ชีวาภิบาล


Thai Palliative Care (ชีวาภิบาล)

คือ การดูแลผู้ป่วย ครอบครัว และทีมการดูแลรักษา ให้เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตนให้เหมาะสม ยอมรับในการเผชิญต่อสภาวะที่สุดของการแพทย์ ในการรักษาโรคให้หายขาด เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตแบบองค์รวมของทุกฝ่ายจนถึงช่วงเวลาแห่งการแยกจาก

การตาย ซึ่งเป็นความทุกข์ ต้องการการช่วยเหลือเยียวยา

๑. ๑.ตายได้ คือ การเสียชีวิตที่เกิดจากโรคที่เป็น predictable prognosis สามารถเสียชีวิตได้ในเวลาไม่นาน มีการศึกษา เพื่อวางแผนการดูแลหรือรักษาโรคกลุ่มนี้ค่อนข้างมาก มีแนวทางที่เป็นมาตรฐาน เมื่อได้รับกาวินิจฉัยโรคในกลุ่มนี้แล้วมักจะสามารถยอมรับการตายในอนาคตได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่น เช่น โรคมะเร็ง โรคติดเชื้อทางระบบประสาทบางชนิด โรคติดเชื้ออวัยวะสำคัญบางชนิด สิ่งสำคัญในการทำ Palliative care คือการให้ Early comprehensive palliative care family conference และ Proper Symptom Management

๒. ๒.ตายดื้อคือ การเสียชีวิตที่เกิดจากโรคที่เป็น unpredictable prognosis ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มโรคทางอายุรกรรม ที่แพทย์สามารถให้การดูแลอาการทุกข์ทรมาน ทางสรีรวิทยา การปรับยารักษาอาการในระยะยาว หรือแม้แต่การแก้ภาวะฉุกเฉินได้บ่อยครั้ง โดยมากเป็นโรคจากความเสื่อมโทรมของอวัยวะสำคัญตามวัย หรือเป็นโรคทางกรรมพันธุ์และกรรมใหม่ เช่น โรคหัวใจวาย โรคไตวาย โรคตับวาย โรคถุงลมโปร่งพอง และผู้ป่วยมักมีโรคแห่งความเสื่อมเป็นพื้นฐาน ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง โดยมากเมื่อถึงภาวะสุดท้ายๆของโรค ทางการแพทย์อาจจะมีความสับสนมาก ว่าสิ่งไหนควรให้ต่อสิ่งไหนควรหยุด เนื่องจากการทำใจยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ยาก สิ่งสำคัญในการทำ Palliative care คือการทำงานเป็นสหสาขาวิชา เป็นทีมการดูแลร่วมมีเครือข่ายสุขภาพ มีการตัดสินใจร่วมกัน โดยมี family meeting บ่อยครั้งหรือเป็นระยะๆและบ่อยขึ้นในช่วงท้าย เพื่อการตัดสินใจใน ๓ ส่วนคือ ถูก/ผิด ดี/ชั่ว(บุญ/บาป) และประโยชน์/ไม่ใช่ประโยชน์ ในการใช้หัตถการต่างๆทางการแพทย์

๓. ๓.ตายด่วน คือ การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ไม่สามารถจะกู้ชีวิตกลับคืนมาได้แม้ว่าจะใช้หัตถการทางการแพทย์ที่รุนแรง หรือต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม อาจจะเกิดขึ้นระหว่างดูแลโรคในสองกลุ่มแรก แต่โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากอุบัติเหตุ(ความประมาทหรือเหตุสุดวิสัยส่วนตัวผู้ป่วย) หรือเกิดจากความประมาทหรือเหตุสุดวิสัยของการให้บริการทางสาธารณสุข หรือเกิดจากการฆาตรกรรมโดยตั้งใจของตนเองหรือผู้อื่นก็ตาม มักจะเสียชีวิตที่ห้องฉุกเฉินกรณีที่ผู้ดูแลนำส่งรือไม่พร้อมยอมรับการจากลา เสียชีวิตในห้องผ่าตัด เสียชีวิตนอกโรงพยาบาล ได้แก่ การฆ่าตัวตายหรือถูกฆ่าตายเป็นต้น สิ่งสำคัญในการทำ Palliative care คือ การเร่งเยียวยาญาติ ผู้ดูแล โดยมี Family conference for Grief and Bereavement support และควรมี Family meeting เพื่อเป็น Risk Management แยกออกมากรณีที่เกิดจากการกระทำของแพทย์หรือ care team

๔. ๔.ตายทั้งเป็น คือ การเสียชีวิตบางส่วน แสดงออกใน ๓ รูปแบบคือ

๔.๑ มีการสูญเสียการทำงานของร่างกาย แต่สมองและจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ยังอยู่ ได้แก่ Chronic unresponsive bed ridden คือ เจ้าชายหรือเจ้าหญิงนิทรา หรือ vegetative stage (ผัก)

๔.๒มีการสูญเสียการทำงานของสมอง แต่ร่างกายยังให้งานได้อยู่ หลายครั้งผู้ดูแลเชื่อว่าจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ก็สูญเสียไปแล้วด้วย ได้แก่ โรคจิตเรื้อรัง โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ

๔.๓ มีการสูญเสียจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ ไปแล้วแต่การทำงานของร่างกายและสมองยังดีอยู่ ได้แก่ การขาดคุณธรรม ศีลธรรม การขาดสติสัมปชัญญะ การไม่พัฒนาจิตของตนเอง

โดยทั่วไปเราจะคำนึงถึงกายตายในข้อ ๔.๑ และ ๔.๒ มากเป็นพิเศษ เนื่องจากเห็นได้ชัดเจน และรบกวนระบบสาธารณสุขอย่างมาก เป็นสภาวะที่ทุกข์ทรมานที่สุด และช่วยเหลือได้ยากที่สุดในความเจ็บป่วยทั้งหมด โดยการตายแบบที่ ๔ นี้สามารถเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการตายประเภทอื่นๆข้างต้นได้เสมอทั้งนี้สิ่งสำคัญในการทำ Palliativecare คือการเยียวยา ครอบครัว ผู้ดูแล และ care team เรื่องความเข้าใจในความทุกข์ของชีวิตผู้ป่วยเพื่อสร้างกำลังใจในการดูแลต่อเนื่องด้วยจิตสำนึกความเป็นมนุษย์ คุณธรรมจริยธรรม การเข้าใจความรักที่แท้จริง ตลอดจนการร่วมมือสร้างสรรค์ ระบบสาธารณสุขที่จะรองรับ การส่งต่อเครือข่าย การบริหารทรัพยากร ในระดับชาติ และการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบนี้จะสามารถจัดได้ว่าเป็นการเข้าถึง Palliative care สำหรับการตายข้อ ๔.๓ ได้อย่างเหมาะสมเนื่องจากควรจะเป็นการตายข้อสุดท้ายในระบบสุขภาพนั่นเอง

๕. ๕.ตายดี คือ ผลสำเร็จสูงสุดของงาน Palliative Care ซึ่งจริงๆแล้ว คนทุกคนไม่มีใครเลยที่อยากตาย คนทุกคนกลัวตาย สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตกลัวตาย แม้ในผู้ที่กล้าแสดงออกว่า ฉันไม่กลัวตาย ก็ย่อมมีความกลัวตายได้เสมอเมื่อเวลามาถึง ในการตายดีนั้นไม่ใช่เป้าหมายทางรูปธรรมไม่มีวิธีการตายตัว ไม่มีแบบฉบับ ไม่มีความพยายามใดๆทางกายภาพที่จะไปให้ถึงสิ่งนี้ได้ แม้แต่ผู้ที่ปฏิบัติดีแล้วเกิดมีความอยากที่ตายดี ก็เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากความอยากนั้นจะส่งผลกระทบต่อการปรุงแต่ง จะมีเพิ่มเติมสิ่งต่างๆให้เสียสมดุลธรรมชาติในที่สุด หากจะมองให้ดี การตายดีนั้นเกิดขึ้นเองเมื่อเหตุปัจจัยต่างๆพร้อมมูล ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยส่งเสริมการ ยอมรับ หรือ ยอมตายได้ เมื่อถึงจุดนี้ ทั้งร่างกายและจิตใจจะไม่มีความดิ้นรน ทะยานอยากเพื่อหนีความตาย หรือเพื่อเร่งความตาย แต่จะเป็นการตายซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ มีความสอดคล้อง สงบเย็น และเป็นปกติในที่สุด สิ่งสำคัญของ Palliative Care คือการส่งเสริมปัจจัยแห่งการยอมรับความตายอย่างมีศิลปะ และเป็นธรรมชาตินั่นเอง ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานว่า บุคคลสามารถพัฒนา Death Acceptance Level นั้นให้สูงขึ้นจน พอเพียงต่อการตายดี

หมายเลขบันทึก: 550296เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2013 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2013 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากที่นำเรื่องความตายในหลายแบบมาบอก 

ไปประชุม การดูแลเด็กแบบประคับประคองที มอ.มาในวันที่ 3 มาอ่านบันทึกนี้ได้เข้าใจ ชัวาภิบาล หรือ ชีวันตาภิบาลมากยิ่งขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท