หลักการทำ Tourniquet test


วันนี้ขอ วิชาการนิด เป็นเรื่องที่สำคัญที่หลายคนอาจลืม เหตุเนื่องจาก นศ.พบ.ฝึกงาน พี่เลี้ยงให้ทำ tourniquet test น้องตอบวิธีทำได้ถูกต้องเป๊ะ แต่เวลาทำ กึ๋ยยย์... ผิดทุกคน คือการรัดสายเพื่อกักแรงดันผิด แล้วไม่สามารถตอบเหตุผลได้ นี่กระมังที่เรียกว่า เรียนเพื่อสอบ เพราะหากออกข้อสอบ ว่าใช้ค่าอะไรวัด ค้างแรงดันไว้เท่าไหร่ ตอบถูกหมด สอบผ่าน แต่ให้ปฏิบัติ ท่าทางดูดี มากทุกขั้นตอนยกเว้นตอนรัดสาย เรียกมาให้ทำทีละคน ผิดทุกคน ให้นึกแปลกใจว่าเอ๊ะหากปล่อยไว้ อาจผิดกันหมด ก็เลยจัดการสอนที่ถูกต้องและพูดถึงหลักการทำ น้องบอกแจ่มมาก ไม่มีใครบอกแบบนี้ เห็นว่ามีประโยชน์ จึงเอามาทบทวนความรู้จ้า

หมายเลขบันทึก: 550800เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2013 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ตุลาคม 2013 08:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

หายไปนานแลยนะครับ คุณชลัญ

สบายดีนะครับ

มาเยี่ยมยามสหายครับ

rrHmmmm.....  คือต้องทดสอบการรั่ว leak test ของระบบก่อนวัดแรงดันเลือด ก่อนเริ่มใช้งานในวันนั้นๆ แม่นบ่? 

ไม่หรอก .99  การวัดความดันถึงระบบจะรั่วนิดหน่อยก็วัดได้  แต่ การทดสอบความเปราะบางของหลอดเลือดต้องใช้ระบบปิด  

มาพอดีเลยคิดเครื่องมือที่มันใช้ง่ายกว่านี้หน่อยซิ  จะเป็นกุศลกับวงการแพทย์เลยดีเดียว  อิ อิ อิ 

ขอบคุณ      ที่มาให้กำลังใจคิดถึงทุกท่านค่ะ แต่เวลาไม่เอื้อกับการเขียนจริงๆ  เข้ามาอ่านบ้างแต่อาจไม่ได้ แสดงความคิดเห็น  หรือ ให้ดอกไม้  อย่าเพิ่งน้อยใจนะค่ะ ไว้เคลียร์ จัดสรรเวลาเรียบร้อยจะกลับมาค่ะ

ก็เห็นใช้แบบ digital วัดกันเลี้ยวเดี๋ยวนี้ ก็ยังสงสัยอยู่เลยว่า รพ. 101 ยังใช้รุ่นมือปั๊มอยู่เลย   แฮะๆ 

(ต้นปี ผมก็ไปร่วมสังเกตการณ์กับ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ในการเข้ามาช่วยสอบเทียบเครื่องมือวัดความดันโลหิต เขากำลังจะออก กม. ให้มีการสอบเทียบเครื่องมือวัด blood pressure อยู่ (จนท. รพ. ก็ยังมีความเห็นต่างอยู่ หากต้องทำจริง) )

ไม่ค่อยเข้าใจ ...... 101 เท่าใด?

******* พอจะเข้าใจละ  ต้องใช้อากู๋ช่วยเล็กน้อย 55555

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/dhf/touniquet.htm#.Ulovb1Dn2So

การทำ tourniquet test

การทำ tourniquet testจะช่วยในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก ในระยะเริ่มแรกได้เป็นอย่างดี ต้องทำทุกรายที่สงสัยว่าจะมีการติดเชื้อแดงกิ่วโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่พอเหมาะ

  1. วัดความดันโลหิตตัวบนหรือ systolic
  2. วัดความดันโลหิตตัวล่างหรือ diastolic
  3. บีบลูกยางให้ความดันอยู่ระหว่าง systolic และ diastolic
  4. รัดค้างไว้ 5 นาที หลังจากนั้นคลายความดัน
  5. ควรทิ้งไว้ 1 นาทีจึงอ่านผลทดสอบ ถ้าพบจุดเลือดออกใต้ผิวหนังมากกว่า 10 จุด/ตารางนิ้ว ถือว่าให้ผลบวก ให้บันทึกผลเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว การตรวจนี้สามารถให้ผลบวกตั้งแต่วันที่2-3 ของไข้

****ตาราง paste ไม่ได้

 

การตรวจ tourniquet test อาจจะให้ผลลบลวงได้แก่

  • ผู้ป่วยอยู่ในภาวะช็อกหรือกำลังจะช็อก
  • ผู้ป่วยอ้วนมาก ความดันที่วัดอาจจะไม่กดทับเส้นเลือด เนื่องจากชั้นไขมันหน่ฃามาก
  • ผู้ป่วยผอมมาก ความดันที่วัดไม่กระชับวงแขน

ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtourniquet การระบาด ผลการตรวจเลือด การป้องกัน ยุง การรับรู้อาการช็อกระยะเริ่มแรก วิธีการดูแลผู้ป่วย

******

 

คิดเครื่องมือที่มันใช้ง่ายกว่านี้หน่อยซิ 

ที่ทำอยู่มันยากตรงไหน???   เราเอา clip ไปหนีบไว้สองทางแล้วก็เดินมาเล่น GTK รอ 5 นาที ก็ไปถอดออก ก็ง่านแล้วนะ 101 

คิดถึง เห็นเหลืองๆ รีบวิ่งมาดูเลยค่ะ 

แหมพอ 101 มา .99 ก็มาทันใดเลยนะคะ 

หายไปนานทั้งคู่เลยค่ะ เหมือนอะไรหายไปจากจอเลยค่ะ .....และอีกหลายๆ ท่านที่ดิฉันคุ้นเคยก็หายไปค่ะ...

 

เครื่องวัดอันนี้พี่ไม่ค่อยเจอปัญหาค่ะ เค้าวัดอย่างไร ก็อย่างนั้น เพราะผลบอกว่าความดันปกติ..เย้ ..ขอบคุณร่างกายค่ะ

แต่เวลานานๆ จะเข้าโรงพยาบาลนะคะ เช่น เป็นไข้....คุณพยาบาลจะหาเส้นเลือดเพื่อเจาะให้น้ำเกลือยากมากค่ะ....

ตบแล้วตบอีก จิ้มทะแยงซ้าย จิ้มทะแยงขวา บางทีจิ้มแล้วมีการย้ายเข็มด้วยนะคะ .....แต่โชคดีดิฉันไม่กลัวเข็ม ...ก็ตามสบายค่ะ

คุณพยาบาลบอกเจาะยากที่สุด เส้นเล็ก (มองเห็นสีเขียวๆ ชัดเจน แต่แทงไม่ได้..เอ้อ..) บางครั้งพยาบาลมาคนที่ 2 เมื่อคนที่ 1 ส่ายหัวกลับไป .......... 

 

มีความสุขนะคะ

มีประโยชน์มากเลยครับ

หายไปนานจริงๆด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท