Survey of S-values


Digital radiography

บันทึกนี้ผู้เขียนขอใช้ชื่อในบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ เมื่ออ่าน

แล้วจะได้สื่อให้เข้าใจในรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป การศึกษา

ครั้งนี้ มีท่าน รศ.ดร.เพชรากร หาญพานิชย์ กับผู้เขียน ได้ร่วม

กันทำการศึกษานำร่อง การตั้งค่าเทคนิค การถ่ายภาพเอกซเรย์

ทั่วไป ในระบบ Digital เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับเปลี่ยน เป็น

ตารางค่าเทคนิคที่เหมาะสมในแต่ละห้องตรวจซึ่งมีแผ่นรับภาพ

หรือ Receptor ที่แตกต่างกัน

โดยศึกษา ค่าเทคนิค การเอกซเรย์ปอดในผู้ป่วยเด็ก กับ

ผู้ใหญ่ ที่มารับบริการ ที่หน่วยรังสีวินจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา

คณะแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ขอแนะนำเครื่องมือ วิธีการ และ ขั้นตอน ในการดำเนินการศึกษา เพื่อความเข้าใจในข้อมูลที่ได้ ดังภาพล่างค่ะ

บน เครื่องเอกซเรย์ทั่วไป และ แท่น charge battery

บน แผ่นรับแสง หรือ receptor เป็น Wifi กับ battery ก่อนใช้งานทุกวัน ต้องนำแผ่น battery มาประกอบกับแผ่นรับแสงก่อน เมื่อเลิกใช้งานต้องนำออกไป charge บนแท่น charge battery ดังภาพ

ขอแทรกข้อมูลในการศึกษา ที่สรุปตามแบบฟอร์มการนำเสนอเป็นโปสเตอร์ ในงานประชุมวิชาการ สลับกับรายละเอียดการเก็บข้อมูลจากการศึกษาในครั้งนี้เพื่อประกอบด้วยค่ะ

Background and objective : The exposure index or sensitivity value (S-value) in digital radiography has been used to indicate the relative speed and sensitivity of the digital receptor to incident X-rays. The S-value provides feedback regarding the proper radiographic techniques for an optimal image regarding appropriate quality and low radiation dose. The purpose of this study was to survey the S-values from chest X-ray examinations done in Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University.

ในการศึกษาการถ่ายภาพเอกซเรย์ทั่วไป ในระบบ Digital ห้องGeneral 3 เพื่อหาความเหมาะสมในการตั้งค่าเทคนิค ซึ่งจะดูจากความสัมพันธ์ของค่า S ที่ได้แสดงในภาพเอกซเรย์ หลังจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ส่วนนั้นๆ ดังภาพล่าง

บน เป็นจอตั้งค่าเทคนิค และ ล่าง ภาพที่แสดง ค่า S/L ที่มุมซ้ายบน และค่าเทคนิค ที่มุมซ้ายล่าง ในจอภาพที่ต้องทำการบันทึก

วิธีการ ในการดำเนินการเก็บข้อมูล เมื่อถ่ายภาพเอกซเรย์เสร็จแล้ว ต้องบันทึกค่าเทคนิคที่ใช้ กับ ค่า S/L ในรูปภาพ อวัยวะ ส่วน ที่เราได้ทำการศึกษาทุกๆภาพ เพื่อนำข้อมูลมาประมวลผล

Methods: Before data collection, extensive quality control tests were performed to evaluate exposure parameters regarding accuracy and reproducibility. A random survey of 900 patients underwent digital radiography of the chest. Individual exposure parameters and patient demographic data (age and sex) were recorded. S-value measurement were done using Fuji software.

การศึกษาครั้งนี้ ได้เก็บข้อมูล อายุ เพศ ค่า S/L จากผู้ป่วย ที่มา

รับการเอกซเรย์ปอดจำนวน 900 ราย(เด็ก 450 ผู้ใหญ่ 450 ราย)ที่ห้อง

เอกซเรย์ General 3 นำค่าที่ได้มาประมวลผล และ คำนวณหาปริมาณ

รังสี หรือ Dose ที่ผู้ป่วยได้รับ ทำการประมวลผลโดย อ.เพชรากร

Results : The respective mean and standard deviation S-value of chest X-rays in 450 adult and 450 pediatric patients was 446.9±57.3 and 269.8±32.4. The current results are comparable with the commercial S-value references (viz., between 200 – 600). Notwithstanding, the S-value for chest X-rays in adults and children in our study were within the range of the commercially provided references.

ค่า S ของ ในการเอกซเรย์ปอด บริษัท Fuji กำหนด ค่าอยู่ในช่วง 200-600 อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษานำร่อง ในเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป ระบบ Digital ข้อมูลที่ได้ ต้องนำไปพิจารณาเพื่อปรับแก้ไข ตามความเหมาะสมต่อไป และขอนำข้อมูลเกี่ยวกับค่า S มาประกอบเพื่อความเข้าใจค่ะ

Conclusion : S-values or “sensitivity” values represent the numeric value of exposure received by the receptors in the digital system.A low exposure would result in a high calculated S number and a high exposure would produce low S numbers. A comparison with the commercial reference values should help in optimizing radiographic examinations. The results presented will serve as a baseline for deriving diagnostic reference S-values and radiation dose levels for other X-ray examinations.

ผู้เขียนมีข้อมูลเพิ่มเติม ที่ได้จากการบรรยายของท่านอาจารย์

บรรจง เกี่ยวกับค่า S เพื่อให้รังสีเทคนิคได้เข้าใจมากขึ้น ในแต่

ละบริษัท กำหนดค่าที่แตกต่างกันดังนี้

ที่หน่วยงานเราเป็นของบริษัท Fuji

ทั้งหมดที่ได้นำเสนอเป็นเพียงการเก็บ

ข้อมูลนำร่องเท่านั้น....ยังต้องทำการศึกษาต่อไปเพื่อให้ได้ค่า S

กับค่าเทคนิค และ ปริมาณรังสีที่เหมาะสมในแต่ละอวัยวะต่อไป

สุดท้าย ต้องขอบคุณอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน คือ อ.เพชรากร และ

อ.บรรจง ที่ได้ให้ความช่วยเหลือ และให้กระจ่างของข้อมูล ขณะ

ทำการศึกษาเพื่อเป็นการพัฒนาในวิชาชีพ รังสีเทคนิคค่ะ

หมายเลขบันทึก: 550725เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2013 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2016 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชื่นชมครับ เดี๋ยวนี้ เขาอ่านผลทาง net แล้วครับ

ขอบพระคุณท่านพี่เจเจ ที่แวะมาให้กำลังใจค่ะ

เทคโนโลยี ทันสมัยรุดหน้าไปเรื่อยๆ เราเองต้องก้าวตามให้ทันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท