เรียนรู้จากครูใหญ่ วิเชียร ไชยบัง "วุฒิภาวะของความเป็นครู"


ผมใช้เวลาอ่านหนังสือ "วุฒิภาวะของความเป็นครู" นานเกือบ 4 เดือน (มิ.ย. - กันยา 56) ที่ต้องใช้เวลานานเพราะผมไม่ได้มองหนังสือเล่มนี้เป็น "หนังสือให้ความรู้เนื้อหา" แต่หลังจากซื้อหนังสือจากห้องขายสินค้า ณ โรงเรียนนอกกะลา (ด้วยราคาตามป้าย 120 บาท) เปิดอ่านผ่านๆ ดู จึงได้รู้ว่า ผลงานของครูใหญ่ (วิเชียร ไชยบัง) เล่มนี้ ไม่ใช่หนังสือความรู้ไว้อ่านประเทืองปัญญา แต่เป็นบท "ตกผลึก" จากประสบการณ์ที่ท่านสำเร็จผ่านมา.... ผู้อ่านที่มีปัญญาจะต้องนำไปปฎิบัติกับตนกับคนในโรงเรียนเท่านั้น..... จึงไม่ใช่หนังสืออ่านเล่นแต่ควรนำมาเป็น "คติ" ติดตัวครู...(ติดเป้ทำงานผมอยู่หลายเดือน)

 
 
 


หนังสือเล่มนี้ เสนอความจริงจากประสบการณ์ของครูใหญ่ในเรื่องการเรียนรู้ ดังนี้ครับ

  • เราเรียนรู้ได้ดีจากปัญหา....โรงเรียนนอกกะลาจึงใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียน (PBL)
  • ครูผู้มีวุฒิภาวะจะมองเห็นว่าการสร้าง "ปัญญา" ประณีตมากกว่า "ความรู้" และเพียรพยามเด็กไปให้ถึง
  • เราไม่สามารถวัดค่าสิ่งใดได้อย่างแท้จริง ความสำเร็จล้วนแต่ขึ้นกับเกณฑ์ที่กำหนด .... การตัดสินเด็กด้วยเกณฑ์จึงเป็นเพียงเรื่องสมมติตั้งแต่ต้น...ครูผู้มีวุฒิภาวะจะไม่ผลีผลามตัดสินเด็กด้วยเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง
  • การ "เล่น" ทำให้เด็กสมัครใจที่จะคิดและทำอย่างจริงจัง
  • เด็กควรได้เรียนรู้ว่า ไม่มีใครได้อะไรทุกอย่างที่ต้องการ และเสียทุกอย่างที่มีอยู่.... ครูผู้มีวุฒิภาวะจะรู้ว่าจะทำให้เด็กรู้ได้ว่า ความรักความเอาในใส่ก็เช่นเดียวกัน
  • ความเคารพ รัก และเอาใจใส่ต่อเด็ก จะนำมาซึ่งการรับฟังจากพวกเขา...
  • การพร่ำสอนคุณธรรมเป็นเรื่องที่น่ารำคาญสำหรับเด็กๆ... ครูไม่ควรสอนสอนคุณธรรมจริยธรรม และควรทำตนเป็นตัวอย่าง.... คุณธรรมและความรู้เป็นสิ่งที่ไม่อยู่แยกชั้นกัน...
  • ไม่มีเด็กคนไหนที่แย่จริงๆ หรอก มีเพียงคนที่เราไม่ได้รักเขา หรือยังไม่ได้เข้าใจเขา...
  • เด็กแต่ละคนจะไม่ปล่อยให้ตนเองจนมุม หรือล้มเหลว ... ครูผู้มีวุฒิภาวะจะรักษาความพอดีในการรุกไล่ที่เหมาะสมเพื่อปกป้องไม่ใชเพื่อทำลาย
  • เราอาจถูกหลอกด้วยความคิดของตนเอง...ครูผู้มีวุฒิภาวะจะนำเด็กไปสู่ความแท้จริงเพื่อปลดปล่องจิตวิญญาณให้เป็นอิสระ"
  • "จิตศึกษา" ตามแบบโรงเรียนนอกกะลา คือการ "เรียนรู้ใน เพื่อรู้นอก" ด้วยกระบวนทัศน์ 3 ประการคือ จิตวิทยาเชิงบวก สร้างชุมชนและวิถีชุมชน และจัดทำผ่านกิจกรรมและเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
  • ความริษยาจะสร้างดวงตาและหูไว้เพื่อดึงดูดความทุกข์เข้าสู่ตน..
  • เด็กแต่ละคนต้องการทางเลือกเฉพาะตัว และโอกาสที่ไม่จำกัด
  • ครูผู้มีวุฒิภาวะจะไม่แสวงหาประโยชน์ใดๆ จากเด็ก
  • ครูผู้มีวุฒิภาะจะไม่ปรามาส เย้ยหยัน ดุด่า กดดันคาดคั้น ล้อเลียนปมด้อย ตั้งฉายา เพราะรู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความไม่ดี เช่น กลัว เกลียด เศร้าหมอง และรู้สึกด้อยค่า
  • เด็กๆ ควรจะโตเพื่อเป็นผู้ชี้นำตนเอง...
  • ครูผู้มีวุฒิภาวะจะสร้างวิถีแห่งการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อการ "ปฏิบัติ" และ "ปฏิเวท"
  • มีเพียงมนุษย์เท่าน้้นที่จะสอนความเป็นมนุษย์ได้...
  • การทบทวนตนเองเป็นหนึ่งในการฝึกฝน...

ท้ายบันทึกนี้ จะบอกว่าไม่ได้ประเทืองปัญญาก็คงโกหก...ไม่ดี
ผมขอแนะนำให้ครูทุกคนอ่านแล้วตีความหนังสือเล่มนี้ จะได้ทฤษฎีที่เป็น "ปริยัติ" ที่ชัดเจนว่าจะนำไป "ปฏิบัติ" ให้เกิด "ปฏิเวท" แน่นอน....

หมายเลขบันทึก: 550002เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2013 01:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2014 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณที่นำเรื่องดีๆเช่นนี้มาแบ่งปันกันค่ะ..

ได้อ่านเรื่องนี้แล้วครับ

ชอบมาก โรงเรียนผอ.ท่านใช้ปัญหาโรงเรียนเป็นฐานด้วย

ผมเอาตอนที่สองมาฝาก

http://www.gotoknow.org/posts/549563?2887276

 

แถมโรงเรียนที่อยากช่วยกันพัฒนาด้วยครับ 

ค่ายบูรณาการโรงเรียนบ้านหนองผือและบ้านเขานางสางหัว(2)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท