมิวำสฺ (ไป)

(จริงๆ แล้วกริยาสมบูรณ์กาลนั้นมีการซ้ำเสียงหน้าก่อนนำมาแจก แต่ว่าเราค่อยเรียนทีหลัง)

 

ภาษาอังกฤษโบราณ หรือ อังโกลซักซอน เป็นภาษามีวิภักติปัจจัยเหมือนกัน

สมัยโบราณมี 3 เพศ 3 พจน์ เหมือนกันครับ แต่แตกต่างจากปัจจุบันมาก

การเปลี่ยนแปลงเกิดจากการใช้งาน ไม่ใช่ว่าจะตั้งใจเปลี่ยนครับ

เวลานานเป็นพันๆ ปี

อาจารย์ยังไม่ต่อเหรอคะ อิอิ

ถ้าหมดจากแจกรูปนามแล้วอาจารย์อย่าลืมลัดคิวเรื่องสมาสมาให้หนูก่อนนะคะ

ขอบคุณค่ะ

แก้ไขแล้วมีปัญหา เลยมาต่อในนี้ครับ

๒. ศฺวนฺ ปุ. (สุนัข), ยุวนฺ ปุ.นปุ. (เยาว์) มีเค่าอ่อนคือ ศุนฺ และ ยูนฺ. ส่วนเค้าแข็งและกลางนั้น ใช้แบบเดียวกับ ราชนฺ (ตัวอย่าง อาลปนะ แจก ศฺวนฺ, ยุวนฺ) ส่วนเพศหญิงเป็น ศุนี, ยุวติ

                **ลองแจกเองทั้งหมด**

 

๓. มฆวนฺ ปุ. (ผู้เอื้อเฟื้อ) ในภาษาสมัยหลังมักจะหมายถึงพระอินทร์ ศัพท์นี้มาจาก มฆ+วนฺ คือ ผู้มีทรัพย์ มีเค้าแข็งคือ “มฆวานฺ” กลาง “มฆว” และ อ่อน “มโฆน” 

                กรรตุ เอก แจกเป็น มฆวา  อาลปนะ มฆวนฺ,  เพศหญิงใช้ มโฆนี

                **ลองแจกเองทั้งหมด**

 

๔. อหนฺ นปุ. “วัน”   ใช้เฉพาะเค้าแข็งและอ่อน ส่วนเค้ากลาง กับกรรตุ.เอก. นั้น ใช้ อหรฺ หรือ อหสฺ

                แบบแจกมีดังนี้

 .

เอก.

ทวิ.

พหุ.

กรฺตฺฤ, กรฺม, อาลปน

อหรฺ (อหสฺ)

อหนี หรือ อหฺนี

อหานิ

กรฺณ

อหฺนา

อโหภยามฺ

อโหภิสฺ

สมฺพนฺธ

อหนิ หรือ อหฺนิ

อหฺโนสฺ

อหสฺสุ หรือ อหะสุ

 ** ที่เหลือแจกเอง**

 

                ๕. คำประสมกับ อจฺ หรือ อญฺจฺ

                มีคุณศัพท์ที่สร้างขึ้นจากรากศัพท์นี้ โดยมีอุปสรรคหรือคำอื่นที่แจกรูปพิเศษ บางทีก็มีสองเค้า คือ แข็ง กับ อ่อน ก็จะปรากฏเป็น เช่น อญฺจฺ กับ อจฺ.  

                บางคำก็ปรากฏรูปเค้ากลางที่แตกต่างไป เช่น อะ รวมกับ อิ(ยฺ) หรือ อุ(วฺ)  เป็น อี หรือ อู

                คำเพศหญิงจะเติมเสียง อี จากเค้าอ่อน เฃ่น วิษูจี

                คำหลักๆ มีดังนี้

 

                ศัพท์เกี่ยวกับทิศทาง

คำศัพท์

ความหมาย

แข็ง

กลาง

อ่อน

ปฺราญฺจฺ  

ข้างหน้า ทางตะวันออก    

ปฺราญฺจฺ

(ไม่มี)

ปฺราจฺ

อวาญฺจฺ

ข้างล่าง

อวาญฺจฺ

(ไม่มี)

อวาจฺ

อทญฺจฺ

ทางเหนือ

อุทญฺจฺ

อทจฺ

อทีจฺ*

ปฺรตฺยญฺจฺ

ข้างหลัง ทางตะวันตก

ปฺรตฺยญฺจฺ

ปฺรตฺยจฺ

ปฺรตีจฺ

นฺยญฺจฺ

ต่ำ

นฺยญฺจฺ

นฺยจฺ

นีจฺ

อนฺวญฺจฺ

ตาม

อนฺวญฺจฺ

อนฺวจฺ

อนูจฺ

ติรฺยญฺจฺ

ไปทางขวาง

ตีรฺยญฺจฺ

ติรฺยจฺ

ติรศฺจฺ**

* อิ แทรกพิเศษในรูปอ่อน เท่านั้น

** รูปอปกติ คือ ติรสฺ+อจฺ (สนธิพิเศษ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท