แนวคำตอบข้อสอบอัตนัยรุ่นที่ 30 คำฟ้องอาญา


ข้อ 1.โจทก์เป็นมารดา ของเด็กหญิงสาม กุมภา รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสูจิบัตร เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1

หรือ โจทก์เป็นบิดา ของเด็กหญิงสาม กุมภา

หรือ โจทก์ที่ 1 เป็นบิดา และโจทก์ที่ 2 เป็นมารดา ของเด็กหญิงสาม กุมภา

(เพราะ กรณีเช่นนี้บุพการีคนใดคนหนึ่ง หรือ ทั้งสองคนสามารถเป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนบุตรผู้เยาว์ได้ตาม ป.วิอาญา มาตรา 5 (1) (2))

หรือข้อ 1. โจทก์เป็นผู้เยาว์มีอายุ 12 ปี เป็นบุตรของนางหนึ่ง มกรา และนาย สอง กุมภา รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสุติบัตร เอสารท้าคำฟ้องหมายเลข 1

(เพราะ กรณีเช่นนี้สามารถให้เด็กผู้เยาว์เป็นโจทก์โดยมีบุพการี เป็นผู้ฟ้องแทน ก็ได้)

จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ประกอบกิจการสวนสนุก โดยมีจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรอง ของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2

ข้อ 2.เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสามได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมายกล่าวคือ

จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการสวนสนุกใช้ชื่อทางการค้าว่า โลกของเด็ก โดยมีเครื่องเล่นชนิดต่างๆไว้ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปโดยเก็บค่าตอบแทน และในสวนสนุกของจำเลยที่ 1 มีเครื่องเล่นรางลื่น ซึ่งเป็นเครื่องเล่นสำหรับให้ผู้เล่นนั่งบนรางลื่นซึ่งอยู่สูงจากพื้น 5 เมตร ลื่นตัวตามรางลงมาในสระว่ายน้ำที่อยู่ด้านล่าง

จากการประกอบกิจการดังกล่าว จำเลยทั้งสามจึงมีหน้าที่ต้องร่วมกันดูแลรักษาเครื่องเล่นรางลื่นให้อยู่ในสภาพที่ดีและปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการ โดยต้องทำการซ่อมบำรุงตามตารางการตรวจซ่อมของบริษัทผู้ผลิต แต่จำเลยทั้งสามกลับประมาทโดยไม่ดูแลซ่อมบำรุงตามตารางของบริษัทผู้ผลิต ทั้งๆที่จำเลยทั้งสามทราบดีว่าเครื่องเล่นรางลื่นนั้นมีอายุการใช้งานมานานถึง 17 ปีแล้ว แต่จำเลยทั้งสามกลับสั่งให้พนักงานบริษัททาสีเพื่อให้ผู้เข้าไปใช้บริการเห็นว่าสภาพภายนอกยังดีอยู่เท่านั้นและจำเลยทั้งสามยังได้ขายบัตรให้คนทั่วไปเข้าไปใช้บริการเครื่องเล่นรางลื่นนั้น จนเป็นเหตุให้ไนวันเวลาดังกล่าวข้างต้น ขณะที่มีผู้เข้าไปใช้บริการเครื่องเล่นรางลื่นของจำเลยที่ 1 รอยต่อรางรื่นตรงจุดที่อยู่สูงจากพื้นประมาณ 3 เมตร ได้แยกหลุดออกจากกัน ทำให้เด็กหญิงสาม กุมภา หรือ โจทก์ ซึ่งได้ซื้อบัตรเข้าเล่นเครื่องเล่นรางลื่นของจำเลยที่ 1 ด้วย และนั่งอยู่บนรางลื่นในส่วนที่อยู่สูงกว่ารอยแยกของรางลื่นในขณะนั้นตกจากรางลื่นลงมากระแทกกับพื้น ได้รับบาดเจ็บกระดูกต้นขาและข้อเท้าทั้งขาขวาและขาซ้ายหัก ศีรษะแตก สมองได้รับการกระทบกระเทือน ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 5 เดือน โดยเด็กหญิงสาม กุมภา หรือ โจทก์ ยังไม่สามารถเดินได้และสมองยังไม่คืนสู่สภาพปกติ และยังต้องกลับไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อรักษาต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือนๆ ละสองครั้งเป็นเวลาอีก 6 เดือน จึงจะสามารถเดินได้ปกติและสมองกลับคืนสู่สภาพปกติ รายละเอียดปรากฏตามใบรายงานแพทย์เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3

ข้อ 3.การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และจำเลยทั้งสามอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ จนเป็นเหตุให้เด็กหญิงสาม กุมภา หรือโจทก์ ได้รับบาดเจ็บสาหัสเหตุเกิดที่ แขวงบางเขน เขตบางเขน กรุงเทพมหานครโจทก์ได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจบางเขน กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฏตามบันทึกประจำวันข้อ 10 ฉบับลงวันที่ 1 มกราคม 2550เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 4

ควรมิควรแล้วจะโปรด

คำขอท้ายฟ้อง

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และ มาตรา 300

หมายเลขบันทึก: 549543เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2013 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2013 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท