เรื่องจริงที่ควรรู้นมแม่ vs นมผง(ตอนที่2)


สวัสดีผู้อ่านทุกท่านค่ะ

เรื่องจริงที่ควรรู้นมแม่กับนมผงสำหรับตอนแรกที่อ่านไป เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ ประโยชน์ของนมแม่เราเห็นได้ชัดเจนเลยใช่ไม๊ค่ะ ยังไงลองติดตามอ่านตอนที่สองนี้ดูนะค่ะ 

11. นมผงมีโปรตีนครบกว่านมแม่จริงหรือ

     ไม่จริง เพราะเป็นโปรตีนคนละสายพันธุ์ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ แม้ว่าโปรตีนในนมผงนั้นจะได้ปรับปริมาณให้ใกล้เคียงนมแม่แล้วก็ตาม

12. กินนมแม่ช่วยให้ครอบครัวประหยัดได้เท่าไร

     ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายการซื้อนมผงปีละประมาณ 48,000 บาท ต่อเด็ก 1 คน หรือประมาณเดือนละ 4,000 บาท

13. การที่แม่ได้รับตัวอย่างนมผงหลังคลอดมีผลเสียอย่างไร

     มีโอกาสใช้นมผงง่ายขึ้น ส่งผลให้ลูกดูดนมแม่น้อยลง ทำให้การสร้างน้ำนมแม่น้อยลง และแห้งไปในที่สุด ทำให้แม่ต้องหันไปใช้นมผงชนิดนั้น

14. การที่แม่ได้รับตัวอย่างนมผงจากโรงพยาบาล คลีนิค สถานพยาบาล หรือบุคลากรอื่น ๆ มีผลเสียอย่างไร

       1. แม่เกิดไม่มั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และอาจใช้นมผงในการเลี้ยงลูกแทนนมแม่

       2. เกิดความเข้าใจผิดคิดว่านมผงยี่ห้อที่ได้รับแจกจะใช้เลี้ยงลูกได้ดี เพราะได้รับแจกจากผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ

15. การโฆษณา ประชาสัมพันธ์นมผงผ่านสื่อต่าง ๆ มีอิทธิพลกับแม่อย่างไร

     ทำให้แม่หลงเชื่อ และหันไปใช้นมผงมากขึ้น เพราะสื่อโฆษณามักจะแสดงภาพเด็กที่แข็งแรง น่ารัก และใช้ชื่อภาษาอังกฤษบอกส่วนประกอบของนม เช่น DHA, AA สิ่งเหล่านี้ทำให้แม่เข้าใจว่านมผงมีคุณค่าตามโฆษณาดังกล่าว

16. ทำไมจึงต้องมีหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทารกและเด็กเล็ก (Code)

     เนื่องจากการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทารกและเด็กเล็กในรูปแบบต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปทั่วโลก และไม่มีมาตรการในการควบคุม ประเทศสมาชิกทั่วโลกจึงเห็นพ้องต้องกันว่า ต้องมีมาตรการควบคุมการตลาดที่ผิดจริยธรรม จึงมีมติเป็นเอกฉันท์รับรองหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดในการประชุมสมัชชาสาธารณ สุขโลกปี พ.ศ. 2524 และให้แต่ละประเทศไปดำเนินการจัดทำเป็นกฎหมาย หรือกฎระเบียบที่เข้มแข็ง

17. ทำไมต้องผลักดันหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก (Code) ให้เป็นกฎหมาย

     เพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องปรามกลยุทธ์การตลาดที่ขาดจริยธรรม ที่บั่นทอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุ้มครองแม่จากการได้รับอิทธิพลการโฆษณา ที่ทำให้แม่เข้าใจผิดว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผงไม่แตกต่างจากการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่ และเป็นการปกป้องสิทธิที่เด็กควรได้รับนมแม่ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติ (Convention on the Rights of the Child: CRC)

18. หากหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก (Code) เป็นกฎหมาย (พ.ร.บ. การตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก) แล้ว จะช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร

     เมื่อเป็นกฎหมายแล้วทำให้การโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ จะสามารถเอาผิดและทำการลงโทษผู้ละเมิดได้ ซึ่งจะทำให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นได้

19. ในระหว่างที่ พ.ร.บ.การตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กยังไม่มีผลบังคับใช้ จะมีวิธีการดำเนินการเพื่อป้องปรามผู้ละเมิดหลักเกณฑ์อย่างไร

      ใช้ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน ซึ่งมีปัญหาไม่ครอบคลุมกับการกำกับดูแลการตลาดในรูปแบบใหม่่ ๆ และข้อกำหนดของหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก (Code)

20. บุคลากรสาธารณสุขมีบทบาทหน้าที่ในการปกป้องตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก (Code) อย่างไร

       1. ดูแลไม่ให้มีการรับบริจาคหรือแจกจ่ายนมผสมแก่แม่หรือครอบครัวที่มีทารกและเด็กเล็ก

       2. เฝ้าระวังการกระทำใด ๆ ที่ละเมิด Code และส่งรายงานการละเมิดพร้อมหลักฐานมายังกรมอนามัย

 ถึงแม้ในปัจจุบัน "แม่รุ่นใหม่" จำนวนมากจะมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาก ขึ้น แต่เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมในด้านต่าง ๆ รวมถึงข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตของแม่ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคมากมายที่มีผล กระทบต่อความคิดและพฤติกรรมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การชักจูงโน้มน้าวของบุคคลแวดล้อมที่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการให้นมเด็ก การให้คำแนะนำที่ไม่เพียงพอเหมาะสมของบุคลากรทางการแพทย์ และการโฆษณาจูงใจของผลิตภัณฑ์นมผสม และอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก เหล่านี้ล้วนส่งผลให้แม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ 

  การผลักดันร่าง พ.ร.บ.การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก เป็นกฎหมายที่ประกาศใช้ในอนาคต จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยได้มากขึ้นนั่นเอง

   สำหรับผู้ดำเนินการเผยแพร่เอกสารชิ้นนี้ อันได้แก่

       - คณะทำงานวิชาการ เครือข่ายพัฒนากฎหมายการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทารกและเด็กเล็ก

       - กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

       - องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย

       - ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย

       - แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

** เรามาช่วยกันส่งต่อข้อมูลเหล่านี้กันนะค่ะ

บทความโดย มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย

หมายเลขบันทึก: 550649เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2013 15:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2013 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นมแม่มีประโยชน์มากกว่าจริงๆด้วย

แต่บ้านเรามีคนให้การศึกษาน้อย

เอกชนโฆษณาบางอย่างเกินเลย

แต่ไม่มีใครมาว่าเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท